ดร.การุณ รุจนเวชช์
ดร.การุณ รุจนเวชช์



ตอนทื่ ๗ พระราชปริยัต้มุนี

ปี ๒๐๑๘ ดร.ชวนชื่น และผม ได้มีโอกาสไปนมัสการ เป็นครั้งแรก ก็เลื่อมใสในบุคลิกที่สงบนิ่ง แฝงความเมตตาในพระราชปริยัติมุนี พระราชาคณะ หรือที่เรียกกันว่า “เจ้าคุณเทียบ”ดวงตา และวาจา ประดุจวารีที่ใสสะอาด ไม่อวดอ้างความปราดเปรื่อง เชี่ยวชาญภาษาบาลี ศันสกต และพระพุทธศาสนา สมเกียรติคุณ และปริญญา ป.ช.๙ (ประถมาภรณ์ ช้างเผือก), รศ. (รองศาตราจารย์), ดร. คณะบดี คณะพุทธศาสน์ มจร. (มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย) ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาขึ้นเพื่อถวายแด่คณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย

ปี ๒๐๒๑ เราได้มานมัสการ พระราชาคณะ (Abbot) หรือ “เจ้าคุณเทียบ” อีกครั้ง ที่ กุฏิ หรือ ที่พำนักของ เจ้าคุณเทียบ พื้นไม้ขัดเงา ที่ผนังห้อง กั้นด้วยตู้หนังสือกระจก บรรจุหนังสือขนาดเท่าๆกัน เต็มทุกชั้น เป็นระเบียบ เรียงรายไปตลอดห้อง จนถึงทางเดินไปด้านหลัง ชายหนุ่มลูกศิษย์พระ นำน้ำมาให้ด้วยกิริยานอบน้อม สักพัก เจ้าคุณเทียบ สิริญาโณ ออกมาต้อนรับได้สนทนาธรรมกับท่าน เติมจิตให้สงบสว่าง

จากนั้น ถือโอกาสชมวัดโพธิ์ ย่อจาก “วัดโพธาราม” ชื่อเต็มว่า “พระเชตุพนวิมลมังคราราม”แปลว่า “ที่อยู่อันงามของพระพุทธเจ้า” เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สร้างในสมัยอยุธยา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นหลัง พ.ศ. ๒๒๓๑ ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเหล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๓ ทรงมีพระราชประสงค์ให้จารึกตำรายาและความรู้ต่างๆลงบนแผ่นหินอ่อน ประดับไว้รอบวัด ให้ประชาชนศึกษา ในปีพ.ศ. ๒๕๕๔ องค์การ การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ขึ้นทะเบียนจารึก ๑๔๔๐ ชิ้น ให้เป็นมรดกวามทรงจำแห่งโลก

ศาสนา เป็นลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิด และสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม รวมทั้งพิธีกรรมตามความเชื่อ ในโลกมีศาสนาราว ๔๒๐๐ ศาสนา ศาสนาพุทธ กำเนิดในศตวรรษที่ ๖ เข้าสู่ประเทศไทย ในปีพ.ศ. ๒๓๖ สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ประเทศอินเดีย และฝังรากลึกในจิตสำนึกของชาวพุทธ แม้จะแปดเปื้อนไปบ้างจากผู้ฝักใฝ่ในมิจฉาจาร แต่เขาเหล่านั้นก็ได้รับโทษจากกรรมชั่วในที่สุด ศาสนาพุทธจะยังคงดำรงในจิตใจของพุทธศาสนิกชน เพราะยังคงมีพระสงฆ์ที่ทรงคุณธรรม เยี่ยง พระราชปริยัติมุนี พระราชาคณะ “เจ้าคุณเทียบ” ให้ชาวไทยได้ใฝ่พึ่งธรรม