สารพันวรรณนา

อ.ประภาศรี



อะไรๆ ก็ “หลวงตาชี”
ภาพประกอบ พระมหาเรืองฤทธิ์

มาอเมริกาปีนี้ ปรากฎว่า “ถึง” ชุมชนไทย ต่างแง่หลายมุมเพราะครึ่งหนึ่งเป็นงานในหน้าที่ อีกส่วนหนึ่งเป็นงานนอกหน้าที่ แต่ก็ยังวนเวียนอยู่ในชุมชนไทยในอเมริกาอยู่ดี

สังคมไทยกับวัดก็ยังสัมพันธ์กันดีเป็นส่วนใหญ่ เพราะคนก็ยังมาวัด ถวายภัตตาหารกันเป็นเจ้าภาพรายวันมิได้ขาด การศึกษาภาษาวัฒนธรรมก็ดำเนินไปด้วยดี มองโลกในแง่ดีก็สบายใจดี

ในทางกลับกัน ก็น่าเป็นห่วงเป็นใย ถึงสายสัมพันธ์สืบทอดชีวิตคนไทยไกลบ้าน ดูนิ่งๆ แปลกกว่าแต่ก่อน ตามความรู้สึกที่ได้สัมผัส อาจเป็นเพราะช่วงวัยที่กลุ่มผู้สูงอายุเริ่มจะ “ช้า” ลง กลุ่มกลางๆ ก็มีทั้ง “ศิลปินเดี่ยว” ที่ไม่อยากยุ่งกับใคร หรือไม่ก็จับกลุ่มกันเป็นกลุ่มๆ

ไปดูสถานที่ ใกล้มหาวิทยาลัยคอร์แนล อิทะกะ นิวยอร์ก คนชวนต้นความคิดบอกว่าจะตั้ง Thai School ระดมภูมิปัญญาไทยเปิดประตูสู่สากล ขณะที่เมืองไทยกำลังตื่นตัวจะเปิดประตูสู่อาเซียน กลัวแต่จะเป็นทางผ่านจอดพักรถที่เรียกว่า Rest Area มากกว่าเป็นจุดหมายปลายทาง (Destination) เกริ่นความไว้แค่นี้ก่อน

วันนี้ก็ยังไปไหนไม่ไกลวัด เพราะมีความเคลื่อนไหวของชุมชนอยู่ที่วัดไทยกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. นัดเพื่อนรุ่นโบราณ คบกันมาตั้งแต่ 30 ปีก่อน มาทีไรต้องไปทานข้าวคุยกัน จุดนัดพบก็คือที่วัดไทยกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ไปถึงก็งง กุฏิหลังน้อยหายวับ เป็นลานกว้าง มีอาคารห้องครัวยกพื้นขึ้นไปเป็น 2 ชั้น มีห้องใต้ดินขยายทำให้พื้นที่ใช้สอยกว้างขวางขึ้น มีงานใหญ่ไม่ต้องหาโรงแรมรับแขกทั้งพระทั้งฆราวาส นับว่าสร้างได้เร็วเหมือนเนรมิต กราบพระพุทธมงคลวิมล ดี.ซี. แล้ว กราบรูปพระธรรมธีรราชมหามุนี (พระสอนวิปัสสนา ครูบาอาจารย์องค์แรกของผู้เขียน) แล้วจึงไปกราบหลวงตาชี เป็นอันว่า “มาถึงวัด” เรียบร้อย

หลวงตาชี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท) ทำไมหลวงตาจึงชื่อว่า “ชี” อยากรู้ต้องไปกราบเรียนถามท่านเอง ผู้เขียนไม่สงสัยเพราะนามนั้นสำคัญไฉน แต่ชอบใจในคำปรารถในสัมโมทนียกถาของพระคุณเจ้า กราบขออนุญาตบางตอนขึ้นต้นว่าดังต่อไปนี้

