ธรรมะสมสมัย

หลวงพ่อไสว ชมไกร



พลังงานเชิงบวก ประโยชน์ที่ควรใส่ใจต่อสังคม

ญาติโยมท่านสาธุชนทั้งหลาย พูดถึงเรื่องความตั้งในชอบนั้น นับว่าเป็นหนึ่งในแปดข้อที่มาในบทอริยมรรค ทางสายกลางแปดสายที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นคือข้อว่าสัมมาสมาธิ หมายถึงความตั้งใจมั่นชอบ ในโอกาสที่ความตั้งใจชอบจะเกิดขึ้นได้นั้น มักมีองค์ประกอบอื่น ๆ เป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้เกิดพลังเชิงบวก เป็นประโยชน์ที่ควรใส่ใจต่อครอบครัวต่อสังคมเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากได้ทำความเข้าใจในรายละเอียดดี ๆ แล้ว นับเป็นต้นเหตุให้เกิดสังคมอารยะอย่างทรงพลัง

สัปดาห์ที่ผ่านมาอาตมาดำริว่า อยากปูอิฐตัวหนอนลานด้านหน้าท้าวเวสสุวรรณ ซึ่งเป็นทางเข้าวัดทุ่งเศรษฐี คุณวสันต์ และคุณสุพจน์ สารีบุตร ก็ได้ปวารณาอาสาเข้ามาช่วย อย่างไม่เห็นแก่เหน็ดแก่เหนื่อย น่าชื่นชมน้ำใจไมตรีเป็นที่สุด เดิมทีก็ปูเสร็จไปหนแล้ว อาตมาดูว่าหญ้ามันขึ้นสอดแซมหนาตาเอามาก เลยปรับปรุงพื้นที่นั้นใหม่ โดยได้นำเอาอิฐเก่าที่ปูเสร็จเมื่อปีที่แล้ว นำไปปูไว้อีกสถานที่ใหม่ แล้วได้สั่งซื้ออิฐแบบก้อนเล็กมาปูใหม่ ดูแล้วเป็นระเบียบงามตา ด้วยความคิด ฝีมือ และแรงงาน ของคุณวสันต์กับคุณสุพจน์ได้อุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่ศาสนะสถาน อีกทั้งยังได้รับแรงใจแรงศรัทธาจากบรรดาสาธุชนสมาชิกกลุ่มน้อย ๆ ของวัดทุ่งเศรษฐี เป็นผู้ให้การสนับสนุนข้าวปลาอาหาร ขนม นม เนย พร้อมบริจาคปัจจัยค่าไม้ ค่าอิฐ ค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการบูรณปฏิสังขร ซึ่งประกอบไปด้วย คุณป้าพะเยาว์ ชอบชม, คุณมัค-คุณหมู, คุณแม่มาลี ยามาส, คุณจิมิน ชาง, คุณเจริญจิต งามวิไลดี, คุณอรไท อังสโวทัย, คุณวันเพ็ญ-คุณมนตรี ใจเสือ, คุณศศิญา เชียงกราว, คุณสุขสม, คุณณิชารีย์ เฉื่อยฉิว, คุณอิษฏา อดทน, คุณกุลยา โสภณวศุ, คุณสุพจน์ หีบโอสถ, คุณนิภาพร ขจรคำ, คุณเบน-คุณสุมาลี วิวัฒนพัฒนกูล, คุณแมว-คุณวัธ สถานีโทรทัศน์ I S T V อีกหลายท่านที่อาตมานึกชื่อไม่ออก ณ เวลา เขียนบทความอยู่ ด้วยความบริสุทธิ์ใจขออนุโมทนาศรัทธาทุกคนทุกท่านมา ณ โอกาสนี้ ขออำนวยพร

