ไลฟ์สไตล์
จอมพล
กิจกรรมวันแม่

การแสดงออกถึงความกตัญญูต่อบิดามารดาเป็นคุณธรรมที่สำคัญของวัฒนธรรมไทย ฉะนั้นเราจึงถูกปลูกฝังให้แสดงความรู้สึกนั้นต่อบิดามารดาของเรา โรงเรียนไทยก็เป็นหนึ่งในส่วนร่วมกิจกรรมนั้น ผู้เขียนได้อ่านข้อความที่เผยแพร่กันทางโซเชียลเน็ทเวิร์คแล้วก็สะเทือนใจ จึงนำมาแบ่งปันเผยแพร่เนื่องในวันแม่แห่งชาติ ว่าในการแสดงความกตัญญูต่อมารดานั้น เราเคยคิดกันบ้างไหมว่ามันทำร้ายจิตใจเด็กที่ไม่มีแม่มากแค่ไหน ความที่คัดมามีดังนี้

ถือเป็นภาพกิจกรรมวันแม่ที่สะเทือนใจ มากๆอีกภาพ สำหรับ ภาพจากข้อเขียน ของ คุณ ศิริศักดิ์ ศิริทิชากร บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ แพร่ข่าว จ.แพร่

ซึ่งได้เขียนเอาไว้เมื่อปี 2557 หลังได้มีโอกาสไปร่วมงานวันแม่ที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง และบังเอิญเจอภาพนี้เข้าและสร้างความสะเทือนใจให้ผู้เขียนจนได้กลั่นออกมา เป็นตัวอักษรลงเฟชบุ๊คส่วนตัว ซึ่ง ภาพและ ข้อเขียนดังกล่าวกำลังได้รับความสนใจและถูกนำกลับมาแชร์อีกครั้งในช่วงนี้ หลังวันแม่แห่งชาติปี 2558 (12สิงหาคม ) กำลังจะเวียนมาถึงในอีกไม่กี่วันข้างหน้า


โดย ข้อเขียน ดังกล่าวมีว่า

‘ผู้บริหารทุกโรงเรียนควรอ่าน

-----------------------------------

วันที่ 7-8 สิงหาคม 2557 ที่ผ่านมาพบว่าโรงเรียนทั้งประถมและมัธยมแทบทุกต่างจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กๆรักแม่-ชื่นชมแม่

ข้อเขียนนี้แม้จะไม่ทันกาลแต่ผมมีเจตนาจะเขียนจริงๆ

มีเจตนาจะเขียนให้ครูและผู้บริหารทุกโรงเรียนอ่านเผื่อปีหน้าพวกท่านจะได้ทบทวนว่าที่ทำๆกันมาหลายปีนั้นถูกต้องดีแล้วหรือ.?

ความเห็นส่วนตัวของผมสำหรับกิจกรรมวันแม่ตามโรงเรียนผมไม่เห็นด้วยที่จะต้อง เรียกแม่ของเด็กๆไปให้ลูกกราบหรือมอบพวงมาลัยดอกมะลิหรือติดดอกมะลิให้แม่ ที่โรงเรียนเพราะยังมีเด็กอีกกลุ่มที่ไม่สามารถพาแม่มาโรงเรียนได้

เช่น-พ่อแม่เลิกกัน แม่เสียชีวิตไปแล้ว แม่ไปมีสามีใหม่ไม่มาหาลูก หรือแม่กำลังป่วยหนัก คุณอาจจะเอากลุ่มใหญ่เป็นหลักว่าส่วนใหญ่มีครบทั้งพ่อแม่

แต่พวกคุณเคยนึกถึงความรู้สึกของเด็กที่ไม่มีแม่มองเห็นภาพเพื่อนๆนำดอกมะลิกราบแม่ติดดอกมะลิที่เสื้อแม่มั้ย.?

สายตาเด็กเหล่านั้นเป็นอย่างไร.?

