เชื่อว่าหลายๆท่านก็คงอยากหาสิ่งที่เป็นมงคลมาประดับชีวิตเพื่อที่จะก้าวเข้าสู่ 2563 อันเป็นปีมหามงคลนี้ด้วยความมั่นใจ จึงใคร่ขอยุติเรื่องความหมายเลขศาสตร์ไว้ชั่วคราว และนำสิ่งที่น่าจะเป็นมงคลต่อชีวิตของทุกๆท่านมาไว้เป็นตัวเลือก บางท่านอาจจะไม่เชื่อว่าต้นไม้สามารถนำมงคลชีวิต ให้โชคลาภ ให้วาสนาได้ แต่การปลูกต้นไม้ไว้ก็ทำให้เห็นถึงความสวยงามเบิกบานใจได้ไม่มากก็น้อย
ส่วนท่านใดจะซื้อบ้านใหม่หรือมีบ้านอยู่แล้ว แต่อยู่แล้วไม่มีความสุข เก็บเงินไม่อยู่หรือธุรกิจกำลังประสบปัญหาทั้งที่เคยดีมาก่อน ปรึกษาฟรีครับ รวมถึงท่านที่เจ็บป่วยด้านสุขภาพโดยเฉพาะเส้นเอ็นหรือกระดูก เดินไม่สะดวก และพี่น้องชาวไทยและชาวลาวที่ตกระกำลำบากต้องนอนข้างถนน ป้ายรถเมล์หรือไม่มีใครช่วยพาไปโรงพยาบาลเพราะสื่อสารภาษาอังกฤษไม่ได้ ติดยาเสพติดหรือเหล้า เชิญติดต่อมาครับ ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
อีกหนึ่งข่าวดี อ.เดช ญาณทิพย์ เปิดโอกาสให้ท่านดูดวงส่วนตัวหรือผ่านไลน์ด้วยค่าบูชาครูเพียง 39เหรียญเท่านั้น อยู่ ใกล้วัดไทย หากแอดไลน์ไม่ได้ก็เซฟเบอร์ผม ไลน์จะขึ้นเองหรือโทรหรืออีเมล์มาได้ ที่ (818)399-5757, Line: stevefengshui ชม YouTube และ facebook live เดช ญาณทิพย์
ว่าน มีการศึกษาและปลูกเลี้ยงกันมานานเท่าไรไม่มีใครทราบ ความเชื่อในลักษณะนี้มีมาแต่ครั้งยุคโรมันโบราณ ชาวโรมันเป็นชาติแรกที่เก็บหน่อไม้ฝรั่ง (Asparagus) จากป่ามากินหน่อ เมื่อครั้งก่อนคริสตกาลประมาณ 200 ปี หลังจากนั้นอีก 300 ปี ชาวโรมันรู้จักนำพืชต้นนี้มาปรุงเป็นยารักษาโรค เหง้านำมาตำแก้ผึ้งหรือแมลงกัดต่อย ต้นเคี้ยวกับเกลือแก้ปวดฟัน รวมทั้งปรุงเป็นยาแก้บวมน้ำ (Dropsy) จักรพรรดิองค์แรกของกรุงโรม (Augustus) มีความเชื่อว่าหน่อไม้ฝรั่งที่ผลิหน่อออกมาแล้วตายซากแห้งคาต้นนั้น เมื่อนำมาชงเป็นชาแล้วเสกด้วยคาถาเก่าแก่ของโรม จะทำให้อยู่ยงคงกระพัน
ว่านเสน่ห์จันทร์ เมตตามหานิยม
สำหรับของไทยมีเค้าเงื่อนของการเลี้ยงว่านจากสายวัฒนธรรมมอญและเขมรแต่โบราณ ตำราพิชัยสงครามทุกเล่มระบุว่า ว่าน คือสุดยอดคงกระพัน โดยธรรมชาติ นักรบโบราณนิยมการอาบว่าน เคี้ยวว่าน โบราณจารย์ในอดีตล้วน ปลูกว่าน เลี้ยงว่าน เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ปรากฏหลักฐานตามตำนานการสร้างพระรอดลำพูน ในสมัยหริภุญชัย (ประมาณ พ.ศ.1200) ว่าการสร้างพระรอด กล่าวถึงสุกกทันต์ฤษี และวาสุเทพฤษี ประชุมฤษี 108 รูป มาชุมนุมสร้าง โดยเอาดินบริสุทธิ์จากใจกลางทวีปทั้ง 5 ตัวยา 1,000 ชนิด เกสรดอกไม้ 1,000 ชนิด และ ว่าน 1,000 ชนิด มาผสมกันจนละเอียดกดลงในพิมพ์นำไปเผา เสร็จแล้ว สุกกทันต์ฤษี วาสุเทพฤษี ได้ทำพิธีปลุกเสกด้วยเวทมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ และเนื่องจากการสร้างพระรอดจากมวลสารต่างๆ นำมาผสมกัน ดังกล่าวแล้วจึงปรากฏว่าองค์พระ ที่สร้างมีสีหลายสีเนื่องจากส่วนผสมและการเผา จึงได้พบสีต่างๆได้แก่ สีเขียว สีเขียวอ่อน สีขาวปนเหลือง สีดำ สีแดง สีดอกพิกุล เป็นต้น พระเครื่องเนื้อดิน เนื้อผงล้วนมีส่วนผสมสำคัญคือว่าน การเปิดกรุวัดตาเถรขึงหนัง ที่สุโขทัย กลิ่นหอมตลบของว่านเสน่ห์จันทร์ที่สร้างแต่ยุคกรุงสุโขทัย (ประมาณ พ.ศ.1800) ที่ยังคงกำซาบมาจนทุกวันนี้ ภาคเหนือที่ ดอยคำ จังหวัดเชียงใหม่ เจดีย์ถล่มทลายพบพระพิมพ์สามหอม ที่ผสมด้วยว่านหอมของภาคเหนือเป็นสำคัญ คนไทยที่เป็นนักสู้อยู่บนหลังม้า หรือถือดาบอยู่บนดินต่างชำระร่างกายด้วยว่าน เคี้ยวว่าน หรือสวมใส่ผ้าประเจียด และรัดแขนด้วยว่านเช่นกัน
ในช่วงอยุธยา (ประมาณ พ.ศ.1893) ก็ปรากฏว่ามีการเล่นว่านใช้ว่านกันอยู่ไม่น้อย เช่นชาวบ้านบางระจัน ไปจนถึงในพระบรมหาราชวัง เช่น ในสมัยของขุนวรวงษาธิราช และสมัยพระนารายณ์ แม้แต่ในตำราโอสถพระนารายณ์ ก็มีระบุถึงสรรพคุณว่านบางชนิดอยู่
ล่วงมาถึงยุครัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325 เป็นต้นมา) ว่านยังคงอยู่กับสังคมไทยอย่างเงียบๆ แต่แนบแน่นในลักษณะที่รู้กันในครอบครัวหรือ ถ่ายทอดจากครูสู่ลูกศิษย์ รุ่นต่อรุ่นและมักปกปิดเอาไว้ หนังสือตำราแบบสมัยใหม่ที่กล่าวถึงว่านอย่างชัดเจนเท่าที่สืบเค้าเงื่อนได้ ได้แก่
พ.ศ.2452 หนังสือชื่อ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เขียนโดย พระยาพิศประสาทเวช
พ.ศ.2464 หนังสือชื่อ แพทย์ตำบลเล่ม 1 เขียนโดย พระยาแพทย์พงศา วิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช)
(อ่านต่อฉบับหน้า)