ไลฟ์สไตล์
จอมพล
อันตรายจากโทรศัพท์มือถือ

ไม่นานมานี้ผู้เขียนได้รับเมลส่งมา พาดหัวอย่างน่ากลัวว่าต้องอ่านให้ได้ เมลนี้เป็นเรื่องราวของการใช้กล้องมือถือแบบดิจิตอล ดังที่คัดมาเป็นภาษาอังกฤษและผู้เขียนได้แปลให้อ่านดังต่อไปนี้

Can ELECTRICITY pass through Flash light of the Digital camera to your body??? Yes it is 100% true..!

This is a true incidence reported of a boy aged 19, who was studying in 1st year of engineering, who died in Keshvani Hospital, Mumbai. He was admitted in the Hospital as a burned patient. Reason ??????

This boy had gone to Amravati (a place located in State of Maharashtra ) on a study tour, on their return they were waiting at the railway station to catch the train. Many of them started taking pictures of their friends using "Mobile Phones" and / or "Digital Camera". One of them complained that, he was unable to capture the full group of friends in one frame in the Digicam. This boy moved away to a distance to get the whole group.

He failed to notice that at an angle above his head, 40,000 volts electrical line was passing through. As soon as he clicked the digital camera? 40,000 volt current passed through the camera flash light to his camera and then from his camera to his fingers & to his body. All this happened within a fraction of a second. His body was half burned. They arranged for an ambulance & his burned body was brought to Keshavani Hospital, Mumbai.

For one & half days or so he was conscious & talking. Doctors did not have much hopes as there was a lot of complex issues in his body. He passed away later. Now how many of us are aware about these technical threats & dangers? Even if we are, how many of us are adhering??


* Please avoid mobile phones on petrol outlets.
* Please avoid talking on mobile phones while driving.
* Change that "Chalta Hai Yaar Attitude".
* Please avoid talking on mobile phones while kept in charging mode without disconnecting from wall socket.
* Please do not keep mobile phones on your bed while charging and / on wooden furniture.
* Avoid using mobile phones / Digital cameras near high voltage electrical lines like in railway stations and avoid using flash.

กระแสไฟฟ้าสามารถผ่านแสงแฟลชของกล้องถ่ายรูปแบบดิจิตอลมายังตัวท่านได้หรือไม่ คำตอบคือได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์

นี่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงของเด็กชายวัย ๑๙ ปี ผู้ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในสาขาวิชาวิศวกรรมปีที่หนึ่ง ซึ่งเสียชีวิตที่โรงพยาบาลเกชวานี เมืองมุมไบ เขาถูกส่งเข้าโรงพยาบาลเนื่องจากถูกไฟไหม้ สาเหตุก็คือ เด็กชายผู้นี้ได้ไปทัศนศึกษายังเมืองอัมระวาตี (สถานที่นี้อยู่ในรัฐมหารัชตร) ขากลับพวกนักศึกษาได้มารอรถไฟที่สถานีรถไฟ นักศึกษาหลายคนพากันถ่ายรูปเพื่อนๆด้วยโทรศัพท์มือถือ และกล้องถ่ายรูปแบบดิจิตอล ซึ่งในขณะนั้นเขาไม่รู้เลยว่ามุมกล้องเบื้องบนนั้นเป็นสายไฟฟ้าแรงสูงขนาด๔๐,๐๐๐ โว้ลท์พาดผ่านอยู่ ในเวลาที่เขากดถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอลนั้น กระแสไฟฟ้า๔๐,๐๐๐ โว้ลท์ก็วิ่งผ่านเข้ามาตามแสงแฟลชเข้าไปในกล้องและไปยังนิ้วมือจนไปถึงร่างกายของเขา เหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในชั่วพริบตา ร่างของเขาครึ่งร่างไหม้ทันที เขายังคงมีสติอยู่และพูดได้เพียงแค่วันครึ่ง แพทย์ก็หมดความหวังที่จะช่วยเหลือเพราะเนื้อเยื่อที่สำคัญในร่างกายของเขาได้เสียหายไปหมด และเขาก็ได้เสียชีวิตในที่สุด ถึงตอนนี้พวกเรามีใครบ้างที่รู้เรื่องของความเสี่ยงและอันตรายจากกล้องดิจิตอล ถึงแม้ว่าจะรู้แต่ใครจะคิดว่ามันจะเกิดขึ้นจริงๆ

