ดร.การุณ รุจนเวชช์
ดร.การุณ รุจนเวชช์
บทที่ ๑๐ ใช้คำที่ถูกต้อง

ภาษาไทย มีคำที่สะกดล้ายกัน ทำให้สับสนว่าจะใช้คำไหน เช่น “เกษียณ เกษียน เกษียร” แต่ละคำมีความหมายของตัวเอง

“เกษียณ” หมายถึง “สิ้นไป” เช่น “หลังจากสอนมา ๓๐ ปี ถึงเวลา เกษียณ”

“เกษียน” หมายถึง “เขียน” เช่น “ข้อความที่เขียนไว้บนหัวกระดาษคำสั่ง เรียกว่า หัวเกษียน”

“เกษียร” หมายถึง “น้ำนม” เช่น “เกษียรสมุทร หรือ ทะเลน้ำนม ที่ประทับ พระนารายณ์”

ภาษาอังกฤษ ก็เช่นกัน ที่คนอเมริกันหลายคนเองก็ยังใช้ไม่ถูกต้อง เพราะสะกดคล้ายกัน

อาทิตย์นี้จะเริ่มด้วยคำที่คล้ายกัน แต่ใช้ต่างหน้าที่กัน คือ affect/effect

Affect เป็นคำกริยา หมายถึง “ทำให้เกิดผลขึ้น” หรือ “produce an effect on” เช่น

Covid-19 has affected on many countries’ tourism and economy.

โควิด-19 ทำให้มีผลต่อการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในหลายประเทศ

Heavy rain in Thailand affects flooding in many provinces including Bangkok.

ฝนตกหนักในประเทศไทย มีผลให้เกิดน้ำท่วมในหลายจังหวัด รวมทั้งในกรุงเทพ

Effect เป็นคำนาม หมายถึง “ผลของการกระทำ” เช่น

The new law prohibiting texting while driving will go into effect next month.

กฎหมายใหม่ห้ามการเขียนข้อความในโทรศัพท์มือถือขณะขับรถ จะบังคับใช้เดือนหน้า

The special effects in movies today are done by computers.

เทคนิคพิเศษในภาพยนตร์วันนี้ ทำโดยคอมพิวเตอร์

เวลาอ่านหนังสือพิมพ์หรือบทความภาษาอังกฤษ หากเห็นคำ affect/effect สังเกตการใช้คำทั้งสองดูว่า ใช้เป็นคำนามหรือกริยา

อาทิตย์ต่อๆไปจะนำเสนอคำที่ใช้สับสน ซึ่งมีอยู่มาก