ดร.การุณ รุจนเวชช์
ดร.การุณ รุจนเวชช์



ตอนที่ ๑๓ อาหารไทย จีน

“น้อย อยากไปเขาใหญ่อีกมั๊ย ตอนนี้อากาศดี”

เมื่อประมาณครึ่งศตวรรษที่ London กลุ่มนักเรียนไทยจัดงานเลี้ยงล้วนเป็นอาหารไทย พูดภาษาไทย เสียงหัวเราะร่าเริงของหนุ่มสาวสนิทสนม จนรู้สึกว่าไม่มีที่ให้เข้าแทรก นอกจากยืนมองด้วยความชื่นชม หนุ่มสาวชาวไทยที่ใช้ชีวิตแบบไทยในอังกฤษ

วันนี้อดีตนักเรียนอังกฤษ ผู้ที่พี่ชายหมายปองเมื่อครึ่งศตวรรษก่อน มีฐานะเป็นพี่สะใภ้ ที่ยังรักษาความสง่างามเยี่ยงผู้ดีอังกฤษที่ติดมาพร้อมกับรสนิยมเดิม คุณวราภรณ์ ต้อนรับการกลับมาของเราด้วย อาหารไทยโบราณที่ ร้านกะทิ

อาหารไทยโบราณ มีประวัติบันทึกไว้ในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย มีข้าวเป็นหลัก มีปลากับเนื้อสัตว์บางอย่าง อาหารส่วนมากเป็นแกง ในสมัยอยุธยา มีการติดต่อกับชาวตะวันตก และจีน ความหลากหลายของอาหารมีมากขึ้น เริ่มใช้กะทิ และการถนอมอาหาร เช่น ตากแห้ง เริ่มทำอาหารจิ้ม เช่น น้ำพริกกะปิ เริ่มใช้สมุนไพร เครื่องเทศ และอาหารหวานต่างๆ และเริ่มใช้ กระทะเหล็ก ในราวพ.ศ. ๑๙๐๐ กระทะประดิษฐ์ขึ้นในประเทศจีนสมัย ราชวงศ์ฮั่น หมูกระทะ เกิดในสมัยนี้ สมัยธนบุรี เริ่มนำอาหารจีนมาผสม พอถึงสมัยรัตนโกสินทร์ อาหารไทยได้พัฒนาจนสมบูรณ์มากขึ้น มีอาหารว่าง อาหารคาว อาหารหวานครบครัน

ที่ร้านกะทิ เมนูอาหารไทยโบราณ มีมากจนยากที่จะเลือก เริ่มแต่อาหารว่าง เช่น แสร้งว่า ม้าฮ่อ หมูโสร่ง หมี่กรอบชาววัง ยำทวาย อาหารหลัก มีแกงรัญจวน ปลาแห้งแตงโม และอื่นๆ

แทนที่จะพาเรากลับที่พัก “เดี๋ยวจะพาคุณน้อยคุณชื่นไปทานเป็ดปักกิ่ง ที่ร้านนี้อร่อยมาก”

เป็ดปักกิ่ง ถือเป็นเมนูประจำชาติจีน ต้นตำรับเกิดในครัวหลวง เมืองหน่านเจิง มณฑลเจียงชู แล้วมาปักกิ่งในราชวงศ์หมิง ก่อนคริสต์ศักราช ๑๕ จึงได้ชื่อว่า “เป็ดปักกิ่ง” หรือ Peking Duck ความอร่อย อยู่ที่หนังบางกรอบ ทานกับแผ่นแป้ง ต้นหอมส่วนหัวสีขาวและ แตงกวา ทาด้วย Hoisin Sauce รสต่างๆยังไม่ลาร้างจากลิ้น ได้ยินคำชวนสุดท้ายที่ใจสั่งให้ตอบรับ “เราไปดื่มกาแฟ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ I-Con สยาม ไหมคะ” (จะนำเสนอฉบับหน้า)