ซุปเปอร์แพท
ปิยะพัชรี ศิลปี



วิปโยค โศกสลด ตุรกี เมืองตราบาป?

แผ่นดินไหวในประเทศตุรกีและประเทศซีเรีย พ.ศ. 2566 มีผู้เสียชีวิตทะลุ 30,000 คน ผู้นำตุรกีชี้ ภัยพิบัติหนักเกินรับมือ เหตุแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ 2 ครั้งติด ทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี ติดกับพรมแดนประเทศซีเรีย เมื่อวันที่ 6 ก.พ. ที่ผ่านมา ตามด้วยแผ่นดินไหวรุนแรงอีกลูกในเวลาไม่ถึงวัน ทำให้มีผู้เสียชีวิตในสองประเทศแล้วกว่า 30,000 คน ขณะที่องค์การสหประชาชาติเตือนว่าระดับความเสียหายจากภัยพิบัติครั้งนี้ ยังไม่สามารถประเมินได้

เจ้าหน้าที่กู้ภัยยังคงค้นหาผู้รอดชีวิตจากใต้ซากปรักหักพังของอาคารที่ถล่มลงมาจากแผ่นดินไหว ซึ่งการค้นหาเข้าสู่ช่วงเวลาเกือบ 100 ชั่วโมงหลังจากเกิดเหตุ

ส่วนผู้รอดชีวิตต้องประสบกับสภาพอากาศที่หนาวจัด โดยที่ยังไร้ที่อยู่อาศัย น้ำ และอาหาร ด้านประธานาธิบดี เรเจป ทายยิป แอร์โดอัน ของตุรกี เรียกเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ว่าเป็น "ภัยพิบัติแห่งศตวรรษ"

ความช่วยเหลือจากนานาชาติกำลังหลั่งไหลเข้าไปยังตุรกี ล่าสุด ธนาคารโลก มอบเงินช่วยเหลือให้กับตุรกี 1.78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งความช่วยเหลือทางการเงินโดยตรงเพื่อก่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและเพื่อสนับสนุนผู้ประสบภัย

กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมส่งทีมค้นหาและและกู้ภัยในเขตเมือง พร้อมด้วยทีมสุนัขค้นหาและกู้ภัยจาก Thailand rescue Dog เดินทางไปตุรกีเมื่อคืนวันที่ 9 ก.พ. เป็นที่น่าภูมิใจอย่างมากที่เพียงครึ่งวัน สุนัขหน่วยกู้ภัย สามารถช่วยชีวิต คนได้ถึง 10 คน

ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ในซีเรีย อยู่ในพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศ ที่อยู่ในสภาวะสงครามกลางเมือง รวมถึงส่วนใหญ่เป็นผู้ลี้ภัยหลายล้านคน ที่อาศัยอยู่ภายในค่ายผู้ลี้ภัยทั้งสองฟากของพรมแดนระหว่างซีเรีย และตุรกี

จากการติดตามข่าว สะเทือนใจ ในขณะที่เรามีความสุข ฉลองวันเกิด วันครบรอบแต่งงาน วันเทศกาลงานต่างๆที่จัดเป้นประจำอยู่ทุกเดือน มีความรู้สึกผิดที่จะมีความสุข ในขณะที่คนอีกแสนกว่าคน ต้องตกระกำลำบากจากภัยพิบัติธรรมชาติ แผ่นดินไหว ท่ามกลาง สภาพหนาวเหน็บ กลางหิมะตก ยังไม่พอ โดนเคราะห์ซ้ำ กรรมซัด มีน้ำท่วมเข้ามาอีก สลดหดหู่ใจมากมาย จึงคิดว่าควรจะเปลี่ยนงานรื่นเริงบันเทิงใจให้ก่อประโยชน์กับผู้เดือดร้อนในตุรกี

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 20523 ทางชมรมส่งเสริมความสุขแอลเอ จัดงานประจำเดือนขึ้นเป็นประจำทุกเดือน เดือนนี้ก็เช่นกัน ดำริจัดงานวันงาน Valentine’s Brunch ฉลองวันแห่งความรักที่ 14 กุมภาพันธ์ ยังมีฉลองวันเกิดคนเกิดเดือนกุมภาพันธ์ ฉลองวันครบรอบ 17 ปี ของเรา Super Pat และ อ.จารย์เชนวริท ศิลปี และฉลองการชม การแข่งขันฟุตบอล Super Bowl อีกด้วย

ทางชมรมส่งเสริมความสุขแอลเอจึงดำริขึ้นว่าทำปาร์ตี้เล็กๆให้เป็นงานร้องเพลงการกุศล นำรายได้จากการร้องเพลง สมทบทุนเพื่อ ให้เกิดประโยชน์ต่อการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในตุรกี คงจะดีกว่า

