ครบเครื่อง
ญ. อมตะ



ความจำ และ อาการหลงลืม ในผู้สูงอายุ

การลดลงของสารเซโรโทนินและโดปามีน และการเพิ่มขึ้นของสารอนุมูลอิสระภายในสมอง ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ส่งผลต่อความจำในผู้สูงวัย อาจทำให้มี อาการหลงลืม ในผู้สูงอายุ แม้แต่ในผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง

สาเหตุของการสูญเสียความจำ อาจมาจากหลายปัจจัย เช่น การใช้ยาต่างๆ การดื่มแอลกอฮอล์เป็นปริมาณมาก การสูบบุหรี่ การนอนหลับไม่เพียงพอ หรือการนอนที่ไม่มีคุณภาพ การหยุดหายใจขณะหลับ การขาดวิตามินบางชนิด เช่น B1 B12

การเดินสัปดาห์ละ 10-15 กิโลเมตร จะช่วยลดการหดตัวของเนื้อสมอง และทำให้มีความจำที่ดีกว่าผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย

อาการหลงลืม ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่หลายคนนึกถึงเมื่อพูดถึงผู้สูงวัย แต่ทราบหรือไม่ว่า อาการหลงลืมในผู้สูงอายุ นั้นมีทั้งที่เกิดจากอายุที่มากขึ้น และเกิดจากตัวโรคที่สามารถรักษาและบรรเทาได้ หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง รวมถึงสามารถชะลอ และจัดการอาการไม่ให้เป็นมากขึ้นได้อีกด้วย

การเปลี่ยนแปลงของสมองเมื่ออายุมากขึ้น ส่งผลต่อความทรงจำอย่างไร

เมื่อมีอายุมากขึ้น จะมีการเปลี่ยนแปลงในระบบประสาทและสมอง ดังนี้

เนื้อสมองมีการหดเล็กลง ส่งผลต่อการเรียนรู้และการใช้ความคิดที่ซับซ้อน

การส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทมีประสิทธิภาพลดลง

ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลง

การอักเสบและการขาดเลือดในบริเวณเล็กๆ ของเนื้อสมอง

การลดลงของสารเซโรโทนินและโดปามีน และการเพิ่มขึ้นของสารอนุมูลอิสระภายในสมอง

ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ส่งผลต่อความจำในผู้สูงวัย แม้แต่ในผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง

สาเหตุของการสูญเสียความทรงจำ

นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเมื่ออายุมากขึ้น ดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีสาเหตุของการสูญเสียความจำอื่นๆ ดังนี้

การใช้ยาต่างๆ เช่น ยากันชักบางประเภท ยาต้านซึมเศร้าและยานอนหลับบางประเภท

การบาดเจ็บทางสมอง อาจทำให้มีการสูญเสียความทรงจำถาวรหรือค่อยๆ ดีขึ้นตามเวลาก็เป็นได้

โรคเกี่ยวกับฮอร์โมนไทรอยด์

การดื่มแอลกอฮอล์เป็นปริมาณมาก

การนอนหลับไม่เพียงพอ หรือการนอนที่ไม่มีคุณภาพ การหยุดหายใจขณะหลับ

การขาดวิตามินบางชนิด เช่น B1 B12

การได้ยาเคมีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง

โรคหลอดเลือดสมองในเนื้อสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ

โรคหรือเหตุการณ์ด้านจิตใจ

โรคลมชัก

โรคสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์

การติดเชื้อภายในระบบประสาทและสมอง

ประเภทของการสูญเสียความจำ

การสูญเสียความจำมีได้หลายชนิด แต่ละชนิดมีสาเหตุและส่งผลต่อการใช้ชีวิตแตกต่างกันไป

การสูญเสียความทรงจำระยะสั้น (Short term memory loss)

ผู้ที่มีการสูญเสียความทรงจำระยะสั้น จะลืมสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นหรือกิจกรรมที่เพิ่งทำ เช่น ลืมว่าวางสิ่งของไว้ที่ใด ลืมว่าเพิ่งอ่านหรือเห็นอะไร ลืมสิ่งที่ถามหรือทำไปแล้ว เช่น กินข้าว อาบน้ำ การสูญเสียความทรงจำระยะสั้น อาจเป็นกลไกปกติตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น แต่ก็อาจเป็นสัญญาณของโรคที่รุนแรงได้

