คำทำนายอนาคตอเมริกา จากผลกระทบปากฎการณ์ Blood Moon ตอนที่ ๑

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รัก ท่านใดจะซื้อบ้านใหม่หรือมีบ้านอยู่แล้ว แต่อยู่แล้วไม่มีความสุข เก็บเงินไม่อยู่หรือธุรกิจกำลังประสบปัญหาทั้งที่เคยดีมาก่อน ปรึกษาฟรีครับ รวมถึงท่านที่เจ็บป่วยด้านสุขภาพโดยเฉพาะเส้นเอ็นหรือกระดูก เดินไม่สะดวก เชิญติดต่อมาครับ

หากแอดไลน์ไม่ได้ก็เซฟเบอร์ผม ไลน์จะขึ้นเองหรือโทรหรืออีเมล์มาได้ รีบหน่อยครับ มีโควต้าจำกัดจริง (818)399-5757, Line: stevefengshui Email: stevefengshui@gmail.com

เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ทุกสรรพสิ่งย่อมเปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่ง ฉันใดฉันนั้นกับสถานการณ์โลกที่เปิดศักราชใหม่ ก้าวเข้าสู่ปีกุน 2019 อย่างเต็มตัว

••• การเมืองระดับโลกถูกกำหนดทิศทางโดยขั้วมหาอำนาจตะวันตกเจ้าเก่า “สหรัฐอเมริกา” ของประธานาธิบดีโดนัลด์ จอห์น ทรัมป์ พ่วงมาด้วยนโยบายสุดโต่ง...อเมริกา เฟิร์ส หรือผลประโยชน์ของอเมริกาต้องมาเป็นอันดับหนึ่งนัมเบอร์วัน ไม่ว่าจะเป็นความมั่นคง เศรษฐกิจการค้า

ความจริงแล้วนโยบายดังกล่าวเป็นเรื่องที่รัฐบาลสหรัฐฯ ดำเนินการมาทุกยุคทุกสมัย เพียงแต่มีความกระมิดกระเมี้ยน ไม่ให้น่าเกลียดเกินไป สิ่งที่ทรัมป์แสดงออกมาจึงไม่ใช่เรื่องแปลก อย่างไรก็ตาม วิธีการคือปัญหา เพราะตลอดการบริหารที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่ามารยาทการทูตที่ควรมีให้กันและกันเริ่มจะจางหาย กลายเป็นภาพของการทุบโต๊ะ ตามสไตล์นายทุนธุรกิจสายป่านยาว บีบบังคับให้อีกฝ่ายศิโรราบ

สหรัฐฯได้รับชัยชนะทางประวัติศาสตร์ ทั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น จึงเป็นตัวละครที่กำหนดทิศทางโลกเรื่อยมา แน่นอนว่าในปี 2019 นี้ ก็ต้องเป็นเช่นนั้นต่อไป แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือผลกระทบที่ตามมาอย่างต่อเนื่อง จากนโยบายอีโก้พญาอินทรีของทรัมป์ โดยเฉพาะเรื่องของ...สงครามการค้า การตั้งกำแพงภาษีกีดกัน ที่สร้างความระหองระแหงไปทั่วทุกสารทิศ

สี จิ้นผิง

••• การสร้างความได้เปรียบทางการค้า ทำให้หลีกเลี่ยงไม่พ้น ที่จะเกิดการเผชิญหน้ากับขั้วอำนาจใหม่ตะวันออก “สาธารณรัฐประชาชนจีน” ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ซึ่งมีทั้งทุนและบารมี ไม่จำเป็นต้องอ่อนข้อให้ใครต่อไป เนื่องจากสั่งสมอิทธิพลในต่างแดนไว้เต็มมือ ประกอบกับแรงผลักดันด้วยนโยบาย...เบลต์ แอนด์ โรด หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง กระจายงบการพัฒนาเข้าไปยังประเทศต่างๆ เพื่อแลกกับผลลัพธ์ที่ต้องการในอนาคต