ขอเจริญพรท่านเอกอัครราชทูตและคณะอาจารย์ สาธุชนพุทธบริษัทที่มาร่วมงานเปิดห้องสมุดให้เป็นระบบ ให้เป็นระเบียบ ที่สามารถค้นคว้าหยิบยืมหนังสืออ่านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย คนจะดู คนจะอ่าน คนจะเข้าไป ก็จะต้องมีบัตร จะยืมก็ต้องมีกำหนดเวลา ไม่ใช่ยืมไป แช่เย็นไว้ บางทีก็หายไป หนังสือวัดเราหามาเพื่อเป็นตำรับตำราในการค้นคว้าต่อไป เพราะฉะนั้นคณะอาจารย์จึงมาจัด รู้สึกเป็นระบบระเบียบเรียบร้อยดี ก็ขออนุโมทนา...ขอบคุณคณาจารย์ที่มาจัดห้องสมุดให้วัดไทยฯ ดี.ซี. ให้ชื่อว่า “ห้องสมุดหลวงตาชี” เรื่องอะไรๆ วัดไทยฯ ก็เป็น “หลวงตาชี” ทั้งนั้นแหละ เพราะอยู่มานาน อยู่มาสร้างวัดนี้ตั้งแต่ต้น ตั้งแต่ยังไม่มีอะไรจนย่างเข้า 40 ปี….ขออนุโมทนาขอบคุณคณะอาจารย์ หลวงตาเข้าไปดูแล้วรู้สึกเป็นระเบียบเรียบร้อย นึกว่าห้องสมุดวัดไทย ดี.ซี. เล็กๆ ที่ไหน มันก็สมชื่อนะ สมชื่อ วัดไทยกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. มีทั้งหนังสือภาษาไทย ภาษาฝรั่ง มีครบให้อ่านได้ ฝึกฝนเล่าเรียน อยากอ่านพระพุทธศาสนาภาษาฝรั่งภาษาไทยก็อ่านได้ และขออนุโมทนาท่านเอกอัครราชทูตที่มาเป็นประธานในวันนี้...

ดร.วิชาวัฒน์ อิศรภักดี เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศสหรัฐอเมริกา ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิด “ห้องสมุดหลวงตาชี” มอบเกียรติบัตรการทำคุณประโยชน์ต่อชุมชนของอาจารย์คณะทำงาน และผู้แทนจากมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์ฯ ผู้สนับสนุนโครงการ ดังต่อไปนี้

1.รองศาสตราจารย์กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์ อดีตครูอาสาสมัครโครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยรุ่น ปี พ.ศ. 2537 วัดไทยแอล.เอ.

2.อาจารย์พงศ์จันทร์ อยู่เป็นสุข

3.อาจารย์สุจิตร สุวภาพ

4.นางสาววรรษมน เสาวคนธ์เสถียร ผู้แทนจากมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์ฯ


ความเป็นมา

ตามที่รองศาสตราจารย์กุลวรา ชูพงศไพโรจน์ เป็นผู้ได้รับรางวัล “เชิดชูผู้ทำดีเพื่อสังคม สาขาการพัฒนาห้องสมุด รางวัล “ศ.คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต” ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นเงิน สองแสนห้าหมื่นบาทถ้วน เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๕ จึงดำริที่จะนำเงินรางวัลดังกล่าวไปพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติเพื่อพระพุทธศาสนา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้เป็นแหล่งสืบค้นด้านพระพุทธศาสนาและไทยศึกษา ที่ทันสมัย สะดวกแก่ผู้ใช้บริการแก่คนไทยและชาวต่างชาติที่สนใจในพระพุทธศาสนา และไทยศึกษาต่อไป

การดำเนินการ ดำเนินการจัดห้องสมุดอัตโนมัติให้วัด และ สถาบันการศึกษาด้านพุทธศาสนาดังนี้

๑.ห้องสมุดวัดพุทธสามัคคี เมืองไครส์ทเชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ ระหว่างวันที่ ๒๑ ต.ค.- ๒๐ พ.ย.๕๕

๒.ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน จ.ขอนแก่น ระหว่างวันที่ ๕-๑๐ ธ.ค.๕๕ โดยจะไปติดตามผลงานเป็นระยะ (หอสมุดใหม่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง)

๓.ห้องสมุดวัดโมลีโลกยาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพฯ ตั้งแต่เดือน ๑๕-๑๖มีนาคม ๒๕๕๖ โดยจะติดตามผลงานเป็นระยะ(หอสมุดใหม่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง)

๔.ห้องสมุดวัดไทยกรุงวอชิงตัน ดีซี ระหว่างวันที่ ๑๒ กันยายน – ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๖

*ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการดำเนินการจัดห้องสมุดอัตโนมัติ ได้แก่ ค่าโปรแกรมอัตโนมัติ PMB / ค่าวัสดุห้องสมุด / เครื่องอ่านบาร์โค้ด /เครื่องเคลือบบัตร /ค่าบัตรพลาสติคสำหรับบัตรสมาชิก /กล่องใส่จุลสาร-เอกสาร / แถบสีติดสันหนังสือ / เหล็กกั้นหนังสือ/หนังสือคู่มือการทำงาน และหนังสืออื่นๆ /วัสดุอื่นๆ ตามความจำเป็นของแต่ละห้องสมุด ฯลฯ

*ค่าใช้จ่ายส่วนเกินเป็นเงิน 33,934.บาท ครอบครัว รศ.กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์เป็นผู้บริจาคเพิ่มเติม

*อ.สุจิตร สุวภาพ บริจาคหนังสือหายาก หนังสือพระพุทธศาสนา และคู่มือการทำงานห้องสมุด