ดังนั้น พระสงฆ์ได้นำพาปฏิบัติ ลงมือทำงานเพื่อเกิดสิ่งนันทนาการในสถานแหล่งร่วมใจของสังคมชาวพุทธ ด้วยเล็งเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการที่ได้ประดิษฐานท้าวเวสสุวรรณไว้หน้าทางเข้าวัดนั้น คือ เป็นประดุจที่อุทยานแหล่งการศึกษาประวัติความเป็นมาขององค์เทพที่ชื่อว่า "กุเวโร หรือ เวสสุวรรณ" พร้อมกับข้อมูลที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับพระพุทธเจ้า และคติทางพระพุทธศาสนาโบราณ ที่สัมพันธ์หลักธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราอาจเคยเห็นได้ยินความเชื่อเรื่อง "ท้าวเวสสุวรรณ" ว่ามีอิทธิฤทธิ์ในการขับไล่ภูตผีปีศาจทั้งหลาย หรืออาจเคยเห็นคุณย่าคุณยายนำรูป "ท้าวเวสสุวรรณ" มาแขวนไว้เหนือเปลเด็กอ่อน แถมบ้างก็ว่า ท้าวเวสสุวรรณ เป็นเทพแห่งความร่ำรวย จนอดสงสัยไม่ได้ว่า จริง ๆ แล้ว "ท้าวเวสสุวรรณ" คือใคร วันนี้กระปุกจะพาเพื่อน ๆ ไปหาคำตอบกัน

ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัน) หรือในภาษาพราหมณ์เรียกว่า "ท้าวกุเวร" ถ้าใน พระพุทธ ศาสนาจะเรียก "ท้าวไพสพ" เป็นอธิบดีแห่งอสูร หรือเจ้าแห่งภูตผีปีศาจทั้งหลาย โดยท้าวเวสสุวรรณ เป็นหนึ่งในท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ผู้คุ้มครองดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ประทับทางทิศเหนือมีอสูร รากษส และภูตผีปีศาจเป็นบริวาร

ว่ากันว่าอาณาเขตที่ ท้าวเวสสุวรรณ ปกครองนั้นใหญ่มหาศาลมาก และ ท้าวเวสสุวรรณ ยังเป็นหัวหน้าของท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 อันประกอบไปด้วย "พระอินทร์" (ท้าวธตรฐ) ปกครองโลกด้านทิศตะวันออก , "พระยม" (ท้าววิรุฬหก) ปกครองโลกด้านทิศใต้ และ "พระวรุณ" (ท้าววิรูปักษ์) ปกครองโลกด้านทิศตะวันตก

และเพราะ ท้าวเวสสุวรรณ เป็นเจ้าแห่งอสูร คนโบราณจึงมักทำรูป ท้าวเวสสุวรรณ แขวนไว้เหนือเปลเด็กอ่อน เพราะเชื่อว่าจะช่วยป้องกันภูตผีปีศาจไม่ให้มารบกวนเด็กเล็กได้ และนิยมทำผ้ายันต์รูป ท้าวเวสสุวรรณ รวมทั้งจำหลักรูป ท้าวเวสสุวรรณ ไว้ที่มีดหมอของสัปเหร่อ เพื่อกำราบวิญญาณ และยังมีผู้พกพารูป ท้าวเวสสุวรรณ หรือทำเป็นเครื่องรางของขลัง ป้องกันภัยจากวิญญาณอีกด้วย

ทั้งนี้ ส่วนใหญ่แล้วเรามักเห็นภาพ ท้าวเวสสุวรรณ ในรูปลักษณ์ของยักษ์ ยืนถือกระบองยาว หรือไม้เท้าขนาดใหญ่อยู่ระหว่างขา เหมือนมีขาสามขา เนื่องจากท้าวกุเวรมีรูปร่างพิการ จึงเป็นเหตุให้พระพรหมตั้งชื่อให้ว่า "ท้าวกุเวร" แต่ในวรรณคดีหลายฉบับ

รวมทั้งตำราโบราณ ได้กล่าวตรงกันว่า อันที่จริงแล้ว ท้าวเวสสุวรรณ เป็นยักษ์ที่มีผิวกายและพัสตราภรณ์สีเหลืองทอง จิตใจดีงาม และอุทิศตนถวายพิทักษ์รักษาพุทธสถาน และพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้น หากใครที่เดินทางไปยังวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ที่จังหวัดพิษณุโลก ก็อาจจะได้พบรูปหล่อปิดทองด้านซ้ายของฐานองค์พระพุทธชินราช ทำเป็นรูป ท้าวเวสสุวรรณ เพื่อปกปักคุ้มครองพระพุทธศาสนา ไม่ให้หมู่มารมารังควาน รวมทั้งปกป้องคุ้มครองแก่ผู้นั่งสมาธิปฏิบัติพระกรรมฐาน

