ในยุคต่อไป เราจะได้ขับรถอะไรจากโตโยต้า โคโรลล่ารุ่นใหม่ คัมรี่รุ่นใหม่ หรือ รถบินท่องเวหา ตามแผน โตโยต้าจะส่งรถบินที่เรียกว่า SkyDrive เข้าสู่ตลาดโลกในปี 2025 แต่เราจะมีโอกาสได้เห็นรถต้นแบบก่อน โดยโตโยต้าจะส่งรถบินนี้มาเปิดตัวในวันเปิดกีฬาโอลิมปิกภาคฤดูร้อนที่โตเกียวในปี 2020 SkyDrive จะมีคนขับ ขับเคลื่อนด้วยล้อเข้ามาในสนามกีฬา แล่นไปรอบๆ แล้วลำแสงจะส่องให้เห็น SkyDrive ค่อยๆ เหินขึ้นไปบนอากาศไปจุดเพลิงโอลิมปิก ช่างน่าตื่นเต็นจริงๆ
SkyDrive เป็นรถไฮบริดขนาดเล็กที่แล่นได้บนถนนและบินได้เหมื่อนเฮลิคอปเตอร์ ดูจากรูปภาพจะเห็นว่าเป็นรถบินไฟฟ้าที่มี 3 ล้อ ประกอบด้วย ล้อหลังขนาดใหญ่ 2 ล้อ และล้อหน้าที่เล็กกว่า โดยจะเป็นรถบินขนาดเล็กที่สุดในโลก ยาว 9.5 ฟุต กว้าง 4.3 ฟุต สูง 3.6 ฟุต ประกอบด้วย เครื่องยนต์ไฟฟ้าและใบพัด 4 ชุด และที่นั่งสำหรับ 1 คน ชึ่งต้องครึ่งนั่งครึ่งนอนเหมือนคนขับรถแข่ง อยู่ในกรอบพลาสติกใสครอบเป็นตัวรถ ความจริง SkyDrive ก็เป็นโดรน(drone/เครื่องบินไร้คนขับ) ชนิดหนึ่งเพราะใช้เทคโนโลยีของโดรนทั่วไป แต่รูปร่างหน้าตาไม่หน้าเกลียดเหมือนกับโดรนที่เราเคยรู้จัก ชึ่งแกนขาทั้งสี่ยาวเท่ากัน ความยาวของรถบินนี้มากกว่าความกว้าง กล่าวคือ สัดส่วนเหมือนไปกับรถยนต์มากกว่า SkyDrive เป็นรถบินที่ขึ้นลงในแนวดิ่ง โดยจะบินในระดับ 30 ฟุตจากพื้นดิน และบินด้วยความเร็ว 62 ไมล์ต่อชั่วโมง เมื่อไม่บิน จะเป็นรถเล็กที่แล่นบนถนนได้ ด้วยความเร็ว 90 ไมล์ต่อชั่วโมง ถึงแม้จะไม่ระบุหรือแสดงในรูปว่ามีเบรคหรือเปล่า เราก็เดาได้ว่าต้องหยุดตัวได้เพราะถ้าเดินหน้าได้ก็ควรจะถ้อยหลังได้ และถ้าถ้อยหลังได้จะต้องหยุดตัวได้แน่ แต่ข้อที่น่ากล่าวถึงคือ ทำไมรถบินลำนี้วิ่งได้เร็วกว่าบิน ? อย่างไรก็ตามเราเห็นได้อย่างชัดเจนว่า Skydrive เป็นรถบินที่มีประสิทธิภาพสูงเพราะมีล้อสามารถวิ่งบนถนน เวลาวิ่งบนถนนไม่ใช้พลังมากเพราะถนนรับน้ำหนักของรถ ต่างกับเวลาบินชึ่งต้องใช้พลังมาก ตลอดเวลา เพื่อให้ลอยตัวอยู่บนอากาศ ทำให้ประหยัดพลัง เป็นผลให้วิ่งได้นานหรือไกลขึ้น
โครงการนี้ เริ่มต้นในปี 2012 เมื่อ นากามูระ(ผู้นำ) และเพื่อนกลุ่มนักออกแบบ 20-30 คน ชนะรางวัลที่ 1 ในการออกแบบรถบิน ต่อมามีการตั้งคณะทำงานชื่อ Cart!vator ประกอบด้วยคนญี่ปุ่นรุ่นหนุ่มสาวที่ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมรถยนต์และเครื่องบิน ส่วนมากเป็นพนักงานของบริษัทโตโยต้าฯ อาสาสมัครมาร่วมทำงานในโครงการรถบินนี้ในวันหยุดสุดสัปดาห์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญในเรื่องโดรน และวิศวกรเครื่องกลจากมหาวิทยาลัยต่างๆ คอยให้ความช่วยเหลือ Cart!vator วางแผนพัตนา SkyDrive ต้นแบบให้พร้อมที่จะทดลองบิน โดยใช้คนขับในปลายปี 2018 เพื่อให้พร้อมเปิดตัวและจุดเพลิงเปิดงานโอลิมปิก ในปี 2020 และถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผนจะเริ่มผลิตรถบินนี้นำเข้าสู่ตลาดโตโยต้า ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ตัดสินใจที่จะให้โตโยต้าและบริษัทในเครือสนับสนุนโครงการ SkyDrive ของทีมงาน Cart!vator โดยอนุญาตให้ใช้โรงเรียนร้างใน Toyota City เพื่อทำการทดลองบิน รวมทั้งให้เงินทุนลงขัน 4.2 ล้านเยน หรือประมาณ 360,000 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเงินจำนวนน้อยเท่าเศษเงินสำหรับงานที่จะสร้างให้รถบินได้ เงินทุนก้อนนี้จะนำไปสร้างต้นแบบตัวใหญ่ที่มีคนขับ ใช้ในการทดลอง Takeshi Uchiyamada ซึ่งเป็นประธานกลุ่มโตโยต้า เคยแสดงเหตุผลผ่านสื่อถึงการตัดสินใจยื่นมือเข้าไปตั้งแต่ต้น เนื่องจากเห็นว่า “งานนี้จะไม่คืบหน้าแน่ถ้ารอให้เทคโนโลยีพร้อมก่อนถึงลงเงิน”
เป้าหมายเหล่านี้ ตอนนี้อาจจะดูว่าเป็นเรื่องเพ้อฝัน ถึงแม้ Cart!vator ได้สร้างต้นแบบตัวใหญ่ที่ใช้ในการทดลองบินแล้ว แต่ก็ยอมรับว่า ต้นแบบที่สร้างตอนนี้ยังบินได้สูงเพียง 3 ฟุต และทรงตัวบินอยู่ได้ไม่เกิน 5 วินาที ทีมงานจะแก้ปัญหาโดยการลดน้ำหนักตัวรถ จะเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ทำกรอบตัวถังจากอลูมิเนียมเป็นพลาสติกเสริมด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ เพื่อลดน้ำหนักจาก 180 กก ให้เหลือ 100 กก นอกจากนี้ ทีมงานจะพยายามปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ในการควบคุมการผลัดเปลี่ยนการหมุนของใบพัด ยังโชคดีที่ทีมงานค้นพบต้นเหตุของปัญหาเหล่านี้ เพราะถ้าระบบควบคุมไม่สามารถบอกปัญหาหรือเหตุการณ์ได้ไวพอ จะไม่สามารถตอบสนองต่อปัญหาได้ทันการณ์ การที่บินไม่ได้สูงกว่า 3 ฟุต แน่นอน เป็นเพราะเครื่องยนต์หรือใบพัดผลิตกำลังไม่พออย่างหนึ่ง หรือตัวรถบินหนักเกินไปอีกอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ยิ่งไปกว่านั้น กำลังเครื่องไม่พอจะทำให้การบินไม่มีเสถียรภาพ เนื่องจากใช้กำลังทั้งหมดไปยกน้ำหนักตัวรถให้บินได้บนอากาศ ทำให้ไม่เหลือกำลังสำหรับแก้ไขสถานการณ์เมื่อจำเป็น การทรงตัวจะไม่เที่ยง บินเหมือนคนเมา หรืออาจจะตกได้ในที่สุด
Cart!vator ยอมรับและเปิดเผยใน website ว่า ยังมีอุปสรรคอีกหลายเรื่องสำหรับรถบินขนาดเล็ก ที่สำคัญได้แก่ การควบคุมเสียง การปรับให้เข้ากับสภาพอากาศและความปลอดภัยที่มั่นคง นอกจากปัญหาทางเทคนิคแล้ว ทีมงานยังต้องเผชิญกับคู่แข่งอีกเป็นสิบๆ ราย ที่กำลังพยายามสร้างรถบินทำนองเดียวกันนี้ Larry Page ผู้ร่วมก่อตั้ง Google ได้ลงทุนหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ ใน 2 บริษัท ที่สร้างรถบินเหมือนกันแต่ต่างระบบ บริษัท Slovakian ผู้สร้าง AeroMobile คาดว่าจะเปิดตัวรถบินได้เร็วสุดประมาณปีหน้า บริษัท Terrafugia จากรัฐแมสซาซูเซ็ทแห่งสหรัฐอเมริกา สร้างรถบินได้และได้ใบอนุญาตรถบินส่วนบุคลแล้ว แม้จะเป็นเพียงเครื่องบินเล็กธรรมดาที่วิ่งบนถนนได้แบบถูกกฏหมาย ยิ่งไปกว่านั้น Ehang184 ซึ่งเป็นคู่แข่งรายใหญ่จากจีน กำหนดจะบินในดูใบ (Dubai) ฤดูร้อนนี้ อย่างไรก็ดี SkyDrive