การสูญเสียความทรงจำระยะยาว (Long term memory loss)

ความทรงจำระยะยาวจะช่วยเรื่องการเก็บความทรงจำต่างๆ ความเข้าใจและความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ ความทรงจำระยะยาวอาจค่อยๆ เสื่อมลงได้ตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น อาจต้องใช้เวลาในการนึก เรียนรู้หรือเข้าใจมากขึ้น หรืออาจทำกิจกรรมหลายอย่างพร้อมกันได้ลำบากขึ้น แต่โดยปกติความรู้และทักษะต่างๆ มักจะคงที่

การสูญเสียความจำประเภทการรู้สึกตัวแบบไม่รุนแรง (mild cognitive impairment)

ผู้สูงอายุบางคนมีปัญหาด้านความจำ แต่ไม่ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน อาจมีปัญหาเล็กๆ น้อยๆ และเป็นบ่อยขึ้น เช่น ทำของหายบ่อยๆ ลืมนัดหรือกิจกรรมที่ต้องทำ การสูญเสียความจำประเภทนี้ อาจเป็นเรื่องปกติของอายุ หรือเป็นสัญญาณของโรคที่รุนแรงขึ้นได้

อาการหลงลืมในผู้สูงอายุ แบบไหนเรียก อาการหลงลืมปกติ

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น โดยทั่วไปอาจมีผลต่อความทรงจำยะยะยาว เช่น การนึกคำที่ต้องการใช้ไม่ออก หรือต้องใช้เวลานึกเป็นเวลานาน การลืมรายละเอียดของเรื่องที่ผ่านมานานแล้ว นึกชื่อหรือสิ่งของต่างๆ ไม่ออก แต่มักจะนึกได้ในภายหลัง การลืมว่าวางของต่างๆ เช่น แว่นตาหรือรีโมทไว้ที่ใด ลืมว่าเดินมาห้องนี้ทำไม

สัญญาณเตือนว่าถึงเวลาต้องปรึกษาแพทย์

เมื่ออายุมากขึ้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงและมีความทรงจำที่แย่ลงได้ แต่หากมีอาการต่างๆ เหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของโรคที่รุนแรง เช่น หลอดเลือดสมอง สมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์

การมีปัญหากับการพูดและเขียนที่เป็นขึ้นมาในทันที

สับสนเรื่องบุคคล เวลา และสถานที่ เช่น จำคนในครอบครัวไม่ได้ ไม่ทราบว่าเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน หรือมาอยู่ที่นี่ได้อย่างไร เป็นต้น

มีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์หรือพฤติกรรม เช่น สับสน ก้าวร้าว ซึมเศร้า วิตกกังวลเพิ่มขึ้นอย่างมาก

ทำกิจวัตรประจำวันไม่ได้

หากท่านหรือคนครอบครัวมีอาการต่างๆ เหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและทำการรักษา

ความแตกต่างของภาวะหลงลืมตามอายุ และ โรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์

ไม่สามารถทำกิจกรรมง่ายๆ ได้ เช่น อาบน้ำ แต่งตัว ลืมสิ่งที่เคยทำจนเป็นกิจวัตร

ไม่สามารถจำเหตุการณ์ที่ตนหลงลืมได้ จนเป็นปัญหากับชีวิตประจำวัน

ลืมหรือหลงทางแม้เป็นสถานที่ที่คุ้นเคย เช่น บ้านของตนเอง

ลืมหรือใช้คำที่ไม่สอดคล้องกับบทสนทนาสม่ำเสมอ

ตัดสินใจในเรื่องง่ายๆ ไม่ได้ หรือแสดงออกในเรื่องต่างๆ ไม่เหมาะสม

ภาวะหลงลืมตามอายุ

ยังสามารถทำกิจวัตรประจำวันเองได้ แม้จะมีช่วงที่หลงลืมบ้าง

สามารถจำช่วงที่ตนเองมีอาการหลงลืมได้

อาจจำทางไม่ได้หรือต้องใช้เวลานึกนาน แต่จะไม่ลืมสถานที่ที่คุ้นเคย

อาจนึกคำไม่ออก แต่สามารถสนทนาได้ตามปกติ

สามารถตัดสินใจได้เป็นปกติ

เคล็ดลับจัดการ อาการหลงลืม ในผู้สูงอายุ

การดูแลตนเองจะช่วยป้องกันและชะลออาการหลงลืมตามอายุ และบรรเทาอาการหลงลืมจากโรคบางชนิดไม่ให้เป็นมากขึ้นอย่างรวดเร็วได้ เช่น

