สุขภาพและการบำบัด
สดศรี สุริยฉาย
อาการประสาทไม่สมดุลย์ เอ.ดี.ดี.

เรานับถือจิตแพทย์ (Psychologist) ว่าสามารถแก้ไขอาการไม่ปกติทางจิตด้วยจิตวิทยา แต่เราไม่ค่อยรู้ว่านักประสาทวิทยา (Psychiatrist) จะทำหน้าที่อะไรทางไหนบ้าง ดีไม่ดีอาจเรียกหมอพวกนี้ว่า shrink เสียด้วยซ้ำ เดี๋ยวนี้นักประสาทวิทยามีบทบาทต่อชีวิตในสังคมและส่วนตัวของหลายคนมากทีเดียว สามารถเรียกความสนใจมาสู่วิทยาการด้านนี้ด้วยการบัญญัติคำว่า A.D.D. (Attention Deficiency Disorder) แปลตรงตัวว่า อาการความตั้งใจบกพร่อง แท้ที่จริง ลักษณะของอาการ เอ.ดี.ดี. มีถึง 7 อย่าง เรียกว่า เอ.ดี.ดี. อาจจะเป็นลักษณะที่ทุกคนเป็นอยู่ ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง ของความไม่สมดุลย์ทางประสาทแห่งความนึกคิด ที่ใช้คำว่า “ประสาท” มิได้หมายความว่า “บ้า” อย่างที่คนไทยใช้ด่ากัน แต่เป็นความไม่สมดุลย์ทางความคิด จำเป็นต้องได้รับการบำบัด มิฉะนั้นจะส่งผลเสียในระยะสั้น อาจก่อให้เกิดการหุนหันพลันแล่นยกปืนมายิงคนอื่นเป็นระนาว อย่างที่ประธานาธิบดีโอบาม่าเรียกว่าเกือบทุกอาทิตย์ในอเมริกา เพราะมีหลายรัฐ ผลเสียในระยะยาว คือการเรียนด้อย การสังคมส่วนตัวและส่วนรวมบกพร่อง ชีวิตไม่ประสบความสำเร็จ ดำรงชีวิตครอบครัวไม่มีความสุข เป็นต้น เมื่อบำบัดแล้ว เรียนดีขึ้นด้วย

