ดร.การุณ รุจนเวชช์
ดร.การุณ รุจนเวชช์
ตอนที่ ๖ Diamond Head

นอนอยู่บนหาดทรายขาว อุ่นกายสบายตัวจากแดดและลมเย็นโชยเหมือนไม่หน่าย สายตาพาไปไกลถึง Diamond Head ที่จะน่าผู้อ่านไปชมแบบสมบุกสมบันเล็กน้อย หรือหากไปไม่ได้ ก็ไปกับบทความนี้

Diamond Head หากจะแปลเป็นไทยก็คงจะแปลว่า “หัวเพชร” เหตุมีอยู่ว่า ทหารชาวอังกฤษที่มาเยือนเมื่อศตวรรษที่ ๑๙ หรือระหว่างปี ค.ศ. ๑๘๐๑-๑๙๐๐ คิดไปว่าประกายแสงสะระยิบจากปล่องเขาไฟคือเกล็ดเพชร

Diamond Head เป็นภูเขาไฟที่เดิมทีคนฮาวายเรียกว่า Le’ahi (เลอาฮิ) หมายถึง หรือ แรงพ่นของปลาทูน่า ชาวฮาวายเชื่อว่าน้องสาวของ เปเล่ (เทพภูเขาไฟ) เป็นผู้ตั้งชื่อให้ เพราะลักษณะของภูเขาไฟละม้ายครีบปลา

ปล่องภูเขาไฟนี้เกิดขึ้นประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ ปีก่อน เมื่อไฟใต้โลกระเบิดขึ้นและส่งไฟเถ้าถ่านสู่ฟ้า และเมื่อสงบลง เป็นปล่องกว้าง ในปลายปี ค.ศ. ๑๘๐๑ และค้นปี ๑๙๐๐ พืชพันธุ์เรื่มเกิด และนกเริ่มบินมาอาศัย บนเนื้อที่ ๔๗๕ เอเค้อร์ หรือ ๑,๙๒๒,๒๕๖ ตารางไมล์

ภายในปล่องไฟและบริเวณรอบนอก เคยเป็นฐานทัพอเมริกัน ชื่อ Fort Ruger ฐานทัพแรกบนเกาะนี้ ที่มีเพียง Battery 407 ที่เป็น National Guard ศูนย์กลางป้องกันเหตุฉุกเฉิน ตั้งแต่ปีค.ศ. ๑๙๖๓ ถึง ๒๐๐๗

ปัจจุบัน Diamond Head เป็นภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงที่สุดบนเกาะโออาฮุ บนปล่องภูเขาไฟ เป็นสวนที่ให้ผู้มาเยือนได้เห็นภาพตระการตาของมหาสมุทรแปซิฟิค และเมืองหลวงโฮโนลูลู

เส้นทางไปสู่ยอดเขาสร้างขึ้นในปีค.ศ. ๑๙๐๘ เพื่อใช้ไนระบบการป้องกันน่านน้ำ เป็นระยะทาง ๐.๘ ไมล์ ที่สูงชันอยู่บ้าง บางแห่งมีทางเดินลาดปูนคอนกรีด ภาพบนยอดเขาจะทำให้หายเหนื่อยเมื่อยร้าได้ เพราะความกว้างไกลของชายทะเลสีครามเข้มสลับสีมรกตและฟ้าจากภูเขาไฟ Koko Head ไปจนสุดปลายขอบทะเลด้านเหนือของเมือง Wai’anae (ไวอานาย) และบางฤดู อาจเห็นปลาวาฬ Humpback Whales

ค่าเดินเข้า ๑ ดอลล่าห์ต่อคน หรือ ๕ ดอลล่าห์ต่อรถ ๑ คัน ให้จอดที่ปลายเขา ที่เปิดทุกวัน รวมทั้งวันหยุด ตั้งแต่ ๖ โมงเช้า ถึง ๖ โมงเย็น สำหรับผู้ประสงค์เดินเขา รอบสุดท้ายคือ ๔.๓๐ น. ประตูทางเข้า ปิด ๖ น.

Diamond Head จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งสำหรับผู้ชอบไต่เขา สำหรับผู้ไม่อาจเดินเขาได้ สนามกว้างใหญ่มี รถอาหารเครื่องดื่ม หรือนำอาหารมานั่งพักทานอาหารร่วมกับญาติมิตร และห้องสุขาอำนวยความสะดวกให้พอสมควร

วันนี้คงเหนื่อยกับการขึ้นเขา Diamond Head แล้ว ฉบับหน้าจะสนทนากันอีก