กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวานและงานนักขัตฤกษ์ เป็นกาพย์เห่เรือที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ซึ่งพรรณนาเกี่ยวกับอาหารคาวหวานในวัง โดยใช้การบรรยายเนื้อหาเยี่ยงนิราศ คือการรำพึงรำพันถึงสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี โดยนำเอาชื่ออาหาร ลักษณะ ส่วนประกอบ หรือความสัมพันธ์มาเชื่อมโยงเข้ากับการรำพึงรำพันนั้น นอกจากนี้ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ยังเป็นวรรณคดีที่มุ่งเน้นความงดงามไพเราะของวรรณคดีเหนือสิ่งอื่นใด มีการใช้โวหารและภาษาที่สละสลวย ตลอดจนการอุปมาเพื่อสื่อถึงรสชาติและฝีมือในการปรุงอาหารของนางอันเป็นที่รัก และการนำชื่ออาหารซึ่งสื่อถึงความในพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในความสุขจากการใกล้ชิดหรือโศกเศร้าจากการพรากจากนางอันเป็นที่รักได้อย่างกลมกลืน ชื่ออาหารหลายชนิดในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน เป็นอาหารโบราณที่หารับประทานได้ยาก เนื่องจากมีวิธีการปรุงที่ยาก และต้องใช้ความประณีตในการทำเป็นอย่างมาก เช่นหรุ่ม ล่าเตียง เป็นต้น ซึ่งจากวรรณคดีเรื่องนี้ก็ทำให้มีผู้นำอาหารโบราณหลายชนิดมารื้อฟื้นฝึกปรุงใหม่กันอีกด้วยงานศิลปะดั้งเดิมของไทยนั้นมีอยู่มากมายหลายอย่างหลายแขนง การแกะสลักก็เป็นงานศิลปะอย่างหนึ่งที่ถือเป็นมรดกมีค่าที่สืบทอดกันมาช้านาน เป็นงานฝีมือที่ต้องใช้ความถนัด สมาธิ ความสามารถเฉพาะตัว และความละเอียดอ่อนมาก การแกะสลักผักและผลไม้ เป็นการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ประจำของชาติไทยเลยทีเดียว ซึ่งไม่มีชาติใดสามารถเทียบเทียมได้ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดในปัจจุบันนี้คงจะเป็นเรื่องของการอนุรักษ์ ศิลปะแขนงนี้ที่มีแนวโน้มจะสูญหายไปและลดน้อยลงไปเรื่อยๆ
การแกะสลักผักและผลไม้เดิมเป็นวิชาที่เรียนขั้นสูงของ กุลสตรีในรั้วในวัง ที่ต้องมีการฝึกฝนและเรียนรู้จนเกิดความชำนาญ บรรพบุรุษของไทยเราได้มีการแกะสลักกัน มานานแล้ว แต่จะเริ่มกันมาตั้งแต่สมัยใดนั้น ไม่มีใครรู้แน่ชัด เนื่องจากไม่มีหลักฐานแน่ชัด จนถึงในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ในสมัยของสมเด็จพระร่วงเจ้า ได้มีนางสนมคนหนึ่งชื่อ นางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ได้แต่งหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ขึ้น