บางคนนั่งแอบเสาอาคารร้องไห้ บางคนสะอื้นไห้กลางวงเพื่อนนักเรียนด้วยกัน

ที่เขาร้องไห้เพราะเขาเห็นเพื่อนๆมีแม่มาอวดขณะที่ตัวเองนึกไม่ออกว่าแม่ อยู่ที่ไหน บางคนแม่ตายตั้งแต่อายุไม่ถึง 1 ขวบ บางคนแม่ไปทำงานกรุงเทพฯ กลับบ้านพร้อมกับเด็กน้อยเอามาเป็นภาระให้ย่าหรือ ยายเลี้ยงแล้วก็หายหน้าไปเลย

เขาและเธอไม่เคยเห็นหน้าแม่จริงๆเลย

เด็กเหล่านี้แม้มีไม่กี่คนแต่ความสุขที่มันกำลังหลั่งล้นของคนที่มีแม่มัน แอบทำร้ายจิตใจเด็กๆเหล่านี้ผมมั่นใจว่ากิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดทำให้เด็กๆ เหล่านี้สะเทือนใจมาก

วิธีแก้ไม่ให้เด็กไร้แม่ปวดใจคือให้เด็กๆไปกราบแม่ของแต่ละคนที่บ้าน จะเป็นแม่จริงๆหรือคนที่เลี้ยงแทนแม่จริงก็เป็นเรื่องของทางบ้านโดยก่อนถึง วันนั้นจะต้องโน้มน้าวให้เด็กซึ้งในพระคุณของคนที่เลี้ยงดูและของแม่ที่ให้ กำเนิดโดยแยกแยะอธิบายว่าใครมีบทบาทอย่างไรที่ทำให้เขาเติบโตเป็นมนุษย์และ อย่าพูดคำว่า"กำพร้าแม่"เด็ดขาด

วันสำคัญดังกล่าวโรงเรียนควรจัดกิจกรรมเป็นการน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของแม่ของชาติเท่านั้นคือกิจกรรมเพื่อ"สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถ"

เน้น "แม่ของแผ่นดิน"เป็นหลัก ไม่ต้องลากเอาแม่ของลูกๆมาโรงเรียนอย่างที่ทำกัน

ก่อนจะเริ่มพิธีที่โรงเรียนครูจะต้องพูดว่าวันนี้เป็นวันแม่และทุกคนต่างนึก ถึงพระคุณของแม่ผู้ให้กำเนิดแต่เราต้องนึกถึงพระคุณของผู้ที่เลี้ยงดูเราทุก คนด้วยเพื่อตอบแทนพระคุณของคุณแม่ และของ คุณพ่อ คุณปู่ คุณย่า คุณตาย คุณยาย รวมทั้งคุณป้า คุณอาที่ช่วยเลี้ยงดูเราจนเติบใหญ่หลังจากเสร็จพิธีในวันสำคัญที่โรงเรียน แล้ว พวกเธอกลับบ้านต้องทำตัวให้เป็นประโยชน์ให้พวกท่านเหล่านั้นชื่นชมเช่น-

- ช่วยกวาดบ้าน ถูบ้าน

- ชักเสื้อผ้าเอง ซักถุงเท้า ซักรองเท้าเอง

- ช่วยเป็นลูกมือขณะผู้ใหญ่ทำกับข้าวเช่นช่วยล้างผัก เก็บจาน แกะเปลือกกระเทียมฯลฯ

- ช่วยล้างถ้วย ล้างจาน

- ทำอย่างนี้เป็นกิจวัตรประจำวันนอกเหนือจากทำการบ้านที่ครูสั่ง

- และมีอะไรที่เด็กทำได้ท่านผู้เป็นครูก็เสริมเขาไป(ห้ามย้ำเรื่องพ่อ-แม่บังเกิดเกล้าเด็ดขาดพูดกว้างๆอย่างที่ผมยกตัวอย่างนี้แหละ)

ขออย่าให้เด็กมีความรู้สึกอ้างว้างและหดหู่อีกเลย

ไม่ควรให้เด็กที่รู้สึกขาดแม่ไม่เสียใจ

จริงอยู่ทุกคนจะมีน้ำตาเหมือนกันมีการร้องไห้เหมือนกันแต่คุณอาจจะมีน้ำตา เพราะคุณมีความสุขปลื้มปีติได้หน้าได้ตาได้รับการชื่นชมจากหน่วยเหนือ

หากโรงเรียนไม่เอาแม่ของเด็กมานั่งบนเก้าอี้แล้วให้เด็กนำดอกมะลิมามอบและ กราบแม่บนเวทีห้องประชุมมีความผิดอุกฉกรรจ์ไหมถ้าไม่ทำอย่างนี้มีโทษถึงขั้น กุดหัวคั่วแห้ง 7 ชั่วโคตรหรือไม่

หันมารณรงค์ให้เด็กๆสนใจที่จะมอบความรักทดแทนพระคุณแม่ในทุกๆที่ทุกๆโอกาส ให้หันมาทำดีกับแม่ทุกวันทุกเวลาดีกว่าทำต่อหน้าสาธารณชน

อย่าทิ้งให้เด็กเหล่านี้นั่งพิงเสาร้องไห้ หรือแอบมองภาพแม่กอดเพื่อนอย่างเจ็บปวด ปลูกฝังให้เข้มแข็งบอกกล่าวในสิ่งดีว่าแม้เด็กๆจะไม่มีแม่แต่คนที่เลี้ยงดู มาก็สามารถทำหน้าที่แม่ได้แม้จะไม่เท่าแม่จริงๆก็ตามให้เค้ามีความเข้มแข็ง เพิ่มกำลังใจเข้าไป

กระทุ้งนอกสภาฯฉบับนี้ผมมีเจตนาจะชี้ว่า-

1.โรงเรียนควรจัดวันแม่แห่งชาติเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีฯเท่านั้น

2.โรงเรียนไม่ต้องเอาแม่ของเด็กๆมานั่งบนเวทีแล้วให้เด็กนำเข็มกลัดดอกมะลิ หรือพวงมาลัยดอกมะลิมามอบบูชาแม่ในวันนั้นเพราะ (อ่านข้อ 3 ต่อนะ)

3.ผมสงสารเด็กที่ไม่มีแม่มาร่วมกิจกรรม และไม่มีแม่ขึ้นไปบนเวทีเหมือนคนอื่นเพราะ แม่ตาย หรือ แม่เลิกกับพ่อแล้วหายหัวไปเลย รวมทั้งเด็กที่แม่ยังไม่ตายแต่มีภารกิจต่างจังหวัดหรือลางานไม่ได้

4.บางท่านอาจจะแย้งว่าเอาย่า เอายาย เอาป้า อา หรือเอาครูทำหน้าที่รับมะลิแทนแม่ก็ได้นั้นผมขอยืนยันว่า "ผิด"(อ่านข้อ 5 ต่อนะ)

5.เพราะแม่มีใครคนอื่นมาทดแทนแม่จริงๆที่คลอดตัวเองออกมาได้แน่ต่อให้นางฟ้าเหาะจากขี้เมฆมาขอเป็นแม่เด็กก็ไม่เอาหรอก

6.ผมขอยืนยันว่าทุกตัวอักษรนี้ผมนำมาจากการรู้เห็นเอง และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนอื่นที่เคยพบเห็นเด็กร้องไห้

7.เมื่อวันที่ 8 ส.ค.57 ท่านหนึ่งทางอำเภอลอง จังหวัดแพร่ ยังโพสต์รูปเด็กชายไม่มีแม่และนั่งร้องไห้ในเฟซบุ๊คด้วยแต่ผมไม่ได้นำมา โพสต์ประกอบข้อเขียนนี้

8.บทความนี้ผมมีข้อเสนอว่าเราควรให้เด็กตอบแทนพระคุณของ คุณพ่อ คุณแม่ วิธีไหนแล้ว (ควรอ่านอีกซักรอบครับ)

เด็กๆที่ขาดแม่คงน่าจะรู้สึกน้อยใจไม่มาก เท่าที่ผ่านมาเด็กอาจจะรู้สึกไม่เหมือนกันแต่เราก็ไม่ควรมองข้ามไม่ใช่หรือ'


ที่มา: http://variety.teenee.com/foodforbrain/71260.html
เครดิต:
ขอบคุณข้อมุลSirisak SirithiChakon
https://www.facebook.com/sirisak.srt