ซุปเปอร์แพท
ปิยะพัชรี ศิลปี



Classic Afternoon Tea มารู้จักการจิบน้ำชายามบ่ายแบบอังกฤษ

กิ๋บเก๋ เลิศดูแพงแบบผู้ดีอังกฤษต้องจิบชา ว่าแต่ชาอังกฤษมีกี่ประเภท ต้องกินกับอะไร และทำไมถึงต้องจิบชายามบ่าย? มาหาคำตอบกัน…. เหตุดลใจให้เขียนบทความนี้ เนื่องจากเป็นวันเกิดลูกสาวแสนสวยน้องสุธินา บำรุงรัตน์ ดั๊ดลี่ เมื่อวันที่ 1 เมษายน ทำให้มีความคิดอยากจัดงานฉลองวันเกิดให้เธอประทับใจหลังจากโลกทั้งใบถูกปิดกั้นด้วยโรคร้ายโควิด 19 มาทั้งปี 2020 เค้าเพิ่งจะเปิดเมืองหมาดๆ จังหวะดีทันต้อนรับฤดูใบไม้ผลิอากาศสดชื่น ดอกไม้สวยงาม เหมาะเป็นอย่างยิ่งที่จะฉลองความสดชื่น จึงมีความคิดอยากให้วันกิดปีนี้เป็นที่ประทับใจของลูกกตัญญูอย่างเธอ อีกทั้งยังเป็นวันเกิดของเพื่อนรุ่นน้อง คุณสมชาย ไทยทัน ประธานมูลนิธิธารน้ำใจไทยในอเมริกาอีกด้วย การจัดเลี้ยงแบบจิบน้ำชายามบ่าย Classic Afternoon Tea แบบชาวอังกฤษ ที่เคยชอบสมัยเรียนอยู่ที่ปีนังจึงเป็นของใหม่ที่อยากให้พวกเค้าได้สัมผัสกัน หลังจากเลือกมาหลายร้านเพราะร้านที่ตกแต่งสวยงามถูกใจหลายๆร้าน ยังไม่เปิดให้นั่งข้างในเนื่องจากโควิดระบาด เราจึงมาลงเอยที่ห้องทีรูม Chado Tea Room ซึ่งมีหลายสาขา เราเลือก สาขาที่พาซาดีน่า เพราะ สะดวกกับสมาชิกที่จะมาร่วมงาน บทความวันนี้ก็เลยจะนำเสนอเรื่อง Classic Afternoon Tea Birthday Party ด้วยการแต่งตัวเลียนแบบต้นฉบับผู้ดีอังกฤษ (เพื่อความสนุกสนาน) จิบน้ำชาพร้อมทานอาหารว่าง ขนมปังแซนด์วิชพอดีคำ ขนม-อบ เค๊ก หลายรสชาด คุยกันฟรุ้งฟริ้งมุ้งมิ้งตามประสาหนุ่มๆสาวๆที่มีความสุขในหัวใจ ท่ามกลางบรรยากาศสไตล์ฤดูใบไม้ผลิที่ตกแต่งอย่างสวยงาม เก็บเกี่ยวความสุขมาฝากทุกๆคน...ตามมาจะพาคุณๆมารู้จักกับการจิบชา กิ๊บ เก๋ เริ่ด ดูแพงกันพอหอมปากหอมคอ ตามที่ได้อ่านพบในอินเตอร์เน็ท...

ประวัติงานเลี้ยงน้ำชายามบ่าย (Afternoon Tea Catering) สไตล์อังกฤษ

งานเลี้ยงน้ำชายามบ่ายแบบอังกฤษเริ่มมีให้เห็นและเป็นที่รู้จักในวงกว้างตั้งแต่ปีคศ.2010s เพื่อที่เราจะจัดงานเลี้ยงน้ำชายามบ่าย (Afternoon tea) ในโอกาสต่างๆได้อย่างเหมาะสม มาทำความเข้าใจกับที่มาที่ไปของ Afternoon tea กันก่อนดีกว่า

การอภิเษกสมรสระหว่าง King Charles II of England (1630-1685) กับเจ้าหญิงชาวโปรตุเกส Catherine de Braganza คือจุดเริ่มต้นของวัฒธรรมการดื่มน้ำชาในอังกฤษ เจ้าหญิง Catherine โปรดการดื่มน้ำชามาจากบ้านเกิด วันที่เดินทางถึงอังกฤษเพื่อเข้าพิธีอภิเษกสมรสในปี 1660s พระนางนำใบชาและชุดภาชนะติดตัวมาด้วย และริเริ่มการเชิญเพื่อนสนิทมาดื่มน้ำชา ณ ห้องแต่งตัว (private closet in bedchamber) ข้างห้องนอน หลังจากนั้นการดื่มน้ำชาก็แพร่หลายสู่สมาชิกของราชวงค์ ต่อมาขุนนางและชนชั้นสูงได้ทำตามอย่าง จนการดื่มน้ำชาเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย

ระยะแรกใบชามีราคาสูงมาก ชายชั้นสูงดื่มชาระหว่างสังสรรค์และคุยธุรกิจกันตามร้าน Coffeehouse ซึ่งอนุญาตให้เข้าเฉพาะผู้ชาย ฝ่ายหญิงจึงซื้อใบชากลับไปต้มดื่มกันในครอบครัวและใช้ต้อนรับเพื่อนสนิท ภาชนะที่ประกอบเช่น กาน้ำชาที่ทำจากเงินแท้ ถ้วยชาและภาชนะกระเบื้องชั้นดี (porcelain) ส่วนใหญ่นำเข้าจากจีนและญี่ปุ่น หญิงชาวอังกฤษไม่ได้เก็บภาชนะเหล่านี้ในครัวหรือห้องอาหาร แต่เก็บไว้ที่ห้องแต่งตัว (private closet) ข้างๆห้องนอน ซึ่งใช้เป็นที่ต้อนรับแขกและเสิร์ฟน้ำชา คนรับใช้ไม่ได้รับอนุญาตให้แตะต้องใบชาอันมีราคาสูง เมื่อนายหญิงต้องการรับรองเพื่อนฝูง คนรับใช้จะจัดวางชุดภาชนะอย่างสวยงามเตรียมไว้ พร้อมน้ำเดือดหนึ่งกา แล้วนายหญิงจะเอาใบชาออกมาจัดการต่อเอง การเลี้ยงน้ำชาต่อแขกผู้มาเยือนลักษณะนี้ทำได้ตลอดวัน ไม่จำกัดเวลา

