“ความดันโลหิตสูง” คือ ภาวะที่ตรวจพบว่ามีระดับความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากหลายปัจจัยประกอบกัน เช่น การแข็งตัวของหลอดเลือด อายุที่เพิ่มขึ้น การมีน้ำหนักตัวมาก หรืออาจเกิดจากการมีโรคหรือภาวะอื่นๆ ที่ส่งเสริมการเกิดหรือทำให้การควบคุมโรคความดันโลหิตสูงทำได้ยากขึ้น เช่น ไตอักเสบ โรคไทรอยด์ โรคของต่อมหมวกไต โรคนอนกรน การใช้ยาบางชนิด การใช้สารเสพติด เป็นต้น
นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ คนที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง คนที่เป็นความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ กลุ่มคนเหล่านี้ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงด้วยเช่นกัน
โรคความดันโลหิตสูงโดยทั่วไปมักไม่มีอาการ แต่มักจะตรวจพบจากการตรวจสุขภาพประจำปีหรือการตรวจติดตามโรคอื่นๆ ซึ่งหากวัดความดันโลหิตครั้งแรกแล้วได้ค่าสูงกว่าเกณฑ์ แต่มีค่าความดันโลหิตตัวบนไม่เกิน 180 มิลลิเมตรปรอท ก็จะนัดมาทำการตรวจวัดความดันโลหิตซ้ำด้วยวิธีที่ถูกต้อง ก่อนยืนยันคำวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง
ศีรษะ มึนศีรษะ บางกรณีอาจมีอาการแทรกซ้อนของอวัยวะปลายทาง เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว ไตวายเฉียบพลัน มีเลือดออกในจอประสาทตา ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตที่สูงมากจนเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะปลายทาง อาจมีอาการของน้ำท่วมปวด ปัสสาวะลดลง หรือมองภาพไม่ชัด ซึม หมดสติ
เลือดหัวใจ โรคไต ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงกับโรคไตเท่านั้น
ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและไม่สามารถควบคุมความดันให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม จะเพิ่มปริมาณเลือดที่ต้องกรองผ่านหน่วยไต ส่งผลให้ไตทำงานหนักมากขึ้น มีความหนาตัวและการบาดเจ็บของเส้นเลือดและเนื้อเยื่อในไต ทำให้การทำงานของไตลดลด เกิดภาวะที่ไตไม่สามารถกำจัดน้ำและเกลือส่วนเกินให้อยู่ในสมดุล ส่งผลให้ปริมาณเลือดในร่างกายเพิ่มขึ้น ควบคุมความดันโลหิตได้ยากมากขึ้น และเกิดการบาดเจ็บของไตเพิ่มขึ้น ในคนไข้ที่ความดันโลหิตสูงเฉียบพลัน เช่น มากกว่า 180 ก็อาจทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน ปัสสาวะไม่ออก น้ำท่วมปอด ขาบวมได้
ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จึงควรพยายามควบคุมความดันโลหิตและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่กล่าวมาข้างต้นให้ได้ตามเกณฑ์ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของอวัยวะปลายทาง ชะลอการเสื่อมของไต หากตรวจพบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ก็ควรเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งแบบไม่ใช้ยาและใช้ยา ซึ่งการใช้ยา แพทย์จะเลือกใช้ยาลดความดันโลหิตให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นกับโรคร่วมและความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยแต่ละราย
การรักษาแบบไม่ใช้ยา ได้แก่ การควบคุมการรับประทานโซเดียมไม่เกิน 2000 มิลลิกรัมต่อวัน การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม งดการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้การควบคุมความดันโลหิตสูงทำได้ยากขึ้น หลีกเลี่ยงการใช้สมุนไพร และการกินยาแก้ปวดบางชนิด
วัดความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง โดยควรนำความดันโลหิตสูงที่บันทึกไว้ไปให้แพทย์ในวันนัด เพื่อที่แพทย์จะได้ปรับยาได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดี
การรักษาโรคร่วมที่อาจเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง เช่น การใช้เครื่องช่วยหายใจในคนไข้โรคนอนกรน อาจช่วยทำให้ลดการใช้ยาความดันโลหิตสูง หรือทำให้การควบคุมความดันโลหิตทำได้ง่ายมากขึ้น
การควบคุมน้ำหนักตัวให้ได้มาตรฐานในคนที่เป็นโรคอ้วน ก็สามารถช่วยลดการใช้ยาความดันโลหิตสูงได้เช่นกัน
การรับประทานอาหารให้หลากหลายครบ 5 หมู่ โดยเน้นการกินผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง และอาหารแปรรูปทุกชนิด
หากสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำที่กล่าวมาข้างต้น ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาระดับความดันโลหิตสูงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ลดโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อนและชะลอการเสื่อมของไตให้ช้าที่สุด
แหล่งข้อมูล
อาจารย์แพทย์หญิงศรินยา บุญเกิด สาขาวิชาโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ สิ่งหนึ่งที่ต้องเตรียมใจไว้ก็คือการจากลาตามอายุขัยที่เป็นไปตามธรรมชาติ สมุดเบาใจ พินัยกรรมชีวิต คือหนึ่งตัวช่วยที่ให้ผู้สูงวัยใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารแก่คนใกล้ตัว ถึงความต้องการในวาระสุดท้ายของชีวิตได้
สมุดเบาใจ พินัยกรรมชีวิต คืออะไร
สมุดเบาใจ เป็นสมุดพินัยกรรมชีวิตขนาดเหมาะมือ ที่ช่วยให้เราได้กรอกความต้องการเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเมื่อเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของชีวิต ความต้องการในด้านต่างๆ ถูกแบ่งเป็นหมวดหมู่อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น
การรักษาพยาบาลเมื่อเราเข้าสู่ภาวะวิกฤติ
การดูแลเพื่อความสุขสบายกาย
ความต้องการที่จะให้ผู้อื่นปฏิบัติกับเราอย่างไร
ใครจะเป็นผู้แทนการตัดสินใจด้านสุขภาพของเรา หากเราป่วยหนัก และไม่สามารถสื่อสารได้
การจัดการร่างกาย และงานศพ
คำถามต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้เราได้วางแผน และสื่อสารกับคนใกล้ชิด ครอบครัว และทีมแพทย์ที่จะสามารถตัดสินใจในเรื่องของการดูแลและการรักษาให้ตรงกับความต้องการของเราได้มากที่สุด รวมถึงการวางแผนหลังจากที่เราเสียชีวิตไปแล้ว ว่าเราจะจัดการกับร่างกาย และงานศพอย่างไร เพื่อให้เราสบายใจได้ว่าไม่เป็นภาระของคนใกล้ตัว
สมุดเบาใจ พินัยกรรมชีวิต คือรูปแบบหนึ่งของเอกสารแสดงเจตนาล่วงหน้าเกี่ยวกับสุขภาพช่วงสุดท้าย และการตายดี ตาม พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มาตรา 12 ที่มีส่วนหนึ่งระบุว่า “บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้”
สมุดเบาใจ พินัยกรรมชีวิต คือเครื่องมือสื่อสารความต้องการสุดท้ายของชีวิตของผู้สูงอายุ ให้คนใกล้ตัวได้รับรู้และสามารถวางแผนล่วงหน้าได้อย่างชัดเจน
เนื้อหาในสมุดเบาใจจะครอบคลุม 5 ประเด็น คือ
การกู้ชีพ เมื่อเจ็บป่วยระยะสุดท้ายต้องการดูแลคุณภาพชีวิตอย่างไร ให้แพทย์ปั๊มหัวใจ เจาะคอ ใส่ท่อช่วยหายใจ ฯลฯ หรือไม่
ความสุขสบายที่ต้องการ จะรักษาตัวที่โรงพยาบาล อยากกลับบ้านอยู่กับครอบครัว หรือใช้ยาระงับความเจ็บปวดระดับใด
การปฏิบัติจากคนอื่นๆ ที่ต้องการ ขอให้เราตายอย่างสงบไม่เร่งหรือยืดออกไป การได้ระลึกถึงสิ่งดีงาม สัมผัสสุดท้ายและโอบกอดจากคนที่รัก ฯลฯ
การจัดการร่างกาย และงานศพ ขอให้คนข้างหลังช่วยบริจาคอวัยวะ หรือจัดฌาปนกิจเรียบง่ายประการใด
ผู้แทนการตัดสินใจด้านสุขภาพ ระบุรายละเอียดให้ชัดว่าสุดท้ายแล้วใครคือผู้จะบอกแพทย์ว่ารักษาได้แค่ไหน ภายใต้เจตนารมณ์ของผู้ป่วย
ดังนั้น สมุดเบาใจ พินัยกรรมชีวิต จึงเปรียบเสมือนการวางแผนรักษาล่วงหน้า เพื่อความชัดเจนในการรักษา เมื่อภาวะสุดท้ายมาถึง ซึ่งไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ แต่ปัญหาคือผู้ป่วยจำนวนมากยังไม่มีแผนไปสู่การตายดี
ทั้งนี้ สมุดเบาใจ จัดทำโดยกลุ่ม Peaceful Death กลุ่มคนที่สนับสนุน “การอยู่ดีและตายดี” ให้เป็นนิยามง่ายๆ ของผู้คนในสังคมไทย โดยใช้เครื่องมือการสื่อสาร เรียนรู้ และจัดกิจกรรมต่างๆ ที่หลากหลาย ซึ่งสนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ข้อมูลอ้างอิง : Peaceful Death, สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
บนโลกที่กว้างใหญ่มีสิ่งมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติสรรค์สร้างให้ทำความรู้จักไม่รู้จบ
นี่คือสิ่งที่ทีมงานคิด ทันทีที่เดินขึ้นมาถึงถ้ำนาคี ณ อุทยานแห่งชาติภูลังกา อ.บ้านแพง จ.นครพนม สาเหตุที่ความคิดนี้ดังขึ้นในหัวเพราะหินรอบตัวมีลักษณะคล้ายเกล็ดงูหรือตามความเชื่อคือเกล็ดพญานาคนั่นเอง
“ที่ถ้ำนาคีจะมีเศียรพญานาคทั้ง 9 เศียรด้วยครับ” เสียงเล็กๆ ของ ฟาร์มเฮ้าส์ ด.ช.เปรมศักดิ์ โมธรรม นักเรียนจากโรงเรียนบ้านนาโพธิ์ ที่อยู่ไม่ไกลจากอุทยาน มาทำหน้าที่เป็นไกด์จำเป็นให้ทีมงาน
เมื่อเดินพ้นน้ำตกตาดโพธิ์ชั้นที่ 4 ขึ้นมา สิ่งแรกที่พบคือหินทรงสูงใหญ่ ลักษณะคล้ายหัวพญานาคตามความเชื่อ เป็นรูปร่างที่ธรรมชาติสร้างและมนุษย์พากันจินตนาการ ทำให้เกิดความตื่นเต้นและมหัศจรรย์ใจอย่างมาก ในขณะเดียวกันหินเขารอบตัวล้วนแล้วแต่มีลักษณะผิวเป็นวงกลมบ้าง เหลี่ยมมนบ้าง ติดๆ กันคล้ายเกล็ดงู
ยิ่งเดินขึ้นไปยิ่งพบเศียรพญานาคหลายเศียรมากขึ้น ทุกเศียรมีลักษณะชวนให้จินตนาการถึงหัวงูหรือพญานาคได้จริงๆ จนทีมงานเกิดคำถามในใจว่านี่คือธรรมชาติสร้างจริงๆ หรือ
“นี่คือปรากฏการณ์หมอนหินซ้อน หรือซันแคร็ก แปลตรงตัวคือหินแตกเพราะดวงอาทิตย์ เกิดจากผิวหน้าของหินแตกตัว เพราะการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของอุณหภูมิที่เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวเย็น ทำให้หินทรายที่นี่เกิดการขยายตัวและหดตัวสลับกันไปมา เมื่อเวลาผ่านไปเกิดการผุพังจากการกัดเซาะทั้งน้ำทั้งลม จึงมีลักษณะเหมือนหมอนวางซ้อนๆ กันจนคล้ายเกล็ดงูแบบนี้ครับ” ลุงเป็ด พิทักษ์ มูลหาร เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนประจำอุทยานแห่งชาติภูลังกา ช่วยให้ความรู้และคลายข้อสงสัยให้ทีมงานและเด็กๆ
อุทยานแห่งชาติภูลังกาตั้งอยู่บนพื้นที่ 2 จังหวัด คือ ฝั่งถ้ำนาคี จ.นครพนม และฝั่งถ้ำนาคา จ.บึงกาฬ ลักษณะหินของทั้ง 2 ถ้ำมีลักษณะเดียวกันคือหินเกล็ดพญานาค เกิดจากปรากฏการณ์ Suncrack โดยมีปัจจัยในการเกิดปรากฏการณ์นี้คือลักษณะหินทรายที่ถูกกัดกร่อนได้ง่าย รวมไปถึงสภาพอากาศ อุณหภูมิ กระแสน้ำ กระแสลม และระยะเวลา
เมื่อปริศนาแห่งหินเกล็ดพญานาคถูกไขเรียบร้อย ความจริงตามหลักวิทยาศาสตร์ปรากฏชัด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าธรรมชาติยังคงเป็นนักแต่งเรื่องที่เก่งกาจ เพราะองค์ประกอบรอบตัวยังคงทำให้เราตื่นเต้นและสลัดภาพพญานาคและตำนานต่างๆ ออกไปไม่ได้ ทั้งลักษณะของรากไทรที่คดเขี้ยวคล้ายลำตัวงู หรือหัวพญานาคทั้ง 9 ที่คล้ายหัวของงูอย่างไม่น่าเชื่อ
นี่คงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้คนจากทั่วประเทศหลั่งไหลกันมาชมความงามของเกล็ดพญานาคบนอุทยานแห่งชาติภูลังกากันตลอดปี
การที่วิทยาศาสตร์จะผนวกกับความเชื่อบ้างก็เป็นเรื่องดีที่ทำให้การเรียนรู้เรื่องต่างๆ สนุกมากขึ้น เหมือนที่ครั้งนี้ทีมงานและเด็กๆ เรียนรู้ไปพร้อมกันด้วยความสนุกสนาน
เตรียมร่างกายให้พร้อมและไปพิสูจน์หินพญานาคด้วยกันในรายการทุ่งแสงตะวัน ตอน ถ้ำนาคีที่ภูลังกา วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566 เวลา 05.05 น. ทางช่อง 3 กด 33 และทางเพจทุ่งแสงตะวัน เวลา 07.30 น.