เข้าสังคม การที่ได้เข้าสังคมและทำกิจกรรมอื่นๆ ร่วมกับผู้อื่นจะช่วยฝึกความคิดและทักษะต่างๆ ผู้ที่เข้าสังคมและทำกิจกรรมกับครอบครัวหรือผู้อื่นสม่ำเสมอ จะมีความจำที่ดีกว่าผู้ที่อยู่ตัวคนเดียว หรือมักทำกิจกรรมคนเดียว

เลิกบุหรี่ การสูบบุหรี่จะเพิ่มการอักเสบของเส้นเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะสมองเสื่อมได้

ลด หรือเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

จัดการกับความเครียด ความเครียดเพิ่มฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งสามารถส่งผลเสียให้สมองและความทรงจำได้ การจัดการความเครียดจะช่วยลดผลเสียต่างๆ เหล่านี้

นอนให้เพียงพอและมีคุณภาพ หากมีปัญหาการนอนควรปรึกษาแพทย์ ไม่ควรซื้อยานอนหลับรับประทานเอง

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ มีสารต้านอนุมูลอิสระ

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเน้นการออกกำลังแบบคาร์ดิโอ และการรักษาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

การเดินสัปดาห์ละ 10-15 กิโลเมตร จะช่วยลดการหดตัวของเนื้อสมอง และทำให้มีความจำที่ดีกว่าผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย

ฝึกการใช้สมอง

เล่นเกมที่ต้องใช้กลยุทธ์ เช่น หมากรุก เกมต่อคำ ซูโดกุ

อ่านหนังสือที่ต้องใช้ความคิด

พยายามเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เช่น เข้าคอร์สทำอาหาร วาดรูป เล่นดนตรี

ทำกิจกรรมเดิมๆ ให้มีความท้าทายมากขึ้น เช่น ฝึกการใช้ภาษาที่สองที่รู้อยู่แล้วให้มากขึ้น หากเล่นกีฬาก็ฝึกฝนเทคนิคที่ยากขึ้น เป็นต้น

ทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์หรือการวางแผน เช่น การจัดสวน หรือจัดบ่อปลา เป็นต้น

บทความโดย นพ. เอกพจน์ นิ่มกุลรัตน์ อายุรแพทย์ด้านโรคสมองและระบบประสาท รพ.สมิติเวช

ข่าวแนะนำ


วิธีตรวจเช็กความดันโลหิตในร่างกายของตนเองได้ง่ายๆ ที่บ้านอย่างถูกต้อง มีวิธีวัด และอ่านค่าอย่างไร

ความดันโลหิต หนึ่งในสาเหตุการเกิดปัญหาสุขภาพ ที่สามารถทำให้มีภาวะเสี่ยงได้อยู่หลากหลายโรค หรือที่เรียกว่า “โรคความดันโลหิต” ที่มีทั้งความดันโลหิตสูง และความดันโลหิตต่ำ ซึ่งสามารถเป็นความเสี่ยงที่เกิดได้ทุกช่วงวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ

ความดันโลหิต คือ ความดันโลหิต(เลือด) ค่าของกระแสเลือดที่ส่งแรงกระทบกับผนังหลอดเลือดแดง ด้วยการสูบฉีดของหัวใจ ซึ่งมี 2 ค่าได้แก่ ความดันโลหิตสูง และความดันโลหิตต่ำ วัดได้จากการบีบตัวของหัวใจ และการคลายตัวของหัวใจ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ด้วยการวัดค่าความดันโลหิต

ปัจจุบันมีเครื่องตัววัดความดันที่สามารถหามาใช้เองได้ที่บ้าน เพื่อความอำนวยความสะดวกสบาย และการเช็กความดันโลหิตทำให้เรานั้นรู้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง รวมทั้งยังสามารถยับยั้งที่มาขอการเกิดโรคต่างๆ ได้หลากหลายชนิด และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ เส้นเลือดตีบตัน โรคไต โรคอัมพาต เป็นต้น