และในหนังสือเล่มนี้ ได้พูดถึงพิธีต่าง ๆ ไว้ และพิธีหนึ่ง เรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงในวันเพ็ญเดือนสิบสอง เป็นพิธีโคมลอย นางนพมาศได้คิดตกแต่งโคมลอยที่งดงามประหลาดกว่าโคมของพระสนมคนอื่นทั้งปวง และได้เลือกดอกไม้สีต่าง ๆ ประดับให้เป็นลวดลายแล้วจึงนำเอาผลไม้ มาแกะสลักเป็นนกและหงส์ให้เกาะเกสรดอกไม้อยู่ตามกลีบดอก เป็นระเบียบสวยงามไปด้วยสีสันสดสวย ชวนน่ามองยิ่งนัก รวมทั้งเสียบธูปเทียน จึงได้มีหลักฐานการแกะสลักมาตั้งแต่สมัยนั้น
๑. เลือกมะปรางที่ไม่สุกและไม่ห่ามเกินไป สำคัญคือต้องไม่ช้ำแม้แต่น้อย
๒. มีดต้องคมมากๆ เท่าที่เห็นผู้ใหญ่ท่านจะใช้มีดทองเนื่องจากปอกแล้วผลไม้ไม่ดำ เวลาปอกต้องเอามีดจุ่มน้ำแล้วลับกับไหมหรือแพรที่ปูบนตัก เพื่อไม่ให้มะปรางติดยางดำ และเดินมีดได้สนิท สามารถกรีดริ้วต่างๆได้สวยงาม นอกจากนี้มีดทองที่ใช้ปอกแล้วยังมีมีดคว้านเมล็ดที่ปลายแหลมเล็กและคมมากว่ามีดคว้านทั่วไป แต่ปัจจุบันไม่เห็นแล้ว ชุดมีดของผู้ใหญ่แต่ละท่านจะเป็นของเฉพาะตัว มีการสั่งทำเฉพาะ เมื่อสิ้นบุญจึงเป็นมรดกให้ลูกหลาน
การปอกมะปรางริ้ว มือขวาจะถือมีดนิ่งๆ หันคมไปทางขวา ส่วนมือซ้ายจะถือมะปรางแล้วค่อยๆหมุนข้อมือให้มะปรางผ่านคมมีดเป็นลายต่างๆ โดยขยับมะปรางน้อยที่สุด
๓. น้ำล้างผลมะปรางที่ปอกแล้วควรใช้น้ำลอยดอกไม้สดผสมเกลือนิดหนึ่งจะดีกว่าน้ำเปล่าธรรมดา
๔. ล้างแล้วคลุมด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำเพื่อกันไม่ให้ผลมะปรางแห้ง เมื่อได้มะปรางตามจำนวนที่ต้องการ นำไปชุบน้ำเชื่อมเข้มข้นเพื่อให้เห็นริ้วชัดสวย และจัดเรียงในโถแก้วประดับดอกมะลิหอมกรุ่น
ระหว่างที่ ส.ท่าเกษม ไปพักผ่อนกับครอบครัวเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว มีเวลาว่างเลยเปิดดูเฟซบุ๊ค รูปแรกเป็นสวนดอกไม้ในไร่องุ่นกราน-มอนเต้ ดอกไม้แต่ละชนิดมีสีสดใส หน้าตาสวยไม่ค่อยจะเคยเห็นที่ไหนมาก่อน ดูไปดูมาตอนท้ายเห็นต้นไม้มีใบสีเขียวคล้ายใบมะม่วง แต่ลูกที่ห้อยอยู่ตามกิ่งก้านเป็นสีเหลืองสดลูกดกโตเหมือนไข่เป็ด ไม่มีคำบรรยายใต้ภาพ เลยถามไปว่า “ต้นมะปรางใช่ไหม ?” คุณวิสุทธิ์ เจ้าของไวน์ กราน-มอนเต้ ราชาไร่องุ่นเขาใหญ่ตอบมาว่า “ใช่ ต้นมะปราง !” ส.ท่าเกษม เลยได้ความคิดว่า เสาร์นี้จะเขียนถึง “มะปราง” เพราะถ้าจะพูดไปแล้วพวกเรามีความผูกพันกับผลไม้ “มะปราง” มากทีเดียว !
