ท่องไปในซานฟรานฯ
นายรุงรัง



ข้อมูลแก๊สขาดตลาด

สืบเนื่องจากการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล ที่สร้างความเคลือบเเคลงใจให้ประชาชน เป็นที่ กล่าวขานกันในสังคมโลกออนไลน์ และจะสร้างปัญหาต่างๆให้แก่ประชาชนในอนาคตอันใกล้ในประเด็นดังต่อไปนี้

จากการที่ รมต.พลังงานออกมาให้ข่าวเรื่องการที่พม่าจะหยุดส่งก๊าซให้ไทยซึ่งจะมีผลต่อต้น ทุนค่าไฟฟ้า จะเป็นการเตรียมการ และสร้างเงื่อนไข เพื่อขึ้นค่าไฟฟ้ากับประชาชนอีกหรือไม่ ทั้งนี้เครือข่าย ประชาชนในนามของ “เครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศ และเครือข่ายอื่นๆ” ได้เข้าพบคณะกรรมการ กำกับ กิจการพลังงาน และตัวแทนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเมื่อ วันที่ 25 มค. 56 ที่สำนักงานคณะ กรรมการกำกับกิจการพลังงาน ตึกจามจุรีชั้น 19 โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานได้แจ้ง กับเครือข่าย ประชาชนว่าจะไม่มีการขึ้นค่าไฟฟ้าอีกจนสิ้นปี 2556 การที่รมต.พลังงานออกมาให้ข่าวสร้างความตื่นตระหนกและ สร้างสถานะการณ์ให้เสมือนว่าจะขาดแคลนก๊าซที่เป็นต้นทุนการผลิตกระแสไฟฟ้าในเดือนเมษายน เพื่อจะขึ้นค่าไฟฟ้ากับประชาชนอีกหรือไม่ ทั้งที่การนำเข้าก๊าซจากพม่า มีปริมาณเพียงหนึ่งในสี่ของที่ใช้ทั้งหมด ส่วนอีก สี่ในห้าขุดได้ในประเทศ

ทั้งที่ความผิดพลาดอยู่ที่การทำสัญญา ระหว่างไทย (ปตท.)กับพม่า ซึ่งภาคประชาชนต้องการให้ ปตท.เปิดผยสัญญาระหว่างไทยกับพม่า และคนที่ต้องรับผิดชอบคือปตท. และเจ้าหน้าที่รัฐที่กำหนด นโยบาย ให้ปตท ผูกขาดการนำเข้าก๊าวธรรมชาติ รับหน้าที่ผูกขาดการซื้อขายก๊าซ ทั้งๆที่รัฐบาล ควรยกเลิกการผูกขาด การนำเข้าออกก๊าซธรรมชาติจากปตท. เพียงผู้เดียว และให้มีการนำเข้าออกและซื้อขายก๊าซอย่างเสรี ให้การไฟฟ้าสามารถจัดซื้อก๊าซธรรมชาติ ได้เสรี ไม่ใช่การผูกขาดและกินหัวคิวของปตท. เวลามีปัญหา ก็โยนภาระให้ประชาชนแบกรับ เวลามีกำไร ก็นำไปแบ่งเฉพาะผู้ถือหุ้น ถือว่าเอาเปรียบเบียดเบียนประชาชน อีกทั้งประเทศไทย ยังขายก๊าซธรรมชาติ ของไทยในอ่าวไทย ให้แก่มาเลเซียในราคาเพียง 2.3 $ต่อล้านบีทียู (=2.6 บาทต่อกก . http://www.dmf.go.th/dmfweb/index.php?option=com_content&view=article&id=29&Itemid =5&lang=th&limitstart=3) แต่จัดหาเเพงคือซื้อจาก พม่า 12บาท ถือว่าการบริหารราชการแผ่นดินที่ สร้างความเสียหาย และไม่ชอบธรรม

การที่รัฐบาล ตั้งแต่พศ 2551 สมัย คุณสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่มีมติให้ก๊าซหุงต้ม จากของไทย ให้ผู้มีสิทธิใช้ก่อนคือภาคครัวเรือนและภาคปิโตรเคมี ซึ่งคือเอกชน ที่เหลือจึงให้ขนส่ง และอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกทั้งมติครม และมติ กพช สมัยคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยังอนุมัติ ให้ภาคปิโตรเคมี คือบริษัทลูกปตท. ส่งเงินกองทุน เพียงหนึ่งบาท ต่อกิโลกรัม แต่อุตสาหกรรมอื่น ส่งเงินถึง 11-12 บาทต่อกิโลกรัม (มติกพช .สมัย คุณอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ) และ ภาคปิโตรเคมียังใช้ในสัดส่วนที่เพิ่มสูงมากกว่า หนึ่งในสามของปริมาณการใช้ทั้งหมด ของประเทศ และสามารถซื้อได้ในราคาที่ถูกกว่าของภาคประชาชน เมื่อปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นมาก ซึ่งส่วนหนึ่ง เป็นการทำเพื่อธุรกิจเอกชน และส่งออก ทำให้บริษัทปิโตรเคมีในเครือปตท มีกำไรเพิ่มขึ้นจากปี 2554 จำนวน 2,113ล้านบาท เพิ่มเป็น 23,613 ล้านบาท เพิ่มกว่า 1000 % และมีการนำเข้ามาเพิ่ม เพราะการแย่งกัน ใช้จากภาค ปิโตรเคมี แต่ราคาสูง จึงต้องนำเงินกองทุนน้ำมันที่เก็บจากประชาชนในรูปราคาน้ำมัน ลิตรละ 1-8 บาท และรูปก๊าซหุงต้ม กิโลกรัมละ 1-12 บาทไปชดเชย การนำเข้าก๊าซLPG

อีกทั้งการให้ข้อมูลความเป็นหนี้ของกองทุนน้ำมันต่อการชดเชย ราคา แอลพีจี (LPG) ที่ผลิตโดยโรงกลั่นน้ำมันในประเทศ จำนวน ๓,๐๒๖ ล้านบาท ชดเชย การนำเข้า ก๊าซแอลพีจี (LPG) จากต่าง ประเทศ ต้อง

จ่ายอีก ๕,๖๔๘ ล้านบาท แต่โรงกลั่น ต่างๆ ที่รัฐต้องนำเงินไปชดเชยหรือใช้หนี้ กลับมียอดกำไรเพิ่มสูง เช่น โรงกลั่นไทยออยล์ กำไรเพิ่ม 67 % บางจากกำไรเพิ่มขึ้น 93%

จึงเป็นการเอาเปรียบและหมกเม็ดประชาชน ดังนั้นจึงใคร่ขอให้รัฐบาล ยกเลิกมติ ครม สมัยคุณ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ 15 กค 2551 ที่ให้ปิโตรเคมีได้ใช้ก๊าซหุงต้มที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติในประเทศมิสิทธิใช้ก่อน และ การกำหนดราคาให้มีการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย ซึ่งคือบริษัทในเครือปตท . และผลประโยชน์ได้จากทรัพยา กรแผ่นดิน ในประเทศ มีแต่ภาคธุรกิจเอกชน ที่ได้ประโยชน์แต่ประชาชนทั้งประเทศแบกรับภาระ ทั้งที่เป็น ทรัพยากรแผ่นดิน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 66 67 85(4) ที่กำหนดให้ประชาชนใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ธรรมชาติ อย่างสมดุลย์ และขอให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มีมติ ให้ภาคปิโตรเคมี ต้องจ่ายเงินสมทบกองทุน น้ำมัน เท่าอุตสาหกรรมอื่นๆ คือ 11-12 บาทต่อกิโลกรัม อีกทั้งต้องจ่ายราคาซื้อเท่า ราคานำเข้าเพื่อ มิให้ประชาชน ต้องไปแบกรับต้นทุนของปิโตรเคมี ที่กำไรให้เอกชน และบริษัทปตท