ระบบประสาทมีศูนย์กลางที่สมอง ส่งต่อไปตามกระดูกสันหลัง แยกออกไปสู่เซลล์ประสาทที่ปลายสุด ประสาทจึงมีอยู่ทุกหนแห่งในร่างกายที่สัมผัสได้ สมองมีสองซีก ส่วนซ้ายควบคุมร่างกายส่วนขวา ส่วนขวาควบคุมการทำงานของร่างกายส่วนซ้าย และมีส่วนเล็กด้านล่างสร้างความสมดุลย์ ทำให้การทำงาน ความเคลื่อนไหว ความคิด สมดุลย์ อาการชนิดหนึ่งของ เอ.ดี.ดี. คือสมองโดยรอบผิดปกติ ทำให้ควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ โดยทั่วไปสมองส่วนบนควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ส่วนหน้าความคุมความคิด ด้านหน้าส่วนล่าง ควบคุมการพูด สมองส่วนหลังควบคุมการหลับ ส่วนข้างความคุมการได้ยิน มีต่อมสำคัญใต้สมอง ส่วนหน้าคือต่อมพิจุอิทารีผลิตฮอร์โมนนายใหญ่ (HGH Master Hormone) เข้าเส้นโลหิต ไปสั่งงานให้ต่อมไร้ท่ออื่นๆ อีกหกแห่ง ผลิตฮอร์โมนสำคัญอีกหกชนิด ได้แก่ ต่อมไทรอยด์ ตรงลูกกระเดือกทำหน้าที่มากมาย เช่น ผลิตฮอร์โมนควบคุมการพัฒนาเติบโตทั่วไป ช่วยให้หัวใจเต้นปกติ รักษาระดับน้ำในร่างกาย กับควบคุมรักษาปริมาณไอโอไดน์หรือเกลือข้างๆ ต่อมไทรอยด์ มีต่อมพาราไทรอยด์อีกสองคู่ คอยหมุนเวียนแคลเซี่ยมกับ ฟอสฟอรัสในระบบประสาท ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน กระดูกบางและหงุดหงิดเพราะต่อมพาราไทรอยด์ พยายามดึงแคลเซี่ยมออกมาจากกระดูกเข้าสู่กระแสเลือดและระบบประสาท เมื่อกินแคลเซี่ยมจะรู้สึกมีความสุขขึ้น บรรเทาอาการมูดดี้ลง บางทีระดับแคลเซี่ยมในเลือดสูงเกินไปจะส่งผลต่อหัวใจ ร่างกายพยายามปรับสมดุลย์ด้วยการขับออกทางปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อย กลั้นไม่อยู่ ไตทำงานหนัก ถ้าร่างกายขาดน้ำมาก ก็เสี่ยงต่อภาวะไตวาย หรือถ้ามีแคลเซี่ยมในปัสสาวะมากมีทางเป็นนิ่วในไต หรืออีกประการหนึ่ง มีโคเลสเตอรอลสูงแล้วกินผลไม้สดที่มีโปตัสเซี่ยมสูง อาจส่งผลให้เกิดปฏิกิริยากับโคเลสเตอรอล ก็อาจเป็นนิ่วในไต ต่อมพาราไทรอยด์จึงสำคัญต่อระบบประสาท นอกจากหมุนเวียนแคลเซี่ยมกับฟอสเฟอรัสให้ระบบประสาทแล้ว ยังคอยปรับระดับแคลเซี่ยมช่วยการทำงานของไวตามินดี ดูดซึมแคลเซี่ยมในลำไส้เล็ก นายแพทย์เมเมท ออซ แนะว่า วิธีช่วยให้ร่างกายได้รับแคลเซี่ยมที่ดีที่สุดคือจากอาหารที่มีแคลเซี่ยม ได้แก่ไข่ ปลาแซลมอน ผักเคล เป็นต้น

ถัดลงไปคือต่อมที่กระดูกไหปลาร้า ชื่อว่าต่อมไทมัส ผลิตฮอร์โมนเพื่อภูมิคุ้มกัน ตรงสุดโครงสร้างของกระดูกซี่โครง คือต่อมหมวกไต (Adrenal glands) อยู่ด้านบนของไตทั้งสองข้าง ผลิตน้ำนม และสร้างการเติบโตสารพัดของร่ายกาย ผลิตฮอร์โมนอะดรีนาลีน ที่ทำให้ตัดสินใจอย่างรวดเร็วหรือ เชื่องช้า ต่อการต่อสู้หรือเคลื่อนไหว (Fight or Flight) ล่างลงไปเป็นต่อมเพศ ผลิตเอสโตรเจน เทสโทสเตอโรน และโปรเจสเตอโรน แล้วแต่เพศ มีตัวไหนมากก็อยากจะเป็นเพศนั้น ทั้งๆ ที่ร่างกายมีอวัยวะอีกอย่างหนึ่ง จึงไม่สมดุลย์ทางเพศ สรุปแล้วต่อมพิจุอิทาริกระตุ้นการทำงาน ของอีก 6 ต่อมให้ผลิตฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อให้สมดุลย์ อาการไม่สมดุลย์ทางประสาทมีผลลัพท์จากฮอร์โมนหรือการทำงานของต่อมเหล่านี้