ความดันโลหิต ควรวัดช่วงไหน มีค่าอยู่ที่เท่าไร

/

ความดันโลหิตทั่วไป ต้องมีค่าไม่เกินไปกว่า 120/80 มม.ปรอท โดยค่าของความดันโลหิตไม่ควรเกิน 140/90 มม.ปรอท และไม่ต่ำกว่า ซึ่งควรวัดหลังจากการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การออกกำลังกาย ทำงาน รับประทานอาหาร ดื่มกาแฟ และสูบบุหรี่ อย่างน้อย 30 นาที-1 ชั่วโมง เพื่อให้การสูบฉีดกลับมาเป็นค่าปกติ ควรวัดความดันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือหากมีค่าความดันโลหิตสูง ควรวัดซ้ำบ่อยๆ หากยังมีความดันโลหิตที่มีค่าผิดปกติ ถือว่าเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิต

วัดความดันโลหิตที่บ้านทำอย่างไร

การวัดความดันโลหิตด้วยตัวเองที่บ้าน ควรเตรียมตัวก่อนการวัดความดัน และจัดท่านั่งให้ถูกต้องโดยการวัดความดันโลหิตที่บ้าน ควรวัดต่อเนื่องอย่างน้อย 7 วันเพื่อติดตามผล

...

ในช่วงเช้า ควรวัดความดันโลหิต 1 ชั่วโมง หลังตื่นนอน และปัสสาวะแล้ว จำนวน 2 ครั้ง ห่างกันไม่เกินครั้งละ 1 นาที

วัดก่อนเข้านอน วัดความดัน 2 ครั้งติดกัน ห่างไม่เกินครั้งละ 1 นาที

จัดท่านั่งให้ดี โดยนั่งเก้าอี้ให้หลังพิงพนักอย่างผ่อนคลาย ห้ามเกร็ง โดยเท้าทั้ง 2 ข้าง วางราบกับพื้น

วางแขนนาบลำตัว โดยให้แขนนั้นอยู่ในระดับเดียวกันกับหัวใจ

วัดความดันโลหิตในแขนข้างที่ไม่ถนัด หรือข้างที่มีความดันโลหิตสูงกว่า ขณะวัดความดันโลหิตไม่กำมือ ไม่พูดคุยหรือขยับตัว

ควรวัดความดันหลังจากนั่งพักอย่างน้อย 30 นาที และ 1 ชั่วโมง

ควรวัดความดันหลังรับประทานอาหาร ดื่มกาแฟ สูบบุหรี่ หรือ ออกกำลังกาย

ระดับของความดันโลหิต

ระดับปกติ : ค่าสูงอยู่ที่ 90-119 ค่าต่ำอยู่ที่ 60-79

ระดับเริ่มต้นสูง : ค่าสูงอยู่ที่ 120-139 ค่าต่ำอยู่ที่ 80-89

ระดับสูง ขั้นที่ 1 : ค่าสูงอยู่ที่ 140-159 ค่าต่ำอยู่ที่ 90-99

ระดับสูง ขั้นที่ 2 : ค่าสูงอยู่ที่ 160-179 ค่าต่ำอยู่ที่ 100-109

ระดับสูง ขั้นที่ 3 : ค่าสูงอยู่ที่ 180 ขึ้นไป ค่าต่ำอยู่ที่ 109 ขึ้นไป

ข้อมูล : โรงพยาบาลศิครินทร์

ภาพ : istock


องค์การอวกาศยุโรปแสดงภาพถ่ายชุดแรก ซึ่งบันทึกโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ "ยูคลิด"...

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 8 พ.ย. ว่าองค์การอวกาศยุโรป ( อีเอสเอ ) เผยแพร่ภาพถ่ายชุดแรก จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศ ยูคลิด มีทั้งภาพ เนบิวลา หรือฝุ่นละอองจักรวาล ซึ่งเกาะกลุ่มรวมกันคล้ายม้า กาแล็กซีมากกว่า 1,000 แห่ง ซึ่งรวมตัวอยู่ในกระจุกกาแล็กซีเพอร์เซอุส ที่อยู่ห่างออกไปจากโลกราว 240 ล้านปีแสง และภาพอีกหลายภาพ ซึ่งนักดาราศาสตร์เชื่อมั่นว่า จะสามารถมอบข้อมูลเกี่ยวกับ “สสารมืดและพลังงานมืด” ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของจักรวาล...

