จากการที่มีข่าวใหญ่ออกมาทางสื่อทุกวันเกี่ยวกับไวรัสโคโรน่ากลายพันธ์ เพื่มมากขึ้น โดยเฉพาะสายพันธ์ที่มีชื่อต่างๆ เราฟังแล้วเป็นงง และไม่เข้าใจ ถึงความร้ายกาจของมัน จึงทำให้เกิดวิตกกังวลถึงความปลอดภัยในสุขภาพของตัวเอง ดิฉันเป้นผู้หนึ่งในจำนวนนั้นที่วิตก เห็นทีจะไม่เขียนถึงบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้คงไม่ได้ซะแล้ว จึงไปทำการค้นคว้าหาข้อมูล พร้อมทั้งนำมาแบ่งปันให้แฟนคลับคุณผู้อ่านนำไปวิเคราะห์และป้องกันตนเองจากไวรัสโควิดตัวนี้... ขอขอบคุณข้อมูลจากอินเตอร์เน็ท
ไวรัสที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน มีชื่อว่า โควิด สายพันธ์เดลต้า อัลฟ่า เบต้า แกมมา เป็นสายพันธ์ของเชื้อไวรัส ที่เรียกว่าน่ากลัวมากกว่าสายพันธ์ตัวอื่น เรามาทำความรู้จักกันดีกว่า.....
องค์การอนามัยโลก (WHO) เปลี่ยนชื่อในการเรียกสายพันธุ์โควิด-19 จากชื่อประเทศที่พบเชื้อโควิดครั้งแรก เป็นระบบตัวอักษรภาษากรีก เช่น อัลฟ่า เบต้า แกมมา และเดลต้า เพื่อลดการตีตราประเทศนั้นๆ
โดยมีการบัญญัติชื่อเรียกสายพันธุ์โควิดใหม่ ดังนี้
- สายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7) คือ สายพันธุ์อัลฟ่า (A)
- สายพันธุ์แอฟริกาใต้ (B.1.351) คือ สายพันธุ์เบต้า (B)
- สายพันธุ์บราซิล (P.1) คือ สายพันธุ์แกมมา (Γ)
- สายพันธุ์อินเดีย (B.1.617.2) คือ สายพันธุ์เดลต้า (Δ)
ความสามารถในการแพร่เชื้อของโควิดสายพันธุ์เดลต้า มีมากกว่าสายอัลฟ่า 40% จึงต้องมีการจับตาอย่างใกล้ชิด เป็นรายสัปดาห์ หากสถานการณ์ยังทรงๆ อาจจะไม่มีปัญหาแต่หากยังมีการแพร่ระบาดแบบก้าวกระโดด คาดว่าประมาณ 2-3 เดือน อาจจะเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดมากขึ้นสัดส่วนครึ่งต่อครึ่งกับสายพันธุ์อัลฟ่า
เช็กอาการ 'โควิดสายพันธุ์เดลต้า' คล้ายเป็นหวัด ปวดหัว-เจ็บคอ-มีน้ำมูกผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยค้นคว้า ชี้แจงว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์ต่างๆ อาจแสดงอาการป่วยคล้ายกัน เพียงแต่อาการเด่นที่ผู้ป่วยจะแสดงออกมาอาจต่างกัน อย่าง โควิดสายพันธุ์เดลต้า (เจอครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย) ผู้รับเชื้อจะมีอาการคล้ายเป็นหวัด คือ ปวดหัว เจ็บคอ มีน้ำมูก แต่ไม่สูญเสียการรับรสที่มักเกิดขึ้นกับโควิดสายพันธุ์เดิม
โควิดสายพันธุ์อัลฟ่า เดลต้า คืออะไร อันตรายแค่ไหน!• สายพันธุ์อินเดีย เปลี่ยนชื่อเป็น เดลต้า สาเหตุที่เปลี่ยนชื่อ มีการเผยว่าสาเหตุที่เปลี่ยนชื่อเพราะไม่ควรมีประเทศใดถูกตราหน้าจากการตรวจพบและรายงานการพบเชื้อกลายพันธุ์
สายพันธุ์พวกนี้อันตรายแค่ไหน หากสรุปง่ายๆ ความรุนแรงหรืออาการไม่ได้ต่างจากเดิมมากเท่าไร แต่จุดที่อันตรายคือมันติดง่ายขึ้น เช่น สายพันธุ์อัลฟ่าแพร่กระจายได้ง่ายกว่าประมาณ 1.7 เท่า และประสิทธิภาพวัคซีนที่ผลิตออกมานั้นได้ผล มีประสิทธิภาพกับโควิดที่กลายพันธุ์น้อยลง
วัคซีนเอาอยู่แค่ไหน: จากการทดสอบเบื้องต้น• วัคซีนประเภท mRNA นั้นยังมีประสิทธิภาพต่อสายพันธุ์ใหม่ที่พบ Pfizer ต่อสายพันธุ์เดลต้า(อินเดีย)อยู่ราวๆ 88% สายพันธุ์อัลฟ่า(อังกฤษ)และเบตา(แอฟริกา)อยู่ราวๆ 95%
• ประเภท Viral Vector เช่น J&J กับ AstraZeneca ประสิทธิภาพลดลงเหลือราวๆ 60% และยังต้องมีการศึกษาเพิ่ม
• ประเภท วัคซีนเชื้อตาย เช่น Sinovac หรือ SinoPharm นั้นค่อนข้างน่าเป็นห่วงเพราะประสิทธิภาพนั้นลดลง ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลอย่างเป็นทางการ
ทั่วโลกเริ่มออกมาระวังอีกครั้ง: ทั่วโลกเริ่มมีการเคลื่อนไหวให้เฝ้าระวังการระบาดของโควิดกลายพันธุ์ เริ่มมีการออกมาพูดเรื่องวัคซีนเข็มที่ 3 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน แต่ยังไม่เป็นที่ชัดเจน ขอให้ติดตามและปฎิบัติตามคำแนะนำขององค์กรณ์อนามัยโลก เราได้แต่หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ไวรัสตัวนี้คงค่อยๆทุเลาบรรเทาเบาบางลง จากการกระทำของพวกเราที่ต้องมีระเบียบวินัยป้องกันตัวเองและป้องกันหมู่ชน สวมหน้ากากเวลาอยู่ในที่สาธาราณะ รักษาระยะห่าง ล้างมือบ่อยๆ ไม่จำเป็นไปไหนให้อยู่กับบ้าน สร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ต้องตื่นตระหนกวิตกกังวลกับโรคร้ายนี้จนเกินกว่าเหตุ
ขอให้บุญหนุนกุศลส่ง พระคุ้มครอง แฟนคลับของหนังสือพิมพ์ไทยแอลเอทุกๆท่าน ให้ ปลอดโรค ปลอดภัย
ด้วยรักและปรารถนาดีจาก Super Pat (323)702-0788