Special Scoop
"Due Diligence" กระบวนการต้องใช้ 'หมอง

ขึ้นหัวข้อเรื่องไว้เสียสวยหรูภายหลังจากที่ห่างหายไปนานเพราะอยากให้คุณผู้อ่านเกิดความอยากรู้และอยากติดตามค่ะ หากจะให้สรุปเอาง่ายๆ ว่าเรื่องที่จะเขียนถึงวันนี้มันเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ของคุณอย่างไร ลองคิดตามเอาค่ะว่า ก่อนที่คุณจะตัดสินใจลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือต้องการจะซื้อหรือขายอะไรบางอย่าง คุณเกิดความคิดอะไรขึ้นบ้างคะ? คุณอาจจะคิดถึง จุดมุ่งหมายว่าจะทำไปเพื่ออะไร ได้อะไร ซื้อไปทำไม หรือขายเท่าไหร่จึงจะคุ้มทุน?? หากคุณเคยมีความรู้สึกต่างๆ นานา ที่ได้ว่าไปนี้ คุณควรอ่านเรื่องของ Due Diligence หรือกระบวนการคิด ตรวจสอบ พิจารณา ด้วยความรอบคอบในกรณีทางธุรกิจหรือกฎหมายค่ะ

Due diligence (due dil-i-gence) เป็นคำนามค่ะ (noun) และถือเป็นกลุ่มคำที่ได้ถูกนำมาใช้ อย่างแพร่หลายและเป็นเรื่องจำเป็นในทางกฎหมาย และทางธุรกิจ เกี่ยวเนื่องกับการตัดสินใจ ที่ใช้ความเสี่ยงสูง ทั่งเรื่องของจำนวนเงินและตัวบุคคล แต่ละนัยความหมายของ due diligence แตกต่างกันไปตามรูปแบบของการเลือกใช้ค่ะ แต่จุดประสงค์ของการใช้กระบวนการ จะมีจุดมุ่งหมายเดียวคือ การใช้สติปัญญา ความสามารถในการตรวจสอบ เอกสารและปัจจัย (Factors) ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับเรื่องหนึ่งเรื่องใดที่คุณกำลังตัดสินใจที่จะลงมือทำ ไม่ว่าคุณจะเป็นฝ่ายขาย - ฝ่ายซื้อ หรือ ผู้ให้ - ผู้รับ กระบวนการนี้ คุณมีความจำเป็นต้องใช้ค่ะ *เฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการประกอบธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ หรือการซื้อ-เช่าต่อธุรกิจ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเอกสารและสัญญาซื้อขายมากมาย หากวันหนึ่งวันใดคุณเกิดปัญหา หรือมีความเกี่ยวข้องคดีความ แล้วคุณเกิดความไม่รู้ ไม่ทราบ แสดงออกให้ทางศาลเห็นว่า คุณไม่รู้เรื่องของเนื้อความในสัญญาหรือเอกสารหนึ่งใดเลย แบบนี้ ทางผู้พิพากษาจะถือว่า เป็นด้านลบทันทีค่ะ เพราะคุณขาดถึงความสามารถและสติปัญญา ที่ควรจะได้ใช้ไปตั้งแต่ต้น หรือกระบวนการ due diligence นั่นเอง* ตัวอย่างที่เรียกว่าเป็นขั้นตอนสำคัญ เพื่อให้คุณได้อ่านเป็นแนวทางเพื่อการนำ due diligence ไปใช้ในชีวิตจริง มีดังนี้ค่ะ

1. ทุนและจุดคุ้มทุนของธุรกิจ ในที่นี้ดิฉันขอหมายรวมในเรื่องขอคำอธิบายให้เป็นไปแบบกว้างๆ ให้คุณสามารถเข้าใจได้ง่ายแล้วกันนะคะ คือหากในกรณีที่คุณจะซื้อบ้านหรือซื้อธุรกิจ คุณต้อง รู้ค่ะว่า คุณมีความสามารถเพียงพอในระดับไหน คุณกำลังใช้ความเสี่ยงสูงเกินไปหรือไม่ เช่น คุณทราบอยู่แล้วล่ะว่าคุณมีจำนวนเงินทุนอยู่เท่าไหร่ แล้วธุรกิจที่คุณอยากจะซื้อ-เช่าต่อ นั้น มันตรงตามความต้องการและตอบสนองโดยตรงกับสภาวะทางการเงินและความสามารถในการบริหารของคุณหรือไม่ ในจุดแรกนี้ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจใดๆนะคะ ช่วงนี้ไม่ใช่ช่วงที่คุณ จะมาเริ่มต้นเลือกหาธุรกิจ หรือบ้าน คุณต้องผ่านจากจุดของการเลือกสรรนั้นมาแล้ว และช่วงนี้ถือเป็นช่วงรวบรวมข้อมูลเพื่อหาช่องโหว่ในการลดความเสี่ยงค่ะ

2. เรื่องการเงิน ส่วนนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการคำนวณค่ะหากเป็นการซื้อ-ขายบ้านอย่างง่ายๆ คุณสามารถสร้าง spread sheet /balance sheet ขึ้นมาได้เองแล้วค่อยๆใส่จำนวนตัวเลขลงไป เพื่อคำนวณเอาว่า จำนวนเงินที่ต้องเสียไปต่อเดือน ค่าใช้จ่ายจำพวกภาษีและ utilities ต่างๆ รวมไปถึงการ Project วาดแผนถึงอนาคตว่าการลงทุนครั้งนี้คุณมีสิทธิ์จะได้ผลกำไร คืนในอนาคตหรือไม่

3. คู่แข่งและสถานการณ์โดยรวมของประเภทธุรกิจ ข้อนี้เน้นชัดไปในทางธุรกิจค่ะ เป็นเรื่องของการสำรวจค้นคว้าหาข้อมูล Trend ของประเภทธุรกิจ ตัวอย่างเช่น ธุรกิจร้านอาหาร หากคุณซื้อต่อร้านอาหาร หรือเช่ามาเพื่อดำเนินงานต่อคุณต้องรู้สิคะว่า โดยปกติแล้วธุรกิจนั้นๆ ขายดีหรือไม่ดีอย่างไร ซึ่งหากคุณเป็นนักลงทุนตัวจริง คุณจะมีแผน มีกลยุทธ์ เพื่อการบริหารแบบไหน ห้ามไม่ให้คุณคิดคำนวณเรื่องเงินนะคะตรงนี้ ไปคิดมาก่อนจากข้อสอง ตรงนี้เน้นเรื่องการสำรวจค้นคว้าเพื่อการวางแผนเท่านั้นค่ะ

4. หุ้นส่วน/การแบ่งสรรเงินปันผล หลายธุรกิจเลือกใช้การทำงานในแบบร่วมหุ้น บางแห่งที่ใหญ่หน่อยก็จะเป็น การรวมเงินกันในTrust Account เพื่อการลงทุนค่ะ ตรงส่วนนี้คุณต้องมีการทำงานทางเอกสารที่ถูกต้อง มีการตรวจตราและสร้างความเข้าใจ ให้ตรงกันในทุกฝ่าย ใครร่วมลงทุนในจำนวนเงินเท่าไหร่ ใครลงแค่แรงกับสมอง แต่อยากได้เงินปันผลจะเป็นไปได้ไหม ในส่วนนี้คุณต้องคิดเยอะๆและตกลงกันเอาไว้ล่วงหน้าค่ะ

5. ข้อสุดท้ายแบบรวบรัด เก็บหนังสือเอกสาร สัญญาทุกสิ่งอย่างไว้อย่างดี เก็บให้ครบ ทางที่ดีที่สุดคือคุณต้องอ่านเอกสารที่คุณได้ลงลายมือชื่อไปด้วยตนเอง หากไม่เข้าใจ คุ้มเสียยิ่งกว่าคุ้มที่จะจ้างให้ผู้เชี่ยวชาญอธิบายให้คุณได้เข้าใจเสียก่อนจะลงชื่อค่ะ ในเรื่องของอสังหาริมทรัพย์คุณใช้ due diligence ตั้งแต่การเลือก real estate agent เลยนะคะ ต่อมาคือการตรวจสอบเอกสาร offer (Purchase Agreement) ก่อนที่จะ submit หากคุณได้ agent ที่มีประสบการณ์และความรู้ คุณจะได้รับคำอธิบายตลอดในทุกขั้นตอนอย่างแน่นอนค่ะ

สัปดาห์นี้ขอจบเรื่องของ due diligence เอาไว้ตามนี้ก่อนนะคะ ลองเอาไปคิดตาม หรือประยุกต์ใช้กันได้ตามสะดวกและให้ตรงกับสถานการณ์ค่ะ อ้อ แต่อย่านำไปใช้เพลิน จนทำให้เสียเวลาแล้วอีกฝ่ายหรือผู้เกี่ยวข้องเค้าจะไม่ยอมรอนะคะ ทุกสิ่งทุกอย่าง ต้องรัดกุมและใช้เวลาให้เหมาะสมค่า