เห็นมา เขียนไป

เห็นมา เขียนไป วันที่ 20 กรกฎาคม 2562

…เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่าน สมใจนึก เองตระกูล ประธานกรรมการ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้ส่งบทความมาให้ เพ็ญพิมพ์ จิตรธร เห็นว่ามีประโยชน์จึงขอนำมาเล่าสู่ให้ผู้อ่านทุกท่าน ค่ะ…

เปรียบเทียบการไปพบหมอ ของแต่ละประเทศ

อเมริกา

ด้วยความที่เป็นทุนนิยมจ๋า อาชีพที่เป็นความรู้เฉพาะทางอย่างหมอในอเมริกาจึงมีค่ารักษาแพงมาก การเข้าพบหมอที่นี่ก็มีระดับชั้นเหมือนบ้านเรานั้นแหละ ไล่ตั้งแต่อนามัย รพ.อำเภอ รพ.จังหวัด ไปจนถึงโรงพยาบาลศูนย์

ถ้าปวดหัวตัวร้อนเล็กน้อย เดินเข้าคลินิคชุมชนในเวลาราชการ ก็โดนไปเหนาะๆ สัก 3-5 พันบาท แถมต้องแบกร่างไปซื้อพาราเองด้วย ไม่ขายในรพ.ให้นะจ้ะ

แต่ถ้าวันดีคืนดีมีอันต้องเข้าแผนกฉุกเฉินล่ะก็ บอกเลยว่าค่ารักษาคูณกลมๆ ไปเลย 10 เท่า เพราะเค้ามองว่านี่คือแผนกที่มีบุคลากรที่มีคุณภาพสูง เพราะเป็นแผนกที่ต้องแข่งกับเวลา ดังนั้นก็ไม่แปลก ถ้าเราต้องจ่ายค่าตอบแทนที่สูงตาม

ความแพงของค่ารักษาเหล่านี้แหละ ที่ทำให้ธุรกิจประกันในประเทศนี้มันเฟื่องฟูอู่ฟู่มากนะ แต่ๆๆ ใครที่ทำประกันไว้ก็ใช่ว่าจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดนะ โดยทั่วไป เราต้องจ่ายเองอีกราวๆ 20% ได้ ดังนั้นคนที่นี่ส่วนใหญ่จึงดูแลสุขภาพตัวเองเป็นอย่างดี เพราะบางทีเผลอไปหาหมอเคสหนักเมื่อไร อาจถึงขั้นล้มละลายได้เลยแหละ ไม่งั้นดร.สเตรนจ์แกไม่รวยอู่ฟู่ขับรถซุปเปอร์คาร์ในหนังหรอกนะ ชีวิตหมอที่นั่นก็รวยงั้นจริงๆแหละ

อังกฤษ

การพบหมอที่อังกฤษ ไม่ใช่ว่าพอเจ็บป่วยแล้วจะเดินเข้าไปโรงพยาบาลแล้วโชว์บัตรทองได้เลยหรอกนะ เพราะสิ่งแรกที่เค้าจะถาม ไม่ใช่ “เป็นอะไรมาหรือคะ” แต่มันคือ “นัดไว้ยัง ?” ถ้าไม่ได้นัด โน่น ไปต่อคิวนัดก่อนเลย อย่างต่ำก็ 1-2 สัปดาห์ว่ากันไป คนไข้หลายรายกว่าจะได้คิวอาการก็มักจะหายพอดี ยกเว้นจะเป็นอาการฉุกเฉินนั่นแหละ เค้าถึงจะให้เจอหมอได้ พอเจอเสร็จเค้าก็จะออกใบสั่งยา ให้เราไปซื้อกับเภสัชกรที่ร้านขายยาเอง ไม่มีเคาท์เตอร์จ่ายยาในโรงพยาบาลแบบบ้านเราหรอกนะ

