ความจริงหรือความคิด
ไพฑูรย์ สุขสิขารมย์
ความจริงหรือความคิด 11 พฤศจิกายน 2566

สำหรับผมการเดินถนน คือ ความสุข ความสุขที่ผมประเมิน คือการสัมผัส การใช้ชีวิตของทุกคน วันนี้เป็นเช้าของวันศุกร์จะมีถังใส่ของที่ไร้คุณค่า มีอยู่ 3 ใบ ใบสีเขียว โตหน่อยตามบ้านจะใส่ประเภทกิ่งไม้ ใบไม้ ส่งกลับไปเป็นปุ๋ยนำมาใช้ใหม่ สีน้ำเงินขนาดโตเท่ากับถังใส่ใบไม้ สำหรับใส่สิ่งของหลังจากใช้ อย่างขวดพลาสติก นำกลับไปหลอมละลาย กลายเป็นภาชนะที่มีคุณประโยชน์ต่อไป สำหรับสิ่งของใช้แล้วประเภทนี้ จะสร้างคนบางคน เดินเก็บและนำไปขายต่อ ทำรายได้ที่พอเพียงกับชีวิต สำหรับถังใบนี้เป็นการเพาะนิสัยก่อนจะทิ้ง ให้รู้คุณค่า ทรัพยากรธรรมชาติที่เรานำมาใช้ ในอนาคตก็หมดไป ครับแต่ก็โชคดียุคของกาลเวลา เขยิบไปข้างหน้า อย่างปีนี้ 2566 อีก 1 ปีข้างหน้า 2567 ของใช้จากธรรมชาตินอกจะลดลง ราคาก็เพิ่มขึ้นด้วย อย่างน้ำมัน

ร้านแรกที่ผมเดินสัมผัส ออกจาก YMCA คือสินค้ามือสอง คนใช้แล้วคุณภาพยังดี หลายชิ้นซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้ส่งต่อมาให้ร้านมือสอง ทำความสะอาด ปรับปรุง เหลือเชื่อเป็นคุณประโยชน์กับคนมากมาย เหตุผลราคาถูก ร้านที่ผมว่า คือ ซาเวชั่น อาร์มี่ ครับรายได้ของร้านจากการขายถ้าเป็นของรัฐ เงินได้มีคุณอนันต์ ส่งต่อให้คนด้อยโอกาส

ชีวิตผม ตอนเรียนมหาวิทยาลัยออริกอน เป็นปี 1969 เรียนปริญญาโท เงินใช้จำกัด เพื่อนนักศึกษาไทยคนหนึ่ง ชื่อ ด็อกเตอร์ บุรัญชัย แนะนำผม และพาไปร้านมือสอง บอกว่าเงินจากพ่อแม่ส่ง และทำงานพาร์ทไทม์บ้าง อาจไม่พอใช้ ของใช้ในครัวอย่างหม้อ แก้วน้ำราคาถูก เงินอาจไม่พอใช้ การใช้อุปกรณ์ แม้แต่เสื้อผ้า จำเป็นเวลาร่วงเลยมา 54 ปี บ่อยครั้งผมก็ยังชอบเดินเข้าร้านประเภทนี้ มีบ้างซื้อของประเภทของเก่า ความคิดของประเภทนี้ ไม่ได้ซื้อมาเก็บตั้งบนโต๊ะ ความรู้สึก “สุขใจ”

ระหว่างเดินถนนสายนี้ ต้นไม้มี 2 ฝั่ง ต้นใหญ่ และช่วงเดือนนี้ ใบไม้มากประเภทเปลี่ยนสี จากสีเขียว เริ่มเป็นสีเหลือง ไม่นานกลายเป็นสีน้ำตาล ใบแห้ง เป็นลักษณะของใบหมดคุณภาพ (ตาย) และเป็นความปกติ อีกไม่นานหลังจากใบร่วง ปุ่มของใบใหม่เกิด ครับธรรมชาติอุดหนุน อย่างฝนตก หลายร้านจะมีคนออกมากวาดใบไม้ บนทางเท้า มีบ้างบางคนกวาดรวมแล้วใส่ถังรีไซเคิ้ล หลายคนกวาดจากทางเท้าลงกองบนริมถนน ครับไม่นาน เจ้าหน้าที่เก็บกวาด ก็นำรถมาเก็บใบไม้ การเก็บอาจจะต่างจากคนเก็บขยะบ้านเรา บ้านเราหลายท้องถิ่น คนยังเก็บกวาดด้วยแรงงานเจ้าหน้าที่ ครับผมว่าพัฒนาสุขภาพ เหมือนผมก่อนมาเขียนหนังสือ ไปหน้าบ้านกวาดใบไม้แห้ง ครับเป็นวันเจ้าหน้าที่มาเก็บ

