ธรรมะสมสมัย

หลวงพ่อไสว ชมไกร



ปัญหาใหญ่ในอุปสรรคเล็กน้อย

ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฯ ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่พี่น้องของเราทุกคนทุกท่าน จะปีใหม่แล้วนะ ชีวิตมลคงเริ่มต้นด้วยศีลธรรม มงคลชีวิตเพียงจิตคิดชีวิตก็เป็นกุศลแล้ว เพราะคำว่ากุศลนั้นมีความหมายลุ่มลึก ฉลาดปราชญ์เปรื่อง ส่วนขึ้นชื่อว่าบุญนั้น มีอะไรก็ทำไปเพื่อให้ใจมันอบอุ่นมีพลัง และอย่าไปเลือกว่าบุญมากบุญน้อย อะไรทำได้ให้ทำ เพราะทำไป ๆ ก็มากเอง อย่างที่พระท่านว่า "ความดีไม่มีขาย อยากได้ให้ทำเอง ความพียรทำให้ชีวิตก้าวไปสู่ความเต็ม อย่าให้อุปสรรคเล็กน้อยกลายเป็นวิกฤตชีวิต วิกฤตชาติ"


เศษแก้วในรองเท้า

กล่าวกันว่า ชีวิตคือการเดินทาง การเดินทางต้องเริ่มจากจุดเริ่มต้น โดยก้าวไปที่ละก้าว เก้าใครก้าวมัน และก้าวคนละเก้า และถ้าท่านไม่ก้าวเป้าหมายหรือเส้นชัยที่ท่านใฝ่ฝัน นั้นคงไม่ใช่สมบัติของท่านแน่นอน ต่อให้ท่านมีแรงพลังสักปานใด อุปสรรคเล็ก ๆ สิ่งที่อาจทำให้ท่านหมดเรี่ยวแรงลงอย่างเกินความคาดหมาย อุปสรรคที่ว่านั้น หาใช่ภูผาป่าไม้ที่ตั้งตะหง่านอยู่เบื้องหน้า หรือหาใช่เสียงคัดค้านจากกลุ่มคนที่เป็นฝ่ายค้าน หากแต่เป็นที่เศษแก้วเล็ก ๆ เม็ดหนึ่งในรองเท้าของท่านต่างหากที่เป็นอุปสรรค และเป็นสิ่งรบกวนใจท่านตลอดเวลา แต่ท่านรู้ไหมสิ่งที่เป็นยิ่งกว่าเศษแก้วในรองเท้านั้น คือกิเลส ความเศร้าหมองหดหู่ สิ่งที่ท่านอคติต่อเส้นทาง ต่อวิธีการเดินทาง ต่อบุคคลที่เป็นผู้ร่วมคณะเดินทาง แม้กระทั่งท่านมีอคติต่อผลสัมฤทธิ์หรือจุดหมายเส้นชัยนั้น สิ่งนี้ต่างหากที่เป็นสิ่งที่กัดกร่อนจิตใจท่านให้ละวางความเพียรและขันติธรรม จนทำให้ท่านไม่บรรลุผล


สุขและทุกข์ / วิกฤตกับโอกาส

อุปสรรค ไม่ว่าคฤหัสถ์ หรือ พระสงฆ์โดยมากไม่สามารถผ่านมันไปได้ ดังนั้นผู้มีกุศลฉลาดลุ่มลึก มองเป็นเห็นธรรมอย่างฉลาดปราชญ์เปรื่อง แม้คำนี้จะเป็นความคิดของใครเขา แต่เป็นคำสอนอย่างลึกซึ้ง เพื่อเป็นอุทาหรณ์เทียบเคียงให้เห็นเป็นตัวอย่าง เช่น คุณแม่ของใครคนหนึ่งที่สอนลูกว่า :-

...ลูกเอ๋ย :::: หากลูกมีปัญหา มีความทุกข์ มีอุปสรรคใด ๆ ก็ตาม อย่ายอมแพ้ เราจะต้องหาวิธีผ่านมันไปให้ได้ ::::

...ลูกเอ้ย :::: มองไปบนท้องอันฟ้าไกลโพ้น นั่นลูกเห็นดาวนั่นไหม ::: เออนะ วันไหนที่ฟ้ามืดมิดเราเห็นดาวได้ชัดมาก จำนะลูก ::::

..:::วันใดที่ฟ้ามืดมิด ที่สุด:::..

..:::เราจะดาวได้ชัด ที่สุด:::..

..:::วันใดที่เรามีทุกข์ ที่สุด:::..

..:::เราจะเห็นได้ว่า ใครรักและเป็นห่วงเรามาก ที่สุด:::..


