6 มุมดี-มุมร้าย ?

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รัก ท่านใดสนใจการเข้าอบรมสมถกรรมฐานเพื่อเปิดประตูบารมีในชาติที่ก่อนให้แปลงเป็นเงินในชาตินี้และอบรมการจัดฮวงจุ้ยเบื้องต้นด้วยตนเอง เชิญครับที่อาคารของผม มีหลายสถานที่ รับแค่ 12 ท่านต่อหนึ่งชั้นเรียนเท่านั้นครับ ฟรีไม่มีเงื่อนไขใดๆ

ติดต่อมาได้ครับ หากแอดไลน์ไม่ได้ก็เซฟเบอร์ผม ไลน์จะขึ้นเองหรือโทรหรืออีเมล์มาได้ รีบหน่อยครับ มีโควต้าจำกัดจริง (818)399-5757, Line: stevefengshui

Email: stevefengshui@gmail.com


มากันต่อครับ

พอเราแปลเป็นภาษาคนก็จะได้ประมาณว่า โชคหรือความสำเร็จจากการติดต่อกับผู้อื่นด้วยสถานภาพของการเป็นนักโหราศาสตร์ (ในกรณีที่เจ้าชะตาเป็นนักโหราศาสตร์นะ) หรือจะแปลกลับกันให้เหมาะสมกับสภาพการณ์เช่น เจ้าชะตาประสบความความสำเร็จหรือมีโชคหากต้องมีการติดต่อกับนักโหราศาสตร์

จะเห็นว่า กรรมวิธีการแปลนั้นค่อนข้างเรียบง่าย และ เป็นระบบระเบียบมากกว่าโหราศาสตร์แขนงอื่น ๆ และ มีข้อยกเว้นน้อยกว่าทางโหราศาสตร์ไทย (ปัจจัยอะไรที่สัมพันธ์กัน จับผสมความหมายได้เลย) สำหรับเด็กรุ่นใหม่ เวลามองดวงทั้ง 3 ชั้น ขอให้คิดซะว่าเป็น Layer ใน Photoshop จะเข้าใจง่ายกว่า

จากตัวอย่างที่ยกมาจะเห็นว่า จริง ๆ แล้ว การจะเรียนวิชายูเรเนียนนั้น ไม่ต้องเก่งคณิตศาสตร์มากมาย แต่เป็นความเก่งในการใช้เหตุผลหรือตรรกศาสตร์เสียมากกว่า การพยากรณ์ในแบบของยูเรเนียน ห้ามใช้อารมณ์ความรู้สึก แต่ต้องตั้งสมมติฐานที่ชัดเจน และหาข้อสรุปที่สมเหตุสมผลจากสมการเหล่านั้น

**ถ้าต้องตรวจสมพงษ์ชะตา Synastry ด้วยเงื่อนไขช่วงเวลาจร เช่น ฤกษ์แต่งงาน อาจต้องใช้ถึง 5 ชั้น คือ 1 Transit, 2 โค้ง และ 2 Radix


6 มุมดี-มุมร้าย ?

ในเชิงปฏิบัติ ยูเรเนียนไม่มีคำว่า “มุมดี” หรือ “มุมร้าย” มีแค่ว่า “มุมแรง” กับ “มุมอ่อน” เพราะในเชิงปรัชญา ผลดี ผลร้าย อยู่ในความหมายดาวทุกดวงอยู่แล้ว มุม มีหน้าที่บ่งบอกว่า “มันสัมพันธ์กัน” ซึ่งจะแทนด้วยเครื่องหมาย = ในสมการ

ภาพจาก iordanus.com ตัวอย่าง “มุม” ที่ใช้ในโหราศาสตร์ไทย และ สากล พร้อมปรัชญาความหมาย

ส่วนคำว่า มุมแรง มุมอ่อน จะเป็นตัวแยกแยะว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะมีโอกาสเป็นไปได้มาก หรือ น้อย ตามลำดับความแรงของมุม เช่น 0 องศา > 180 องศา (ฮาร์โมนิคที่ 2) > 90 องศา (ฮาร์โมนิคที่ 4) > 45 องศา และ 135 องศา (ฮาร์โมนิคที่ 8) ชุดมุมนี้คือมุมแรง มันคือมุมตามจำนวนเท่าของทฤษฎีจตุรางคดล (Quadrant) ที่แบ่งโลกออกเป็น 4 ฤดูกาล และถือเป็นสุดยอด “รากเหง้า” แห่งวิชาโหราศาสตร์ทั้งปวงบนโลก

