ฉบับนี้ มีแฟนคลับส่งบทความมาให้อ่าน น่าสนใจทีเดียว ขอนำมาแบ่งปันให้คุณๆได้อ่านกัน เพื่อเป็นข้อคิด เพราะหลายๆคนต้องมาถึงจุดนี้กันทั้งนั้น คือ ”จุดรวมพลคนเกษียน” หลายๆคนกำลังจะมาถึงและหลายๆคนได้มาถึงแล้วเช่นดิฉันเป็นต้น
คําว่า“เกษียณ”แปลว่า สิ้นไปซึ่งในทางราชการจะใช้คําว่า“เกษียณอายุ”หมายถึงครบกําหนดอายุรับราชการหรือสิ้นกําหนดเวลารับราชการก็คือเมื่อผู้นั้นมีอายุครบ 60 ปีซึ่งปัจจุบันแม้จะมีผู้ลาออกตามนโยบายเออรี่รีไทร์ (EarlyRetired)ของรัฐบาลไปก่อนอายุจะครบ 60ปีก็ตาม
ในสมัยก่อนซึ่งวิทยาการยังไม่ก้าวหน้าการมีอายุยืนยาวถึง 60 ปีนับว่ามากทีเดียวคนจีนจึงมักมีการทําบุญใหญ่ที่เรียกว่า“แซยิด”แต่สมัยนี้เราจะเห็นว่ามีคนอายุ 60ปี จํานวนไม่น้อยที่ยังดูหน่มสาวกว่าอายุจริงและยังมีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรงมีสมองที่แจ่มใสจนดูน่าจะทํางานต่อไปได้อีกหลายปีอย่างไรก็ตามเมื่อสังคมกําหนดกฎเกณฑ์ให้เป็นวัยของการปลดแอกจากงานประจําก็จําเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบนั้นๆหากจะแบ่งช่วงชีวิตของคนเราคงกําหนดได้คร่าาวๆเป็น 3 ช่วงคือช่วงวัยเด็กตั้งแต่เกิดจนอายุ 25 ปี เป็นวัยที่ต้องศึกษาหาความรู้เพื่อหาหนทางดํารงชีวิตในภายหน้าช่วงวัยทํางานคืออายุ 25-60 ปีเป็นช่วงที่นําวิชาความรู้มาเลี้ยงชีพสร้างครอบครัวและฐานะเพื่อความมั่นคงในบั้นปลายและช่วงสุดท้ายคือหลังอายุ 60 ปีมักถือว่าเป็นช่วงของการพักผ่อนปลดตัวเองจากภาระการงานต่างๆเพื่อแสวงหาความสุขสงบในช่วงเวลาที่เหลืออยู่การแบ่งการดําเนินชีวิตอย่างที่กล่าวข้างต้นดูเหมือนว่าช่วงสุดท้ายคือหลัง 60 ปีน่าจะเป็นวัยที่มีความสุขที่สุดเพราะเป็นการปลดเปลื้องภารกิจและความรับผิดชอบอันหนักอึ้งออกจากบ่าแต่โดยแท้จริงแล้วผู้เกษียณอายุจํานวนไม่น้อยที่ต้องออกจากสังคมออกจากสิ่งแวดล้อมที่คุ้นชินมาหลายสิบปีไม่ว่าจะเป็นสถานที่ทํางานเพื่อนฝูงฯลฯอาจจะเกิดความเหงาเศร้าซึมรู้สึกตัวเองไร้ค่าหรือไม่ได้รับการยอมรับเหมือนอย่างเคยหรือบางคนเกิดเสียดายอํานาจความสะดวกสบายที่เคยได้รับจนเกิดปัญหาทางสุขภาพทั้งกายและใจกลายเป็นคนขาดความสุขหรืออายุสั้นได้
การเกษียณป็นวิกฤตการณ์อย่างหนึ่งของชีวิตเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ดังนั้นการวางแผนชีวิตในวัยหลังเกษียณจึงมีความสําคัญ เปลี่ยนแปลงบทบาทของชีวิตหรือเริ่มชีวิตใหม กล่าวกันว่าอันตรา 3 ประการของผู้เกษียณอายุคือความกลัวปัญหาความเสื่อมโทรมใน 3 ด้านคือ 1. สุขภาพอนามัย 2. สภาพการณ์เทางเศรษฐกิจ 3. สังคมและจิตวิทยา
1...ด้านสุขภาพอนามัยหลายคนเมื่อเกษียณช่วงต้นอาจจะรู้สึกดีเพราะไม่ต้องรีบตื่นเช้าแต่พอนานๆไปกลับเกิดความรู้สึกตื่นแล้วไม่รู้จะทําอะไรที่ไหนดีเกิดความเซ็งเบื่อมีผลต่อสุขภาพจิตแล้วก็เลยเกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมาหรือบางคนรู้สึกว่าตนยังทํางานได้แต่ไม่ได้ทํางานแล้วเกิดความคับข้องใจเคยออกไปพบปะสังคมกับผู้คนครั้นเกษียณต้องอยู่บ้านคนเดียว สภาพการเปลี่ยนไปก็อาจเกิดภาวะ“เฉา”ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้เช่นกัน