รายงานของอีเอสเอระบุด้วยว่า จักรวาลที่มนุษย์รู้จักและศึกษามาตลอดแล้ว แท้จริงแล้วเป็นเพียง 5% หมายความว่า ส่วนที่เหลือยังเป็นปริศนา แม้มนุษย์ทราบดีถึงการมีตัวตนของจักรวาลส่วนที่เหลืออีก 95% อย่างไรก็ตาม สสารมืดและพลังงานมืด เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องวิเคราะห์เจาะลึกต่อไป เบื้องต้นสิ่งที่ปรากฏออกมา คือการที่กาแล็กซีเคลื่อนตัวเร็วกว่าที่เคยมีการวิเคราะห์ไว้...

หลังจากนี้ อีเอสเอวางแผนให้กล้องยูคลิดจัดทำแผนที่สามมิติ เพื่อเพิ่มรายละเอียดให้กับการศึกษาจักรวาล ควบคู่ไปกับการถ่ายภาพเพิ่มเติม เพื่อไขปริศนาการก่อตัวและการกระจายตัวของกาแล็กซี ในบริเวณที่เรียกว่าเป็น “เส้นใยจักรวาล”...

ทั้งนี้ กล้องโทรทรรศน์อวกาศ ยูคลิด ซึ่งมีความละเอียด 600 เมกะพิกเซล มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.2 เมตร และยาว 24.5 เมตร เดินทางออกจากโลก เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2566 ด้วยจรวดฟัลคอน 9 ของบริษัทสเปซเอ็กซ์ มีกำหนดปฏิบัติภารกิจเป็นเวลานาน 6 ปี.

เครดิตภาพ : AFP... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/2877912/


เชื้อ ‘ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส’ ระบาด อาการคล้าย ‘โควิด-หวัดใหญ่-RSV’...

เมื่อวันที่ 8 พ.ย. นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า ช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว คือตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน มีการระบาดของเชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human Metapneumovirus (hMPV) ควบคู่ไปกับเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV)...

อาการของโรคนี้คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ โควิด-19 และ RSV มีไข้ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก เหนื่อย หายใจไม่สะดวก แยกยากจากไวรัสตัวอื่นๆ ต้องส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการถึงจะบอกได้ ปัจจุบันการตรวจ hMPV ทำได้ง่ายโดยการแยงจมูก ให้ผลเร็ว ทำให้พบเชื้อนี้มากกว่าแต่ก่อน พบบ่อยในกลุ่มเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ เชื้อไวรัส hMPV มักจะเข้าไปในทางเดินหายใจส่วนล่างหลอดลมและปอดในคนสูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ความดัน เบาหวาน หอบหืด โรคไต ทำให้เกิดอาการเหนื่อย จนต้องให้ออกซิเจน บางคนถึงขั้นระบบหายใจล้มเหลว เชื้อนี้ไม่มียาต้านไวรัสและไม่มีวัคซีนป้องกัน ให้การรักษาตามอาการ

ผู้ป่วยชายไทยอายุ 72 ปี เป็นความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคไตเรื้อรัง มาโรงพยาบาลวันที่ 24 ตุลาคม 2566 ด้วยไอมาก มีน้ำมูกใส เจ็บคอบ้าง เหนื่อย หายใจลำบาก 1 วัน มีไข้สูง ตรวจร่างกาย อุณหภูมิ 39 องศาเซลเซียส มีเสียงผิดปกติในปอด ขาบวมเล็กน้อย เจาะเลือด เลือดจางเล็กน้อย เม็ดเลือดขาวปกติ การทำงานของไต BUN 96 Cr 8.9 ระดับออกซิเจนในเลือดที่ปลายนิ้วต่ำมาก 84 % เอ็กซเรย์ปอดมีฝ้าขาวในปอดทั้ง 2 ข้าง แยงจมูกตรวจหาแอนติเจนของไวรัส พบเชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส (hMPV) ให้ออกซิเจนด้วยอัตราการไหลที่สูงทางจมูก (High-flow nasal cannula) ให้เสตียรอยด์ ต่อมาต้องฟอกไต เอกซเรย์ปอดแย่ลง แล้วค่อยๆดีขึ้น อาการเหนื่อย ไอค่อยๆดีขึ้น นอนรักษาในรพ. 12 วัน ในที่สุดเอกซเรย์ปอดดีขึ้นมากกลับบ้านได้ ไม่ต้องใช้ออกซิเจน...

