“ภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ” เกิดจากการที่มีลิ่มเลือดไปอุดหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ปอด และอาจแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ ไปอุดตันหลอดเลือดฝอยที่ปอด หรืออาจจะหลุดไปอุดทั้งก้อน ทำให้ไม่สามารถเติมออกซิเจนให้เลือดได้ เมื่อออกซิเจนในเลือดต่ำมาก เซลล์ที่อยู่บริเวณที่ไกลหัวใจ เช่น มือ เท้า อาจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้เซลล์เสียหาย จะพบว่ามีปลายมือและปลายเท้าเริ่มมีสีคล้ำ หากลิ่มเลือดไปอุดตันในหลอดเลือดดำลึก จะทำให้มีอาการขาบวม เจ็บ ปวด ทำให้มีการเสื่อมสภาพของลิ้นหลอดเลือดดำและผนังหลอดเลือดดำ ลิ่มเลือดแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ
หากลิ่มเลือดมีขนาดใหญ่ขึ้น บางส่วนแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ ลิ่มเลือดที่แตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ หรืออาจหลุดไปทั้งก้อนไหลไปยังหัวใจ และไปอุดตันหลอดเลือดแดงไปที่ปอดได้
ปัจจัยเสี่ยง
การนั่งอยู่กับที่เป็นระยะเวลานาน เช่น การขับรถ การนั่งเครื่องบินเป็นเวลานาน ผู้สูงอายุที่เดินไม่ได้ต้องนั่งรถเข็น ทำให้กล้ามเนื้อน่องไม่ได้มีการบีบตัว ซึ่งการบีบตัวของกล้ามเนื้อน่องเป็นตัวช่วยให้เลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจ อาจเป็นความเสี่ยงทำให้เกิดลิ่มเลือดภายในหลอดเลือดดำส่วนลึกบริเวณกล้ามเนื้อน่อง
การนอนอยู่กับที่เป็นระยะเวลานาน เช่น การนอนโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน หรือผู้ป่วยอัมพาต ทำให้กล้ามเนื้อน่องไม่ได้เกิดการเคลื่อนไหว อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำลึกที่ขา
การตั้งครรภ์ เป็นการเพิ่มแรงดันในหลอดเลือดอุ้งเชิงกรานและขา สตรีที่มีประวัติความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดทางกรรมพันธุ์ จะมีความเสี่ยงสูงในการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำลึกที่ขาขณะตั้งครรภ์ โดยความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำลึกที่สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ สามารถมีได้ยาวนานต่อเนื่องถึงประมาณ 6 สัปดาห์หลังจากตั้งครรภ์
อ้วนหรือน้ำหนักเกิน ทำให้เกิดการเพิ่มแรงดันของหลอดเลือดดำในอุ้งเชิงกรานและขา ทำให้มีการเคลื่อนไหวน้อยกว่าปกติ
การสูบบุหรี่ มีผลกับการแข็งตัวของเลือดและการไหลเวียนโลหิต เป็นสาเหตุให้มีความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำลึก
การบาดเจ็บ หรือการผ่าตัด การมีการบาดเจ็บของหลอดเลือดดำ หรือการได้รับการผ่าตัด อาจเป็นสาเหตุให้การไหลเวียนของเลือดช้าลง เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
โรคมะเร็ง (cancer) โรคมะเร็งบางชนิดสามารถเพิ่มปริมาณสารในเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ รวมถึงการรักษามะเร็งบางชนิดก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
การเป็นโรคลำไส้อักเสบ (inflammatory bowel disease) อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งของการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึก
โรคหัวใจล้มเหลว (heart failure) เนื่องจากผู้ที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลวจะสูญเสียสมรรถภาพของหัวใจในการสูบฉีดเลือด ผู้ป่วยหัวใจเคลื่อนไหวลดลงเป็นสาเหตุให้มีความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำลึก
ผู้ที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (pacemaker) หรือการใส่ท่อยืดหยุ่นได้ชนิดบาง (thin, flexible tube) ในหลอดเลือดดำ การใช้ หรือใส่เครื่องมือเหล่านี้ ทำให้เกิดการระคายเคืองผนังหลอดเลือดและลดการไหลเวียนโลหิต เป็นสาเหตุให้มีความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำลึก
การใช้ยาคุมกำเนิด หรือฮอร์โมนทดแทน
การมีประวัติเกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำลึก หรือภาวะลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดฝอยภายในปอดมาก่อน
การมีประวัติคนในครอบครัวเกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำลึก หรือภาวะลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดฝอยภายในปอด
ผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป
เพศชายที่มีความสูงมาก
สัปดาห์หน้ายังมีเรื่องราวน่ารู้ของการวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดดำมีลิ่มเลือดอุดตัน การรักษาและการป้องกัน รอติดตามกันนะครับ
แหล่งข้อมูล
คู่มือความรู้ภาคประชาชนเรื่อง โรคหลอดเลือดดำ โดย ศ. นพ.จุมพล วิลาศรัศมี ภาควิชาศัลยศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
– ซินหัวและ นาซาสเปซไฟล์ต รายงานว่าญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการปล่อยจรวดขนส่งดาวเทียมเรดาร์รวบรวมข่าวกรองออกจากศูนย์อวกาศทาเนงาชิมะ ในจังหวัดคาโงชิมะ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ
รายงานระบุว่า บริษัท มิตซูบิชิ เฮฟวี อินดัสทรีส์ จำกัด ผู้รับผิดชอบการปล่อยจรวดเอช 2 เอ หมายเลข 46 ระบุว่าจรวดดังกล่าวซึ่งบรรทุกดาวเทียมเรดาร์รวบรวมข่าวกรองชื่อว่า “ไอจีเอส-เรดาร์ 7” (IGS-Radar 7) ทะยานออกจากศูนย์อวกาศ เมื่อเวลา 10.50 น. ของวันพฤหัสบดีที่ 26 ม.ค. ตามเวลาท้องถิ่น
ด้านศูนย์ข่าวกรองดาวเทียมของรัฐบาลญี่ปุ่น เผยว่าดาวเทียมเรดาร์ดาวนี้มีระบบติดตามด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถจับภาพบนพื้นผิวโลกในเวลากลางคืนและช่วงที่มีสภาพอากาศรุนแรงได้
ทั้งนี้ ดาวเทียมดวงดังกล่าวเข้าสู่วงโคจรที่กำหนดหลังถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศราว 20 นาที และจะเข้าแทนที่ดาวเทียมไอจีเอส 5 (IGS 5) ทั้งนี้ การปล่อยจรวดข้างต้นล่าช้าไป 1 วัน เนื่องจากสภาพอากาศเลวร้ายหลังมีคลื่นความหนาวเย็นพัดเข้าสู่ญี่ปุ่น
กรมอุทยานฯ นำคณะกรรมการนานาชาติ ลงพื้นที่ ขสป.ภูเขียว ยันพร้อมสามารถประกาศขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่อุทยานมรดกแห่งอาเซียน เสร็จสิ้นในปี 2566 นี้
เมื่อวันที่ 27 ม.ค. นายสิทธิชัย เสรีส่งแสง รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยว่า ตน พร้อมด้วย นายอร่าม ทัพหิรัญ ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7 (นครราชสีมา) และ คณะตัวแทนผู้เชี่ยวชาญจากนานาชาติจากศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ประกอบด้วย นางรัศมี ศิระวงศ์, นายโรเบิร์ต มาสเตอร์ ,นายทวี หนูทอง และสมาชิกประเทศกลุ่มอาเซียน ร่วมเดินทางลงพื้นที่ ระหว่างวันที่ 23 – 25 ม.ค. 66 เพื่อประชุมการนำเสนอพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า(ขสป.) ภูเขียว (ทุ่งกะมัง) ให้เป็นพื้นที่อุทยานมรดกแห่งอาเซียน ณ หอประชุมสุรพลพลับพลึง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ
นายสิทธิชัย กล่าวว่า ทั้งนี้สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 65 เห็นชอบให้ประเทศไทย โดยกรมอุทยานฯ นำเสนอพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน คณะกรรมการฯ จากศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ จึงลงพื้นที่ตรวจสอบประเมินเพื่อดำเนินการประกาศขึ้นทะเบียนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวให้เป็นพื้นที่อุทยานมรดกแห่งอาเซียน
ด้วยคุณสมบัติของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว (ทุ่งกะมัง) มีศักยภาพความสมบูรณ์ของผืนป่าต้นน้ำต้นกำเนิดแม่น้ำชี และมีความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งด้านสัตว์ป่า และพรรณพืช ที่นานาประเทศทั่วโลกให้การยอมรับ และให้ความสำคัญที่จะต้องช่วยกันรักษาและอนุรักษ์สืบไป โดยพื้นที่อุทยานมรดกแห่งอาเซียนจะเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติในระดับนานาชาติที่สำคัญของอาเซียนระดับภูมิภาค ไม่เฉพาะแต่ในประเทศไทยเท่านั้น
นายสิทธิชัย กล่าวอีกว่า นอกจากนี้พื้นที่ป่าภูเขียว (ทุ่งกะมัง) ยังเป็นแหล่งช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวให้กับจังหวัดชัยภูมิ โดยมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ต้นน้ำ สัตว์ป่า พันธุ์พืช และมีจุดรองรับนักท่องเที่ยว อีกทั้งในการจัดการบริหารพื้นที่ที่มีแหล่งท่องเที่ยวภายในสถานีเพาะเลี้ยง หรือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ซึ่งเป็นพื้นที่เปิดสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ จะช่วยให้เกิดการกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวภายในจังหวัดชัยภูมิได้อีกทางหนึ่งด้วย
ทั้งนี้ จากการเดินทางสำรวจประเมินพื้นที่พบว่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว (ทุ่งกะมัง) มีความพร้อมสามารถดำเนินการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่อุทยานมรดกแห่งอาเซียนได้ โดยจะเสร็จสิ้นในปี 2566 นี้ และจะมีการประกาศการขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการต่อไป
ค่าฝุ่นวันนี้ เป็นคำค้นหาของชาวกรุงเทพฯ ที่ต้องตรวจสอบก่อนออกจากบ้านทุกวัน เพื่อการเตรียมตัวสวมเสื้อผ้า สวมหน้ากากอนามัยแบบกรองฝุ่น รวมถึงการแต่งกายที่มิดชิด ป้องกันฝุ่น PM 2.5 สัมผัสผิวหนัง
ค่าฝุ่นกรุงเทพฯ กับผลกระทบต่อสุขภาพ
ค่าฝุ่น PM 2.5 เป็นสิ่งใกล้ตัวคนกรุงเทพมหานครมากที่สุด แม้ว่าจังหวัดอื่นๆ ทางภาคเหนือจะพบค่าฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหาต่อสุขภาพบ้างเช่นกัน แต่ก็เป็นค่าฝุ่นที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล และจำนวนประชากรต่อพื้นที่ก็ไม่ได้หนาแน่นเท่ากับพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพราะฉะนั้น กิจกรรมต่างๆ ทั้งการใช้รถยนต์ เครื่องจักร และการเผาวัสดุต่างๆ หากทำพร้อมกันมากๆ ก็ส่งผลเกิดเป็นฝุ่นละอองในอากาศ
ฝุ่น PM 2.5 คือฝุ่นที่มีขนาดน้อยกว่า 2.5 ไมครอน เจ้าฝุ่นเล็กๆ นี้ส่งผลกระทบต่อผิวหนัง ดวงตา และระบบทางเดินหายใจอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับปอด และภูมิแพ้ เมื่อสัมผัสกับฝุ่น PM 2.5 นี้ก็ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้โรคต่างๆ กำเริบ
ค่าฝุ่นเท่าไรถึงไม่กระทบต่อสุขภาพ
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดค่ามาตรฐานสำหรับแต่ละจุดตรวจวัด โดยมีค่ามาตรฐานที่ปลอดภัยดังนี้
- ค่าเฉลี่ยต่อ 24 ชั่วโมง ณ จุดวัด ไม่เกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
- ค่าเฉลี่ยต่อปี ณ จุดวัด ไม่เกิน 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