ต่อมสำคัญอีกต่อมหนึ่งที่อยู่ส่วนล่างด้านหลังของสมอง คือต่อมไพนีล ผลิตเมลาโทนิน ซึ่งเรียกว่าเป็นฮอร์โมน สำหรับตั้งนาฬิกา สั่งร่างกายให้นอนหลับหรือ ตื่น ตรงกันทุกวัน คนที่นอนไม่หลับตามเวลาอาจต้องพึ่งเมลาโทนินสักระยะหนึ่งเพื่อตั้งนาฬิกานอนหลับใหม่ เช่น ทานเมลาโทนินเวลา 9.30 p.m. เข้านอน 9.45 นอนบนเตียงอีก 15 นาที เพื่อให้หลับเวลา 10.00 p.m. ตื่นนอนเวลา 6.00 a.m. ระยะการนอน 8 ชั่วโมง นอนหลับสนิท 85 % เป็นเวลา 6 ชั่วโมง เป็นช่วงที่ต่อมพิจุอิทารีทำการผลิตโกรทฮอร์โมน ถ้าไม่มีฮอร์โมนสำคัญตัวนี้ ต่อมอื่นๆ ก็ไม่ได้รับคำสั่งให้ผลิตฮอร์โมนอื่นๆ ดังกล่าว ระดับแคลเซี่ยมกับฟอสเฟอรัสในระบบประสาทก็ไม่สมดุลย์ อาการ เอ.ดี.ดี. ทั้งเจ็ดประการก็อาจเกิดขึ้นไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อฟังนายแพทย์ Dr. Adrian Amen, Psychiatrist กล่าวปาฐกถากับภรรยาของเขาทางโทรทัศน์ สถานีของรัฐบาล คนเราน่าจะมีอาหารไม่สมดุลย์อย่างใดอย่างหนึ่ง สถานะที่ไม่มีอาการ เอ.ดี.ดี. เลย น่าจะเป็นภาวะช่วงที่เราทำสมาธิจิตว่าง ซึ่งจะทำให้ทุกอย่างปราศจากภาวะใดๆ ทั้งสิ้น ได้ชั่วขณะ ถ้าจะให้ดี มีอาการสมดุลย์เสมอๆ ก็ต้องแก้ไขอาการของร่างกาย อาหาร ออกกำลังกาย และการนอนหลับ


อากการ 7 อย่างของ เอ.ดี.ดี.

1. ไม่ทำอะไรให้สำเร็จ เนื่องจากขาด โดพามีน (Dopamine) ฮอร์โมนชนิดหนึ่งผลิตโดยสมอง เพื่อให้ความคิดและการเคลื่อนไหวสมดุลย์

วิธีแก้ เพิ่มโดพามิน ด้วยอาหารเสริมบำรุงสมอง โปรตีนต่างๆ ยา หรือการบริหารสมองด้วยการฝึกคิด เล่นอักษร เล่นหมากรุก การออกกำลังกายที่กระตุ้นสมองให้ทำงานไปด้วย เช่น เทนนิส

2. ขาดความตั้งใจ (Inattention) ที่สังเกตได้ง่าย คือฟังไม่เกิน 15 นาที หรือขาดความตั้งใจฟัง ตั้งใจทำงาน หรือไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อม สนใจอยู่แต่ในโลกของตนเอง ดูแต่ ที.วี. หรือ เล่นเกม ดูคอมพิวเตอร์ เป็นคนสนใจแต่ตัวเอง (Introverted)

วิธีแก้ เปลี่ยนอาหารเป็นสิ่งที่ชอบ โปรตีนจากผักสีเขียว คบมิตรที่ดึงดูดความสนใจ หรือมีกิจกรรมที่ชักนำความคิด ความใส่ใจ ฝึกความคิดในสาระที่ต้องค้นหาคำตอบ

3. ฝังใจ (Over focused) ไม่ว่าจะเป็นคำพูด หรือการกระทำใดๆ ที่ผ่านมา ก็จดจำอยู่แค่สิ่งนั้น วิตกกังวล ซึมเศร้า คุมแค้น มองแต่วิธีแก้แค้น การใช้อาวุธมาทำลายผู้อื่นส่วนมากเพราะฝังอยู่ในใจ ถึงความไม่ชอบใจ

วีธีแก้ มองที่เซอโรโทนิน กับ โดพามีน (Serotonin and Dopamine) เนื่องจากอาการนี้ เกี่ยวกับการซึมเศร้า อยู่ที่การส่งข่าวสารทางประสาทเรียกว่าเซอโรโทนินน้อยลง เนื่องจากมีเซลล์ที่เป็นตัวส่งข่าวแทนที่จะส่งกลับรับไว้เสียเอง ทำให้เซลล์ที่เป็นตัวรับข่าวน้อยลง วิธีแก้ก็เพิ่มยา เช่น Fluoxetine ที่ระงับการดูดซึมซับที่เซลล์ตัวส่ง ส่งผลให้เซลล์ตัวรับข่าวได้รับเซอโรโทนินดีขึ้น ในขณะเดียวกันก็เพิ่มโดพามีนด้วยวิธีข้างต้น เบนความสนใจออกนอกตัวเอง ไปสู่สิ่งแวดล้อม ให้มากขึ้น เช่นเต้นรำ มีคู่เต้น เล่นกีฬาที่มีคู่ฝึก ทานอาหารโปรตีนบำรุงสมอง อีกวิธีหนึ่งคือ การฝึกการรับรู้ในวิธีตรงกันข้าม (Cognitive therapy) เช่น ถ้าเป็นคนขี้อาย ไม่กล้าผูกมิตรกับคนแปลกหน้า หรือหน้าใหม่ ก็ให้ลองเปลี่ยนความคิดในอีกมุมมองหนึ่ง เช่น ถ้าคบเพื่อนใหม่ เปลี่ยนคู่เต้นรำใหม่ จะได้อะไรน่าตื่นเต้นมากขึ้น ได้ความสนใจใหม่ที่ดีขึ้น

4. ความผิดปกติของสมองส่วนข้าง (Temporal Lobe A.D.D.) ทำให้มีผลกระทบต่อการเรียนรู้ (Learning) การออกอาการไร้ความควบคุม (Outburst)

วิธีแก้ อาจพิจารณาที่ยาบางชนิดซึ่งมีผลต่อการนึกคิด การฟัง ขบวนการเรียนรู้ และการแสดงออกที่มีผลด้านดีต่อตนเองและผู้อื่น อาจจะพิจารณาที่อาหาร ซึ่งมีโปรตีนบำรุงสมอง ส่งเสริมการผลิตโดพามีน และเปลี่ยนกิจกรรมในการฝึกสมองมากขึ้น ปรึกษาแพทย์ทางประสาทวิทยา จะเชี่ยวชาญการบำบัดด้านนี้ หรือใช้ยา Gabapentin

5. ความผิดปกติของสมองส่วนกลาง (Limbic A.D.D.) เริ่มตั้งแต่ไฮโปทาลามัสสั่งต่อมพิจุอิทาริให้ผลิตฮอร์โมนนายใหญ่ไปบงการต่อมอื่นๆ ให้ผลิตฮอร์โมนทุกส่วน ถ้าไม่เริ่มจากตัวนี้ ความกระฉับกระเฉงกระชุ่มกระชวยในด้านต่างๆ จะไม่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะความสุข ความรัก ความรู้สึกทางเพศ ความต่อสู้ ความท้อถอย ความซึมเศร้า และอาการไม่สมดุลย์ทางอารมณ์ และการเต้นของหัวใจก็จะกระทบกระเทือนหมด

วิธีแก้ ไฮโปทาลามัส จะส่งเสริมความเจริญอาหาร การอยากดื่มน้ำ และรักษาระดับอุณหภูมิของร่างกาย ถ้ามีอาการดังกล่าวแล้ว เริ่มต้นปรึกษาแพทย์ทางประสาทวิทยา และประสานงานกับโซเชียลเวิร์คเกอร์ด้านประสาทวิทยาได้เลย

6. สมองโดยรอบอักเสบ (Ring of Fire A.D.D.) ทำให้มีปฏิกิริยาตอบสนองรุนแรงเกินเหตุ หรือว่องไวเกินปกติ เป็นอาการเริ่มแรกของคนเป็นไบโพลา หรือมีสองอารมณ์ เช่น ดิ่งในการซึมเศร้าอย่างมาก และการฝังอารมณ์อย่างใดมากๆ หรือเพ้อไปตามอารมณ์มาก

วิธีแก้ ต้องใช้วิธีพิเศษ ทางหลักการแพทย์ทางประสาทวิทยา

7. ความร้อนรนกระวนกระวายเกินเหตุ (Anxious A.D.D.) เช่นตื่นเต้นเกินเหตุที่จะปรากฎกาย หรือแสดงปาฐกถาต่อสาธารณะ ปวดหัวรุนแรง