ในศตวรรษที่ 17 ชาวอังกฤษมีอาหารสองมื้อ เช้าและเย็น น้ำชาจะเสิร์ฟหลังอาหารมื้อสำคัญ-มื้อเช้า ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 11 โมงหรือเที่ยง ยาวไปจนบ่าย 3 บ่าย 4 หลังอาหารฝ่ายชายมักจะดื่ม สูบและคุยกันต่อที่โต๊ะอาหาร ฝ่ายหญิงก็จะไปรวมกลุ่มที่โต๊ะน้ำชาคุยกันตามประสาผู้หญิง หลังจากฝ่ายชายดื่มและสูบจนพอแล้วและแขกเริ่มลากลับแล้ว อาจจะมาต่อที่โต๊ะน้ำชากับฝ่ายหญิง

งานเลี้ยงน้ำชายามบ่าย Afternoon tea เป็นการพัฒนาต่อเนื่องมาจากการดื่มน้ำชา ช่วงปลายศตวรรษที่ 18 อาหารเย็นเริ่มสายออกไปเรื่อยๆ บางทีอาจสายถึงสองทุ่มครึ่ง น้ำชายามบ่ายจึงเติมเต็มช่องว่างนี้ แอนนา มาเรีย (Anna Maria – 7th Duchess of Bedford of Woburn Abbey in the Bedfordshire, 1788-1861) ให้คนรับใช้จัดชุดน้ำชาตอนห้าโมงเย็นพร้อมขนมปังเพื่อบรรเทาความหิวระหว่างรอมื้อเย็น งานเลี้ยงน้ำชายามบ่ายกลายเป็นโอกาสที่บรรดาสาวๆจะมาพบปะสังสรรค์กัน อัพเดทข่าวคราวและแฟชั่น นินทาคนโน้นคนนี้ ไม่ว่าแขกจะมีจำนวนหลักสิบหรือหลักร้อย เจ้าภาพจะจัดให้แขก3 – 4 คนนั่งโต๊ะเดียวกันเพื่อเสิร์ฟน้ำชาและขนมอบ (Pastries) หนึ่งชุด

ตั้งแต่ยุควิคตอเรีย การเสิร์ฟน้ำชายามบ่ายจะผูกพันกับห้องที่หรูหราแยกออกจากครัวหรือโต๊ะอาหาร ด้วยภาชนะที่สวยงาม ผู้ที่ร่วมโต๊ะจะเป็นหญิงชั้นสูงในสังคม เจ้าภาพจะเป็นผู้รินน้ำชาให้แขกเสมอ ในระยะแรกอาหารว่างที่เสิร์ฟคู่กัน จะมีเพียงขนมปังและเนย ต่อมาก็มี muffin, cake (เช่น lamington cake), crumpet, และขนมปังอื่นๆ

หลังจากนั้น มีการพัฒนางานเลี้ยงน้ำชายามบ่ายสำหรับหลายโอกาส รวมถึงการแสดงความยินดีที่ครอบครัวมีสมาชิกใหม่ งานเลี้ยงน้ำชาในสวน (garden tea) ในบ้าน (tea at home) ในคอร์ทเทนนิส (tennis tea) ปิคนิค (picnic tea) ระหว่างเล่น Croquet (croquet tea) ชนชั้นกลางอังกฤษมองว่างานเลี้ยงน้ำชาเป็นวิธีจัดงานสังสรรค์ที่ประหยัด เพราะมีเพียงแค่น้ำชา สโคน แซนด์วิช และขนมอบอื่นๆ (Pastries) อีกเพียงไม่กี่อย่าง การปรุงน้ำชาดื่ม คนอังกฤษถนัดต่างกับคนทั่วไป คือคนทั่วไปมักจะรินน้ำชาลงถ้วยก่อนแล้วเติมนมหรือครีมและน้ำตาล แต่คนอังกฤษจะใส่ครีมหรือนมลงไปก่อน เติมน้ำตาล แล้วจึงรินน้ำชาร้อนๆลงไปเป็นอันดับสุดท้าย

Afternoon Tea set ที่แพงที่สุดในโลกอยู่ที่ Von Essen’s Cliveden Hotel ใน Berkshire เสนอราคาที่ 550 ยูโรต่อ 1 คู่ หรือประมาณ 21,600 บาท!!

ถุงชาที่แพงที่สุด!ถุงชาถักฝังเพชร ผลิตโดย Boodles Jewelers ประกอบด้วยเพชร 280 ชิ้น มีมูลค่าถึง 7500ยูโร หรือประมาณ 295000 บาท!!

ปัจจุบัน เราสามารถหา Afternoon Tea ทานได้ตามห้องอาหารในโรงแรม และร้านอาหารต่างๆ

ฝากรูปมาให้มีความสุขไปกับการฉลองวันเกิด กิ๊บเก๋ เริ่ดหรู กับพวกเรา หนุ่มสาว ปังปุริเย่กัน

ด้วยรักและปรารถนาดี จาก Super Pat (323)702-0788