ซุปเปอร์แพท
ปิยะพัชรี ศิลปี



เชื้อโรคอันตรายที่อาจมากับ “โถส้วม-ห้องน้ำ”

วันนี้เรามาคุยกันถึงเรื่องสุขภาพใกล้ตัวที่หลายคนอาจมองข้ามกันไป เกี่ยวกับเรื่องที่เราต้องใช้เป็นประจำและจำเป็นต่อทุกคน ขอบคุณขอ้มูลดีๆจากอินเตอร์เน็ท

เรื่องที่จะพูดถึงคือ โถส้วม และห้องน้ำ เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค และเชื้อแบคทีเรียได้ง่าย ควรเลือกใช้ห้องน้ำที่สะอาด ทำความสะอาดห้องน้ำเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับกลอนประตู ขันน้ำ ปุ่มชักโครก โดยตรง ปิดฝานั่งทุกครั้งที่กดชักโครก ไม่ยืนบนโถส้วม และทำความสะอาดโถส้วมให้สะอาดทุกครั้งหลังใช้

เชื้อโรคหลายอย่างมาจากห้องที่ใช้เพื่อการขับถ่ายอย่างห้องส้วม ดังนั้นควรใช้โถส้วมอย่างระมัดระวัง เพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อโรค โรคติดต่ออันตรายอื่น ๆ ไม่ว่าจะมาจากส้วมที่บ้าน หรือที่ห้องน้ำสาธารณะก็ตาม

จุดอันตรายที่มักพบเชื้อโรคในห้องน้ำ

ข้อมูลจาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุจุดที่มักพบเชื้อโรคในห้องน้ำเอาไว้ ดังนี้

• ลูกบิด/กลอนประตูห้องน้ำ

• ชักโครก

• สายฉีดน้ำชำระ

• สบู่ล้างมือ แบบเปิดเติมสบู่เหลวลงไปในภาชนะเดิม (แบบบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วทิ้ง)

• เครื่องเป่ามือ

• ฝักบัวอาบน้ำพลาสติก

เชื้อโรคอันตรายที่อาจมากับโถส้วม-ห้องน้ำ

เชื้อโรคที่มักพบในห้องน้ำ มีมากมาย และสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่าง ๆ ได้ เช่น

1. เชื้ออีโคไล (Escherichia coli) ก่อให้เกิดอาการท้องเสีย ท้องร่วง

2. เชื้อโรคกลุ่มสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) ก่อโรคทางผิวหนัง หรือสร้างสารพิษที่ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษ

3. เชื้อเอ็มอาร์เอสเอ (Methicilin Resistant Staphylococcus Aureus หรือ MRSA) ก่อให้เกิดอาการดื้อยา

4. เชื้อโคลิฟอร์ม (Faecal coliform bacteria) ทำให้ถ่ายเป็นน้ำ เป็นมูกเลือด

5. เชื้อคลอสไทรเดียม ดิฟิซายล์ (Clostridium difficile) ทำให้ท้องร่วง และลำไส้อักเสบ

6. เชื้อมัยโคแบคทีเรีย (Mycobacteria avium) ทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการไอแหบ หายใจลำบาก เรื้อรังและหมดแรง ซึ่งเชื้อชนิดนี้จะเป็นอันตรายต่อผู้ที่มีโรคทางพันธุกรรมที่ก่อให้เกิดโรคในปอด ทางเดินอาหารและผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

7. เชื้อเคล็บซีเอลลา นิวโมเนีย (Klebsiella pneumoniae) เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น โรคติดเชื้อในปอด ติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังพบเชื้อโรคอีกมากมายจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ในห้องน้ำ

วิธีหลีกเลี่ยงการติดเชื้อโรคต่าง ๆ จากห้องน้ำ

1. หากเป็นห้องน้ำที่บ้าน ควรทำความสะอาดเป็นประจำทุกวัน หรือสัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรคต่าง ๆ

2. ปิดฝาชักโครกทุกครั้งที่กดชักโครก ลดการกระเด็นของสิ่งปฏิกูลในโถส้วมได้มาก

3. ไม่ยืนบนโถส้วม เพราะอาจเสี่ยงส้วมแตก เกิดบาดแผลได้

4. ไม่วางแปรงสีฟันไว้ใกล้ ๆ โถส้วม ป้องกันการกระเด็นจากน้ำในโถส้วมเมื่อกดชักโครก และควรทำความสะอาดแปรงสีฟันหลังใช้งานทุกครั้ง รวมถึงเปลี่ยนแปรงสีฟันทุก ๆ 3 เดือนหรือเร็วกว่านั้นด้วย

5. เปลี่ยนอุปกรณ์ในห้องน้ำ เช่น สายชำระ ฝักบัว ให้เป็นวัสดุที่ทำจากโลหะแทน ช่วยลดการสะสมเชื้อแบคทีเรียได้มากกว่าแบบที่ทำจากพลาสติก

6. สำหรับห้องน้ำสาธารณะ ควรเลือกใช้บริการห้องน้ำที่สะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็น

7. หลีกเลี่ยงการสัมผัสอุปกรณ์ต่าง ๆ ในห้องน้ำโดยตรง เช่น ลูกบิด กลอนประตู ปุ่มกดชักโครก สามารถใช้ทิชชู่วางก่อนจับได้

8. หลีกเลี่ยงการใช้สายชำระที่ไม่สะอาด

9. เลือกใช้สบู่ล้างมือที่มาจากภาชนะที่ปิดสนิท แบบใช้แล้วทิ้ง บรรจุภัณฑ์สะอาด

10. ใช้กระดาษเช็ดมือแบบใช้แล้วทิ้ง มากกว่าผ้าขนหนูเช็ดมือ รวมทั้งเครื่องเป่ามือ

รู้ไว้ เตือนตัวเอง เพราะสุขภาพเป็นความรับผิดชอบของทุกคนที่มีต่อตัวเอง การมีสุขภาพดี

การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ เป็นความจริงที่แน่นอน ขอให้ทุกคนดูแลสุขภาพกันให้ดีๆนะคะ

ด้วยรักและปรารถนาดี จาก Super Pat (323)702-0788