การออกกำลังมากน้อย อย่างกวาดใบไม้ ดูแลต้นไม้ ย่อมพัฒนาสุขภาพชีวิต ยอมรับวัยผม 84 เข่า ขา และฝ่าเท้า มีความสำคัญต่อชีวิตผมมาก ต้องเดินขับรถทำกิจกรรม ถ้าละเลยความเสื่อมคุณภาพจะมาเร็ว ถ้าออกกำลัง อย่างเดิน ยกเท้า ก้มตัว เวลานั่งยกเท้าไปมา คลาสเริ่มต้นของโยคะ จะมี จันทร์ พุธ และศุกร์ เริ่มต้นการออกกำลัง ยกขา ยกพาดเข่า ครับกิจกรรมของการออกกำลัง แล้วแต่ที่สอน กิจกรรมของคลาสออกกำลัง ครูสอนจะพัฒนาแบบแผนการออกกำลัง ทุกวันไปที่ YMCA วิธีการจะเปลี่ยนปรับปรุง มีการออกกำลัง แตกต่างกันตลอดเวลา คลาสออกกำลัง โยคะ มีนั่งนอนบนเสื่อยาง ทุกครั้งไปหยิบผ้าห่มมาหนึ่งหรือสองผืน ผ้าห่มใช้เวลานั่ง จะพับหนุนก้น เวลานอนใช้หนุนศีรษะ เวลายกเท้า และมีบ้าง ผ้าห่ม ก่อนจบของคลาส จะนอน ห่อมผ้าห่ม ประมาณ 5 นาที ครูบอกว่า สงบกาย ใจ อาจตรงกับสมาธิ เพียงแต่แตกต่าง นั่ง กับนอนคลาสโยคะ มีครู 3 คน สอนแตกต่าง แต่ครูคนหนึ่ง ชื่อ “สก๊อต” อายุวัยกับคนมาออกกำลัง สอนดี ปรับปรุงการออกกำลัง และทุกครั้งจะมีท่า เอาฝ่ามือประสานค่อยยกขึ้น-ลง และสำคัญ “ทุกคนตะโกนออกจากคอและปาก” นานขึ้นลงของมือ จุดสำคัญอาจใช้ระยะเวลา ช่วงอ้าปากตะโกน “หยุดลมหายใจ”

ช่วงเรียนมัธยม ม.1 - ม.6 อาศัยวัดราชบพิธ อยู่กับสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 18 ของกรุงรัตนโกสินทร์ ผมเป็นเด็กที่คุ้นเคยกับท่านสมเด็จฯ บ้านอยู่อยุธยาติดกับผม ท่านสร้างโรงเรียนประถมที่บ้าน ชื่อ “วาสานุกูล” ทุกปีสมเด็จพระสังฆราชจะไปให้รางวัลเด็กเรียนดี (ที่หนึ่ง) ตั้งแต่ชั้น ป.1-ป.4 ทุกปี เหตุผลที่ผมค้นเคยกับสมเด็จ คือ ทุกปี ผมจะได้รับรางวัลเรียนดี พอมาอยู่กับสมเด็จฯ ผมก็เรียนใช้ได้ จบ ม.6 สอบชิงทุนกรมฝึกหัดครูได้ อยู่หอฟรี อาหาร 3 มื้อฟรี เรียนฟรี ครับช่วงเป็นนักเรียนอยู่หอ วันหนึ่งมีการถกเถียง เลือกหัวหน้าห้อง ผมยกมือ ยืนขึ้นพูด พวกเพื่อนอยากได้ใครเป็นหัวหน้ายกมือ เสนอชื่อ ผมบอกว่าจะไปยืนหน้าห้อง เขียนชื่อบนกระดานดำ ครับมี 2-3 ถูกเสนอชื่อ มีคนถาม แล้ว “เอ็ง” ชื่ออะไร เขียนด้วย ครอบครัวผมเคยสอน วิธีการพัฒนาความคิด ถ้ามีโอกาส เขียนชื่อ คนแรก ครับเด็กในห้องต่างไม่รู้จักกันมาก่อน สุดท้ายเลือกผม ช่วงปีสอง ทุกคนเลือกผมเป็น “ประธาน” ครับที่ออกนอกเรื่องบ้าง คือพฤติกรรม การพัฒนายังใช้ได้เสมอ

ระหว่างเดินบนถนน ผ่านร้านแตกต่างมากมาย อย่างร้านตัดผมชายและหญิง ข้างๆมีร้านบริการตัดขนสุนัข ครับร้านตัดขนสุนัขมีคนมาใช้ตลอด ชีวิตคนยุคปัจจุบัน การเลี้ยงสุนัขเป็นเพื่อน ขยายวงกว้าง ทุกเช้านั่งอ่านหนังสือที่โต๊ะ หน้าบ้านสูงหลายเมตร มีกระจก เห็นทั้ง 4 ด้าน คนจูงหมาหยุด หมาทำธุระ “อึ” ครับพอเสร็จเจ้าของมา คลี่ถุงสีเขียว “ทึบ” กลับด้านถุงเอาถุงด้านในออก เอามือใส่ “กอบอึสุนัข” ครับอดขอบคุณรู้จักดูแลสังคม

ชีวิตคือการเรียนรู้ พัฒนาการดำเนินชีวิตเป็นแบบอย่าง เคยเห็นคนเดินเก็บกระดาษที่อยู่บนถนน คนอาจมักง่ายทิ้งบนถนน หรืออาจปลิวออกจากรถ ขอบคุณครับ ผมพูดกับตัวเอง

ชีวิตยุคนี้และอนาคต คนจะมีสุนัข เป็นสัตว์เลี้ยงขยายวงกว้าง หลายคนมีสุนัขเยอะ วันหนึ่งออกทีวี ผู้หญิงสูงอายุเก็บสุนัขจรจัด มาเลี้ยงหลายตัว ครับ การเลี้ยงสุนัขยุคนี้ ต้องเสียเงินดูแลทุกวัน สุนัขทานอาหารที่คนทำขาย สุนัขต้องได้รับการดูแลจากหมออย่างน้อยต้องฉีดยากันพิษสุนัขบ้า เจ็บป่วยต้องพาไปปรึกษา ครับชีวิตสุนัขถึงจะดูและดีอย่างไร คงจะเหมือนคนจะดูแลอบรมบ่อย พฤติกรรมอาจเบี่ยงเป็นได้ คงประเภทเดียวกับสุนัข อาจกัดคน เห็นสุนัขด้วยกัน อาจกัดกัน ครับบาดแผลเกิดขึ้น ฝ่ายเจ้าของหมาที่เป็นฝ่ายสุนัขผิดต้องจ่ายเงิน ขึ้นศาลบ่อยมาก

เมื่อวานดูศาลประชาชน (People Court) ผมนิยมดูเกือบทุกวันเมืองแถวบ้านผม เมือง El Cerrito ศาลประชาชน มี 4:00 PM – 5:00 PM เป็นเรื่องปัญหาระหว่างคนกับระหว่างสัตว์ มีเรื่องของหมา หมาใหญ่กัดหมาเล็ก เพื่อนบ้านติดกัน มีรั้วกั้นที่รั่วผุมีรู หมาตัวใหญ่สามารถลอดหัวและปากที่รั้วไปอีกบ้านหนึ่ง ซึ่งมีหมาตัวเล็ก

คดีความหมาตัวเล็กฟ้องหมาตัวใหญ่มากัดหมาตัวเล็ก หมาตัวเล็กบอกว่า หมาตัวใหญ่ผิด เพราะลอดหัวกัดหมาตัวเล็ก แต่ศาลบอกว่าตัวเล็กน่าจะลอดไปในรั้วอีกบ้านหนึ่ง จึงถูกกัด

ครับผมชอบ “ศาลประชาชน” จะดูเกือบทุกวัน เป็นเรื่องคดีความ การตัดสินจากผู้พิพากษา เกิดจากการพิจารณาคดีที่เกิดขึ้น การฟังการฟ้องหรือโต้ตอบ เป็นเพียงพฤติกรรมการฟ้อง ถูกหรือผิดผู้พิพากษาเป็นผู้พิจารณาและตัดสิน ถ้าคดีความเกิดขึ้น อย่างรถชนกันจะถามเสมอ คนผิดมีประกันไหม เหมือนสุนัข ศาลก็ถามฝ่ายผิดมีประกันหรือเปล่า

ชีวิตของคน และมีสิ่งของต้องไปมาระหว่างสังคม อย่างมีรถมีสุนัขควรมีประกัน ชีวิตคน ความปลอดภัยเกี่ยวกับเจ็บป่วย คือ การประกัน “สุขภาพ” คือการรักษาที่โรงพยาบาล

ครับชีวิตของทุกคน ต้องอยู่รวมสังคม ความปลอดภัย มากด้านเกิดจากตัว สัตว์เลี้ยง พาหนะ “ทางที่ถูกต้อง ต้องมีประกัน”