ยามเด็กนั่งเรือจากบ้าน “ท่าเกษม” ล่องไปตามลำแม่น้ำเจ้าพระยากับบิดาและครอบครัวจนถึง “ท่าอิฐ” จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นบ้านสวนติดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเช่นกัน บิดาชอบมาพักผ่อนที่นี่ สงบ ร่มรื่น เย็นสบาย ทุกครั้งพอเรือเทียบสะพาน ใจจะวิ่งไปถึงสวนทางด้านหลังของบ้านทั้งๆที่ตัวยังอยู่ในเรือ บิดาขึ้นฝั่งก่อนแล้วพวกเราจึงขึ้นตามหลัง เมื่อไม่มีภาระอะไร...ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรทั้งสิ้น พอจับกลุ่มได้จะรีบมุ่งตรงไปสวนผลไม้ปลูกรวมกันหลายชนิด มีทั้งมะม่วง มะปราง มะพร้าว ลูกตาล ฯลฯ ๒ ชนิดหลังนี้อยู่ในทุ่งนา เวลาออกทุ่งนาไม่มีใครกล้าแต่งสีแดงเพราะกลัวถูกควายขวิด !
ที่มีความผูกพันกับ “มะปราง” เพราะบางครั้งช่วงที่พวกเราไป “ท่าอิฐ” ผลมะปรางยังดิบเป็นสีเขียวอยู่ มะปรางจะออกผลผลิตประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปี และสามารถเก็บผลได้ประมาณกลางเดือนมกราคม สำหรับพวกเด็กๆ จะชอบ มะปรางดิบมากกว่า มะปรางสุก เพราะอร่อยมากทั้งหวานทั้งกรอบและมัน กัดรับประทานกันทั้งเปลือกเลย ยางมะปรางเยอะเหมือนยางมะม่วง เหนียวหนึบเนื่องจากยังดิบอยู่ ที่สนุกมากคือตอนขโมยเก็บแล้วถูกเอ็ด บางทีกำลังเก็บเพลินอยู่ได้ยินเสียง “ตานุ่ม” ผู้ใหญ่ที่ดูแลสวน พวกเราจะวิ่งหนีกันคนละทิศคนละทาง บิดาชอบรับประทานมะปราง ที่บ้าน”ท่าอิฐ” มีมะปรางพันธุ์ดีไม่แพ้มะปรางจาก จังหวัดนครนายก “ตานุ่ม” แกหวงเพื่อเก็บไว้ให้บิดาของพวกเราและที่เหลือยังเก็บขายได้อีก มะปรางเป็นผลไม้ที่มีราคาแพง ทราบมาว่าในปัจจุบันกิโลหนึ่งราคาสูงถึง ๓๐๐ บาทก็มี
แม่ครัวพ่อครัวที่ปรุงอาหารให้บิดาเป็นคนเก่าคนแก่มาจากในวัง ผักผลไม้ทุกชนิดต้องผ่านการแกะสลักด้วยฝีมืออันประณีตและละเอียดอ่อนดูสวยงาม ทางแผนกของคาวมี แม่ทองสุก คุมอยู่และแผนกของหวาน แม่บาง จะปอกริ้วคว้านเมล็ดมะปรางใส่สำรับของหวานเตรียมให้บิดา ส.ท่าเกษม ชอบไปนั่งอยู่ข้างๆ รอรับส่วนแบ่งคือเมล็ดมะปรางที่คว้านทิ้งแต่ยังพอมีเนื้อติดอยู่บ้างเล็กน้อย และชอบร่วมรับประทานอาหารกับบิดาถ้าโอกาสอำนวยเพราะชอบอาหารคาวหวานจากฝีมือคนชาววัง ทุกวันนี้ยังคงติดรสหวานของอาหารชาววังอยู่ โดยเฉพาะผัดไทแต่ไม่ถึงกับหวานเจี๊ยบแบบแม่ครัวทำน้ำตาลหก!
พอโตขึ้นจึงได้มีโอกาสหัดปอกมะปรางริ้วและคว้านเมล็ดด้วยมีดทองที่ผู้ใหญ่หวงมาก หลังจากใช้แล้วทุกครั้งจะทำความสะอาดเก็บรักษาไว้อย่างดีห่อเก็บด้วยผ้าสักหลาดทั้งชุด มีดทองทุกๆ ด้ามจะลับจนคมกริบเตรียมพร้อมที่จะใช้งานในครั้งต่อไป