บันทึกจากเบย์แอเรีย
เพ็ญวิภา โสภาภัณฑ์



โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการความรู้เบื้องต้นดนตรีไทย ตอนที่ ๑

จากวิทยาลัยนาฏศิลป์ สู่วัดพุทธานุสรณ์ ฟรีมอนต์ แคลิฟอร์เนีย


ปาฏิหาริย์ ใครว่าไม่มีจริง..

เรื่องราวตามหัวข้อบันทึกฉบับนี้ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นและจบลงด้วยความสำเร็จงดงาม เป็นอีกหนึ่งในกิจกรรมเพื่อสังคมไทยในเบย์แอเรีย ที่ผู้เขียนภาคภูมิใจมากที่ได้มีส่วนไม่มากก็น้อย ในการขับเคลื่อนโครงการนำร่องของสภาวัฒนธรรมไทยในสหรัฐอเมริกา แห่งเมืองฟรีมอนต์ เกี่ยวกับการสืบทอดศิลปะด้านดนตรีไทยในเบย์แอเรีย แคลิฟอร์เนียภาคเหนือ ซึ่งเป็นโครงการจะต้องติดต่อขอความร่วมมือผ่านราชการ นั่นคือกระทรวงวัฒนธรรม ที่เราแทบจะต้องฟันฝ่าด่านหิน ชนิดลุ้นระทึก ฝากใจไว้กับเจ้าหน้าที่ ฝากคำอธิษฐานไว้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อหวังว่าจะมีปาฏิหาริย์มาช่วยเรา.. ช่วยตรงไหน...โปรดติดตามรายงานแบบละเอียดแบบซอยยิบ เพื่อให้รุ่นต่อๆ ไปได้พอมองเห็นภาพว่าในการทำงานประสานกับราชการนั้นมิใช่เรื่องหมูกระทะ เอ๊ย..เรื่่องง่ายๆ นะคะ


เหุตอันควรที่จะให้มีกิจกรรมสืบทอดดนตรีไทย

เรื่องมีอยู่ว่า ปีที่แล้ว เมื่อตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๘ สภาวัฒนธรรมไทยในสหรัฐอเมริกา แห่งเมืองฟรีมอนต์ มีประชุม ถึงแผนงานที่จะจัดทำในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ เพื่อจะนำส่งกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไทย และหนึ่งในแผนงานคือการขอความร่วมมือจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ขอผู้ชำนาญการดนตรีไทยมาสองท่าน เพื่อจัดอบรมนักเรียน และผู้สนใจดนตรีไทยทั้งทางปี่พาทย์และเครื่องสายในช่วงภาคฤดูร้อน ซึ่งเป็นช่วงที่ครูอาสาประจำปีของโครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย ของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หมดวาระและเดินทางกลับประเทศไทยไปแล้ว แต่ทางวัดพุทธานุสรณ์ก็ยังมีกิจกรรมต่อเนื่องที่ต้องการครูดนตรีมาช่วยดูแลการแสดงและฝึกซ้อมนักเรียนดนตรีอยู่

เมื่อได้รับฉันทานุมัติจากกรรมการสภาฯ ให้ขอความช่วยเหลือเรื่องครูดนตรีไปสอนในช่วงฤดูร้อน ๒๕๕๙ แล้ว คุณกิ่งกาญจน์ สมิตามร เกียว รองประธานสภาฯ ก็ได้รับคำแนะนำจาก คุณนันทิยา สว่างวุฒิธรรม อธิบดีกรมส่งเสริม (ขณะนั้น ปัจจุบันเกษียณไปแล้ว) ให้ไปติดต่อกับสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ซึ่งอยู่ในหน่วยงานของกระทรวงวัฒนธรรม ทางสภาฯ ฟรีมอนต์ จึงได้ให้ผู้เขียนซึ่งเป็นเลขานุการสภา ซึ่งพอดีไปทำธุระอยู่ที่กรุงเทพ ฯ ตอนนั้น ให้ไปพบกับ อาจารย์นิภา โสภาสัมฤทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (ขณะนั้น) และ ดร.บำรุง พาทยกุล ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลป์ และเมื่อได้หารือกับทั้งสองท่านแล้ว ก็ได้รับทราบว่าโครงการน่าจะเป็นไปได้ ผู้เขียนจึงได้ทำจดหมายส่งเรื่องไปยังกรมส่งเสริมวัฒนธรรม