แต่สำหรับประเทศไทยมีค่ามาตรฐาน ดังนี้
- ค่าเฉลี่ยต่อ 24 ชั่วโมง ณ จุดวัด ไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
- ค่าเฉลี่ยต่อปี ณ จุดวัด ไม่เกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ค่าฝุ่นละอองในอากาศกรุงเทพฯ วันนี้ ดูได้จากที่ไหน
หากคุณต้องการดูรายงานสภาพอากาศกรุงเทพมหานคร หรือดูค่าฝุ่น PM 2.5 ล่าสุดที่ตรงกับวันนี้ เข้าไปดูได้ที่ www.bangkokairquality.com โดยเป็นแอปฯ ที่บอกระดับค่าฝุ่น ณ จุดสถานีตรวจวัดต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร ให้คุณได้เตรียมตัวรับมือกับค่าฝุ่น PM 2.5 วันนี้ได้ตรงจุด
อีกเว็บไซต์ที่แสดงค่าฝุ่น PM 2.5 ได้ตรงจุดทั่วประเทศ ทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมถึงจังหวัดต่างๆ ที่มีสถานีวัดคุณภาพอากาศ ก็เข้าไปดูได้ที่ air4thai
เกณฑ์ของดัชนีคุณภาพอากาศสำหรับประเทศไทย
สีฟ้า
ค่าดัชนีคุณภาพอากาศ บ่งบอกค่าฝุ่น PM 2.5 ในวันนี้ว่า “คุณภาพดีมาก” โดยมีค่าคุณภาพอากาศอยู่ระหว่าง AQI 0-25 เหมาะสำหร้บทำกิจกรรมกลางแจ้ง และท่องเที่ยว
สีเขียว
ค่าดัชนีคุณภาพอากาศ บ่งบอกค่าฝุ่น PM 2.5 ในวันนี้ว่า “คุณภาพดี” โดยมีค่าคุณภาพอากาศอยู่ระหว่าง AQI 26-50 ทำกิจกรรมกลางแจ้ง และท่องเที่ยวได้ตามปกติ
สีเหลือง
ค่าดัชนีคุณภาพอากาศ บ่งบอกค่าฝุ่น PM 2.5 ในวันนี้ว่า “คุณภาพปานกลาง” โดยมีค่าคุณภาพอากาศอยู่ระหว่าง AQI 51-100 บุคคลทั่วไปทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ปกติ ส่วนผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก เคืองตา ควรลดระยะเวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง
สีส้ม
ค่าดัชนีคุณภาพอากาศ บ่งบอกค่าฝุ่น PM 2.5 ในวันนี้ว่า “คุณภาพดี” โดยมีค่าคุณภาพอากาศอยู่ระหว่าง AQI 100-200 ทำกิจกรรมกลางแจ้ง และท่องเที่ยวได้ตามปกติ
สีแดง
ค่าดัชนีคุณภาพอากาศ บ่งบอกค่าฝุ่น PM 2.5 ในวันนี้ว่า “มีผลกระทบต่อสุขภาพ” โดยมีค่าคุณภาพอากาศมากกว่า AQI 201 ขึ้นไป ทุกคนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งทุกชนิด หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์
ที่มา : กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรุงเทพมหานคร Bangkokairquality.com
องค์การอนามัยโลกประกาศคงสถานะ “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขโลก” ของโควิด-19 ต่อไป หลังการแพร่ระบาดใหญ่ที่กินเวลานาน 3 ปี นับตั้งแต่มีการประกาศสถานะดังกล่าวซึ่งถือเป็นการเตือนภัยด้านสาธารณสุขในระดับสูงที่สุด
องค์การอนามัยโลกออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 30 มกราคม ว่า นายเท็ดรอส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก เห็นด้วยกับคำแนะนำของคณะกรรมการ เมื่อพิจารณาถึงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงดำเนินอยู่ และตัดสินว่าเหตุการณ์นี้ยังคงเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขที่นานาชาติกังวล
ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 674,896,956 คน และมีผู้เสียชีวิต 6,759,663 ราย อย่างไรก็ดีเชื่อว่าตัวเลขที่แท้จริงน่าจะสูงกว่านี้มาก เมื่อคำนึงถึงสถานการณ์ในปัจจุบันที่ประเทศต่างๆ ไม่ได้มีการแจ้งรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตอย่างละเอียดเช่นเดียวกับในช่วงต้นของการแพร่ระบาด ขณะที่ประชากรโลกส่วนใหญ่ก็หันไปใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโควิดตามปกติ