จั่วหัวไว้ เป็นอุทาหรณ์ ให้สังวรกันไว้ ว่า บางทีคนใกล้ตัวเช่นคู่ชีวิต เพื่อนสนิท ที่เรารักและไว้ใจ ทำให้เราไม่คาดคิดว่าจะมาทำร้ายเราได้ เพราะ เค้าดี กับเราในทุกๆเรื่อง
ขณะนี้มีข่าวดังสะเทือนขวัญ กลบข่าวต่างๆออกไป ทุกสำนักต่างกระหน่ำโหมลงข่าวของสาวโหดนางนี้ คือ คดี แอม สรารัตน์ สาวใจโหดเหี้ยม ฆ่าเพื่อน ในรูปแบบของสายบุญ ชวนไปทำบุญ ไหว้พระ ปล่อยสัตว์ ทำตัวเป้นคนมีน้ำใจ ส่งยารักษาโควิด ยาลดความอ้วนให้ ชวนไปทานอาหาร ให้เพื่อนๆ แม้กระทั่งสามี ที่โดนวางยาพิษ ตายตกกันไปตามๆกัน ทั้งๆที่ตัวเองยังตั้งครรภ์อยู่อีกต่างหาก
เปรียบเหมือนถูกคนใกล้ชิดหักหลัง สิ่งที่เจ็บที่สุดของคำว่า “หักหลัง” คือมันไม่ได้มาจากคนอื่น แต่มาจากคนใกล้ตัวที่เราไว้ใจ อย่างเช่นคนที่เราเรียกว่า “เพื่อน หรือคู่ชีวิต” นี่แหละ! ช่วงนี้หลายคนคงจะอินกับมิตรภาพของคำว่าเพื่อนกันแบบสุด ๆ ถึงกับถามเพื่อนว่า ถ้าเราตกน้ำไปเพื่อนจะอยู่ช่วยตามหาเราไหม
ทำให้นึกถึงข่าวดังในทำนองคล้ายๆกัน จาก “แม่ม่ายดำ” ถึง “แอม ไซยาไนด์” ทำความรู้จักฆาตกรต่อเนื่องหญิงที่ใช้ยาพิษฆ่าชิงทรัพย์
นางจิซาโกะ คาเคฮิ วัย 76 ปี ฆาตกรต่อเนื่อง ฉายา “แม่ม่ายดำ” ผู้ใช้ยาพิษไซยาไนด์วางยาและฆ่าอดีตคู่ครอง 3 คน รวมถึงสามีของเธอ และตำรวจยังพบว่าเธอพยายามฆ่าผู้ชายอีกคนด้วยคนรักของเธอ 2 คน และสามี ถูกวางยาพิษระหว่างปี 2550-2556 ทุกคนมีอายุระหว่าง 70-80 ปี โดยผู้เสียชีวิตที่เป็นสามีนั้น เสียชีวิตหลังแต่งงานกันได้เพียง 1 เดือน นำมาสู่ฉายา “แม่ม่ายดำ” ตามชนิดของแมงมุมที่สังหารคู่ตัวเองหลังผสมพันธุ์
การฆาตกรรมสามี ทำให้นางคาเคฮิได้รับเงินมรดกและประกันรวมมูลค่ากว่า 1,000 ล้านเยน แต่ท้ายสุด เธอนำไปใช้กับการเล่นหุ้นจนเป็นหนี้
ส่วนที่อินเดีย คุณแม่ลูก 3 รายหนึ่ง ตั้งตนเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมดับทุกข์ แต่กลับหลอกเหยื่อดื่มน้ำศักดิ์สิทธิ์ผสมไซยาไนด์ ฆาตกรรมไป 7 ศพ ภายในเวลาไม่กี่เดือน ถือเป็นฆาตกรต่อเนื่อง
มาทำความรู้จักลักษณะของ "ฆาตกรต่อเนื่อง" หลังสังคมผงะกับคดี "แอม ไซยาไนด์" ฆ่าเพื่อน
คดีสะเทือนขวัญที่กลายเป็นพาดหัวข่าวในขณะนี้ คือ คดีที่ นางสรารัตน์ (ขอสงวนนามสกุล) หรือ แอม ผู้ต้องหาที่เกี่ยวพันการเสียชีวิตอย่างปริศนาของ น.ส. ศิริพร ขันวงษ์ หรือ "ก้อย" ชาว จ. กาญจนบุรี ขณะไปปล่อยปลากับเธอเมื่อวันที่ 14 เม.ย. ซึ่งสังคมจับตาว่าอาจเข้าข่าย "ฆาตกรรมต่อเนื่อง"
ข้อหาอย่างเป็นทางการตามหมายจับออกโดยศาลอาญาคือ "ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน" พร้อมของกลางคือ ขวดไซยาไนด์ ทำให้ผู้ต้องหารายนี้ถูกตำรวจสอบสวนกลางจับกุมตัวมาสอบปากคำเมื่อวันที่ 25 เม.ย.)
ตำรวจพบได้พบหลักฐานเป็น “สารไซยาไนด์” อยู่ภายในบ้านของ นางสรารัตน์ สอดคล้องกับผลการผ่าพิสูจน์ของผู้เสียชีวิตที่พบสารชนิดนี้อยู่ในร่างกาย
ความคืบหน้าล่าสุด พล.ต.อ. สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) เปิดเผยว่า พบหลักฐานมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงพยานบุคคลสำคัญที่ยืนยันว่า "แอม ตั้งใจฆ่าใครบ้าง"
แต่ในชั้นสอบสวน "แอม ปฏิเสธไม่ให้การใด ๆ ทั้งสิ้น แอมเอง ศาลไม่ให้ประกัน อยู่ในเรือนจำ... แต่เรื่องพยานหลักฐานผมไม่กังวล มีพยานบุคคลและแวดล้อม"
บ่ายวันที่ 27 เม.ย. อดีตสามีที่เป็นตำรวจระดับรองผู้กำกับการในพื้นที่ จ.ราชบุรี จะเข้ามาให้การประกอบการสอบสวน ก่อนที่ ตำรวจจะระดมพยานและหลักฐานทั้งหมด เพื่อรายงานความคืบหน้าอีกครั้งในวันศุกร์ (28 เม.ย.)
จากการขยายผลการสืบสวน รอง ผบ.ตร. กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ยังมีเหยื่อรายอื่น ๆ ด้วยรวม 14 ราย ใน 5 จังหวัด แบ่งเป็นผู้เสียชีวิตที่ยืนยันแล้ว 13 คน และรอดชีวิต 1 คน
สำหรับผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม เดิมญาติของผู้เสียชีวิตเข้าใจว่า เสียชีวิตเอง จนกระทั่งทราบข่าวการเสียชีวิตของ น.ส. ศิริพร จึงเกิดความสงสัยและเข้าร้องเรียน ในจำนวนนั้นมีอดีตสามีของนางสรารัตน์รวมอยู่ด้วย
ลักษณะของ "ฆาตกรต่อเนื่อง" เป็นอย่างไร
เนื่องจากคดีฆาตกรรมต่อเนื่องเกิดขึ้นในสังคมไทยได้ไม่บ่อยครั้ง บีบีซีไทยจึงรวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเพื่ออธิบายและทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของฆาตกรต่อเนื่อง (serial killer) ดังนี้
ข้อมูลจากเว็บไซต์ห้องสมุดสุขภาพจิต ของกระทรวงสาธารณสุข อธิบายลักษณะของ "ฆาตกรต่อเนื่อง" โดยอ้างคำนิยามโดยสำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐอเมริกา หรือ FBI หมายถึง ฆาตกรที่ฆ่าคนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพื่อสนองความต้องการหรือความพึงพอใจทางจิตใจ โดยจะมีช่วงว่างเว้นระหว่างเหยื่อแต่ละราย ซึ่งต่างจากฆาตกรรมหมู่ที่จะสังหารบุคคลหลาย ๆ คนในคราวเดียวกัน
ฆาตกรต่อเนื่องส่วนใหญ่เป็นการกระทำของบุคคลเดียว แรงจูงใจในการกระทำความผิด อาจมีได้ตั้งแต่ความโกรธ แสวงหาความตื่นเต้น ผลประโยชน์ทางการเงิน และการเรียกร้องความสนใจ วิธีการในการกระทำมักจะเป็นรูปแบบเดิม ๆ ซ้ำ ๆ และเหยื่อมักจะมีลักษณะบางอย่างร่วมกันเช่น ลักษณะทางประชากร รูปร่างลักษณะ เพศ และเชื้อชาติ
ลักษณะที่พบได้บ่อย ๆ มีอะไรบ้าง
• ความผิดปกติทางจิต หรือความผิดปกติทางบุคคลิกภาพ
• มักมีประวัติถูกทำทารุณกรรมทางร่างกาย ทางจิตใจ หรือทางเพศจากสมาชิกในครอบครัว
• อาจมีลักษณะของพฤติกรรมทางเพศที่เบี่ยงเบนร่วมด้วย
• ระดับสติปัญญาอยู่ในระดับปกติหรือต่ำกว่าปกติ
• บ่อยครั้งที่ฆาตกรมักถูกกลั่นแกล้งหรือแยกตัวจากสังคมในวัยเด็ก
• มีประวัติกระทำความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น หลอกลวง ลักขโมย ก้าวร้าวรุนแรง
อ่านแล้วฟังแล้ว ช่างเศร้าใจนัก ต้องนำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เรื่องกฎแห่งกรรม มาระงับจิตใจที่หดหู่ให้สงบลง “กรรมใด ใครก่อ กรรมนั้นตามสนอง” ขอให้ทุกคนโชคดี มีความสุข
ด้วยรักและปรารถนาดี จาก Super Pat (323)702-0788