ซุปเปอร์แพท
ปิยะพัชรี ศิลปี



เตรียมตัวอย่างไร... ให้อยู่รอดในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

ในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รายได้หายกำไรหด ไหนยังต้องสู้กับโรคร้าย ไหน ยังจะมีสงครามย่อยๆ เราจะทำอย่างไรให้มีชีวิตอย่างปกติ มีเงินในกระเป๋าใช้ได้แบบไม่ขัดสน เริ่มเตรียมตัววางแผนตั้งแต่วันนี้ยังสายจนเกินไป

ช่วงนี้เป็นช่วงที่ใช้ชีวิตอยู่ยาก ทุกคนว่ามั้ยคะ...ไหนจะโรคระบาด ไหนจะเรื่องถูกทำร้ายเพราะเรื่องเหยียดผิว ไหนจะต้องคอยระวังพวกมิจฉาชีพที่ไม่ค่อยกลัวกฎหมาย ไหนจะเรื่องสงครามรัสเซียกับยูเครน และ ไหนจะเข้าสู่ช่วงเงินเฟ้อ เราควรจะใช้ชีวิตกันอย่างไรท่ามกลางสิ่งเลวร้ายที่มีมากขึ้นในทุกๆวัน เรามาดูผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจให้ข้อคิดไว้...

4 สิ่ง ควรเตรียม รับมือเศรษฐกิจตกต่ำ

1. เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน

2. จดบันทึกรายได้-ค่าใช้จ่าย

3. บริหารหนี้ให้ดี

4. จัดพอร์ตการออมและการลงทุน

เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน

ใครหลายคนอาจมองว่าเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินไม่สำคัญ แต่รู้ไหมค่ะว่ามีคนจำนวนมากที่ใช้แบบเดือนชนเดือน เมื่อเจอภาวะวิฤกติ ตกงาน รายได้ลด ก็แทบจะไม่มีเงินใช้จ่ายเลย จะรอพึงแต่รัฐบาลก็คงไม่ได้ ดีที่สุดคือพึงตัวเราเอง ดังนั้นเราจึงควรมีเงินสำรองไว้เสมอ โดยในภาวะปกติควรมี เงินสำรองไว้ 3-6 เดือนของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เผื่อตกงาน หรือป่วยไข้ จนขาดรายได้ไปช่วงหนึ่ง

ในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ อย่างช่วงนี้ที่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่(โควิด-19) เราจะเห็นว่าคนมากมายที่ได้รับผลกระทบ ทั้งตกงาน ทั้งต้องเก็บตัวอยู่บ้าน ห้างสรรพสินค้า ร้านค้ามากมายก็ปิด แล้วเราจะใช้ชีวิตอย่างไรหากไม่มีเงินเก็บ และไม่รู้จะตกงานอีกนานแค่ไหน ดังนั้นแล้วในภาวะแบบเราควรที่จะมีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินมากขึ้นเป็น 6-12 เดือน เพื่อให้เราอยู่รอดในภาวะวิกฤติ แล้วจะเก็บเงินก้อนนี้ไว้ที่ไหนดี? ด้วยเงินก้อนนี้มีโอกาสที่จะต้องเอาออกมาใช้ได้ทุกเมื่อ ดังนั้นก็ควรเก็บในที่ที่มีสภาพคล่องสูงอย่าง บัญชีออมทรัพย์ แต่ถ้าจะเป็น บัญชีออมทรัพย์ทั่วๆไป อัตราดอกเบี้ยก็ต่ำเหลือเกิน ดังนั้นจึงขอแนะนำทางเลือกเพิ่มเติม ก็คือ เงินฝากออมทรัพย์มีแต่ได้ ที่ให้ ดอกเบี้ยสูงกว่าออมทรัพย์ทั่วไป หรืออีกทางเลือกที่เป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น

จดบันทึกรายได้ – ค่าใช้จ่าย

การจดบันทึกบันทึกรายได้ ค่าใช้จ่ายนั้นเป็นสิ่งสำคัญเมื่อเราต้องการบริหารเงินให้มีเงินเก็บ หรือกำลังมีปัญหาทางการเงิน โดยเฉพาะในช่วงที่มีวิกฤติทางการเงินแบบนี้ การบริหารเงินที่ดี ก็เริ่มจากการมีรายได้ มากกว่าค่าใช้จ่ายก่อน แต่เราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่ามีรายได้มากหรือน้อยกว่าค่าใช้จ่ายได้ก็ต่อเมื่อมีการจดบันทึก

สามารถแบ่งรายได้และค่าใช้จ่ายเป็นประเภท ดังนี้

รายได้ แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

รายได้หลัก มาจากเงินเดือน หรือกิจการที่ทำอยู่เป็นปกติ

รายได้เสริม เป็นรายได้อื่นๆ ที่ไม่ได้มาจากรายได้ประจำ เช่น รายได้จากอาชีพเสริม รายได้จากการลงทุน

ค่าใช้จ่าย มี 2 ประเภท คือ

ค่าใช้จ่ายจำเป็น เป็นค่าใช้จ่ายที่ขาดไม่ได้มีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตให้เป็นปกติ เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร ค่าเดินทางเพื่อไปทำงาน

ค่าใช้จ่ายไม่จำเป็น ในชีวิตของเรามีค่าใช้จ่ายส่วนนี้ค่อนข้างเยอะ ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในการดำรงค์ชีวิตมากนัก แต่เป็นส่วนที่ทำให้เติมเต็มความสุข ความสะดวกสบายในชีวิตมากขึ้น เช่น ของฟุ่มเฟือยที่ซื้อไว้ก่อนจะได้ใช้รึเปล่ายังไม่รู้ ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปกับค่าบริการต่างๆ อย่าง ทีวีออนไลน์ที่ต้องจ่ายค่าบริการรายเดือน สติกเกอร์บนแอปพลิเคชั่นที่ต้องเสียเงิน

ในยามวิกฤติเช่นนี้ เมื่อทางเลือกมีไม่มากนัก รายได้ก็ลดลง สิ่งที่ง่ายที่สุดก็คือการสำรวจรายได้และค่าใช้จ่ายของตนเอง แล้วปรับลดการใช้จ่ายในส่วนที่ไม่จำเป็นลง รวมถึงพยามยามหารายได้เสริมทางอื่นเพิ่ม หากเมื่อลงทำบันทึก รายรับ ค่าใช้จ่าย ยังคงออกมาติดลบ

บริหารหนี้ให้ดี

ในภาวะวิกฤตแบบนี้ “การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ” แต่ถ้ามีหนี้แล้ว ก็ต้องบริหารจัดการให้ดี เพื่อไม่ให้เป็นภาระที่หนักยากเกินจะแก้ไขในอนาคต โดยเริ่มจากแบ่งประเภทหนี้ดังนี้

ผ่อนบ้าน ไม่ควรมีค่าใช้จ่ายในการผ่อนบ้านต่อเดือน เกิน 30 % ของรายได้ แต่ถ้าไม่มีภาระหนี้สินอื่นๆเลย ก็ได้ถึง 50% เพราะถ้ายิ่งผ่อนมาก หนี้ก็จะจบเร็วขึ้นตามไปด้วย

หนี้ผ่อนรถ จำนวนเงินที่ใช้ผ่อนรถไม่ควรเกิน 15-20 % ของรายได้ต่อเดือน หากมากกว่านี้อาจจะหนักจนเกินไป

หนี้บัตรเครดิต ยอดเรียกเก็บทีหลังที่สำคัญยอดชำระหนี้ ไม่ควรให้เกิน 10 -20 % ของรายได้ต่อเดือน

ในยามปกติแล้ว แล้วก็ไม่ควรมีหนี้ที่ต้องผ่อนชำระเกิน 50% ของรายได้ต่อเดือน เพื่อไม่ให้เงินตึงตัวจนเกินไป เพราะถ้าผ่อนไม่ไหวไหวเมื่อไหร่อาจจะทำให้ต้องมีการกู้หนี้ยืมสิน หรือหมุนเงินจากการกู้หลายๆทางเพื่อมาผ่อนชำระ

แล้วในยามไม่ปกติหล่ะ? อย่างช่วงภาวะวิกฤติจากไวรัสโควิด-19 ทำให้รายได้ลดลง ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันตัวเองจากปัญหาหนี้ทับถม ก็ไม่ควรมีภาระหนี้ที่ต้องผ่อนชำระเกิน 30-40% ของรายได้ เพื่อไม่ให้มีภาระที่หนักจนเกินไป

แต่ถ้าช่วงนี้ผ่อนไม่ไหวจริงๆ ลองโทรปรึกษากับเจ้าหนี้ได้นะคะ ในส่วนของสถาบันการเงิน ก็มีโครงการช่วยหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

อ่านดูแล้ว ก็จงอย่าเครียดจนเกินไป เพราะให้ผลร้ายกับร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้ หาโอกาสออกไปท่องเที่ยวเปิดหูเปิดตาบ้าง เพื่อเป็นการคลายเครียด สังสรรค์พบปะเพื่อนฝูง ร้องเพลง เต้นรำ ทำบุญ ทำทาน เป็นรางวัลชีวิต ตามสภาพภาวะการเงินของเรา จงอยู่อย่างฉลาด มีคุณภาพชีวิตที่ดีกันทุกคน

ด้วยรัก และ ปรารถนาดี จาก Super Pat (323)702-0788