เนื้อร้องเพลง ระบำไก่ เป็นพระนิพนธ์ของ สมเด็จฯ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงนำบทละครเรื่อง ลิลิตพระลอ มาสร้างและปรับปรุงเป็นบทละคร พาทย์ทำนองเพลง ลาวจ้อย ความหมายของเนื้อเพลงมีว่า ขนไก่งามสีแดงระเรื่อผสมสีเขียวมันระยับ ปีกของไก่สลับสีเบญจรงค์ ( ๕ สี ) ด้วยลวดลายงดงาม ขอบตาสีแดงชาด มีหงอนสวยงาม ขันได้ไพเราะ มีเดือยสีเหลือง เท้าทั้งสองมีลวดลายงดงามดังทองเนื้อแท้ มีลวดลายฉลุลงสีสวย ปู่เจ้าสมิงพราย สั่งให้ผีลงสิงไก่ให้ไปล่อ พระลอ มา
ระบำไก่ เป็นการแสดงประเภทระบำชุดหนึ่งในละครพันทาง เรื่อง "พระลอ" ตอน พระลอตามไก่ เป็นการแสดงให้เห็นถึงลีลาท่าทางการร่ายรำของฝูงไก่ที่สวยสดงดงามน่ารักชุดหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อเรื่องว่า พระเพื่อนแก้ว พระแพงทอง เจ้าหญิง ๒ พี่น้องแห่งเมืองสรอง สั่งให้ นางรื่น นางโรย สองพี่เลี้ยงไปเร่งรัดให้ ปู่เจ้าสมิงพราย ใช้เวทมนต์คาถาไปล่อ พระลอ มา ปู่เจ้าสมิงพราย ใช้ผีลงสิงในไก่แก้วและไก่บริวารแล้วใช้ให้ไปล่อ พระลอ มา ซึ่ง พระลอ กับพี่เลี้ยงคือ นายแก้ว และ นายขวัญ กำลังเดินทางมาหา พระเพื่อน พระแพง เมื่อ พระลอ เห็น ไก่แก้ว แล้วก็ตามจับ ไก่แก้ว ก็หนีและล่อให้ พระลอ มาเมืองสรอง ในตอนนี้จะมี ไก่แก้ว และบริวารไก่ออกมารำในเพลง ระบำไก่
ลิลิตพระลอ ถูกแต่งขึ้นอย่างประณีตงดงาม มีความไพเราะของถ้อยคำและเต็มไปด้วยสุนทรียศาสตร์ พรรณนาเรื่องด้วยอารมณ์ที่หลากหลาย ใช้กวีโวหารอย่างยอดเยี่ยมในการบรรยายเนื้อเรื่องที่มีฉากอย่างมากมาย โดยมีแก่นเรื่องแบบรักโศกและ แฝงแง่คิดถึงสัจธรรมของชีวิต เป็นที่น่าเสียดายที่ทั้งเรื่องผู้แต่งและปีที่แต่ง ไม่ปรากฏหลักฐานหรือข้อความระบุที่ชัดเจน แต่อาจอาศัยเนื้อเรื่องที่ระบุถึงสงครามระหว่างไทยและเชียงใหม่มาเป็นจุดอ้างอิง ซึ่งเดิมนั้นเชื่อว่าน่าจะแต่งขึ้นใน สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑) แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน และเป็นที่ถกเถียงกันมาจวบจนปัจจุบัน นักวิจารณ์วรรณคดีส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า ลิลิตพระลอ แต่งขึ้นใน สมัยอยุธยา แน่ แต่ยังมีบางท่านเสนอเวลาที่ใหม่กว่านั้น ว่าน่าจะแต่งขึ้นใน สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีผู้คล้อยตามไม่มากนัก
นักวรรณคดีมักจะยกโคลงท้ายบทมาเป็นหลักฐานพิจารณาสมัยที่แต่ง และสันนิษฐานว่าผู้แต่งน่าจะเป็น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ และผู้เขียน คือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ และคาดว่าน่าจะแต่งเมื่อ พ.ศ. ๒๐๓๔-๒๐๗๒ อย่างไรก็ตาม นักวรรณคดีบางท่านเสนอว่าน่าจะอยู่ในสมัย พระชัยราชาธิราช (พ.ศ. ๒๐๗๗-๒๐๘๙) เนื่องจากเป็นสมัยที่มีสงครามระหว่างไทยกับเชียงใหม่ และเป็นสมัยแรกที่มีการใช้ปืน (ปืนไฟ) ในการรบ
คำประพันธ์ในเรื่อง ลิลิตพระลอ เป็นลิลิตสุภาพ ประกอบด้วย ร่ายสุภาพ, ร่ายสอดสร้อย, โคลงสองสุภาพ, โคลงสามสุภาพ และ โคลงสี่สุภาพ สลับกันตามจังหวะ ลีลา และเนื้อหาของเรื่อง
“ลิลิตพระลอ” ได้รับยกย่องจาก วรรณคดีสโมสร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ ให้เป็น “ยอดแห่งลิลิต”
เหมือนกับที่ NINA SIMONE ร้องไว้ในเพลง FEELING GOOD เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๖๕ ...