เพื่อนๆสมาชิกที่มีน้ำใจต่างเต็มใจให้ความร่วมมือช่วยกันบริจาค โดยคุณวรรณา โคตรอาสา ได้มอบของขวัญเป็นน้ำใจให้กับวันครบรอบแต่งงาน 17 ปี ของเรา $1,000 เราจึงได้นำของขวัญชิ้นนี้ เป็นผู้นำบุญสมทบช่วยผู้เดือดร้อนจากแผ่นดินไหวในตุรกี ตามด้วยน้ำใจของสมาชิกที่มาร่วมงานทุกคน รวบรวมได้ทั้งหมด ณ.ปัจจุบัน เป็นเงิน $1,560

เราจะนำเงินบริจาคนี้ไปสมทบกับ สมาคมแคลิฟอร์เนียภาคใต้ ที่จะจัดงานการกุศลช่วยผู้เดือดร้อนในตุรกี วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2023 ที่โรงเรียนวัดไทย ลอสแอนเจลิส เพื่อแสดงถึงการรวมใจรวมพลังเป็นหนึ่งเดียวจากชุมชนไทยในแคลิฟอร์เนียภาคใต้ มอบเงินผ่านกงสุลใหญ่แอลเอ มอบให้กับประเทศตุรกี รู้สึกมีความสุขที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยบรรเทาทุกข์ให้กับเพื่อนมนุษย์ ถึงแม้จะเป็นส่วนน้อยก็ตาม เพราะเราทำดีที่สุดแล้ว ขออนุโมทนาสมาชิก ของสมาพันธ์สตรี ทำความดี และชมรมส่งเสริมความสุข แอลเอ ที่มีน้ำใจกับผู้เดือดร้อนมา ณ.ที่นี้ด้วย

เรามาทำความรู้และการเตรียมตัวเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น จะรับมือกันอย่างไร

แม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะพยากรณ์ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวขึ้นเมื่อใด หรืออาคารจะพังถล่มลงมาในนาทีไหน แต่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ตำแหน่งที่คุณใช้หลบภัยคือปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้มีชีวิตรอดตำแหน่งที่เหมาะสมในการหลบภัยจะเป็นที่คุ้มกันคุณจากซากปรักหักพังต่าง ๆ และช่วยสร้างช่องว่างให้อากาศเข้าถึงได้

นายมูรัต ฮารุน ออนโกเรน ผู้ประสานงานสมาคมค้นหาและกู้ภัยตุรกี (Turkish Search & Rescue Association หรือ AKUT) ซึ่งเป็นหน่วยงานป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนใหญ่ที่สุดของตุรกี ระบุว่า “การฝึกซ้อม ‘หมอบ ป้อง เกาะ’ จะสร้างช่องที่จะช่วยให้มีชีวิตรอด และช่องอากาศ”กรณีที่อยู่ภายในตัวอาคารขณะเกิดแผ่นดินไหว ควร “หมอบ” ลงกับพื้น แล้ว ใช้มือ “ป้อง” ศีรษะและคอ เพื่อป้องกันสิ่งของหรือเศษวัสดุที่อาจตกใส่ หรือหาที่กำบังแข็งแรง เช่น โต๊ะ ยึด “เกาะ” ไว้ให้แน่นจนกว่าแรงสั่นสะเทือนจะหยุดลงแล้วจึงออกไปยังสถานที่ปลอดภัย

นายออนโกเรนบอกว่า “การศึกษา ฝึกซ้อม และความรู้เกี่ยวกับมาตรการฉุกเฉินต่าง ๆ (ก่อนเกิดภัยพิบัติ เช่น แผ่นดินไหว) เป็นสิ่งสำคัญ แต่ผู้คนมักไม่ค่อยสนใจ”“นี่คือเครื่องชี้วัดว่าคุณจะมีชีวิตรอดใต้ซากปรักหักพังได้นานแค่ไหน” เขากล่าว

ดร. เจตรี เรกมี เจ้าหน้าที่เทคนิคจากฝ่ายภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพขององค์การอนามัยโลกก็เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเตรียมตัว เธออธิบายว่า “การเข้ากำบังตัวในที่ปลอดเช่น เช่น โต๊ะที่มั่นคงจะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิต แม้จะมีความไม่แน่นอนเพราะเหตุฉุกเฉินแต่ละครั้งไม่เหมือนกัน แต่การค้นหาและกู้ภัยในขั้นต้นขึ้นอยู่กับศักยภาพการเตรียมความพร้อมของชุมชนท้องถิ่น”

การเข้าถึงอากาศและน้ำ การได้รับอากาศและน้ำเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ติดอยู่ใต้ซากอาคารมีชีวิตรอด แต่นี่ก็ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บด้วย เพราะการสูญเสียเลือดปริมาณมาก ทำให้โอกาสรอดชีวิตมีไม่เกิน 24 ชั่วโมง

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า หากผู้รอดชีวิตไม่ได้รับบาดเจ็บสาหัส และมีอาการหายใจเพียงพอ สิ่งต่อไปคือการป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ ศาสตราจารย์ ริชาร์ด เอ็ดเวิร์ด มูน ผู้เชี่ยวชาญด้านการอภิบาลผู้ป่วยอาการวิกฤตจากมหาวิทยาลับดุ๊กในสหรัฐฯ ระบุว่า “การขาดน้ำและออกซิเจนส่งผลอย่างยิ่งต่อการรอดชีวิต”เขาอธิบายว่า “ผู้ใหญ่ทุกคนสูญเสียน้ำในร่างกายวันละ 1.2 ลิตร”