ขอบคุณข้อมูลจาก : รัตนาภรณ์ ละมูลเจริญ
ความคืบหน้ากรณี “สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร.” แจ้งว่า คืนวันที่ 21 ตุลาคม ถึงรุ่งเช้าวันที่ 22 ตุลาคม 2566 จะมีปรากฏการณ์ ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ร่องรอยของดาวหางฮัลเลย์ เมื่อครั้งเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ โดยจะเริ่มสังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 22.30 น. ของวันที่ 21 ตุลาคม เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 22 ตุลาคม บริเวณกลุ่มดาวนายพราน (Orion) อัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวง/ชั่วโมง หากฟ้าใสไร้ฝน ลุ้นชมความสวยงามได้ทั่วประเทศ
ล่าสุดเมื่อเวลา 23.10 น. สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ NARIT เผยภาพฝนดาวตกซึ่งเป็นแฟ้มภาพเมื่อปี 2563 พร้อมอธิบายว่า “ฝนดาวตก” คือคืนที่มีดาวตกมากกว่าปกติ เกิดจากโลกโคจรตัดผ่านสายธารของฝุ่นดาวหาง/ดาวเคราะห์น้อย ส่วน “ดาวหาง” จะปรากฏอยู่บนท้องฟ้าหลายวัน เนื่องจากจะค่อยๆเปลี่ยนตำแหน่ง เพราะฉะนั้นเราจะไม่เห็น “ดาวหางฮัลเลย์” ในวันนี้ แต่จะเป็น “ฝนดาวตกโอไรออนิดส์” ที่เกิดจากดาวหางฮัลเลย์
ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ (Orionids) มีอัตราการตกเพียง 20 ดวง/ชั่วโมง ประกอบกับมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ อาจทำให้คืนนี้ไม่สามารถสังเกตได้ แต่หากใครอยากลุ้น ให้มองหา “กลุ่มดาวนายพราน” (Orion) ทางทิศตะวันออก สังเกตได้ง่ายจากดาวเรียงเด่นสามดวงที่คนไทยเรียกว่า ดาวไถ
สำหรับใครที่พลาดชม ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ขอแนะนำรอชม ฝนดาวตกเจมินิดส์ คืนวันที่ 14 - รุ่งเช้า 15 ธันวาคม 2566 ด้วยอัตราการตกสูงสุดมากถึง 120-150 ดวง/ชั่วโมง และเป็นช่วงฤดูหนาวที่ฟ้าใสไม่ต้องลุ้นฝน อีกทั้งปีนี้ไร้แสงจันทร์รบกวนด้วย
ขอบคุณภาพจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร.
ย้อนดูคำทำนาย นอสตราดามุส ตะลึง “สงครามครั้งใหญ่ยาวนาน 7 เดือน ผู้คนล้มตายเพราะความชั่วร้าย” ทำช็อกโลก หวั่น ศึก อิสราเอล - ฮามาส ยืดเยื้ออีกนาน ผู้คนล้มตายอีกจำนวนมาก...
เชื่อว่าหากเอ่ยถึงชื่อ “มิเชล เดอ นอสเทอร์ดาม” หลายคนอาจไม่รู้จัก แต่ถ้าพูดถึงชื่อ “นอสตราดามุส” (Nostradamus) เชื่อว่ามีหลายคนที่คุ้นหู กับโหราพยากรณ์ชื่อดังแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่ฝากชื่อเสียงไว้กับคำทำนายเหตุการณ์สถานการณ์ต่างๆผ่านโคลงประพันธ์ ที่หากมองย้อนไปพบว่ามีหลายเหตุการณ์ที่ทำเอาชาวโลกถึงกับสะพรึงกลัวขนหัวลุกจนได้รับการยกย่องเป็น “นักพยากรณ์เอกของโลก” อาทิ คำทำนายการขึ้นมามีอำนาจของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ หรือ ที่เขียนเอาไว้ที่เซ็นจูรี่เล่ม 6 โคลงบทที่ 97 ว่า “ท้องฟ้าจะถูกเผาผลาญ ณ องศาที่ 45 เพลิงจะพุ่งเข้าสู่เมืองใหม่ในบัดดล ดวงไฟใหญ่จะแตกกระจายทะลวงพุ่งขึ้นมา” ซึ่งใกล้เคียงกับเหตุโศกนาฏกรรมช็อกโลก 9/11 เป็นต้น
โดยล่าสุดเมื่อมาย้อนดูคำทำนายของ โหราพยากรณ์ชาวฝรั่งเศสผู้นี้สำหรับปี 2023 พบว่ามีหลายเรื่องที่มีการทำนายไว้มากมาย ที่มีผู้ตีความสรุปเนื้อหาเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นไว้ อาทิ “การขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง ข้าวสาลีจะราคาพุ่งสูงขึ้น จนมนุษย์ต้องกินกันเอง” “40 ปี จะไม่มีรุ้งกินน้ำ 40 ปี จะเห็นรุ้งกินน้ำทุกวัน แผ่นดินที่แห้งแล้งจะยิ่งแห้งแล้ง และเกิดน้ำท่วมใหญ่เมื่อเกิดรุ้งกินน้ำ” “ไม่ช้าก็เร็ว จะเห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้น ความสยดสยอง และการล้างแค้นที่น่าหวาดกลัว” “แสงสว่างแห่งดาวอังคารจะดับลง” เป็นต้น แต่ที่น่าสนใจเมื่อกลับมาย้อนดู คงเป็นคำทำนายที่ระบุว่า “สงครามครั้งใหญ่ยาวนาน 7 เดือน ผู้คนล้มตายเพราะความชั่วร้าย”...
ซึ่งจากคำทำนาย “สงครามครั้งใหญ่ยาวนาน 7 เดือน ผู้คนล้มตายเพราะความชั่วร้าย” ในช่วงแรกของปี หลายคนคิดว่าตรงกับที่โลกกำลังคุกรุ่นไปด้วยสงครามยูเครน กับรัสเซีย และตะวันตกมากขึ้น รวมไปสถานการณ์ระหว่างจีน กับ ไต้หวัน และอินเดียกับปากีสถาน ที่กำลังตรึงเครียด ซึ่งความขัดแย้งเหล่านี้สร้างความวิตกกังวลให้กับชาวโลกเป็นอย่างมากเพราะล้วนแต่เป็นประเทศมหาอำนาจนิวเคลียร์ทั้งสิ้น ซึ่งหากบานปลายอาจเกิดหายนะครั้งใหญ่ตามคำทำนายดังกล่าว แต่ปรากฎว่าไม่เกิดเหตุการณ์ใหญ่โตตามคำทำนาย...
กระทั่งมาเกิดสงครามระหว่างอิสราเอลกับฮามาส หลังจากกลุ่มฮามาส เปิดฉากโจมตีอิสราเอลแบบสายฟ้าแลบ ทั้งทาง บก อากาศ น้ำ และใต้ดิน เมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา ปรากฎว่ามีการเข่นฆ่ากันทุกวันผู้คนล้มตายจำนวนมาก เนื่องจากทั้ง 2 ฝ่ายต่างเปิดฉากยิงตอบโต้กันอย่างต่อเนื่อง กระทั่งเข้าวันที่ 18(24ต.ค.) ของการทำสงคราม มียอดผู้เสียชีวิตหลายพันราย และยังไม่มีท่าทีว่าจะสงบ อีกทั้งยังอาจจะส่อว่าสงครามอาจบานปลาย จนหลายคนกังวลว่าสงครามครั้งนี้อาจยืดเยื้อไปนานถึง 7 เดือน ดั่งคำทำนายของนอสตราดามุส ก็เป็นได้