ข่าว



วิเคราะห์ระเบิด"ราชประสงค์"ด้วยหลักวิชา"การก่อการร้ายสมัยใหม่" ทำไม กทม.ตกเป็นเป้า?

เหตุระเบิดรุนแรงที่เกิดขึ้นบริเวณแยกราชประสงค์ เป็นที่ตั้งศูนย์กลางเศรษฐกิจในใจกลางกรุงเทพฯ ทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 20 คน บาดเจ็บนับร้อย สร้างกระเเสถกเถียงในสังคมอย่างหลากหลาย แม้ข้อมูลหรือความจริงบางอย่างจะยังไม่ถูกทำให้ปรากฏในขณะนี้

กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช เสนอความเห็นถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่าน่าสนใจและมีประเด็นที่ก่อให้เกิดการถกเถียงทางวิชาการอย่างสร้างสรรค์ จึงขออนุญาตนำเสนอ โดยกฤดิกรตั้งคำถามต่อตัวเหตุการณ์เป็น 4 ประเด็น พร้อมพยายามตอบคำถามว่า ทำไมผู้ก่อเหตุจึงเลือกกรุงเทพฯเป็นเป้าหมาย รวมถึงการอธิบาย ผู้ที่เชื่อว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเหตุผลทางการเมือง ดังนี้

1. ลักษณะตำแหน่งทำเลการวางระเบิดมีนัยยะสำคัญ สองประการ

- ใกล้สถานีตำรวจ ซึ่งน่าจะบ่งบอกสัญลักษณ์บางอย่าง เพราะต้องเข้าใจก่อนว่า terrorist movement (ขบวนการก่อการร้าย-แอดมิน) นั้นเป็น political movement (การเคลื่อนไหวทางการเมือง) ประเภทหนึ่ง ที่ aggressive (มีลักษณะรุนแรงแข็งกร้าว)มากเป็นพิเศษ และในระดับหนึ่ง จะแฝงด้วย political symbol (สัญลักษณ์ทางการเมือง)บางประการอยู่เสมอ ฉะนั้นจะละเลยเรื่องนี้ไม่ได้

- ตำแหน่งที่เลือกวางระเบิด มีลักษณะของการก่อการร้ายแบบ post-9/11 อย่างชัดเจน คือ หวังให้เกิดเหยื่อจำนวนมาก (โดยเฉพาะลูกที่อยู่ใกล้ไลน์รถไฟฟ้า) ไม่ใช่เพียงการสร้างสัญลักษณ์ทางการเมืองแบบเดียว (pre-9/11 terrorism จะไม่สนเรื่องปริมาณ "เหยื่อ" แต่เน้นให้คนหันมาฟัง "เสียง" ของพวกเขาบ้าง) ซึ่งโดยส่วนตัวผมคิดว่าเป็นรูปแบบที่ก่อนหน้านี้ไม่ได้เกิดในไทยแบบเต็มตัวนัก (แบบที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ยังไม่ถึงกับจะเรียกได้ว่าเป็นเคสแบบ post-9/11)

แต่ตำแหน่งการวางระเบิดครั้งนี้นั้น น่ากลัวว่าจะเป็นหมุดหมายใหม่ของรูปแบบการก่อการร้ายในไทย

2. การก่อเหตุแบบนี้ใน กทม. นอกจากจะเป็นการ spread fear (แพร่กระจายความหวาดกลัว-แอดมิน) ในวงกว้างที่สุดแล้ว ยังเป็นการประกาศไปด้วยว่า แม้แต่ในปริมณฑลที่ถูกถือเสมือนว่าปลอดภัยที่สุด ก็ยังไม่ปลอดภัยอยู่ดี สำหรับผม นี่คือการเกิดเหตุแบบการก่อการร้ายขึ้นจริงๆ น่าจะครั้งแรกในรอบทศวรรษที่ผ่านมา เพราะเงื่อนไขสำคัญของการก่อการร้ายคือ "การเดาไม่ได้ว่าจะเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไหร่" ซึ่งที่ผ่านมา เราพอจะจำกัดบริเวณที่เกิดความรุนแรงได้ เฉพาะในบริเวณภาคใต้ แต่การอุบัติขึ้นของการเกิดเหตุครั้งนี้ เป็นการบอกว่า

"ไอ้ที่เคยคิดว่าจะอยู่เฉพาะจุดนั้นน่ะ มันไม่ใช่อีกแล้ว"

3. อย่างไรก็ดี ผมอยากเตือนทุกคน ในฐานะคนที่ศึกษาด้านนี้มา ว่า การ spread fear คือ เป้าหมายหลักของคนกลุ่มนี้อยู่แล้ว ฉะนั้นเราต้องพยายาม "ดิ้นตามเกม" ให้น้อยที่สุด (ว่ากันในเชิงสถิติ act of terrorism (การปฏิบัติการก่อการร้าย-แอดมิน) ไม่ควรจะเป็น cause of death (เหตุแห่งความตาย) ที่ทำให้กลัวได้ มีอย่างอื่นให้กลัวกว่ามันอีกเยอะครับ)