ของคณะทำงาน Cart!vator ยังมีจุดขายที่เหนือกว่าในเรื่องของการออกแบบได้ความสวย เป็นแบบที่สร้างได้ง่ายและสร้างได้ถูก ขนาดเล็กกว่า กะทัดรัดกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับรถบินอื่นๆ ที่ออกมาในปัจจุบัน ชุดเครื่องยนต์/ใบพัดเล็กและสั้นกว่าเพราะบันดานการบินต่ำเพียง 30 ฟุต จุดที่สำคัญคือ SkyDrive เป็นรถบินขึ้นลงทางดิ่งลำแรกของโลกที่มีล้อ เมื่อวิ่งบนถนนจะประหยัดพลังซึ่งทำให้วิ่งได้นานหรือไกลกว่า และจากจุดที่กล่าวทำให้เป็นแบบที่มีประสิทธิภาพสูง บุคคลภายนอกอย่างเรา มองว่า Cart!vator น่าจะเป็นรองคู่แข่งรายอื่นๆ เราต่างหวังให้พวกเขาประสบความสำเร็จ แต่จากวิดีโอเผยแพร่การทดลองของทีมงาน จะเห็นได้ว่ายังอยู่ในระยะเริ่มต้นมากๆ ไม่น่าจะทำได้สำเร็จทันกำหนดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ในปี 2020 ปัญหาที่เห็นชัดเจนคือ ทุนลงขัน และเวลางาน ลงขัน ทุนจากโตโยต้าคงจะพอสำหรับสร้างต้นแบบ 1 ลำ จะหวังให้รถบินบินได้สำเร็จจากลำแรกลำเดียว คงเป็นไปไม่ได้ ตามที่กล่าวมา Larry Page ผู้ร่วมก่อตั้ง Google ได้ลงขันไปแล้วมากกว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงเวลาหลายปีแล้ว แต่ก็ยังไม่มีสินค้าเข้าตลาด ส่วน Guangzhou Ehang ของประเทศจีน ใช้เวลาเกือบตลอดชีวิตรวมลงขันกว่า 75 ล้านเหรียญ กว่าจะนำรถบินออกตัวได้ในปีนี้ แล้วใครเล่าจะเชื่อได้ว่าเศษเงินก้อนน้อยจากโตโยต้าจะทำให้รถบินได้
เวลางาน การสร้างรถบินในสาขาที่ไม่มีใครทำมาก่อนเป็นโครงการใหญ่ระดับโลก ไม่ใช่ของเด็กเล่น งานระดับนี้ 2 ปีถือว่าน้อยมาก อาจจะถึงกับต้องใช้นักวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญเป็นจำนวนมากถ้าต้องการให้สำเร็จตรงเวลา การที่จะให้คนรุ่นหนุ่มสาวที่ไม่มีความรู้และประสบการณ์ ยังทั้งทำงานเฉพาะวันหยุดสุดสัปดาห์แสดงถึงความไม่จริงใจ ขาดความตั้งใจต่องาน คงจะทำไม่สำเร็จตามกำหนดแน่น ถ้าปล่อยพวกเขาทำไปตามที่ทำอยู่ Skydrive ควรจะบินได้สำเร็จทันวันเปิดแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ไม่ใช่ครั้งที่จะถึงนี้ แต่เป็นครั้งต่อไปที่ฝรั่งเศส ในปี 2024
Olympic ฤดูร้อนของปี 2020 ยังน่าตื่นเต้นที่จะรอคอยหรือไม่ โตโยต้าคงจะนอนหลับๆ ตื่นๆ ไม่เต็มตา เฝ้าดูความคืบหน้าอย่างช้าๆ ของทีมงาน Cart!vator โตโยต้าได้เปิดเผยต่อสาธารณะว่าสนับสนุนคนหนุ่มสาวมือสมัครเล่นกลุ่มนี้อย่างเต็มที่ ดังนั้น จะยอมให้คนกลุ่มนี้ล้มเหลวไม่ได้ อีกทั้งเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่เพราะเป็นศักดิ์ศรีระดับชาติ พอถึงจุดหนึ่ง โตโยต้าคงจะเข้าไปรับโครงการนี้มาสานต่อ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โตโยต้าประกาศเพิ่มเงินลงทุนเข้าไปอีก 10.05 ล้านล้านเยน หรือ 9,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามที่ท่านประธานได้พูดว่า “ให้เทคโนโลยีพร้อมก่อนถึงลงเงิน” นี่อาจจะเป็นการเริ่มรับงานมาสานต่อก็เป็นได้