วิธีแก้ แพทย์ทางประสาทวิทยาแนะนำการทำสมาธิ หรือเสริมการใช้ยาประเภท gabapentin และ dopamine ตามความเหมาะสม เพื่อควบคุมการติดต่อทางกระแสไฟฟ้าในสมอง ยาทั้งสองนี้ใช้ควบคุมการชักกระตุก จำเป็นต้องได้รับการสั่งและควบคุมใกล้ชิดจากแพทย์

อาการ เอ.ดี.ดี. ทั้งหมดนี้ อาจสืบทอดทางกรรมพันธุ์ อาจปรากฎในแทบทุกคน มากบ้าง น้อยบ้าง การบำบัดจะช่วยให้เกิดความสมดุลย์ การทำงานของสมองปกติ แพทย์ทางประสาทวิทยา แนะนำให้บุคคลที่สงสัยว่าตนเองผิดปกติ โดยมากจะรู้ได้ตั้งแต่วัยเยาว์ ควรเข้ารับการบำบัดตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะจากประวัติผู้ประกอบอาชญากรรม ยกปืนเที่ยวฆ่าเพื่อนชาย 6 คน เพื่อนหญิงอีก 2 คน แล้วฆ่าตัวเองตาย มีอายุเพียง 16 ปี ครูผู้สอนตั้งแต่ชั้นประถมได้พบความผิดปกติของเด็ก แต่ไม่ได้รับการบำบัด สาเหตุที่ประกอบอาชญากรรมเพราะมีปมด้อยว่าไม่เหนือกว่าคนอื่น และสาวที่ถูกฆ่าตายไม่สนใจให้ความรัก ไปรักไปสนใจคนอื่น เขาต้องการแสดงให้รู้ว่า เขาคือผู้อยู่เหนือคนอื่น เป็นผู้ชนะในท้ายที่สุดเท่านั้นเอง เป็นความคิดที่ฝังอยู่ในสมองและวางแผนไว้โดยการบันทึกเทปเป็นภาพและคำบรรยายความรู้สึกที่สะสมอยู่ในใจตลอดมา

อเมริกาตื่นตัวเรื่องรักษาการป่วยทางประสาท เพราะเป็นปัญหาที่สายจนแก้ไม่ทัน และมีภัยต่อสาธารณะ นายแพทย์หลายท่านเน้นเรื่องความเป็นอยู่ อาหารการกิน การดำรงชีวิต การสร้างความสมดุลย์ของสุขภาพ อาจารย์สุทธิวัสส์ คำภา ให้คำแนะนำเรื่องอาหารการกินไว้ในหนังสือชื่อ นาฬิกาชีวิต สำหรับบำรุงสมองไว้ว่า ต้องกินอาหารเช้า ประกอบด้วยเนื้อ นม ไข่ คือ มีแป้ง นม และโปรตีน แพทย์อเมริกันชื่อ เดวิด เฟิร์ลมัทเทอร์ (Dr. David Perlmutter, M.D.) แนะนำว่าควรเลี่ยงแป้งหรือคาร์โบไฮเดรทที่มีกลูเต้น (Gluten) คือตัวโปรตีนที่อยู่ในข้าวสาลี หรือข้าว และเลี่ยงอาหารประเภทแป้งที่เป็นน้ำตาล (Glycemic) คือตัดน้ำตาล ตัดกูลเต้น เน้นอาหารที่บำรุงสมอง อาจารย์สุทธิวัสส์ บอกว่าใบบัวบกบำรุงสมองได้ดีกว่าแปะก๊วย กินประจำบำรุงสมอง

วิธีสร้างความสมดุลย์ทางประสาท สร้างความสุขให้อายุยืนโดยนักบำบัดสุขภาพของไทยมีหลัก 7 ประการ คือ