ดังนั้น เราอาจจะเคยเห็นว่า วัดวาอารามต่าง ๆ หรือด้านหน้าถ้ำ จะมีรูปปั้้นยักษ์ 1 หรือ 2 ตน ยืนถือกระบองค้ำพื้นเฝ้าหน้าประตูโบสถ์ หรือวิหารที่เก็บของมีค่า โบราณวัตถุของทางวัดอยู่ ซึ่งหากยักษ์ที่ยืนปกปักรักษาอยู่มีตนเดียว นั่นก็คือ ท้าวเวสสุวรรณ นั่นเอง แต่ถ้าหากมี 2 ตน ก็คือบริวารของ ท้าวเวสสุวรรณ ที่จะมาคอยปกปักรักษาบริเวณวัด และนอกจาก ท้าวเวสสุวรรณ จะมีหน้าที่ปกปักรักษาพระพุทธศาสนาแล้ว ท้าวเวสสุวรรณ ยังมีหน้าที่จดความดีของคนทางทิศเหนือไปจารึก และประกาศให้เทพยดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ได้รับรู้อีกด้วย


คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ

ในคัมภีร์โบราณ กล่าวไว้ว่าผู้ใดหวังความเจริญในลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจวาสนา ให้บูชารูปท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร ตามคาถาบูชาต่อไปนี้ คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร (บูชาประจำวัน) ตั้ง นะโม 3 จบ

"อิติปิโสภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ, มรณังสุขัง อะหังสุคะโต นะโมพุทธายะ, ท้าวเวสสุวรรณโณ จตุมหาราชิกา ยักขะพันตา ภัทภูริโต, เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโมพุทธายะ"

เอาหละ หากเราจะกล่าวตามเส้นทางธรรม ในข้อสัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่น จะเห็นอานิสงส์ที่เกิดขึ้นคือ หนึ่ง เกิดการที่จิตละออกจากความวุ่นวายบีบคั้นในบ้านเรือน หรือที่แวดล้อมเดิม ๆ โดยก้าวเข้าสู่ลานวัดลานธรรม ลานบุญ ทาน การกุศล สถานที่อุดมด้วยอุปสมะธรรม หมายถึง แหล่งที่ทรงพลังให้เกิดความสุขสงบ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ เนื่องจากจิตตั้งมั่น ความตั้งใจชอบเป็นบุญชื่อว่า สัมมาสมาธิ ความตั้งมั่น ทำให้เห็นความจริงของไตรลักษณ์ จิตได้สัมผัสอุเบกขา มีสติเป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์ จิตจะเริ่มเข้าใจความสุขที่แท้จริง ในระดับนี้ เมื่อได้สัมผัสอุเบกขามากขึ้น ๆ เป็นลำดับ ซึ่งเครื่องยืนยันของคำกล่าวนี้จะอยู่ที่ อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ

ทุกมุมของวัดทุ่งเศรษฐี ซึ่งเป็นวัดขนาดเล็ก ๆ ในท้องถิ่นชุมชนเล็ก ๆ เมืองเลควูด มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ในความก้าวหน้าโดยตลอดมานั้น เป็นการก้าวไปอย่างสงบ สำรวมระวังกาย วาจา ใจ ก้าวไปด้วยความเรียบง่าย เรียบร้อย ดีงาม อยู่กับสังคมเล็ก ๆ พร้อมลงมือปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา เจริญสมาธิภาวนา ให้เกิดบุญกุศล เกิดพลังเชิงบวก พร้อมที่จะบำเพ็ญตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม ขอเชิญท่านมาสัมผัสได้ด้วยตนเอง "โบราณว่า สิบบอกว่าไม่เท่าตาเห็น"

อย่าลืมกันล่ะ !...สงกรานต์ขอเชิญมารวมกันเป็นเจ้าภาพจัดซื้อผลไม้ - ดอกไม้ - ใบตอง ของเข้าพิธีทำบายศรีงานไหว้ครูกตัญญูบูชาธรรม บูชาพ่อแม่ครูอาจารย์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณศรี (818) 392-0880, ป้าพะเยาว์ (526) 716-8506, หลวงลุงพิสิษฐ์ (562) 716-0170, และหลวงพ่อไสว (562) 382-3767 สาธุ ๆ