- อย่าวางโทรศัพท์มือถือบนถังน้ำมันเบนซิน
- อย่าคุยโทรศัพท์ในระหว่างที่ขับรถ
- เปลี่ยนความคิดว่ามันคงจะไม่เกิดขึ้นกับเราเสียใหม่ ( Chalta Hai Yaar เป็นคำฮินดี ปรกติหมายความว่าสิ่งที่มันจะเป็น นิยมใช้มากในอินเดียหมายถึงความละเลย ความประมาท )
- อย่าวางโทรศัพท์มือถือที่เสียบปลั๊กชาร์จไฟไว้บนเครื่องเรือนที่ทำด้วยไม้หรือบนที่นอน
- อย่าใช้มือถือหรือกล้องดิจิตอลใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงโดยเฉพาะสถานีรถไฟและอย่าใช้แฟลช

อย่างไรก็ตามหลังจากที่ผู้เขียนได้อ่านข้อความทั้งหมดนี้แล้วก็เกิดความคลางแคลงใจและสงสัย ตามประสาคนไม่ค่อยเชื่ออะไรง่ายๆจึงไปค้นเว็ปไซด์อื่นๆดูทีว่าชาวโลกเขาแสดงความคิดเห็นกันอย่างไร ในเวปไซด์ www.hoaxorfact.com ได้ให้ความเห็นไว้ว่า

“จากข้อความดังกล่าวที่พูดถึงอุบัติเหตุไฟดูดที่เกิดขึ้นในระหว่างที่กดกล้องถ่ายรูปที่มีแสงแฟลชไปยังสายไฟฟ้าแรงสูง โดยอ้างว่ากระแสไฟได้ไหลผ่านจากสายไฟฟ้าแรงสูงไปยังแสงแฟลชและพุ่งไปยังตัวของผู้ที่ถ่ายรูปนั้น อุบัติเหตุเช่นนี้ไม่มีมูลเหตุที่น่าเชื่อถือ เพราะกระแสไฟจะเดินทางไปได้ต้องผ่านอากาศไป แต่อากาศนั้นมีแรงต้านมากพอที่จะบล๊อกกระแสไฟฟ้า และกระแสไฟก็ไม่สามารถที่จะเดินทางผ่านแสงได้ เพราะแสงสว่างนั้นประกอบไปด้วยโปตรอนที่ไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า ดังนั้นแสงไฟจากแฟลชจึงไม่น่าที่จะนำไฟฟ้าไปยังคนที่ถ่ายรูปได้ ลองคิดดูง่ายๆอย่างเช่นแสงอาทิตย์ที่ส่องผ่านสายไฟแรงสูงขนาด ๔๐๐ โวลท์ไม่เคยทำอันตรายแก่ผู้ที่ยืนอยู่ใกล้ๆ พลังงานไม่สามารถเดินทางผ่านแสงได้ ถ้าหากว่าเป็นไปได้จริงเราก็จะสามารถใช้พลังงานในบ้านของเราโดยไม่ต้องมีสายไฟ ฉะนั้นกระแสไฟจึงไม่สามารถวิ่งผ่านแสงแฟลชของกล้องดิจิตอลไปยังตัวของใครได้ อย่างไรก็ตาม เราก็ยังควรที่จะอยู่ห่างๆสายไฟฟ้าแรงสูงอยู่ดี เพราะมันสามารถจะดูดกระแสไฟในแนวโค้งได้ประมาณสองถึงสามเซ็นติเมตร

นอกจากนี้การห้ามใช้โทรศัพท์มือถือที่ปั๊มน้ำมันก็ได้กลายเป็นประเด็นถกเถียงกัน นั่นก็เพราะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในอินโดนีเซียเมื่อปี ๑๙๙๙ เมื่อคนขับรถถูกเผาทั้งตัวและทั้งรถเนื่องมาจากโทรศัพท์มือถือระเบิด แต่กระนั้นอุบัติเหตุดังกล่าวก็ไม่มีหลักฐานจากทางการแสดงว่าได้เกิดขึ้นจริง CTIA The Internatioanl Association for the Wireless Telecommunications Industry (สมาคมอุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือนานาชาติ) ได้ออกมากล่าวว่า " ไม่เคยมีหลักฐานอย่างเป็นทางการว่าโทรศัพท์มือถือระเบิดที่ปั๊มน้ำมันที่ไหนในโลก” เรื่องที่ลือกันว่าเกิดขึ้นผ่านทางสื่อยูทูป และอีเมลรายงานว่าสาเหตุที่เกิดเกิดจากโทรศัพท์มือถือเกิดลุกเป็นไฟและทำให้เป็นชนวนเกิดไฟฟ้าสถิตย์ในถังน้ำมัน หรืออาจจะเกิดจากการจุดไฟแช็คสูบบุหรี่ ฉะนั้นถึงแม้จะไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน เพื่อความปลอดภัยตามปั๊มน้ำมันจึงเตือนประชาชนให้ระวังการใช้โทรศัพท์มือถือในระหว่างที่เติมน้ำมัน