4. การต่อต้านการก่อการร้าย ด้วย "กำลัง, ความรุนแรง หรือการก่อการร้ายเอง" ไม่เคยนำมาซึ่งบทสรุปที่ดีเลย นำมาซึ่งความฉิบหายในวงกว้างกว่าเดิมเสมอ เพราะฉะนั้น "การพยายามเข้าใจถึงเหตุผลเบื้องหลังการกระทำของอีกฝ่าย ("แต่ไม่ใช่ยอมรับการกระทำนั้น") และหาช่องทางออกด้วยการไม่ใช้กำลัง และ "ไม่เหยียด" พวกเขาไปก่อนแต่แรก (ว่าเป็นพวกบ้า, ไร้เหตุผล, คลั่ง, ฯลฯ) นำมาซึ่งทางออกที่ดีกว่าเสมอ

(กรุณาดูกรณีสวีเดน)

คำถามคือ "ทำไม กทม. ถึงตกเป็นเป้าหมาย"

ผมขออธิบายแบบนี้นะครับ คือ เหตุผลที่เราไม่สามารถตอบคำถามนี้แบบลงรายละเอียดได้ เพราะ "เรายังไม่รู้ครับว่ากลุ่มใดคือผู้ก่อเหตุ" จะต้องไม่ฟันธงใดๆ จนกว่าจะสืบสวนรู้ความจริง ถึงพอจะบอกได้บ้างว่า "ทำไมต้อง กทม."

แต่เราพอจะตอบได้ในระดับภาพรวมในวงกว้างๆ ได้

คือ เราต้องเข้าใจว่าโดยภาพรวมแล้ว การก่อการร้าย มีลักษณะการวางตัวตนอยู่บนฐานของ "ความเชื่อยุคเก่า/กลาง" (Ancient/Medieval Ideology) ซึ่งในระดับหนึ่ง (ถึงที่สุด) ไม่ได้มีความเชื่อบนฐานของ Virtue of Life (คุณงามความดีของชีวิต-แอดมิน)แต่เชื่อในวิถีทางแบบ Martyrdom (ความทุกข์ทรมาณ-แอดมิน)(เรียกได้ว่าเป็น Political Martyrdom เลย) และเอาจริงๆ บ่อยครั้งปฏิเสธ "รัฐในฐานะพระเจ้าองค์ใหม่" ด้วย (State as the new God) เพราะฉะนั้นสิ่งหนึ่งที่พวกเขามีร่วมกันอยู่คือ การ "ปฏิเสธ Modern Ideology" (ไม่ได้แปลว่าจะปฏิเสธ modern tech นะครับ)

ด้วยเหตุนี้ ในระยะที่ผ่านมา (โดยเฉพาะหลัง 9/11, รวมถึง 9/11 เองด้วย) ภาพรวมของการก่อการร้ายในโลกจึงมีลักษณะของการต่อสู้ของ old ideology vs modern ideology อยู่เสมอ เราจะเห็นได้จากการสละชีพต่างๆ ของการก่อการร้าย (car bomb, hijack, หรือแม้แต่เหตุการณ์แบบในภาคใต้ของเรา ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าวางอยู่บนฐานการต่อสู้สละชีพแบบหนึ่ง) นั่นหมายความว่า ในสำนึกคิดแบบเดิมนั้น life ไม่ใช่ the most virtue entity (หัวใจหลักแห่งศีลธรรมที่สำคัญที่สุด -แอดมิน) แต่มีบางสิ่งที่ beyond life และมีคุณค่าให้สละให้ได้ ฉะนั้น พวกเขาจึงพร้อมตาย และพร้อมทำให้คนอื่นตายได้ (เพราะไม่ใช่ the most virtue entity อยู่แล้ว ก็ sacrifice for the sake of the most virtue one หรือการพลีชีพ (เสียสละ) เพื่อหัวใจหลักแห่งศีลธรรมที่สำคัญที่สุด ไป)

ฉะนั้น การเข้ามาท้าทาย ณ ตำแหน่ง "ศูนย์กลางที่สุด" เป็นตัวแทนที่สุดของความทันสมัย และ modern state ของ state นั้นๆ จึงเป็น motivation สำคัญ ให้เกิด "การเลือก" Metropolis (มหานคร-เมืองใหญ่) เป็นเป้าหมาย