2...ด้านเศรษฐกิจเป็นธรรมดาว่าเมื่อเกษียณแล้วรายได้ต่างๆย่อมลดลงไปด้วยหากผู้เกษียณไม่กําหนดแผนการใช้จ่ายให้ดีหรือบางคนยังติดยึดอยู่กับตําแหน่งฐานะเดิมแม้เกษียณแล้วก็ยังพยายามทําตนให้เหมือนตอนที่ยังใหญ่โตอยู่ทั้งๆที่รายได้น้อยลง ดังนั้นจึงต้องทําใจ ให้พร้อมปัญหาข้อนี้ก็จะทําร้ายจิตใจเราได้
3...ทันทีที่เกษียณ “หัวโขน”ที่ถอดออกเมื่อไรเราก็เป็นเช่นคนอื่นๆหากเราปฏิบัติตนดีมาตลอดคนก็ย่อมเคารพนับถือไม่เสื่อมคลายแม้เราจะเกษียณไปแล้วเขาก็ยังศรัทธาในคุณงามความดีของเราอยู่ถึงไม่มีตําแหน่งเขาก็ยังจะดีและเคารพรักเราเช่นเดิม จงทําดีกับผู้อื่นโดยสม่ําเสมอ
ปัญหาทั้งสามด้านเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามหากเรามีการเตรียมพร้อมไว้เป็นอย่างดีการเกษียณก็จะเป็นเพียงการปลดเปลื้องตัวเองออกจากภาระประจําที่ผูกมัดเรามาหลายปีแน่นอนว่าไม่มีใครจะหลีกหนีสภาพความแก่ชราและความตายไปได้ในปัจจุบันโลก้าวไปอย่างรวดเร็วมีเทคโนโลยีใหม่ๆมากมายมีการเปลี่ยนแปลงเสมอแนวคิดในเรื่องเกษียณอายุก็เช่นกันการสิ้นสุดอาชีพเดิมมิได้หมายความว่าชีวิตการทํางานจะจบสิ้นลงเพียงนี้แต่อาจหมายถึงการปรับเปลี่ยนชีวิตไปสู่สิ่งใหม่ซึ่งสิ่งนี้ก็อาจจะนําความสุขเงินทองหรือเพื่อนฝูงใหม่ๆมาสู่เราก็ได้ เดินทางท่องเที่ยว ชีวิตมีอิสระขึ้นมีโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเพิ่มขึ้นอันที่จริงการเตรียมความพร้อมเพื่อวัยเกษียณอายุควรจะมีการวางแผนล่วงหน้าไว้หลายๆปีแต่โดยข้อเท็จจริงแล้วคนส่วนใหญมักจะวางแผนแบบไม่มีแผนคือนึกจะทําอะไรก็ทําซึ่งบางเรื่องก็ทําได้แต่บางเรื่องก็อาจจะก่อให้เกิดความทุกข์หรือปัญหาภายหลังได้จากที่กล่าวมาปัญหาหรืออันตรายสําหรับผู้เกษียณอายุมีอยู่ 3 เรื่องข้างต้นดังนั้นการที่เราจะใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้นั้นจึงจําเป็นที่จะต้องขจัดและลดปัญหาดังกล่าวให้หมดไปหรือมีให้น้อยที่สุดด้วยการปฏิบัติดังนี้
ด้านสุขภาพทางร่างกายผู้เกษียณอายุควรหมั่นออกกําลังกายสม่ําเสมอโดยอาจจะไปตามฟิตเนตศูนย์การค้าหรือสวนสาธารณะซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกออกกําลังกายได้สารพัดไม่ว่าจะเป็นแอโรบิกโยคะรํามวยจีนฝึกลมปราณฯลฯการไปออกกําลังกายแบบนี้นอกจากจะทําให้ร่างกายแข็งแรงไม่ค่อยเจ็บป่วยจิตใจแจ่มใสรู้สึกกระชุ่มกระชวยแล้วยังทําให้ได้เพื่อนใหม่ๆหลายรุ่นหลายวัยและหากเป็นวัยเดียวกันก็ยังสามารถพูดคุยปรึกษาปัญหาที่คล้ายๆกันได้เพียงแต่เราต้องเปิดใจให้กว้าง
นอกจากระมัดระวังเรื่องสุขภาพแล้วควรดูแลความสะอาดและการแต่งเนื้อแต่งตัวของเราให้สวยงามสดชื่นเหมาะกับวัยด้วยอย่าคิดว่าเมื่อไม่ไปทํางานก็ไม่รู้จะแต่งตัวให้ใครดูเลยปล่อยเนื้อปล่อยตัวเป็นตาแก่หรือยายเพิ้งหรือไม่ก็แต่งจนเกินธรรมชาติเกินวัยเป็นที่หัวเราะเยาะว่าไม่เจียมตัวดังนั้นจึงควรแต่งตัวให้สวยงามสมวัยและเหมาะสมซึ่งจะทําให้เราได้รับการยอมรับขณะเดียวกันก็ทําให้จิตใจเราสดชี่นสบายใจเป็นการสร้างขวัญและกําลังใจให้ตัวเองอีกด้วย
ด้านเศรษฐกิจนับว่าเป็นสิ่งสําคัญไม่น้อยเพราะหากเรามีรายได้ที่ลดลงแต่รายจ่ายยังคงที่หรือมากกว่าเดิมเราไม่เตรียมการไว้ให้ดีหลังเกษียณจะต้องเดือดร้อนแน่นอนดังนั้นเราจึงต้องมีการวางแผนการเงินไว้ล่วงหน้บ้างดูรายรับรายจ่ายให้สมดุลกัน ต้องรู้จักประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย หากยังมีภาระครอบครัวเช่นต้องส่งเสียลูกที่ยังเล็กต้องผ่อนบ้านหรือรถฯลฯก็ควรมีการวางแผนการใช้เงินหรือการหาเงินตั้งแต่ก่อนเกษียณแต่เนิ่นๆเพื่อมิให้เกิดความเครียดจนกลายเป็นปัญหาครอบครัวภายหลังถ้ามีคู่ครองก็ควรปรึกษาหารือกัน ด้านสังคมและจิตวิทยาผู้เกษียณอายุไม่ควรแยกตัวออกจากสังคมหรือเก็บตัวเงียบอยู่แต่ในบ้าน ควรออกไปคบหาสมาคมกับเพื่อนฝูงและนัดสังสรรค์กันบ้างเพื่อให้ชีวิตสดชื่นไม่เหี่ยวเฉาขณะเดียวกันอาจจะใช้เวลาว่างไปทํางานอดิเรกที่ชอบหรือทําในสิ่งที่เคยคิดเคยฝันว่าจะทํา เช่นเรียนต่อปริญญาโทหรือเอก หัดเต้นรํา ฝึกใช้คอมพิวเตอร์ ศึกษาวิชาโหราศาสตร์ เป็นอาจารย์สอนพิเศษ เป็นต้น ซึ่งไม่แน่ว่าสิ่งเหล่านี้อาจนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตอาชีพและให้ประสบการณ์แปลกใหม่อย่างที่เราไม่เคยประสบมาก่อนเรียกว่าเป็นการสานฝันให้เป็นจริงก็ได้ (ส่งรูปกิจกรรมต่างๆของคนวัยเกษียนมาให้ดู)
นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วสิ่งที่คนเกษียณควรจะปฏิบัติในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นโดยเฉพาะคนหนุ่มสาวแม้จะเป็นคนในครอบครัวเราเองก็ตามก็คืออย่าทําตัวเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในครอบครัวหรือหมู่คณะอย่าทําตัวชอบยุ่งเรื่องคนอื่นถ้าไม่ได้รับการร้องขออย่าใช้ความแก่เป็นข้ออ้างเพื่อสิทธิพิเศษอย่าพูดมากอย่าพล่ามแต่อดีตอย่าเรียกร้องความเห็นอกเห็นใจตลอดเวลาอย่าจู้จี้ขี้บ่นโดยเฉพาะหลายคนเมื่อเกษียณแล้วมีเวลาอยู่กับคู่ครองหรือครอบครัวมากขึ้นควรจะใช้เวลาดังกล่าวให้เป็นประโยชนข้อสําคัญคนวัยนี้ควรประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีในครอบครัวหรือสังคมไม่ตัณหากลับแต่ควรตั้งตนในสิ่งที่ถูกต้องมีศีลมีธรรมและควรเป็นคนที่ผู้น้อยเคารพได้อย่างสนิทใจสิ่งที่กล่าวมานี้หวังว่าคงจะเป็นแนวทางให้ผู้เกษียณอายุได้เริ่มต้น“ชีวิตใหม่”อย่างมีความสุขทั้งกายและใจต่อไป… ขอบคุณที่มา :http://www.dhammajak.net
ด้วยรักและปราถนาดีจาก Super Pat (323)702-0788