การพูดโทรศัพท์มือถือในระหว่างที่ขับรถอยู่ ตามปรกติถ้าผู้ขับปฏิบัติตามกฏหมาย ไม่มีปัญหา ส่วนการที่ใช้โทรศัพท์ในระหว่างที่โทรศัพท์เสียบปลั๊กอยู่นั้นก็ไม่เป็นอันตรายเช่นเดียวกัน โทรศัพท์มือถือที่ระเบิดนั้นเกิดขึ้นจากโทรศัพท์หรือแบตเตอรี่เกิดความผิดพลาดทางเทคนิค ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้สามารถเกิดขึ้นได้แม้จะไม่ได้เสียบปลั๊กอยู่ก็ตาม ดังนั้นเรื่องที่เตือนมาตั้งแต่ต้นนั้นเป็นเรื่องโกหกโดยแท้จริง

ถึงอย่างไรก็ตามเราก็คงจะเคยได้ยินว่าการใช้โทรศัพท์มือถือนั้นอาจจะทำให้เป็นมะเร็งได้ จากการค้นคว้าข้อมูล ผู้เขียนพบว่าส่วนมากจะกล่าวอย่างเลื่อนลอยและไม่มีงานวิจัยมารองรับ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดจากเวปไซด์ WWW.drbenkim.com/cell-phone-dangers ได้กล่าวไว้ว่า

1. การที่เราได้รับคลื่นวิทยุที่อยู่รอบตัวเราตลอดเวลานั้นรบกวนกระแสไฟฟ้าในเซลของตัวเรา โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายได้รับคลื่นวิทยุนั้นคือ

- การเติบโตอย่างผิดปกติในดีเอ็นเอในช่องท้อง
- นอนหลับยาก หดหู่เศร้าหมอง วิตกกังวล กระวนกระวาย
- เป็นโรคลิวคีเมีย
- เป็นมะเร็งที่ตา
- ระบบภูมิคุ้มกันโรคเสื่อม
- ความจำเสื่อม
- เป็นหมัน

2. เด็กๆจะได้รับผลเสียจากโทรศัพท์มือถือมากกว่าผู้ใหญ่ ทั้งนี้ก็เป็นเพราะร่างกายยังอยู่ในระหว่างการสร้างเสริมร่างกาย การที่ปล่อยให้เด็กโดนกระแสวิทยุ จะทำให้เด็กเกิดโรคมากกว่าผู้ใหญ่

3. ตั้งแต่ปี ๑๙๕๐ ถึงกลางปี ๑๙๗๐ สถานฑูตอเมริกาในกรุงมอสโควถูกโจมตีด้วยกระแสคลื่นวิทยุตลอด ๒๔ ชั่วโมง พนักงานสถานฑูตได้เกิดโรคใหม่ที่ชื่อว่า “Radio Frequency Sickness Syndrome.”

4. ข้อที่สำคัญที่สุดก็คือดร.เจอร์รี่ ฟิลลิปส์ นักชีววิทยาได้ทำการศึกษาโทรศัพท์มือถือของบริษัทโมโตโลลามากว่า ๑๐ ปี ครั้นเมื่อเขาได้เริ่มนำข้อมูลออกมาตีแผ่ว่าโทรศัพท์มือถือให้ผลเสียต่อสุขภาพมนุษย์ งานวิจัยของดร.ฟิลลิปส์ ก็เลยถูกต่อต้านและตัดงบจากบริษัทโมโตโลลา เราจึงไม่ได้ยินรายงานที่หนักแน่นและเชื่อถือได้

มาจนถึงบรรทัดสุดท้าย จึงทิ้งข้อสรุปไว้ให้ท่านผู้อ่านค้นคว้าต่อ ว่าจะเชื่อเรื่องโทรศัพท์มือถือเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่อย่างไร