คำถามว่า ทำไมต้อง "กทม." จึงตอบแบบภาพกว้างๆ ได้แบบเดียวกับการตอบคำถามว่า "ทำไมต้องเป็นตึกใหญ่กลางแมนฮัตตั้น" นั่นก็เพราะ กทม. คือ ตัวแทนของ modern entity (อัตลักษณ์ของความเป็นสมัยใหม่-แอดมิน)ของไทย และ modern God (แบบที่ แมนฮัตตั้น เป็นศูนย์กลางและตัวแทน "ของโลก")

สุดท้าย ... ผมอยากพูดถึงเรื่องการฟันธงของท่านโฆษกรัฐบาลหน่อยเท่านั้นแหละครับ

คือ อย่างที่ผมคิดว่าทุกท่านคงทราบกันดี ว่าการ "ฟันธง" ครั้งนี้ เกิดขึ้นเร็วมาก ไม่มีเวลาสืบสวนหาความจริง หาหลักฐานอะไรทันการณ์แน่ๆ แต่ทำไมออกมา "ฟันธงคดี" เร็วยิ่งกว่าอเมริกาโบ้ยอัลเคดะฮ์อีก?

อย่างที่ผมเคยเขียนว่า ความเป็นไปได้หลักๆ น่าจะมาจาก "3 ส่วน" (เอาแบบ possibility น้อยแค่ไหนก็ช่าง มาวางๆ) และอาจจะมีความเป็นไปได้อื่นๆ อีกที่ผมนึกไม่ถึง แต่แน่ๆ หลักๆ มีอย่างน้อยสามกลุ่ม คือ เสื้อแดง, ทหารทำเอง, หรือภาคใต้

ผมคิดว่า "ถ้าคิดเร็วๆ" ไม่ว่าใครก็จะคิดได้ว่า possibility รวมๆ ประมาณนี้ ฉะนั้น มันก็ by default แหละครับที่ทหารจะต้องรีบฟันธงว่าเป็นการเมือง เพราะ

1. ไม่มีทางพูดอยู่แล้วว่าตัวเองทำ (ซึ่งผมก็ไม่คิดว่าเป็นเคสนี้อ่ะนะ)

2. ไม่มีทางพูดหรอกว่ากลุ่มภาคใต้ทำ (ต่อให้สมมติกลุ่มนี้ทำจริงๆ) เพราะจะแปลว่าตัวเองบริหารจัดการคุมความสงบภาคใต้ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง

ฉะนั้นมันก็เหลือตัวเลือกเดียวคือ"โบ้ยการเมือง"เพราะนี่คือการ"กอบโกย" ผลประโยชน์จากสถานการณ์ได้ดีที่สุด ก็แค่นั้น เพื่อ prolong เหตุผลในการอยู่ของตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งโพลล์ปลอม 38 สำนักเรย

ต่อให้ไม่ใช่ฝ่ายที่ก่อเหตุเอง (และผมก็เชื่อเช่นนั้น แต่ไม่ขอตัดความเป็นไปได้) ต่อให้ไม่รู้ว่าใคร แต่ก็ต้องรีบออกมาฟันธงอยู่ดี เพื่อกอบโกยจากสถานการณ์ย่ำแย่นี้ให้ได้มากที่สุด ก็เท่านั้นครับ Politics is the victim of the time. Even they (ทหาร) didn′t do it, but they wish for it. (การเมืองต้องกลายเป็นเหยื่อของยุคเวลานี้ แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้ทำ, แต่พวกเขาก็ต้องการให้มันเกิดขึ้น-แอดมิน)

ผมลืมบอกอะไรนิดนึง โดยมากแล้ว ในหมู่กลุ่มก่อการร้าย "การก่อเหตุ" นั้น ทำเพื่อ either (1) ต้องการ voice อะไรบางอย่าง or (2) ต้องการ "เบี่ยงเบน" ความสนใจ (misdirection) จากบางสิ่งที่กำลังจะทำนะครับ

ผมเองก็สุดจะทราบได้ว่าแบบไหน

ส่วนกรณีปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เรื่องชาวอุยกูร์นั้น เห็นว่า ไม่ค่อยจะคิดว่าเป็นประเด็นนี้นัก เพราะโดยธรรมชาติของ international terrorist network แล้ว ไทยนี่เป็นศูนย์กลางสำคัญ ในการ "เคลื่อนย้ายถิ่น" เลยนะ

โดยปกติพวกนี้จะไม่ค่อยทำลายศูนย์กลางในการอพยพตัวเองนัก

แต่ก็นั่นแหละ ก็มีโอกาสเป็นได้

หมายเหตุ : กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช จบการศึกษา ปริญญาตรีภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐศาสตร์ จุฬาฯ และ MSc Econ in Terrorism and International Relations University of Wales, Aberystwyth ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโท หัวข้อ The Delegitimation of (Non-State) Vilolence: Constructing Terror in Medernity"