ซุปเปอร์แพท
ปิยะพัชรี ศิลปี



ไปดูการแสดงของคณะมันตราสยาม

สัปดาห์นี้ได้น้องอุ้ม วลัยพรรณเกศทอง นักเขียนบทความคอลัมน์”เรียนรู้เมื่อต้องอยู่เมืองลุงแซม”ในนสพ.ไทยแอลเอมาช่วยเขียนบทความเกี่ยวกับละครไทยนำเสนอโดยคณะมันตราสยาม ที่ดิฉันพลาดไม่ได้ไปชมการแสดงด้วยความเสียดายเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ขอให้น้องเค้าซึ่งไปชมมาช่วยเขียนบมความเล่าเรื่องเหตุการณ์ในค่ำคืนวันนั้นให้คุณแฟนคลับที่ไม่ได่ไปชมการแสดงได้รับความเพลิดเพลินไปด้วย ขอขอบคุณน้องอุ้ม วลัยพรรณ เกศทองมา ณ.ที่นี้ด้วย

คณะมันตราสยาม กลับมาแสดงที่โรงละครฟอร์ดเธียเตอร์อีกครั้งหลังที่เคยมาแสดงครั้งแรกเมื่อกว่าสิบปีก่อนเมื่อวันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมาในเรื่อง “Tales from Mount Sumeru: The Golden Peacock” หรือถ้าจะแปลเป็นภาษาได้ว่า “เรื่องเล่าจากเชาพระสุเมรุ: นกยูงทอง” เนื้อเรื่องเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับการกลับชาติมาเกิดใหม่ของพระพุทธเจ้าในร่างของนกยูงทองเพื่อที่จะปกป้องและนำเอาความสุขที่แท้จริงมาสู่เหล่าสรรพสัตว์ในป่าหิมพานต์ การแสดงนี้กำกับการแสดงโดย สาโรจน์ วายุโชติและอำนวยการสร้างโดย โชติรส วิบูลย์ลาภ ซึ่งเป็นผู้ก่อนตั้งคณะศิลปะการแสดงมันตราสยาม รูปแบบการแสดงเป็นการผสมผสานกันของศิลปะทั้งดนตรีและการแสดงของตะวันออกและตะวันตก ทั้งบัลเล่ต์ แจ๊ส ลาติน โมเดิร์นแดนซ์ ดนตรีสากลและดนตรีไทยเดิม โดยรายได้หลักหักค่าใช้จ่ายมอบให้กับศูนย์พัฒนาสุขภาพชุมชนเพื่อเป็นการสนับสนุนกิจการในการช่วยเหลือชุมชนไทยในลอสแอนเจลิสต่อไป

ในโรงละครแบบครึ่งวงกลมของฟอร์ดเธียร์เตอร์คลาคล่ำไปด้วยผู้ชมเกือบเต็มโรง นอกจากผู้เข้าชมชาวต่างชาติที่ชื่นชมศิลปะการแสดงแล้ว ยังมีชาวไทยในลอสแอนเจลิสไปให้การสนับสนุนคณะการแสดงจากเมืองไทยกันมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่ก็แต่งกายชุดไทยหรือไทยประยุกต์เพื่อแสดงอัตลักษณ์ของชาติอีกด้วย

การแสดงเริ่มต้นในเวลาประมาณ 1 ทุ่มตรงเมื่อโรงละครปิดไฟหมด เหลือแต่ไฟบนเวที เปิดการแสดงด้วยการร่ายรำโชว์ศิลปะไทยของกลุ่มนางรำที่มาในชุดไทยสวยงามประกอบเพลงไทยเดิมที่เล่นสดด้วยวงดนตรีไทยที่บรรเลงอยู่ด้านข้างเวลา เพื่อเปิดตัวละครเอกคือ นกยูงสีทองที่มาอยู่บนด้านบนเขาพระสุเมร มีการใช้เทคนิคแสงและเงาเป็นรูปของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อให้ผู้ชมทราบว่านกยูงทองนั้นเป็นร่างที่ท่านกลับชาติมาเกิด มีการใช้บทสวดภาษาบาลี รวมกับดนตรีผสมผลาสทั้งไทยและเทศ โดยตัวละครนกยูงทองมีการร่ายรำในลีลาบัลเล่ต์ผสมกับโมเดิร์นแจ๊ส

ระหว่างการเล่าเรื่องมีการสอดแทรกดนตรีที่มีความสนุกเร้าใจ โดยนำเอากลองใหญ่ของญี่ปุ่น กลองสะบัดชัยของไทย และกลองชุดมาแสดงผสมผสานกันด้วยการประพันธ์เพลงและออกแบบการแสดงขึ้นมาใหม่ มีการนำเอาเรื่องราวพื้นบ้านของไทยและสัตว์ในเทพนิยาย อาทิเช่น พญานาค ม้า กินนรี นกยูง ผีเสื้อและสัตว์อื่นซึ่งอยู่ในป่าหิมพานต์ รวมทั้งนำตัวละครจากโขนรามเกียรติ์ อาทิ หนุมาน มาเต้นโขนเพื่อโชว์ศิลปะไทยขั้นสูงด้วย

ในการแสดงช่วงหลังจากพัก มีการแสดงของน้อง “เจนนิเฟอร์” นินนาท ซึ่งเป็นลูกหลานชาวแอลเอที่มีความสามารถในการร้องเพลงในวัยเพียง 13 ปี มาขับร้องเพลงภาษาอังกฤษ โดยมีการสอดแทรกคำภาษาบาลีเพื่อแสดงถึงหลักธรรมมรรค 8 ที่นกยูงทองซึ่งเป็นร่างของพระพุทธเจ้ากลับชาติแสดงการบำเพ๊ญเพียรสะสมบุญ

แน่นอนว่าเมื่อมีตัวดีแล้วก็จะมีตัวร้ายด้วย โดยระหว่างการแสดงก็มีตัวละครพรานมาแสดงถึงกิเลสของมนุษย์ที่จ้องประหัติประหารสิ่งมีชีวิตด้วยกัน ผสมผสานไปกับฉากตลก ๆ ให้คนขำ

การแสดงปิดฉากลงด้วยการออกมาแสดงคำขอบคุณโดยเหล่านักแสดงและเปิดตัวคุณสาโรจน์ วายุโชติ ผู้มีส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์และนำเอาการแสดงชุดนี้มาเปิดการแสดงให้ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติชมที่โรงละครฟอร์ดเธียร์เตอร์ในวันนั้น เชื่อแน่ว่าเหล่าผู้ชมทุกท่านคงจะมีความสุขกับการแสดงศิลปะไทยประยุกตฺนี้และนอนหลับฝันดีเหมือนกับผู้เขียนเช่นกัน

เครดิตบทความให้ วลัยพรรณ เกศทอง นักเขียนค่าย ไทยแอลเอ

ฝากรูปมาให้ชมกันด้วยค่ะ

ด้วยรักและปรารถนาดีจาก Super Pat (323)702-0788