ภรรยาผู้ป่วยอายุ 68 ปี แข็งแรงดี ก็ติดเชื้อ hMPV จากผู้ป่วยวันที่ 25 ตุลาคม 2566 แต่อาการน้อย มีน้ำมูก เจ็บคอ ปวดหัว ปวดตัวบ้างไม่มีไข้ ไม่ไอ หายเองใน 5 วัน...


‘นิด้าโพล’ เผยผลสำรวจ ‘ภัยไซเบอร์’ ผวาหนักแก๊งคอลฯ หลอกดูดข้อมูล...

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ภัยไซเบอร์” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม ถึง 3 พฤศจิกายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับภัยไซเบอร์ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0...

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความกังวลของประชาชนต่อการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญ (เช่น เลขบัตรประชาชน รหัสผ่านต่าง ๆ เลขที่บัญชีธนาคาร รูปภาพส่วนตัว เป็นต้น) พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.85 ระบุว่า กังวลมาก รองลงมา ร้อยละ 32.52 ระบุว่า ค่อนข้างกังวล ร้อยละ 17.10 ระบุว่า ไม่กังวลเลย และร้อยละ 11.53 ระบุว่า ไม่ค่อยกังวล

ด้านรูปแบบของภัยไซเบอร์ที่ประชาชนกังวล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 54.20 ระบุว่า ถูกหลอกโดยแก๊งคอลเซ็นเตอร์ รองลงมา ร้อยละ 45.57 ระบุว่า ถูกแฮ็กข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 45.11 ระบุว่า ถูกขโมยข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญ เช่น รหัส ATM บัตรเครดิต รหัสผ่านต่าง ๆ เลขบัตรประชาชน ร้อยละ 41.98 ระบุว่า ถูกหลอกให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญผ่าน Social Media, SMS, Website ร้อยละ 24.20 ระบุว่า คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือถูกโจมตีด้วยไวรัสหรือมัลแวร์ชนิดอื่น ๆ จนเกิดความเสียหาย ร้อยละ 17.48 ระบุว่า ถูกสอดส่องพฤติกรรมการใช้ Internet ผ่านคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 16.72 ระบุว่า ไม่กังวลใด ๆ เลย ร้อยละ 16.26 ระบุว่า โดนดักฟังข้อมูล และร้อยละ 14.66 ระบุว่า โดนเรียกค่าไถ่ข้อมูล

สำหรับความเสียหายจากภัยไซเบอร์ที่ประชาชนเคยได้รับ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 80.76 ระบุว่า ไม่เคยได้รับความเสียหายใด ๆ เลย รองลงมา ร้อยละ 12.06 ระบุว่า ถูกหลอกโดยแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ร้อยละ 4.66 ระบุว่า ถูกแฮ็กข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 4.20 ระบุว่า ถูกหลอกให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญผ่าน Social Media, SMS, Website ร้อยละ 3.21 ระบุว่า ถูกขโมยข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญ เช่น รหัส ATM บัตรเครดิต รหัสผ่านต่าง ๆ เลขบัตรประชาชน ร้อยละ 1.53 ระบุว่า คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือถูกโจมตีด้วยไวรัสหรือมัลแวร์ชนิดอื่น ๆ จนเกิดความเสียหาย ร้อยละ 0.53 ระบุว่า ถูกสอดส่องพฤติกรรมการใช้ Internet ผ่านคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 0.31 ระบุว่า โดนเรียกค่าไถ่ข้อมูล และร้อยละ 0.23 ระบุว่า โดนดักฟังข้อมูล

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความมั่นใจของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหาภัยไซเบอร์ของหน่วยงานภาครัฐ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 40.31 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 35.19 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 16.49 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 6.79 ระบุว่า มั่นใจมาก และร้อยละ 1.22 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ...