สุขภาพและการบำบัด
สดศรี สุริยะฉาย
ท้องผูก-อะไรผูกไว้

คนที่ติดอาการท้องผูก ก็คงเพราะติดนิสัยกินตามที่เคยปาก อยากที่เคยกิน เมื่อเกิดปัญหาท้องผูก ร่างกายอาจสร้างปัญหาถึงกับคิดถึงแพทย์ที่โรงพยาบาล เรียกฉุกเฉินถึง 2 หน ผู้เขียนเป็นล่ามให้ถึงรู้ว่าร่างกายของเธอสร้างปัญหาหลายอย่างจากภาวะท้องผูก เธอบอกว่า ความดันสูง และไม่สบายมาก จนคิดถึงแพทย์และต้องการความช่วยเหลือฉุกเฉิน ความจริงง่ายๆ ก็คือ สร้างนิสัยการกิน การอยู่ การบริโภคให้สิ่งที่อำนวยร่างกายทำงานได้ตามปกติวิสัย ร่างกายก็จะทำงานไปตามตารางเวลาของเขาเอง สังเกตจากผู้เขียนท้องร้องจ็อกๆ ตรงเวลาทุกครั้ง และเมื่อตื่นนอนตอนเช้าก็รีบวิ่งแทบไม่ทันเพื่อขับถ่าย ปัญหาการขับถ่ายคงสำคัญต่อสุขภาพ เพราะเมื่อมีพยาบาลมาเยี่ยมผู้เขียนถึงที่บ้าน คำถามแรกที่เขาถามก็คือเรื่องการขับถ่ายกี่โมงผู้เขียนน่ะหรือ ตื่นตอนเช้าก็รีบวิ่งแทบไม่ทันแล้ว ปัญหาสุขภาพนี้คงสำคัญมาก

หนังสือของหมอเขียว นักสาธารณสุขไทยที่รู้จักกันดี ได้รับรางวัลเสมอ ชื่อจริง ใจเพชร กล้าจน กล่าวถึงปัญหาท้องผูกว่าอาจส่งผลมาจากความสมดุล หรือมีภาวะร้อนเกินในร่างกาย มาจาก น้ำไม่สะอาด อาหารการกินมีสารเคมีเจือปน กระบวนการปรุงอาหารปนเปื้อนสารพิษหรือปรุงแต่งด้วยสารที่ให้โทษแก่สุขภาพ รสจัดจ้าน ใช้เครื่องไฟฟ้าอิเล็กโทรนิกมาก ส่งผลให้ร่างกายไม่สมดุลแบบร้อนเกิน เช่น ตาแดง ตามัว มีขี้ตาข้นเหนียว หรือไม่ค่อยมีขี้ตา มีสิวฝ้า มีตุ่ม แผลในช่องปาก เหงือกอักเสบ ปากคอแห้ง ริมฝีปากแห้งแตกเป็นขุย นอนกรน ผมหงอกก่อนวัย รูขุมขนขยายโดยเฉพาะที่หน้าอก คอ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ไข้ขึ้น ปวดหัว ตัวร้อน ครั่นเนื้อครั่นตัว มีเส้นเลือดขอดตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เส้นเลือดฝอยแตกใต้ผิวหนัง มีรอยเขียวช้ำ ปวดบวมแดงร้อนตามร่างกาย หรือตามข้อ กล้ามเนื้อเกร็งค้าง กดเจ็บ เป็นตะคริวบ่อยๆ ผิวหนังผิดปกติคล้ายรอยไหม้ เกิดฝีหนอง น้ำเหลืองเสีย ตกกระสีน้ำตาลตามร่างกาย ท้องผูก อุจจาระแข็ง หรือเป็นก้อนเล็กๆ คล้ายขี้แพะ บางครั้งมีท้องเสียแทรก ปัสสาวะปริมาณน้อย สีเข้ม ปัสสาวะบ่อย แสบขัด ถ้าเป็นมากๆ จะมีสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ หรือมีเลือดปน ลุกปัสสาวะตอนดึก คนที่ร่างกายปกติสมดุลจะไม่ตื่นปัสสาวะกลางดึก และมีอาการร้อนท้อง แสบท้อง ปวดท้อง ท้องอืดร่วมด้วย นอกจากนี้ มีผื่นที่ผิวหนัง เป็นปื้นแดงคัน มีตุ่มใสตันเป็นเริม งูสวัด หายใจร้อน เสมหะเหนียวข้น ขาวขุ่น สีเหลืองหรือสีเขียว บางทีเสมหะพันคอ เวลาเดินทางมักอ่อนเพลียและหลับขณะเดินทาง เลือดกำเดาออก มักง่วงนอนหลังกินข้าวอิ่มใหม่ๆ ยกแขนขึ้นไม่สุด ไหล่ติด เล็บมือเล็บเท้าขวางสั้น ผุ ฉีกง่าย มีสีน้ำตาลหรือดำคล้ำ อักเสบบวมแดงที่โคนเล็บ มีอาการหน้ามืด เป็นลม วิงเวียน บ้านหมุน คลื่นไส้ อาเจียน มักเกิดอาการเมื่ออยู่ในที่อับ หรืออากาศร้อน หรือเปลี่ยนอิริยาบถเร็วเกิน หรือทำงานเกินกำลัง เจ็บเหมือนมีเข็มแทงหรือไฟฟ้าช็อต หรือร้อนเหมือนไฟเผา ตามร่างกาย อ่อนล้า อ่อนเพลีย แม้นอนพักก็ไม่หาย รู้สึกร้อนแต่เหงื่อไม่ออก เจ็บที่ปลายลิ้น แสดงว่าหัวใจร้อนมาก ถ้าเป็นมากๆ จะเจ็บแปลบที่หน้าอก และอาจร้าวไปที่แขน เจ็บคอ เสียงแหบ คอแห้ง หิวมาก หิวบ่อย หูอื้อ ตาลาย ลมออกหู หูตึง ส้นเท้าแตก ส้นเท้าอักเสบ เจ็บส้นเท้า รองช้ำ ออกร้อน บางครั้งเหมือนไฟช็อต เกร็ง ชัก

โรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน ได้แก่ โรคหัวใจ เป็นหวัดร้อน ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ กล่องเสียงอักเสบ ตับอักเสบ กระเพาะอาหารลำไส้อักเสบ ไทรอยด์เป็นพิษ ริดสีดวงทวาร มดลูกโต ตกขาว ตกเลือด ปวดมดลูก หอบหืด ไตอักเสบ ไตวาย นิ่วในไต นิ้วกระเพาะปัสสาวะ นิ้วถุงน้ำดี กระเพาะ ปัสสาวะอักเสบ ไส้เลื่อน ต่อมลูกหมากโต โรคเก๊าส์ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เนื้องอก มะเร็ง พิษของแมลงกัดต่อย

รายการข้างต้นนี้ แสดงว่า หมอเขียว รักษาคนมามาก และประสบการณ์จากคนไข้รวบรวมเป็นตำรา สำหรับสอนแพทย์แผนไทยได้อย่างดี ไม่เคยมีนักสาธารณสุขท่านใดที่สามารถให้รายละเอียดของโรคเกิดจากปัจจัยดังกล่าวไว้ตอนต้นได้ละเอียดขนาดหมอเขียว

วิธีบำบัดตามหนังสือของหมอเขียว ใช้ใบย่านางในการเพิ่มคอลโรฟิลด์ คุ้มครองเซลล์ ฟื้นฟูเซลล์ ปรับสมดุล แบบร้อนเกิน คือ สำหรับ เด็กใช้ใบย่านาง 1-5 ใบ โขลกให้ละเอียดแล้วเติมน้ำ หรือปั่นในเครื่องปั่น (แต่การปั่นด้วยเครื่องปั่นไฟฟ้าจะทำให้ประสิทธิภาพลดลงบ้าง เนื่องจากความร้อนจะไปทำลายความเย็นของย่านาง) แล้วกรองผ่านกระชอนเอาแต่น้ำ ดื่มน้ำครั้งละ ครึ่งถึงหนึ่งแก้ว วันละ 2-3 เวลา ก่อนอาหารหรือตอนท้องว่าง หรือผสมเจือจางดื่มแทนน้ำเปล่า ในอุณหภูมิห้องปกติ ควรดื่มภายใน 4 ชั่วโมง หลังจากทำน้ำย่านางเพราะถ้าเกิน 4 ชั่วโมง มักจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไม่เหมาะที่จะดื่ม จะทำให้เกิดภาวะร้อนเกิน แต่ถ้าแช่ในน้ำแข็งหรือตู้เย็น ควรใช้ภายใน 3-7 วัน โดยให้สังเกตกลิ่นเหม็นเปรี้ยวเป็นหลัก การทำน้ำย่านางอาจผสมน้ำมะพร้าว อย่างผู้เขียนดื่มน้ำมะพร้าว ในกล่องกระดาษซื้อจากคอสโคเป็นประจำ ได้คุณค่าสูงกว่าน้ำกลั่น

ผู้ใหญ่ที่รูปร่างผอม บาง เล็ก ทำงานไม่ทน ใช้ใบย่านาง 5-7 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว

ผู้ใหญ่ที่รูปร่างสมส่วนถึงตัวโต ใช้ใบย่านาง 10-20 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว โดยใช้ใบย่านางสดโขลกให้ละเอียดแล้วเติมน้ำ หรือขยี้ใบย่านางกับน้ำ หรือ ปั่นใบเครื่องปั่นไฟฟ้าซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพลดลงบ้าง เนื่องจากความร้อนจะไปทำลายความเย็นของย่านาง แล้วกรองผ่านกระชอนเอาแต่น้ำ ดื่มครั้งละ ครึ่งถึง 1 แก้ว วันละ 2-3 เวลา ก่อนอาหารหรือตอนท้องว่าง หรือผสมเจือจางแทนน้ำเปล่า ในอุณหภูมิห้องปกติ ควรดื่มภายใน 4 ชั่วโมงหลังจากทำน้ำย่านาง เพราะถ้าเกิน 4 ชั่วโมง มักจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไม่เหมาะที่จะดื่ม จะทำให้เกิดภาวะร้อนเกิน แต่ถ้าแช่ในน้ำแข็งหรือตู้เย็น ควรใช้ภายใน 3-7 วัน โดยสังเกตที่กลิ่นเหม็นเปรี้ยว

บางคนเป็นโรคหรือมีอาการหนักมาก บางครั้งย่านางเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้ทุเลาได้ ให้ใช้พืชฤทธิ์เย็นอื่นๆ มาช่วยเสริม โดยนำมาขยี้ โขลก หรือ ปั่น รวมกับย่านาง พืชฤทธิ์เย็นที่นำมาเสริมฤทธิ์ย่านาง ที่มีประสิทธิภาพดี ได้แก่ ใบเตย 1-3 ใบ ผักบุ้ง 5-10 ต้น บัวบก 1 กำมือ ใบตำลึงแก่ 1 กำมือ นำมาเสริมเท่าที่จะหาได้ ที่หาไม่ได้ก็ไม่ต้องใช้ ถ้าพืชชนิดใดไม่ถูกกับผู้ดื่มก็ไม่ต้องเอามาผสม อาการที่ไม่ถูกกับร่างกาย คือ จะระคายคอ หรือมีอาการไม่สบายบางอย่าง บางทีก็ไม่มีอาการผิดปกติ ถ้ามีอาการผิดปกติก็ให้งดใช้พืชนั้น

บางคนไม่ชินกับการรับประทานสด ก็สามารถผ่านไฟให้อุ่นหรือเดือดไม่เกิน 5 นาทีได้ โดยตรวจสอบร่างกายของตนเองว่า อย่างไหนที่ทำให้สดชื่น สบาย หรืออาการเจ็บป่วยทุเลา ก็ใช้วิธีนั้น

คนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารหรือลำไส้อักเสบ ให้ดื่มน้ำย่านางหรือสมุนไพรฤทธิ์เย็นกับกล้วยดิบและขมิ้น โดยใช้กล้วยดิบทั้งเปลือก 1 ลูก แบ่งเป็น 3 ส่วนเท่าๆ กัน ใช้ขมิ้นชนิดใดก็ได้ ยาวเท่านิ้วก้อยของผู้ป่วย แบ่งเป็น 3 ส่วนเท่าๆ กัน นำกล้วยดิบและขมิ้นอย่างละ 1 ชิ้น ต่อครั้ง โขลกให้ละเอียด หรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เคี้ยวให้ละเอียดแล้วกลืน พร้อมกับดื่มน้ำย่านาง หรือ สมุนไพรรวมฤทธิ์เย็น วันละ 3 เวลา ก่อนอาหาร หรือหลังอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ถ้ามีอาการร้อนท้องร่วมด้วยให้งดขมิ้น สำหรับกล้วยดิบ หรือขมิ้น อาจจะใช้เป็นลูกกลอนหรือแคปซูลก็ได้ โดยใช้กล้วยดิบครั้งละ 3-5 เม็ด 3 เวลา ก่อนอาหาร ส่วนขมิ้น ใช้ครั้งละ 1-3 เม็ด 3 เวลา ก่อนอาหาร

หมอเขียวได้รับความนิยมยกย่องเป็นอย่างดีสมัยที่ท่านทำการบำบัดอาการคนไข้ไทย สมัยนี้ ตำราดังกล่าวก็ยังทันสมัย พืชผลไม้ก็หาง่าย ลองใช้ตำราพื้นบ้านบำบัดอาการท้องผูก ว่าจะแก้ได้ไหม