*อ.พงษ์จันทร์ อยู่เป็นสุข บริจาคเครื่องอ่านบาร์โค้ด แก่วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี

*คุณสมหวัง เดชศิริอุดม และครอบครัว (นักธุรกิจ จ.สกลนคร) บริจาคเงิน 10,000.บาท สมทบทุนสร้างอาคาร 80 ปีหลวงตาชี (ใบอนุโมทนาที่แนบมา)

รองศาสตราจารย์กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์ / สรุปโครงการ

ประวัติและการทำงานของ นางพงษ์จันทร์ อยู่เป็นสุข (MRS.PONGCHAN YOOPENSUK)

การศึกษา

การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

ประกาศนียบัตร หลักสูตรนักบริหารการศึกษามหานครระดับสูง (นศส.) กรุงเทพมหานคร

การทำงาน

พ.ศ. ๒๕๑๔ – ๒๕๑๙ ครูผู้สอน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน

พ.ศ. ๒๕๑๙ – ๒๕๓๔ อาจารย์ ๒ ระดับ ๖ โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร

พ.ศ. ๒๕๓๔ – ๒๕๕๓ ศึกษานิเทศก์ สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร

เกียรติคุณ/

พ.ศ. ๒๕๓๐ รางวัลครูมาตรฐานดีเด่น สายประจำชั้น สังกัดกรุงเทพมหานคร

พ.ศ. ๒๕๒๖ เสนอผลงานวิจัยในการประชุมทางวิชาการ เรื่องการวิจัยทางการศึกษา และวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษางาน จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ

ประสบการณ์อื่นๆ

พ.ศ. ๒๕๓๓ คณะกรรมการ การผลิตต้นแบบสื่อการเรียนการสอน สังกัดกรุงเทพมหานคร

พ.ศ. ๒๕๔๑ วิทยากรเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพครู ของคุรุสภา วิทยากรโครงการเสริมสร้างศักยภาพของนักเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร

พ.ศ. ๒๕๔๑–ปัจจุบัน คณะกรรมการประเมินมาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร

พ.ศ. ๒๕๔๓ ร่วมจัดประชุมสมัชชาการศึกษาท้องถิ่นเพื่อการปฏิรูปการเรียนการสอน สังกัดกรุงเทพมหานคร

พ.ศ. ๒๕๔๔ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการลายมืองามตามแบบไทย ของสำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติ และกรุงเทพมหานคร

พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นกรรมการคัดสรรผลงาน หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม ของคุรุสภา

ปัจจุบัน ข้าราชการบำนาญ สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่อยู่ ๔๙ ซอยรามอินทรา ๘๕ ถนนรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ ๑๐๒๓๐.โทร.๐๘๙- ๔๗๖๖-๕๓๒

ประวัติและผลงานของ รองศาสตราจารย์กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์
คุณวุฒิ ศิลปศาสตรบัณฑิต (บรรณารักษศาสตร์) ม.รามคำแหง

ครุศาสตรบัณฑิต (การสอนภาษาไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การศึกษามหาบัณฑิต (บรรณารักษศาสตร์) ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (การสื่อสารมวลชน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การทำงาน

พ.ศ.2516-2539 สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

พ.ศ. 2539-2544 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.มหาสารคาม

พ.ศ.2545 – 2553 สาขาวรรณกรรมสำหรับเด็ก ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ฯ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

เกียรติคุณ

พ.ศ.๒๕๕๕ รับพระราชทานเข็มนามาภิไธยย่อ “สธ” จาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะที่ให้การสนับสนุนด้านการศึกษา ร.ร.ไทยรัฐวิทยา ๑๐๑ โรง ทั่วประเทศ กว่า ๒๕ ปี *รางวัล “ศาสตราจารย์คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต” เชิดชูผู้ทำดีเพื่อสังคม สาขาการพัฒนาห้องสมุด

พ.ศ.๒๕๔๘ *อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ สาขามนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ จากที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย อาจารย์ดีเด่น ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พ.ศ. ๒๕๓๘ *รางวัลหนังสือสำหรับเด็ก งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ จากเรื่อง “แม่ไก่กะลูกไก่” *เกียรติคุณบัตร ผู้ทำคุณประโยชน์อย่างยิ่งแก่กระทรวงศึกษาธิการ ด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน*

พ.ศ.๒๕๓๗ *รางวัลหนังสือสำหรับเด็ก งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ จากเรื่อง “จะไปไหนจ๊ะ”

พ.ศ.๒๕๓๕ *เกียรติคุณบัตร ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานดีเด่นด้านภาษาไทย จากกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ.๒๕๓๐ *ข้าราชการดีเด่นของมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ประสบการณ์อื่นๆ