ส่วนมุมที่อ่อนกว่านี้ เช่น ตระกูลมุม 22.5 องศา, 67.5 องศา 112.5 องศา และ 157.5 องศา ถือเป็นเรื่องราวเล็ก ปลีกย่อยในชีวิตที่อาจไม่สำคัญมากนัก (ไม่ตราตรึงใจ) เท่ากับมุมแรง คือใช้ได้ แต่พยากรณ์ออกไปแล้วบางทีไม่โดนใจผู้ฟัง

มุมอื่น ๆ เช่น มุม 30 องศา, 60 องศา และ 120 องศา ที่โหราศาสตร์สากลมองว่าเป็นมุมให้คุณ รวมไปถึงตระกูลมุม Quintiles เช่น 32 องศา, 72 องศา และ 144 องศา แม้แต่มุม 150 องศา ทางยูเรเนียน ไมได้ปฏิเสธว่ามันใช้ไม่ได้ แต่ให้น้ำพอ ๆ กับ มุมอ่อน และในทางปฏิบัติ เมื่อเราสร้างเงื่อนไขเป็น “ศูนย์รังสี” หรือ “จุดอิทธิพล” แล้ว “ไม่ควรใช้มุมอ่อน” ก็เลยไม่นิยมใช้กัน แต่ก็พอใช้ได้ในระดับปัจจัยเดี่ยว (นี่ก็เป็นอีกอย่างที่ ท่านวิตเตอร์ พยายามตัดออก เพราะมุมในโหราศาสตร์สากล มีเยอะเกินไป)

เพราะฉะนั้นถ้าตรวจสมการแล้วเจอ “ปัจจัยเดี่ยว” สัมพันธ์ถึง “จุดเจ้าชะตา” ใน “มุมแรง” ละก็… บอกเลยว่ามาแน่ !!!


7 สายพระเคราะห์สนธิ และ สายเรือนชะตา ?

หลายคนเข้าใจผิดว่าวิชายูเรเนียนในไทยมีอยู่ 2 สาย คือ สายพระเคราะห์สนธิ กับ สายเรือนชะตา

จากการศึกษาของผู้เขียน พบว่า จริง ๆ แล้วไม่เชิงว่าแบ่งแยกเป็น 2 สายหรอก สุดท้ายทั้ง 2 ระบบ มันก็คือแนวทางของ ท่านวิตเตอร์ ทั้งสิ้น (โรงเรียนโหราศาสตร์ฮัมบูร์ก ในรุ่นดั้งเดิม) อ. ประยูร ได้ให้เหตุผลว่า ทั้ง 2 ระบบ เป็นกรรมวิธีในการหาคำตอบซึ่งเป็นเอกเทศน์แก่กัน แต่สุดท้ายจะนำมารวมกันเพื่อหาข้อสรุปได้อย่างแม่นยำ

เพียงแต่ว่าในยุคสมัยถัดมา มีการประดิษฐ์จานคำนวน 90 องศา เพื่อใช้ในการหา ศูนย์รังสี และ จุดอิทธิพล ได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น แต่ข้อเสียคือ ขณะที่ใช้จาน 90 องศา จะทำให้ไม่สามารถมองเห็น ราศี และ เรือนชะตาได้ บวกกับว่าเทคนิกพระเคราะห์สนธิ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ในวงการโหราศาสตร์ ซึ่งกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของวิชายูเรเนียน (ระบบเรือนชะตาของยูเรเนียน ยังมีหลายส่วนใกล้เคียงกับโหราศาสตร์สากลอยู่) ทำให้คนที่ศึกษายูเรเนียนใหม่ ๆ มุ่งความสนใจไปที่ตัวพระเคราะห์สนธิกันหมด ความนิยมในตัวระบบเรือนชะตา จึงค่อย ๆ เลือนหายไป

สำหรับประเทศไทยนั้น อ. พลตรีประยูร พลอารีย์ ได้เขียนหนังสือสำคัญไว้ 2 เล่มคือ “คัมภีร์สูตรพระเคราะห์สนธิ” และ “คัมภีร์สูตรเรือนชะตา” แต่เพราะเล่มคัมภีร์สูตรเรือนชะตา อ.ประยูร ท่านเขียนไว้ไม่จบ (อ. ประยูร เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2536) เนื้อหาบางส่วนจึงไม่สมบูรณ์นัก แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เฉพาะตัวสูตรผสมความหมายของเรือนชะตา อ.ประยูร ได้เขียนไว้ในเล่ม “คัมภีร์พระเคราะห์สนธิ” อยู่แล้ว จึงทำให้ สูตรเรือนชะตา ยังไม่ถึงกับหายลับไปจากวงการทีเดียว (เพียงแต่หาอาจารย์สอนเรื่องนี้ได้ยาก)


(อ่านต่อฉบับหน้า)