ศ.มูน ชี้ว่านี่เป็นผลมาจากการขับปัสสาวะ การหายใจออก ไอน้ำ และเหงื่อจากร่างกาย แต่หากมีอาการป่วยหนักก็จะสูญเสียน้ำในร่างกายได้ถึง 8 ลิตร หรือมากกว่านั้น มีการประเมินว่า คนเราสามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ได้ดื่มน้ำราว 3-7 วัน เชื่อว่ายังมีผู้คนอีกหลายหมื่นชีวิตติดอยู่ใต้ซากปรักหักพัง

ระดับการบาดเจ็บ หากคนเราได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ หรืออาการบาดเจ็บรุนแรงอื่น ๆ และมีช่องอากาศให้หายใจอย่างจำกัด ก็มีโอกาสน้อยที่จะรอดชีวิตไปจนถึงวันถัดมาจากการเกิดภัยพิบัติ ดร.เรกมี ระบุว่า ความสามารถประเมินระดับการบาดเจ็บของตัวเองเป็นเรื่องสำคัญ เธออธิบายว่า “คนที่ได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง ศีรษะ หรือหน้าอกอาจไม่รอดชีวิตหากไม่ได้ถูกนำส่งแผนกฉุกเฉิน” เพราะ การเสียเลือด กระดูกหัก หรือการบาดเจ็บที่ช่องท้องทำให้มีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ การรักษาจากแพทย์ภายหลังได้รับการช่วยเหลือจากซากปรักหักพังก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ดร.เรกมี กล่าวว่า “แม้จะได้รับการช่วยเหลือออกจากซากอาคารแล้ว แต่บุคคลนั้นก็อาจเสียชีวิตจาก “กลุ่มอาการอวัยวะถูกกดทับ” (crush syndrome) ที่เกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อได้รับความเสียจากแรงกดทับของปรักหักพังแล้วผลิตสารพิษขึ้น และเมื่อบุคคลนั้นถูกนำตัวออกมาได้ สารพิษก็จะแพร่ไปทั่ว และก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อร่างกาย

สภาพอากาศและอุณหภูมิ ในพื้นที่ก็มีผลต่อระยะเวลาการรอดชีวิตของผู้ประสบภัยด้วย ศ.มูน ระบุว่า สภาพอากาศในฤดูหนาวที่ตุรกีทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงอีก เขาอธิบายว่า “ผู้ใหญ่ส่วนมากสามารถทนกับอุณหภูมิต่ำสุดที่ 21 องศาเซลเซียสได้ โดยที่ร่างกายไม่สูญเสียความสามารถในการกักเก็บความสามารถนี้จะเปลี่ยนแปลงไป”

ศ.มูน บอกว่า ความเร็วในการเกิดภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำผิดปกติ (hypothermia) ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมว่าผู้รอดชีวิตอยู่ในที่กำบังจากสภาพอากาศหนาวได้มากเพียงใด แต่คนส่วนใหญ่อาจไม่โชคดีนัก และมีภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว แต่สถานการณ์จะกลับกันในฤดูร้อน เพราะการติดอยู่ใต้ซากปรักหักพังที่มีลักษณะปิดนั้นอาจทำให้ผู้ประสบภัยมีอาการสูญเสียน้ำอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะลดโอกาสการมีชีวิตรอดความร้อน แต่เมื่ออากาศหนาวเย็นลง

ความเข้มแข็งทางจิตใจ บรรดาผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า การมีความคิดและจิตใจที่มุ่งมั่นจะมีชีวิตรอดนั้นเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เรามีชีวิตต่อไปได้ นายออนโกเรน จากสมาคมค้นหาและกู้ภัยตุรกีกล่าวว่า “ความกลัวเป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติของคนเรา แต่เราไม่ควรตื่นตระหนก เราต้องทำใจให้เข้มแข็งเพื่อให้มีชีวิตรอดต่อไป ”นี่ต้องใช้ความมุ่งมั่นและจิตใจที่แน่วแน่ เขาชี้ว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพยายามหลีกเลี่ยงความรู้สึกตื่นกลัว และตั้งสติควบคุมตัวเองให้ได้ โดยยกตัวอย่างว่า “โอเค ฉันอยู่ตรงนี้แล้ว ฉันต้องหาทางเอาชีวิตรอด” ความคิดแบบนี้จะเป็นแรงผลักดัน และจะทำให้เราไม่เอาแต่ร้องตะโกนอย่างตื่นตระหนก หรือเคลื่อนไหวดิ้นรนมากเกินไป เพราะคุณจำเป็นต้องเก็บพลังงาน

ขอบคุณข้อมูลจากข่าว บีบีซี ไทย ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ ประชาชาติธุรกิจ เป็นความร่วมมือของสององค์กรข่าว

ขอพระเจ้าอวยพรให้ทุกคนปลอดภัย

ด้วยรัก และปรารถนาดี จาก Super Pat (323)702-0788