ถึงแก่นแท้จะคล้ายอเมริกา แต่เป็นตำราคนละเล่ม จีนประพฤติตัวเป็น...พี่ใหญ่ สร้างบุญคุณไว้เผื่อภายภาคหน้า เข้าสูตรสังคมอุปถัมภ์แบบเอเชีย เรื่องน่าเป็นห่วงจึงตรงกับคำว่า...ช้างสารรบกัน หญ้าแพรกแหลกลาญ เพราะปีที่ผ่านมาจีนไม่ยอมหลบตา อัดกำแพงภาษีโต้ตอบสหรัฐฯในปริมาณไล่เลี่ยกันเป็นระยะๆ คิดเป็นมูลค่าหลักแสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จนทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกเหวี่ยงกระจุยกระจาย

จึงต้องจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ว่าหลังจากระยะเวลา 90 วัน หรือประมาณต้นเดือน มี.ค.2019 พ้นกรอบเวลาสหรัฐฯ-จีนประกาศพักรบสงครามการค้า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น แต่แนวโน้มแง่ร้ายที่สุดคือ การเปิดศึกระลอกใหม่ เพราะเงื่อนไขของสหรัฐฯต้องการให้จีนยอมจำนนเรื่องการขโมยทรัพย์สินทางปัญหา และอาชญากรรมทางไซเบอร์ อีกทั้งจุดยืนของทรัมป์ก็หนักแน่นดั่งหินผา อเมริกามาก่อน

••• อีกกรณีที่จะเกิดขึ้นตามมาในปี 2019 คือการแบ่งขั้วอำนาจการเมืองโลก การจับกลุ่มเป็นภาคี แทนการแอบอิงอยู่ข้างอำนาจเก่า ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นผลพวงมาจากนโยบายทางการเมืองของอเมริกาเอง ที่ทำให้นานาประเทศรู้สึกถูกทอดทิ้ง อย่าง “สหภาพยุโรป” ที่ถูกทรัมป์ปรามาส โดยเฉพาะการเรียกร้องให้จ่ายค่าคุ้มครอง เรื่องงบประมาณองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต)

จึงขึ้นอยู่กับว่าสหรัฐฯจะแก้ไขตรงจุดนี้ได้หรือไม่ มิฉะนั้นอาจถูกขั้วตรงข้ามคาบไปหม่ำ ไม่ว่าจีนหรืออริเก่าสงครามเย็น “รัสเซีย” ที่ภายใต้การกุมบังเหียนของประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน กำลังเสริมสร้างอำนาจและความน่าเชื่อถือในเวทีโลก แน่นอนว่ารัสเซียถึงจะมีปัญหากับอังกฤษเรื่องคดีสายลับการลอบสังหาร หรือประเด็นค้างคาแทรกแซงสถานการณ์ยูเครนตะวันออก แต่ก็ไม่ใช่เหตุผลเพียงพอจะมาขวางเรื่องผลประโยชน์

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา รัสเซียทำตัวให้คุยง่ายสไตล์เจ้าพ่อ ใช้แนวทางปฏิบัติได้จริงเข้ามาจับ ตรงจุดนี้เชื่อว่าจะทำให้นานาประเทศกระโดดเข้ามาร่วมวงมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือราชวงศ์ “ซาอุดีอาระเบีย” ที่มกุฎราชกุมารโมฮัมหมัด บิน ซัลมาน กำลังขึ้นหม้อคุมอำนาจ ซึ่งมีท่าทีสร้างสมดุลความมั่นคงผ่านโครงการซื้ออาวุธ แทนที่จะจับขั้วกับสหรัฐฯฝ่ายเดียว กระนั้นจะเห็นได้ว่า ทรัมป์มองขาดตรงจุดนี้ ประกาศสนับสนุนเจ้าชายบิน ซัลมาน ต่อกรณีคดีฉาวลอบสังหารนักข่าววอชิงตัน โพสต์ จามาล คาช็อกกี

••• นอกจากนี้ หนึ่งในปัจจัยเร่งของการจับขั้วอำนาจใหม่ จะมาจากการที่ “สหราชอาณาจักร” โบกมือลาถอนตัวจากสหภาพยุโรปด้วยเช่นกัน ซึ่งเส้นตายมีผลบังคับใช้คือวันที่ 29 มี.ค. อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้มีความเป็นไปได้ที่จะ

ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลก หากรัฐบาลอังกฤษไม่สามารถนำข้อตกลงการถอนตัวผ่านสภาได้ทันเวลา ทำให้ต้องออกจากอียูแบบทื่อๆไร้ข้อตกลง ในช่วงต้นปี 2019 นักการเมืองอังกฤษจึงต้องเลือกว่าจะเอาชนะคะคานจนเกิดผลกระทบ หรือยอมเดินหน้าให้ประเทศไปต่อได้

••• ข้ามมาสถานการณ์ความมั่นคงโลก มีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลสหรัฐฯของทรัมป์ จะลดบทบาท ไม่ออกตัวแรงในสมรภูมิเก่าภูมิภาคตะวันออกกลาง เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียทรัพยากรอย่างต่อเนื่องและการเผชิญหน้ากับรัสเซียที่กำลังเป็นเสือตัวใหม่เข้ามาปักหมุดใช้ซีเรียเป็นฐานสร้างอิทธิพล อาจหันไปรับมือกับภูมิภาคแปซิฟิกมากขึ้น หลังฝ่ายเสนาธิการแสดงความกังวลต่ออำนาจทางทะเลของกองทัพจีน โดยเฉพาะ...ฝูงเรือดำน้ำ

อย่างไรก็ตาม รูปแบบของความขัดแย้งได้เปลี่ยนไปทีละเล็กละน้อย ภาพของการเปิดฉากรบพุ่งจะเลือนหายกลายเป็นการทำสงครามใต้ดิน สนับสนุนอยู่เบื้องหลังกลุ่มกองกำลังติดอาวุธต่างๆ เพื่อกำหนดทิศทางภูมิรัฐศาสตร์ตามที่ตัวเองต้องการ แต่เรื่องนี้จะเป็นดาบสองคมอยู่ร่ำไป ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดมีทั้งกลุ่มตาลีบันในอัฟกานิสถาน หรือกองกำลังรัฐอิสลามในอิรักและซีเรีย ที่ผงาดขึ้นภายหลัง หลังทรัมป์ประกาศถอนทหารจากซีเรียและอาจในอัฟกานิสถานด้วย

เช่นเดียวกับการก้าวกระโดดของเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้ง ได้ทำให้เกือบทุกสิ่งทุกอย่างเข้าไปอยู่ในแพลตฟอร์ม “ออนไลน์” จึงกลายเป็นช่องทางในการปั่นกระแสเล่นสงครามจิตวิทยา สร้างความวุ่นวายในประเทศเป้าหมาย โน้มน้าวชักจูงล้างสมองความคิดประชาชน ไปจนถึงการเจาะระบบจารกรรมทางไซเบอร์ ที่ส่งผลกระทบตั้งแต่วงเล็กถึง

วงกว้าง การต่อสู้ทางออนไลน์เช่นนี้จะกลายเป็นวาระที่สำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

กระนั้นในปี 2019 โลกจะหนีไม่พ้นความขัดแย้งเก่า ทั้งเรื่อง “อิหร่าน” ที่ทรัมป์ฉีกสัญญาระงับโครงการนิวเคลียร์ แม้ว่าสัญญานั้นจะได้รับการรับรองโดยชาติพันธมิตรตะวันตกในสหภาพยุโรป รวมทั้ง รัสเซีย จีน เรื่องนี้สหรัฐฯชี้แจงเบื้องต้นว่าชาติต่างๆจะได้รับการยกเว้น ค้าขายปกติต่อไปได้อย่างน้อย 6 เดือน ก่อนต้องปฏิบัติตามมาตรการคว่ำบาตรของอเมริกา