ความลำบากในการรับเรื่องและส่งเรื่องถึงราชการ

แม้ว่าสภาฯ จะมีเจ้าหน้าที่จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรมที่คอยดูแลประสานงานให้กับเราอย่างใกล้ชิด และมีอัธยาศัยดี เต็มใจช่วยเหลือตลอดเวลา เช่น คุณเกษม ปฐมฤกษ์ และ ผ.อ.ประทีป ทิมให้ผล แต่ ทุกอย่างก็ต้องเป็นไปตามกฏระเบียบ ไม่ว่าจะเป็นการทำจดหมายให้ถูกต้อง ซึ่งได้รับการตรวจทานอย่างดีมาแล้วจาก ดร.ชนันภรณ์ อารีกุล มือขวาที่ช่ วยประสานงานให้กับวัดพุทธานุสรณ์ที่เมืองไทย ก็ยังต้องรอให้ไปถึงแต่ละกรมกอง กว่าจะถึงอธิบดี ซึ่งแต่ละชิ้นงานใช้เวลานานมาก เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ จนกระทั่งอาทิตย์ก่อนวันกำหนดเปิดอบรม คือ วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๙ นั้น เรายังไม่ได้ตั๋วเครื่องบินของครูท่านหนึ่งเลย

“ในการต่อรองมี อาทิ...ขอครูไปสอง ทางกรมมีงบให้คนเดียว ได้ไหม...ไม่ได้ค่ะ ท่านหนึ่งต้องสอนปี่พาทย์ อีกท่านสอนเครื่องสาย ....กรมมีงบไม่พอ...โอเคค่ะ ถ้าอย่างนั้นสภาฯ จะหาทุนให้ครูอีกท่าน..โอเคครับ...ถ้างั้นขอจดหมายให้ครูสองท่านลางานหนึ่งเดือนไปสอนได้ไหมคะ...โอเคครั บ...ขอทำวีซ่าให้ด้วยนะคะ... โอเคครับ...ทางเราหาทุนให้ครูอีก ท่านได้แล้ว ออกตั๋วแล้ว ขอทางกรมออกตั๋วให้ครูอีกท่านด้วยค่ะ...อ้าว..ครูที่กรมจะออกค่าเดินทางให้วีซ่าไม่ผ่าน...วิทยาลัยนาฏศิลป์กำลังจะเปลี่ยนตัวครูให้ครับ...โอเคค่ะ ...ตั๋วละคะ...เนื่องจากเราเปลี่ยนตัวครูท่านหนึ่ง ดังนั้นตั๋วที่เคยจองไว้ก็โดนยกเลิกไป สำหรับครูที่มาแทนนั้่น ราคาตั๋วเพิ่มขึ้นอีก ต้องของบเพิ่ม..รออธิบดีเซ็นก่อนนะครับ ท่านไปต่างประเทศ...โฮ...ตอนนี้แหละยกมือไหว้ และอธิษฐานขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์กันมือว่อน ทั้งครูๆ และผู้ประสานงานทั้งกรรมการสภาฯ และแล้วปาฏิหาริย์ก็มีจริง “อธิบดีอนุมัติงบเพิ่มแล้วครับ”. ..โฮ..ร้องให้ด้วยความดีใจ.. “วันพฤหัสเช้าตั๋วได้แน่ครับ” (เดินทางวันศุกร์เช้า) ตัดตอนบทสนทนามาให้อ่ านแบบเดาเอาเองละกันนะคะ ฝ่ายใดเป็นฝ่ายใด..ถือเป็นเทคนิ คการเขียนให้คน (รำคาญ) ติดตาม อีกแบบหนึ่ง.. เขียนเล่นไปนิ ดหน่อย ทีนี้เขียนแบบทางการล่ะค่ะ

ณ ตรงนี้ขอขอบคุณด้วยใจจริงจากท่านที่มีรายนามต่อไปนี้ ที่ได้มีส่วนในการประสานงานให้โครงการนี้ได้เกิดขึ้น ขอบคุณ ดร.สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ดร.บำรุง พาทยกุล ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลป์ คุณพิมพ์รวี วัฒนวรางกูร อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม คุณสุนันทา มิตรงาม รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม คุณอรุณี คงเสรี ผู้อำนวยการกองกิจการเครือข่ายทางวัฒนธรรม คุณประทีป ทิมให้ผล ผู้อำนวยการเครือข่ายสภาวัฒนธรรมกรุงเทพฯ และสภาวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ คุณปราณิสา เตียวพิพิธพร ผู้อำนวยการกลุ่มวิเทศสัมพันธ์ คุณมลฤดี ฟุ้งมงคลเสถียร ผู้อำนวยการกลุ่มการคลัง คุณเกษม ปฐมฤกษ์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ ซึ่งคุณเกษมเป็นผู้ที่ผู้เขียนประสานงานโดยตรง และท่านก็ทำงานให้เต็มที่ทั้งในเวลางานและนอกเวลางาน ขอบคุณจริงๆ ค่ะ


พร้อมเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่

และแล้ว ในเช้าตรู่ของวันศุกร์ที่ ๒๙ กรกฏาคม ๒๕๕๙ ผู้เขียนกับอาจารย์ทรงยศ แก้วดี หัวหน้าภาควิชาดุริยางค์ไทย และอาจารย์ชัยรัตน์ วีระชัย ครูชำนาญการดนตรี ที่ทางวิทยาลัยนาฏศิลป์ได้มอบให้ไปทำหน้าที่วิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการความรู้เบื้องต้นดนตรีไทย ก็เหิรฟ้าจากกรุงเทพฯ ด้วยสายการบินอีวีเอ สู่ซานฟรานซิสโกด้วยกัน ด้วยความมั่นใจ..

เราทั้่งสามมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน นั่นคือนำความรู้ดนตรีไทยมาสู่นักเรียน โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์และ สมาชิกวัดพุทธานุสรณ์ ตลอดจนผู้ใฝ่รู้วิชาดนตรีไทย สู่เมืองฟรีมอนต์ และเบย์แอเรีย มลรัฐแคลิฟอร์เนีย

ฉบับหน้าผู้เขียนจะนำท่านผู้อ่านไปรู้จักกับคุณครูชำนาญการดนตรีไทยทั้งสองท่านจากวิทยาลัยนาฏศิลป์ ความพิเศษที่ไม่ธรรมดาของคุณครูทั้งสอง ที่กว่าเราจะได้มาซึ่งครูทั้งสองนี้ ใช้เวลาติดต่อนานนับครึ่งปี...และโครงการนี้ได้เสร็จสิ้นประสบความสำเร็จไปด้วยดี เริ่มต้นอบรมเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๙ จบสิ้น วันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๙ ผู้เข้าอบรมได้รับประกาศนีบัตรไปเรียบร้อยแล้ว ฉบับนี้ขอผู้อ่านชมภาพกิจกรรมตั้งแต่คณะครูไปถึงวัดพุทธานุสรณ์ ได้ร่วมกิจกรรมวันแม่ ๑๔ สิงหาคม ที่วัดพุทธานุสรณ์ และสมาคมไทยแห่งแคลิฟอร์เนียภาคเหนือ กิจกรรมซิสเตอร์ซิตี้ของสภาฯ ฟรีมอนต์ร่วมกับชาติต่างๆ ในเมืองยูเนี่ยน ซิตี้ เป็นต้น

พบกับรายงาน และภาพกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการความรู้เบื้องต้นดนตรีไทยตอนจบ ฉบับหน้านะคะ