เหตุที่เค้าทำแบบนี้ก็เพื่อต้องการแบ่งเบาภาระให้กับโรงพยาบาล ไม่ใช่ว่าเอะอะอะไรนิด อะไรหน่อยก็แห่มาหาหมอเพราะฟรีกันหมด มันต้องตามลำดับขั้น คือต้องไปหาหมอประจำบ้านที่เราลงทะเบียนเอาไว้ (ภาษาอังกฤษเรียก Family Doctor ก่อน) แล้วไปที่นายด่าน (Gate Keeper) ที่จะแยกคนไปหาหมอเฉพาะทางอีกที ฉะนั้นโรงพยาบาลใหญ่ๆ ในอังกฤษก็เลยเป็นที่ให้ผู้ป่วยฉุกเฉิน หรือที่ป่วยหนักๆ เฉพาะทางเท่านั้นอ่ะนะ

เยอรมัน

ระบบการดูแลสุขภาพของเยอรมนีมีมานานมากแล้ว ตั้งแต่ปี 1880 นู้น ก็เลยทำให้เป็นระบบดูแลสุขภาพที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรปก็ว่าได้ ว่ากันว่าเป็นหนึ่งในระบบการดูแลสุขภาพที่ดีที่สุดของโลกเลยทีเดียว ที่นี่มีชื่อเสียงในเรื่องของประสิทธิของแพทย์ แนวทางการรักษา รวมไปถึงคุณภาพของอุปกรณ์

แต่ประชากรที่นั่นเค้าก็มีสวัสดิการของรัฐคอยช่วยเหลืออยู่นะ ทำให้ส่วนใหญ่การรักษาทั่วไปคือฟรี

แต่การเข้าถึงหมอ ถ้าไม่ได้ซื้อประกันสุขภาพแบบพรีเมี่ยมเอาไว้ล่ะก็รอคิวกันไปยาวๆ นัดเจอหมอที่รอคิวกันเป็นอาทิตย์ๆ คือถ้าไม่ได้ป่วยฉุกเฉินล่ะก็ ต้องบอกว่ารอนัดไปเถอะ ขนาดเพื่อนหมอปวดไส้ติ่ง ไปถึงรพ.แล้วยังต้องนอนโอดโอยเป็นวันเลย กว่าจะได้รักษา

ส่วนนักท่องเที่ยว ถ้าดันไปเจ็บป่วยที่เยอรมัน ถึงแม้จะมีประกันแล้ว แต่อาจต้องควักตังออกเองก่อน แล้วค่อยไปทำเรื่องเบิกเองทีหลัง ถ้าเกิดต้องผ่าตัดที่นั่นล่ะก็ อาจทำให้ล้มละลายได้เลยทีเดียว

เกาหลีใต้

ที่นี่คล้ายๆ ที่ญี่ปุ่นคือโรงพยาบาลมีวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ กลางคืนก็ปิด เปิดแต่แผนกฉุกเฉิน ถ้ามีเหตุต้องเข้ารับการรักษาก็ต้องจ่ายในราคาคูณสอง เท่านั้นไม่พอเจ้าหน้าที่ยังมีพักเที่ยงด้วย เรียกว่าไม่ทำงานทำการเลย จะเผลอไปช่วงนี้ ก็ต้องรอเจ้าหน้าที่อย่างเดียว

ถ้าเจ็บแขนเจ็บขา เดินไม่ไหว บอกเลยว่าส่วนใหญ่เค้าไม่มีวีลแชร์ไว้บริการ ต้องลากสังขารไปตรวจ เข้าห้องเอ็กซ์เรย์ด้วยตัวเอง ที่สำคัญค่ารักษายังแพงอีกต่างหาก

ญี่ปุ่น

ที่นี่เค้าไม่ได้รับรักษาคนไข้กันง่ายๆ โดยเฉพาะถ้าเป็นชาวต่างชาติยิ่งแล้วใหญ่ เพราะถ้าเค้าคิดว่าไม่สามารถสื่อสารกับคนไข้ได้ล่ะก็ เค้าจะไม่รับเด็ดขาด เนื่องจากว่าถ้าซักอาการแล้วไม่เคลียร์ เกิดคนไข้เป็นอะไรไปล่ะก็ หมอติดคุกแน่นอน

ที่ญี่ปุ่นเนี่ย ถ้าเราดันบังเอิญป่วยในวันหยุดล่ะก็ จะถ่อไปโรงพยาบาลนี่เค้าไม่รับง่ายๆ หรอกนะ เค้าเปิดเฉพาะแผนกฉุกเฉินเท่านั้น ถ้าอยากให้รับเป็นคนไข้ในต้องเรียกรถพยาบาลเท่านั้น แล้วก็ใช่ว่าจะเลือกได้นะว่าอยากไปโรงพยาบาลไหน เพราะเค้าจะวอเช็คว่าที่ไหนบ้างที่อยากจะรับเคสนี้ไปดูแล