พ.ศ.๒๕๒๙ – ๒๕๓๙ จัดรายการโทรทัศน์โทรทัศน์การศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง รายการ “เพื่อเด็กและเยาวชน” และรายการ “เด็กดี” และ จัดรายการวิทยุด้านการเล่านิทาน และ เล่าเรื่องจากหนังสือ

พ.ศ.๒๕๒๕ – ปัจจุบัน เป็นวิทยากรบรรยาย และสาธิต “ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านรูปแบบต่างๆ” “การสอนภาษาไทยให้สนุก” “การเขียนหนังสือสำหรับเด็ก” “การเล่านิทาน” “การผลิตสื่ออย่างง่ายและประหยัด”

พ.ศ.๒๕๓๐ –ปัจจุบัน อาสาสมัครจัดห้องสมุดสวนโมกขพลาราม ห้องสมุดวัดไทยลอสแองเจลิส ห้องสมุดวัดป่าธรรมชาติ นครลอสแองเจลิส , ห้องสมุด ร.ร.ไทยรัฐวิทยา ฯลฯ

แผนงานอนาคต จัดห้องสมุด ม.มหามงกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร วัดพุทธสามัคคี ประเทศนิวซีแลนด์ วัดไทย ดีซี สหรัฐอเมริกา ฯลฯ และ เขียนหนังสือสำหรับเด็กปัจจุบัน

ปัจจุบัน ข้าราชการบำนาญ Email : chukulwara@hotmail.com โทร. 081- 208-2415


ประวัติและการทำงานของ นางสาวสุจิตร สุวภาพ Ms.Suchit Suvaphab
การศึกษา

ครุศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

ศิลปศาสตรบัณฑิต (บรรณารักษศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการเทคโนโลยีสารนิเทศ) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง

การทำงาน

พ.ศ.2516 -2537 บรรณารักษ์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

พ.ศ.2537 -2547 หัวหน้าห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

พ.ศ. 2548-2552 รองผู้อำนวยการฝ่ายเครือข่ายความรู้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ปัจจุบัน ประธานคณะทำงานพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ

ที่ปรึกษา ห้องสมุดนวัตกรรม สวทน. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ

กรรมการและเลขานุการ ห้องสมุดเสริมปัญญา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ

ประสบการณ์อื่นๆ

-อนุกรรมการกลุ่มประสานงานสารนิเทศสาขาเศรษฐศาสตร์ ศูนย์สารนิเทศแห่งชาติ (ศปศ)

-กรรมการและเลขานุการ กลุ่มผู้ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ VTLS (ประเทศไทย)

-คณะทำงานพัฒนาระบบและเครือข่ายหอสมุดพระพุทธศาสนามหาสิรินาถ

-คณะอนุกรรมการหอสมุดพระพุทธศาสนามหาสิรินาถ สำนักงานมณฑล จังหวัดนครปฐม

-กรรมการบริหาร สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ

-กรรมการบริหาร สมาคมพิพิธภัณฑ์ไทย

-ประธานชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ

-กรรมการจัดตั้งโครงการห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์บ้านจิรายุ-พูนทรัพย์

-ประธานโครงการวิจัย เรื่อง แหล่งเรียนรู้และการรู้สารสนเทศของชุมชนในเขตคลองเตย

ผู้จัดทำแหล่งเรียนรู้

-ห้องสมุดมารวย สาขาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สาขาศูนย์การค้าเอสพละนาด สาขาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

-มุมความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แก่สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ๑๒๐ จุด

-พิพิธภัณฑ์บ้านจิรายุ-พูนทรัพย์ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น กทม.

-ห้องสมุดเสริมปัญญา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ

-ห้องสมุดชวลิต ธนะชานันท์ สมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

-แหล่งเรียนรู้ชุมชนอาคารทรัพย์สิน 26-7 เขตคลองเตย กทม.

-ห้องสมุดพร้อมปัญญา เรือนจำกลางบางขวาง

สถานที่ติดต่อ

152/87 ศุภาลัย ซิตี้ รีสอร์ท อาคาร A ชั้น 6 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กทม. 1024 Mobile: 086-008-2541 Home: 02-130-1492 E-Mail: suvaphab.suchit@gmail.com; ouan_ka@yahoo.com

วันนี้จึงเป็นวันแห่งความชื่นชมยินดีของพุทธศาสนิกชนไทยวัดไทยวอชิงตันดี.ซี. ลูกหลานไทยได้มี “ห้องสมุดหลวงตาชี” คนไทย-อเมริกัน ได้มาใช้เป็นสถานศึกษาด้วยตนเองสมกับคำว่า การศึกษาตลอดชีวิตด้วยบารมีของ “อะไร ๆ ก็หลวงตาชี” ซึ่งปฏิบัติดี-ชอบในพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตลอดชีวิต