ซุปเปอร์แพท
ปิยะพัชรี ศิลปี



จะอยู่อย่างไรกับนิวนอร์มอล นิวไลฟ์ หลังโควิด 19

เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าการระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้คนทั่วโลกต่างต้องปรับตัว พฤติกรรมผู้บริโภค 2020 ที่เป็นห่วงสุขภาพของตัวเองมากขึ้น รวมไปถึงสุขภาพการเงินอันเป็นที่มาของรายได้ให้ใช้ชีวิตได้ต่อไป พวกเราๆจึงต้องปรับตัวใช้ชีวิตความเป็นอยู่ให้ทันสมัย ทันเหตุการณ์ ปลอดภัย ไร้กังวลกับโรคภัยไข้เจ็บที่กำลังระบาดอย่างรุนแรงในขณะนี้ มีผู้เขียนบทความแสดงทัศนะคติการใช้ชีวิตอย่างที่เรียกว่า นิวนอร์มอล นิวไลฟ์ไว้หลายรูปแบบ ดิฉันได้คัดกรองมาให้อ่านเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตของแต่ละคน ขอบคุณบทความดีๆที่สรุปมาให้อ่านกัน ไทยรัฐออนไลน์

1. Stay Safe อยู่บ้านหยุดเชื้อ

เมื่อเกิดการระบาดใหม่ๆ สาธารณสุขทั่วโลกขอความร่วมมือให้ประชาชนอยู่บ้านเพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนา 2019 ประเทศที่สามารถควบคุมการระบาดได้เบื้องต้น ตอนนี้ก็กลับมาทำกิจกรรมได้ตามความเหมาะสม แต่ในกลุ่มผู้สูงอายุ เด็กเล็ก และผู้ที่มีโรคประจำตัว ก็ควรยังคงต้องอยู่บ้าน พฤติกรรมผู้บริโภคจึงเน้นการซื้อของใช้จำเป็นเข้าบ้านมากขึ้น การอยู่บ้านนานขึ้นทำให้เกิดความคิดว่าต้องปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมมากขึ้น ทั้งการรีโนเวตห้องต่างๆ ให้มีพื้นที่ใช้สอยสอดคล้องกับการใช้งาน และการปลูกต้นไม้เพื่อตกแต่งบ้านและเป็นผักสวนครัวก็นิยมทำกันมากขึ้น

2. หาซื้ออุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment)

จากแต่เดิมที่อาจไม่ค่อยซื้ออุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ หรือไม่เคยสวมใส่เลย ประชาชนจะต้องจัดหาอุปกรณ์ป้องกันส่วนตัวตามความเหมาะสมของรูปแบบการใช้ชีวิต ผู้ที่ทำงานพบปะกับผู้คนก็ต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันที่แน่นหนา และหมั่นล้างมือบ่อยๆ เจลล้างมือ และหน้ากากอนามัย กลายเป็นนิวนอร์มอลที่ต้องใช้ติดตัวกันทุกวันจากร้านขายยาแล้วเรายังหาซื้อหน้ากากอนามัย หยิบง่าย และหน้ากากอนามัยกลายเป็นสินค้าจำเป็น แม้กระทั่งตามสนามบินและสถานที่สำคัญ ก็มีตู้ให้บริการหยอดเหรียญซื้อหน้ากากอนามัย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทุกคน

3. Food Safety ทำอาหารกินเอง

การเข้าร้านอาหารเพื่อสังสรรค์อาจเปลี่ยนรูปแบบด้วยการเว้นระยะห่าง และพฤติกรรมผู้บริโภค New Normal ใส่ใจอาหารของตัวเองมากขึ้น เมื่อต้องการซื้ออาหารสำเร็จรูปก็ต้องการทราบวิธีการป้องกันทางสุขลักษณะในครัว รวมถึงต้องการทราบแหล่งที่มาของอาหารสด เพื่อดูแลสุขภาพของตัวเอง และการทำอาหารเองลดการติดเชื้อโรคอื่นด้วย

4. ธนาคารออนไลน์มีบทบาทมากขึ้น

การทำธุรกรรมบนแอปพลิเคชันบนมือถือหรือบนเว็บไซต์ระบบ Internet Banking เริ่มทำได้หลายอย่างมากขึ้น และการจ่ายผ่าน QR Code เพื่อลดการสัมผัสเงินทอนก็กำลังเป็นที่นิยม โดยเฉพาะปี 2020 นี้เราจะได้เห็นการเปิดบัญชีข้ามธนาคารด้วยเทคโนโลยีตรวจสอบตัวตนด้วย NDID แบบที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าถึงธุรกรรมได้สะดวก รวดเร็วขึ้น ทั้งการฝาก ถอน โอน ขอสินเชื่อ และซื้อกองทุน เพื่อลดขั้นตอนการติดต่อกับธนาคารที่สาขา ลดข้อจำกัดด้านการเดินทาง

5. ใช้สื่อวิทยุและโทรทัศน์นำเสนอข่าวสารโควิด-19 ที่ถูกต้อง

พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคโควิด 2020 ต่อการรับข้อมูลข่าวสารนี้สร้างปรากฏการณ์ที่ไม่เคยมีมาก่อน รัฐบาลหลายประเทศบังคับใช้กฎหมายป้องกันการบิดเบือนข้อมูล รวมถึง Google ก็คัดกรองเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือที่นำเสนอข้อมูลโรคระบาด เพื่อป้องกันการให้ข่าวสารที่ผิดพลาดแก่ประชากรโลก รัฐร่วมมือกับสื่อวิทยุกระจายเสียง และโทรทัศน์ ภายใต้การดูแลให้ร่วมกันนำเสนอข่าวสารโควิด-19 ที่ถูกต้องเพื่อสื่อสารให้เข้าถึงประชาชนมากที่สุด

6. ใช้บริการส่งสินค้า Delivery

ผู้บริโภคมีพฤติกรรมนิวนอร์มอลช่วงโควิดที่เลือกใช้วิธีการจัดส่งสินค้าแบบพัสดุส่งถึงบ้านกันมากขึ้น ทำให้ธุรกิจ Delivery เติบโต ขนส่งเอกชนหลายแห่งปรับวันหยุดพนักงานตอบโจทย์ยอดจัดส่งพัสดุ เพื่อให้บริการขนส่งได้ทุกวัน และปรับรูปแบบการส่งสินค้าสด สร้างมาตรฐานการจัดส่งสินค้าแบบใหม่อย่างไม่เคยมีมาก่อน

7. เล่นกีฬาในรูปแบบใหม่ โควิด-19 ทำให้ญี่ปุ่นต้องเลื่อนการจัดกีฬาโอลิมปิก 2020 และกีฬาทุกประเภท ทุกลีก หยุดชะงัก เพื่อชะลอการติดเชื้อในหมู่นักกีฬาสนาม

และรูปแบบกิจกรรม Entertainment จะเปลี่ยนไป แม้ว่าคอนเสิร์ตและการแสดงกลางแจ้งจะพักโปรเจกต์ แต่ก็มีแนวโน้มว่าอีกไม่นานจะพร้อมให้บริการ ด้วยการจำกัดผู้เข้าชมตามมาตรการคัดกรองรักษาความปลอดภัยจากสาธารณสุข เริ่มต้นจากโรงภาพยนตร์ที่จำกัดที่นั่งต่อรอบ และให้พนักงานที่ใกล้ชิดกับลูกค้าสวมใส่ Face Shield และต้องทำความสะอาดฆ่าเชื้อจุดสัมผัสร่วมกันทุก 30-60 นาที

เนื่องจากตอนนี้เรายังไม่มีวัคซีนป้องกันโควิด-19 ผู้จัดแสดงงานต่างๆ จึงต้องรีบปรับตัว โดยเริ่มพบเห็นการจัด Live Consert แบบ Streaming กันบ้างแล้ว ต้องจำกัดจำนวนคนเข้าชม และมีการคัดกรองตามมาตรการป้องกันความปลอดภัยทางสุขภาพ

การแข่งขันกีฬาถูกกำหนดให้ทำได้บางประเภท และจำกัดจำนวนผู้เข้าชม หรือใช้วิธีถ่ายทอดสดให้ผู้รับชมติดตามได้จากช่องทางโทรทัศน์ สังเกตได้ว่านิวนอร์มอลด้านพฤติกรรมผู้บริโภคหลัง COVID ที่เห็นได้ชัด คือผู้บริโภคมีความตระหนักถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลตัวเอง เลือกซื้อของใช้จำเป็น ดังนั้นธุรกิจต่อจากนี้จะต้องตอบรับกับพฤติกรรมแบบใหม่ที่เกิดขึ้น เพื่อปรับตัวไปพร้อมๆ กัน.

จง กระฉับกระเฉงกระตือรือร้นทำตัวให้คึกคักเสมอ, ทานอาหารมีประโยชน์, อย่าสูบบุหรี่, ทำสมาทธิ, อ่านหนังสือ ...อ่านแล้ว นำไปปฎิบัติตามความเหมาะสมกับชีวิตประจำวันของแต่ละคนนะเจ้าคะ ขอให้โชคดี สุขกาย สบายใจ ไร้กังวล

ด้วยรัก และ ปรารถนาดีจาก Super Pat (323)702-0788