IT’S A NEW DAWN
IT’S A NEW DAY
IT’S A NEW LIFE
FOR ME
AND I’M FEELING GOOD!... อยากจะเติมไปอีกประโยคว่า “IT’S A NEW YEAR” !
ลาก่อน “ปีลิง” เป็นลิงที่ไม่น่ารักเลย แถมค่อนข้างจะดุมากทำร้ายจิตใจพวกเราชาวไทยทั่วทุกมุมโลก ขอต้อนรับ ”ปีไก่” ไก่เป็นสัตว์มีปีกที่น่ารักสวยงาม มีเสียงที่ไพเราะยามขันในตอนเช้าตรู่ของวันใหม่ ไก่ให้ประโยชน์กับมนุษย์มาก เริ่มตั้งแต่เป็นไข่ยังไม่ได้ฟักตัว รวมภาพพจน์แล้ว “ปีระกา” เป็นปีที่ดี อาทิตย์นี้มองหารูปไก่สวยๆ มาลงประกอบคอลัมน์ต้อนรับปีใหม่ เลยไปพบ “ไก่แก้ว” จาก ลิลิตพระลอ ดูรูปแล้วพลอยเพลิดเพลินกับการอ่านเรื่องราว พบโคลงกลอนที่รู้จักสมัยเรียนหนังสือ เลยขอถือโอกาสลา “ปีวอก” ด้วยโคลงสี่สุภาพจาก “ลิลิตพระลอ”
ลางลิงลิงลอดไม้ ลางลิงส.ท่าเกษม มีความผูกพันและประทับใจกับละครเรื่อง “พระลอตามไก่” มาก เพราะบิดาเคยแสดงเป็น “ปู่เจ้าสมิงพราย” ส่วนพี่สาว บุษบานงเยาว์ แสดงเป็นไก่ รำละครในชุด “ระบำไก่” ตอนนั้นได้แต่นั่งมองอยากจะรำบ้าง แต่ยังเด็กนักทั้งไม่มีความสามารถ เมื่อโตขึ้นบิดาสนับสนุนให้พวกเรารำละคร มีครูจากกรมศิลปากร ครูศิริพร (เชื้อ) มาสอนในวันสุดสัปดาห์ที่ บ้านท่าเกษม ใน ห้องแดง ที่บิดาใช้ต้อนรับแขกคนสำคัญและเวลามีประชุม เวลาเรียนรำละครพวกเรานุ่งโจงกระเบนสีแดง คุณครูผู้สอนมีเสียงดังฟังชัดได้ยินไปไกลและค่อนข้างจะเข้มงวด บิดามักจะเดินจาก “ทับแก้ว” เรือนพักของท่านมายังตึก อาสนกุมาร ที่อยู่ติดกัน เวลาเห็นท่านมาที่ “ห้องแดง” พวกเราจะตั้งใจรำกันอย่างเอาจริงเอาจัง
ปีใหม่ปีนี้เริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยการ เต้นรำฟังเพลง ตามประเพณีนิยม เต้นรำ เป็นการออกกำลังกายประเภทหนึ่งที่ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง และ เสียงเพลง ทำให้จิตใจแจ่มใสเบิกบาน ดังนั้นทุกฟลอร์ในวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่จึงแน่นเอี๊ยด ส่วนใหญ่ต้องจองล่วงหน้า ชีวิตทั่วๆไปยังคงเหมือนเดิม เริ่มเดินทางตั้งแต่หลังเทศกาลคริสต์มาส เป็นนกขมิ้นเหลืองอ่อนค่ำไหนนอนนั่น คอลัมน์นี้เขียนท่ามกลางอากาศที่เย็นยะเยือกเข้าไปถึงขั้วหัวใจ ลงต่ำถึง ๓๘ องศาในยามค่ำคืน เมืองในทะเลทรายจะเป็นเช่นนี้ หนาวจัด ร้อนจัด แต่ก็มีความสุขดีเพราะ... ความสุขอยู่ที่ความพอใจ !
หมายเหตุ ข้อมูลและภาพจาก วิกิพีเดีย, GOTOKNOW.ORG, HAPPINESS.BLOGSPOT, NARISARA.BLOGSPOT