ด้วยความเอื้อเฟื้อจากทีมข่าวต่างประเทศ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

(อ่านคำทำนายอนาคตอเมริกา ฉบับหน้า)

อ.เดช ญาณทิพย์

หรือประเด็นความมั่นคง “เกาหลีเหนือ” ว่าจะไปได้ไกลแค่ไหน หลังทรัมป์กับคิม จอง อึน ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือ เช็กแฮนด์จับมือครั้งประวัติศาสตร์ที่สิงคโปร์ แต่ทิศทางมีแนวโน้มว่าสถานการณ์บนคาบสมุทรเกาหลีจะดีขึ้นเป็นลำดับ จากความพยายามกาวใจของมูน แจ อิน ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ลดความตึงเครียดพรมแดนเส้นขนานที่ 38 แสดงให้โลกเห็นว่าสองเกาหลีคุยกันได้ อย่างไรก็ตาม ตัวแปรในกรณีนี้ก็หนีไม่พ้นรัฐบาลสหรัฐฯของทรัมป์อีกเช่นเคย และทรัมป์มีท่าทีกลับลำเป็นประจำ ในเรื่องที่สหรัฐฯไม่ได้ผลประโยชน์เต็มไม้เต็มมือ

ส่วนภัยก่อการร้ายต้องระมัดระวังตัวทุกหย่อมหญ้ากันต่อไป เพราะถึงกองกำลังรัฐอิสลามจะสิ้นท่าไปแล้วในอิรักและซีเรีย แต่บรรดาแนวร่วมยังคงกบดานอยู่ในประเทศต่างๆ ไม่รวมถึงกลุ่มคนที่คล้อยตามแนวคิดหัวรุนแรง พร้อมจะเป็นหมาป่าเดียวดาย ก่อเหตุลงมือเองได้ทุกเมื่อ

••• แต่อะไรก็ไม่เท่ากับสัญญาณอันตรายที่กำลังคืบคลานเข้ามาทุกขณะ จาก “ภาวะโลกร้อน” ที่มนุษย์เผ่าชาติพันธุ์

ต้องเผชิญร่วมกันบนโลกกลมๆใบนี้ ปัญหาคือมันยังดูเหมือนภัยไกลตัว ทั้งที่ความเปลี่ยนแปลงอยู่ตรงหน้า ไม่ว่าเรื่องระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น อุณหภูมิร้อนขึ้นทุกวัน ฤดูกาลผิดเพี้ยน จึงทำให้ยังชะล่าใจ ประกอบกับการพึ่งพาการเติบโตของอุตสาหกรรมของแต่ละประเทศ ไม่มีใครอยากออกตัวก่อน

แน่นอนว่าเรื่องนี้ก็ยังหนีอเมริกาไม่พ้นอีกตามเคย ทรัมป์ออกโรงขัดขวางข้อตกลงสู้โลกร้อนกรุงปารีส จนกลายเป็นอุปสรรคอันน่าปวดหัว...ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ทรัมป์ได้เข้ามากำหนดทิศทางโลกอย่างเมามัน เหมือนตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล จึงไม่น่าจะผิดแปลกหากจะกล่าวว่าขณะนี้โลกกำลังหมุนรอบ “ทรัมป์” ซึ่งประเทศไทยเองก็ไม่ควรประมาท อ่านสถานการณ์ให้เท่าทัน บาลานซ์อำนาจให้ถูกเหมือนที่ทำมาทุกยุคทุกสมัย ก็จะประสบความสำเร็จ สวัสดีปีใหม่ครับ.

ทีมข่าวต่างประเทศ