แต่ค่าใช้จ่าย บอกเลยว่าฟรีหมด (ว้าว) ยกเว้นชาวต่างชาติที่อาจต้องจ่ายเต็มในราคาที่แพงเอาเรื่อง หรือจ่างแค่บางส่วนกรณีที่ลงทะเบียนประกันสุขภาพแห่งชาติได้ ซึ่งจะช่วยคุ้มครองค่ารักษาราว 70-80% โดยประมาณอ่ะนะ

จีน

รพ.รัฐกับรพ.ประกันสังคมที่จีนหลายๆที่ เค้าเน้นระบบจ่ายเงินก่อนค่อยรักษา

เอาง่ายๆแค่เดินเข้าไปกดบัตรคิวก็ต้องจ่ายตังก่อนแล้ว มีเครื่องรูดบัตรวางดักรออยู่หน้าตู้กดบัตรคิวเลย ไม่จ่ายคิวไม่ออกหรอกนะ (ราคาก็แล้วแต่ที่ เท่าที่เพื่อนเคยไปเจอมา ค่ากดบัตรคิวราวๆ 125 บาทโดยประมาณ)

ส่วนขั้นตอนการรักษาก็จ่ายหยุมหยิมเต็มไปหมด เช่นถ้าต้องไปเอ็กซเรย์ก็ต้องไปจ่ายตังก่อน ถึงค่อยไปเอ็กซเรย์ได้ จะฉีดยาให้ก็ต้องไปจ่ายตังก่อนถึงค่อยฉีด

ส่วนในพาร์ทการรักษา รพ.รัฐที่นี้คนก็เยอะไม่แพ้กับที่ไทยเราซักเท่าไหร่นัก ห้องฉุกเฉินคนเยอะมากเป็นประจำ ที่สำคัญรพ.รัฐหลายๆที่ไม่มีเวรเปลด้วยนะ ญาติผู้ป่วยจะต้องเข็นรถเข็นกันเอง ถ้ามาคนเดียวก็ต้องอัพสกิลวีลแชร์ติดตัวกันไว้ก่อน ไม่งั้นเดือดร้อนตอนไปแผนกต่างๆแน่นอน

ไทย

เอาตรงๆ นะ สวัสดิการการรักษาคนไข้ในบ้านเราเนี่ย ถือว่าสบายโคตรๆ อย่างที่หมอย้ำทุกครั้งเสมอ ฟรีแทบจะทุกอย่างทั้งบัตรทอง ประกันสังคม ไม่ต้องซื้อประกันเพิ่มก็ยังสามารถได้รับการรักษาที่ดีได้ (แต่ถ้ามีประกันก็ค่อยไปเข้าเอกชนเพื่อรับการบริการที่ดีกว่าได้)

นอกจากนั้นประเทศเรามีคลินิกนอกเวลา ไม่ต้องนัดหมายล่วงหน้าวอร์คอินมาปรึกษาโรคเฉพาะทางได้เลย

คนไข้ฝั่งรพ.รัฐอาจเหนื่อยนิดหน่อยตอนนั่งรอคิว แต่ถ้าหมอพยาบาลบริการไม่พอใจก็ถ่ายคลิปลงเฟซบุ๊คเพื่อคอมเพลนได้อีก

นี่ยังไม่รวมเวลาเกิดอุบัติเหตุนะ เพราะไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ เราจะได้เห็นรถกู้ภัยอย่างน้อย 2 คันมาช่วยดูแล ช่วยปฐมพยาบาลอย่างไวสุดๆ พร้อมพาไปหาหมอ ดีขนาดนั้น ฟรีขนาดนี้ แต่ก็ยังมีคนบ่นเรื่องการให้บริการสาธารณะสุขอยู่ทุกวันเลย แค่นี้ก็ดีมากแล้วจ่ะพี่จ๋า

อ่านจบแล้วโครตรักเมืองไทยเลยค่ะ !