1. มีความสบายแห่งตน

2. มีความเป็นอยู่ปานกลางพอเพียง

3. ทานอาหารย่อยง่าย

4. ออกนอกเคหะสถานในเวลาอันสมควร

5. มีอิทธิบาทสี่ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตติ วิมังสา

6. มีศีลห้าประการ คือไม่ฆ่า ไม่โกหก ไม่ประพฤติผิดทางกาม ไม่ขโมย ไม่เสพติด

7. เป็นมิตรกับบุคคลที่ดี


ตัวบ่งบอกว่ามีสุขภาพที่ดี 5 ประการ ได้แก่

1. มีความตรากตรำทางร่างกายน้อย

2. มีความเจ็บป่วยน้อย

3. มีความเครียดทางจิตใจและร่างกายน้อย

4. มีความเป็นอยู่สบาย

5. จิตที่ดีอยู่ในสุขภาพที่ดี อาหารเป็นปัจจัยเบื้องต้น วิญญาณเป็นปัจจัยหลัก


ทางสายกลางเป็นกุญแจ ปัจจัย เป็นเสาหลัก คือ คุณภาพอาหาร ออกกำลังกาย พักผ่อนพอเพียง และพลังจิต 5 อย่าง คือ พลังความตั้งใจ พลังสู่ความสำเร็จ พลังบงการจิต พลังสมาธิ พลังบำบัดโรคด้วยเร็คกี้และจักระ

ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเกิดอยู่เสมอ จงปรับตัวตามวัย

กำจัดความทุกข์ คือการสร้างความแข็งแกร่ง

ไม่รุกราน แต่อยู่อย่างมีศิลป์ คือความสงบ

ความดี ทำลาย กรรม

ตน เป็นที่พึ่ง ของตน


นายแพทย์ Steven Maslau สรุปหลักแห่งสุขภาพไว้ 3 ข้อ คือ

1. อาหารบำรุงหัวใจ ภูมิปัญญาไทย บอกว่าหัวใจขาดโพแทสเซี่ยมจะไม่แข็งแรง ได้จากผลไม้สด แต่ถ้ามีโคเลสเตอรอลสูงห้ามกินผลไม้สด เพราะโพแทสเซี่ยมจะไปทำปฏิกิริยากับโคเลสเตอรอลสร้างนิ่วในไต และหัวใจโต อาหารบำรุงหัวใจอื่นๆ มีใบเตย ดอกไม้เกสรทั้ง 5

2. ร่างกายแข็งแรง

3. เสริมการต่อต้านความชรา

การจะมีสุขภาพดีตามหลักสามประการนี้ ให้ควบคุมระดับของ Triglycerides เพราะมันจะไปบล็อคระดับฮอร์โมนในร่างกาย Triglyceride มาจากส่วนประกอบของน้ำตาล กับไขมัน ตัวเลขระดับที่ควรเป็นคือ ต่ำกว่า 150 ถ้าเกิน 200 เป็นระดับสูงเกินไป ที่ควรระวังคือ 150-200

เมืองไทยมีสถานบำบัดให้คำแนะนำด้านอาหาร การบำรุงสุขภาพทางจิต ความรู้รอบตัวที่จะขอความช่วยเหลือได้ ภูมปัญญาโบราณของไทยถ้าค้นคว้าให้กว้างขวาง จะพบทางแห่งสุขภาพ

บทความนี้เก็บความจากการปาฐกถาของนายแพทย์เอเดรียน อาเมน นักประสาทวิทยาผู้เขียนหนังสือ เอ.ดี.ดี. และเทปสำหรับผู้สนใจบริจาคเงินให้ทางสถานีโทรทัศน์ KOCE-1 ราคา $240.- วิธีบำบัดต่างๆ ค้นคว้าจาก หนังสือ Harvard Medical School Family Health Guide โดยแพทย์ Anthony L. Komaroff, M.D. ศาสตราจารย์แพทย์ที่ Harvard Medical School หัวหน้าอาวุโสของโรงพยาบาล Brigham and Women Hospital in Boston หัวหน้าคณะบรรณาธิการการจัดพิมพ์

รวบรวมโดย สดศรี สุริยฉาย M.A. from School of Health and Human Services, California State University, Long Beach อาจารย์สอนวิชาสุขภาพและการบำบัดด้วย Reiki and Chakra ที่ Burbank Adult School และวิทยาลัยต่างๆ Lifetime Teaching Credential in Community College, Clear Teaching Credential from State of California