ทำไมต้องทอดกฐิน หากย้อนกลับไปดูพุทธประวัติและพุทธบัญญัติต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้าจะพบว่า การถวายกฐิน นั้นเป็นการบริจาคทานที่่ถูกสืบทอดกันมายาวนานเป็นการถวายทานที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ในคัมภีร์พรัวินัยปิฏกชื่อว่ามหาสัคค์เรื่องกฐินขันธกะ. มีตำนานเล่าว่า ครั้งหนึ่งมีภิกษุจากเมืองปาฐา จำนวน 30 รูป เดินทางมาแรมไกล หวังว่าจะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ ณ พระเชตวัน เมืองสาวัตถีระหว่างทางขณะที่ถึงเมืองสาเกตุ (อีก 6 โยชน์จะถึงเมืองสาวัตถี) ก็ถึงกาลเข้าพรรษาจึงต้องอยู่จำพรรษา ณ เมืองสาเกตุ ไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ ในระหว่างจำพรรษาอยู่นั้นก็มีความกระวนกระวายในการอยากจะเข้าเฝ้า
ครั้นเมื่อออกพรรษา ก็รีบเดินทางไปยังเมืองสาวัตถีเพื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคทันทีทำให้โคลนตมเปรอะเปื้อนจีวรในระหว่างเดินทาง เมื่อภิกษุเหล่านั้นได้เข้าเฝ้า พระพุทธองค์ก็ได้ทรงปฏิสันถารด้วยภิกษุเหล่านั้น และทรงทราบถึงความลำบากของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น จึงทรงยกเป็นเหตุมีพระพุทธานุญาตให้ "กรานกฐิน" และโปรดให้เป็นสังฆกรรมสำหรับภิกษุทั้งหลายทั่วไป ในระยะเวลาภายหลังวันออกพรรษาแล้ว 1 เดือน (ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12). ผ้ากฐิน" คืออะไร? ผ้ากฐิน เป็นผ้าใหม่ก็ได้ ผ้ากลางเก่ากลางใหม่ก็ได้ ผ้าเก่าหรือผ้าบังสุกุลก็ได้ แต่ผ้าเหล่านี้จะต้องมีพอที่จะทำไตรจีวรผืนใดผืนใดผืนหนึ่ง (ผ้าไตรจีวร ของพระสงฆ์มี 3 ผืน คือสบง = ผ้านุ่ง, จีวร = ผ้าห่ม, และสังฆาฏิ = ผ้าซ้อนห่ม หรือผ้าพาด) ผ้านี้คือผ้าองค์กฐิน ส่วนสิ่งของอื่นๆ ไม่ใช่องค์กฐิน แต่เป็นบริวารกฐิน บริวารกฐินนี้จะมีมากหรือน้อยก็ได้ไม่มีกำหนด แล้วแต่ตามศรัทธาของผู้ถวายลักษณะของ "กฐิน" มีกี่ประเภท? อะไรบ้าง? สำหรับลักษณะของกฐินนั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ กฐินหลวง กฐินพระราชทาน และกฐินราษฎร์ (กฐินทั่วไป) โดยแต่ละประเภทมีลักษณะแตกต่างกันดังนี้
1. กฐินหลวง
เป็นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพุทธมามกะและเอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก พระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระราชินี พระราชโอรส พระราชธิดา เสด็จพระราชดำเนินทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์
รวมทั้งพระกฐินที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ ราชสกุลองคมนตรี หรือผู้ที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควรให้เสด็จฯ แทนพระองค์นำไปถวายยังพระอารามหลวงสำคัญ 16 พระอาราม ที่สงวนไว้ไม่ให้มีการขอพระราชทาน ได้แก่
กฐินพระราชทาน
เป็นพระกฐินที่มี ผ้าพระกฐิน บริขาร และบริวารกฐิน เป็นของหลวง แต่เปิดโอกาสให้ส่วนราชการ องค์กร หรือบุคคลที่สมควร ขอรับพระราชทานอัญเชิญไปถวายยังพระอารามหลวงต่างๆ นอกจากพระอารามหลวงสำคัญ 16 แห่งข้างต้น พระอารามดังกล่าวรัฐบาลโดยกรมการศาสนาเป็นผู้จัดหาผ้าพระกฐิน และบริวารพระกฐิน (ปัจจุบันมีจำนวน 265 พระอาราม มีรายชื่อตามบัญชีพระอารามหลวง)
ซึ่งส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ สมาคม บริษัทห้างร้าน และบุคคลทั่วไป จะต้องยื่นความจำนงขอพระราชทานผ่านไปยังกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม และเมื่อถึงกำหนดกฐินกาลก็ติดต่อขอรับ ผ้าพระกฐินและบริวารพระกฐินจาก กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา เพื่อนำไปทอดกฐิน ณ พระอารามที่ขอรับพระราชทานไว้
เมื่อทอดถวายเรียบร้อยแล้วผู้ขอรับพระราชทานจะต้องจัดทำบัญชีรายงานถวายพระราชกุศลในการถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ส่งไปยัง กรมการศาสนา เพื่อจะได้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐิน ส่งไปยัง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อแจ้งให้สำนักราชเลขาธิการนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท เพื่อถวายพระราชกุศลในการที่หน่วยงาน องค์กร หรือบุคคลทั่วไปอัญเชิญผ้าพระกฐินไปถวาย ณ อารามนั้น
กฐินราษฎร์ (กฐินทั่วไป)
เป็นการถวายผ้ากฐินที่พุทธศาสนิกชนทั่วไป มีความประสงค์จะนำไปถวายแด่พระสงฆ์ที่จำพรรษาถ้วนไตรมาส ณ วัดใดวัดหนึ่งที่เป็นวัดราษฎร์ (ไม่ใช่พระอารามหลวง) ซึ่งผู้ที่มีความประสงค์จะทำบุญทอดกฐิน ณ วัดใดวัดหนึ่ง (แต่ถ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐิน แด่พระสงฆ์ที่จำพรรษาถ้วนไตรมาส ในวัดราษฎร์ จะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “พระกฐินต้น”) เป็นความรู้อีกทางหนึ่งก่อนที่จะลืมกัน