อุปกิเลส เครื่องเศร้าหมอง 16 ประการ

1. อภิชฌาวิสมโลภะ ละโมบไม่สม่ำเสมอ

2. โทสะ ร้ายกาจ

3. โกธะ โกรธ

4. อุปนาหะ ผูกโกรธไว้

5. มักขะ ลบหลู่คุณท่าน

6. ปลาสะ ตีเสมอ คือยกตัว

7. อิสสา ริษยา คือเห็นเขาได้ดี ทนอยู่ไม่ได้

8. มัจฉริยะ ตระหนี่

9. มายา มารยา คือเจ้าเล่ห์

10. สาเถยยะ โอ้อวด

11. ถัมภะ หัวดื้อ

12. สารัมภะ แข่งดี

13. มานะ ถือตัว

14. อติมานะ ดูหมิ่นท่าน

15. มทะ มัวเมา

16. ปมาทะ เลินเล่อ


ปัญญาเกิด ปัญหาต้องจบ

ฐานะทางสังคมบางครั้งกับบางคนบางท่านมันไม่ลงตัว เช่น ได้หน้าที่การงานดี มีตำแหน่งสูงส่ง มียศศักดิ์ มีบทบาททางสังคมเป็นที่เลื่องชื่อ หากแต่เวลาและฐานะทางครอบครัวมันหายไปสิ้น มีเวลาให้นาย ทานข้าวนอกบ้านกับนาย หรือกับผู้ร่วมการค้าการลงทุนก็ตาม ต้องไม่ให้เสียประโยชน์ตน และต้องไม่ให้เสียประโยชน์ท่าน การทำหน้าที่การงานใด ๆ ที่ต้องฟันฝ่าปัญหาอุปสรรค ต้องสำคัญใจไปให้ถึงเป้าหมายปลางทางให้ได้อย่างไม่ละความเพียร ภาษิตว่า "ทำงานด้วยความเพียร เรียนด้วยสมาธิ" คือ ความเพียรทำให้ไปถึงเส้นชัย ส่วนสมาธิมิใช่ตัวปัญญาก็จริง แต่เป็นฐานให้เกิดปัญญาและวิมุตติ นั่นคือความหลุดพ้นจากปัญหาด้วยปัญญา

การมีเรื่องใหญ่ให้ต้องตัดสินใจ ก็เหมือนกับคนที่กำลังไต่ขึ้นภูเขาสูงชัน อุปสรรคใหญ่ปัญหาใหญ่ บางครั้งผู้อยู่ในลู่เดินทางกลับรู้สึกว่า ภูเขาสูงตรงหน้า ยังไม่ยุ่งยากลำบากใจได้เท่ากับเศษแก้วเล็ก ๆ เพียงเม็ดเดียว ที่หลุดหลงเข้าไปซุกอยู่ในรองเท้า มันช่างเป็นสิ่งรบกวนใจเสียจริง ๆ เปรียบได้กับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่รบกวนจิตใจของท่าน ทำให้ท่านไขว้เขวไปจากเป้าหมาย แต่อย่าลืมว่า ชีวิตคนเรายังต้องเจอะเจอกับ "เศษแก้ว" อีกหลายครั้งนัก สิ่งที่ทำได้คงมีเพียงการรีบสลัดมันทิ้ง แล้วเดินต่อไป อย่าให้เรื่อง "รำคาญใจ" มาทำให้ท่านเสียเวลาขึ้นสู่ยอดเขาแห่งความสำเร็จของท่านเลย

ปีใหม่แล้ว ชีวิตมลคงเริ่มต้นด้วยศีลธรรม มงคลชีวิตเพียงจิตคิดชีวิตก็เป็นกุศลแล้ว ปีใหม่ใช้ชีวิตอย่างวิถีไทย บุญก็ได้ยลกุศลได้ครอง ปฏิบัติตามคัลลองไทยต้องให้อ่อนน้อมถ่อมตน รูปขอจำเริญพร

จงอ่อนน้อม ถ่อมตน ให้คนรัก
อย่าเห่อศักดิ์ ทะนงตัว จะมัวหมอง
ยิ่งถ่อมลง สูงระหง เป็นพงศ์ทอง
หากจองหอง ใฝ่สูง ถูกจูงลงฯ

มียศศักดิ์ สูงเยี่ยม จงเจียมจิต
อย่ามัวคิด ฟุ้งเฟ้อ ละเมอหลง
รู้ประมาณ ดีจริง เกียรติยิ่งยง
ยิ่งถ่อมลง ยิ่งเฟื่อง กระเดื่องนามฯ