สุขภาพและการบำบัด
สดศรี สุริยะฉาย
ออกกำลังมือเพื่อหัวใจและสุขภาพภายใน

วันนี้โชคดีเปิดทีวีช่อง 28 พบการบรรยายโดยแพทย์ญี่ปุ่นเรื่องหัวใจที่ก่อปัญหาสุขภาพ พูดถึงอวัยวะเล็กเท่ากำปั้นคือหัวใจ แต่มีความสำคัญที่สุด ที่ก่อให้เกิดทั้งความสุข และสุขภาพดี หรือมีปัญหาถึงกับชีวิตวางวาย นับว่าอยู่ในความสนใจตอนนี้ เพราะยาที่แพทย์สั่งเพื่อบำบัดอาการเจ็บหัวใจและปวดหัว มีผลข้างเคียงถึงกับคิดฆ่าตัวตาย ผลข้างเคียงขนาดเบาะๆ ก็คืออาจอาเจียนและอื่นๆ อย่ากินดีกว่ามั๊ง ใช้วิธีออกกำลังมือซึ่งจะส่งผลให้หัวใจดีหายเจ็บจะดีกว่ามั๊ง และยังสามารถใช้สอนวิชาการบำบัดด้วยเร็คคี้และจักระด้วย เริ่มต้นจากหัวใจที่มีสุขภาพดี สร้างได้จากการใช้มือสองข้างออกกำลัง จะให้ผลไปสู่การบำรุงสุขภาพทั้งตัว และกระตุ้นการทำงานของหัวใจโดยตรง เรียกว่าดีต่อร่างกายโดยรวมและดีต่อสาธารณชน เรียนมาสิบกว่าปีแล้วจากอาจารย์คุณย่าเยาวเรศ บุนนาค แห่งสถาบันพลังกายทิพย์เพื่อสุขภาพที่เมืองไทย ขณะนั้นท่านอายุ 80 ปี ท่านแจกเอกสารคือวิธีการใช้มือออกกำลังสำหรับบำรุงอวัยวะภายใน เรียกว่าตรีสัญจกร มีอยู่ 8 ท่า และความรู้ทั่วไปรักษาสุขภาพแข็งแรง มีอยู่ 10 ท่า น่าจะได้ประโยชน์กับหัวใจ และส่งผลต่อร่างกายโดยรวม เริ่มด้วยการทำจิตให้บริสุทธิ์เสียก่อน และทำตามกฎเบื้องต้น คือ มีความสะอาด ซึ่งเราก็คงจะพอมองออกว่าต้นเหตุแห่งเชื้อไวรัสโคโรน่าปี 2019 น่าจะเริ่มจากความไม่สะอาดของอาหาร จนระบาดไปทั่ว ท่าบำรุงอวัยวะภายใน ตรีสัญจกร มี 8 ท่า ดังต่อไปนี้

ท่าที่ 1 คว่าสองมือโค้งนิ้วชี้กับหัวแม่มีเป็นตัว C กระทบกัน 36 ครั้ง บริหารลำไส้ใหญ่ แก้ท้องผูก

ท่าที่ 2 หงายมือทั้งสองข้าง กระทบมือด้านนิ้วก้อยถึงสันมือ บริหารลำไส้เล็ก

ท่าที่ 3 ตั้งมือทั้งสองข้างขึ้น กระทบกันเป็นรูปดอกบัว 36 ครั้ง บริหารเยื่อหุ้มหัวใจ

ท่าที่ 4 กางนิ้วมือออกทั้งสองมือ แล้วสอดประสานบีบกันเล็กน้อย 36 ครั้ง สร้างภูมิต้านทานโรค

ท่าที่ 5 นิ้วชี้วและนิ้วหัวแม่มือทำวงสอดเข้าหากันทั้งสองมือ 36 ครั้ง บริหารปอดซ้ายและขวา

ท่าที่ 6 กำมือขวาต่อยมือซ้ายซึ่งแบอยู่ 36 ครั้ง และสลับกัน บริหารกล้ามเนื้อหัวใจ

ท่าที่ 7 ใช้มือขวาซึ่งหงายขึ้นตีบนมือซ้ายซึ่งคว่ำลง 36 ครั้ง และสลับกัน 36 ครั้ง บริหารไตซ้ายขวา

ท่าที่ 8 ใช้หัวแม่มือขวาหมุนตามเข็มนาฬิกาเหนืออุ้งมือซ้ายค่อนทางหัวแม่มือ 36 ครั้ง แล้วสลับกัน เพื่อเปิดจุดรับพลัง บริหารการกระตุ้นเส้นลมปราณ

ท่าบริหารทั่วไปเพื่อสุขภาพ

ท่าที่ 1 กำหมัดหัวแม่มืออยู่ข้างใน ชนมือทั้งสอง 36 ครั้ง เพื่อชีพจรของลำไส้ใหญ่สู่ประสาทโดยรวมทั่วร่างกาย สามารถรักษาโรคท่อนบนร่างกาย เกี่ยวกับผิวพรรณของใบหน้า ปวดหัว จมูกอักเสบ หู ปวดฟัน ต่อมทอนซิลอักเสบ คออักเสบ โรคลมชัก และป้องกันการเป็นหวัด น่าจะดีสำหรับป้องกันไวรัสที่ก่อให้เกิดอาการคล้ายนิวมอเนียที่กำลังระบาดอยู่ ป้องกันไว้ไม่เสียหาย เผื่อได้ผลจะได้รอดตาย

ท่าที่ 2 หงายมือทั้งสองข้างนิ้วก้อยกระทบกัน 36 ครั้ง บริหารชีพจรลำไส้ใหญ่และเล็ก รักษาโรคปวดศีรษะ คอแข็ง ปวดหู ปวดหลัง ปวดหัวไหล่ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อรอบคอ ป้องกันกระดูกผุ กระดูกเสื่อม

ท่าที่ 3 หงายฝ่ามือทั้งสองกระทบข้อมือ 36 ครั้ง จะเป็นเสมือนกระตุ้นชีพจรหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจ ป้องกันโรคหัวใจ รักษาอาการนอนไม่หลับ อึดอัดแน่นหน้าอก ผ่อนคลายอารมณ์ตึงเครียด

ท่าที่ 4 หงายฝ่ามือทั้งสอง กางนิ้วหัวแม่มือทำมุม 90 องศา กระทบกัน 39 ครั้ง รักษาเลือดกำเดา ท้องอืด อาการไอ ตลอดจนลำไส้และกระเพาอาหารหดตัว

ท่าที่ 5 กางนิ้วทั้งห้า สองมือชนกันให้นิ้วประสานกัน 36 ครั้ง รักษาโรคลมตะกัง ปวดฟัน ตาบวม ตาแดง มือบวม นิ้วทั้ง 5 ปวดชา มือชา เท้าชา เป็นต้น

ท่าที่ 6 มือซ้ายกำหมัดชนกับมือขวาซึ่งกางนิ้วออกรับหมัดมือซ้าย 36 ครั้ง

ท่าที่ 7 สลับกับท่าที่ 6 เปลี่ยนมือกำหมัดเป็นมือขวาชนฝ่ามือซ้ายซึ่งแบอยู่ 36 ครั้ง ให้ผลที่ชีพจรหัวใจ และเยื่อหุ้มหัวใจ

ท่าที่ 8 หงายฝ่ามือขวาและฝ่ามือซ้าย ชนหลังมือซ้ายและหลังมือขวา 36 ครั้ง แล้วสลับกัน 36 ครั้ง ส่วนประสาทที่กระทบคือ อวัยวะ 3 ตอน คือส่วนบน กลาง และล่าง ของอวัยวะภายใน รักษาอาการกระหายน้ำปากแห้งเกรียม หนาวๆ ร้อนๆ ปวดข้อมมือ ป้องกันและรักษาโรคเบาหวาน

ท่าที่ 9 หัวแม่มือและนิ้วชี้ทั้งสองข้างดึงปลายติ่งหูทั้งสองข้าง 36 ครั้ง ปลายประสาทของใบหูมีมากมาย รักษาสายตา ประสาทใบหน้า ตลอดจนการไหลเวียนของโลหิตในสมอง

ท่าที่ 10 ถูฝ่ามือจนร้อน แล้วใช้ฝ่ามือที่ร้อนนั้นประกบตาทั้งสองข้าง กลอกตาเวียนซ้าย 6 ครั้ง เวียนขวา 6 ครั้ง มองสุดซ้าย มองสุดขวา สลับไปมา 6 ครั้ง นวดหน้าโดยใช้มือทั้งสองลูบลงจากจุดกลางใบหน้าไปโคนขมับ โคนหู โคนติ่งหู โคนกราม ใช้มือเคาะศีรษะเบาๆ นวดระพุ้งแก้มใช้หลักทฤษฎีของกำลังภายในชี่กง เพื่อปรับประสาทตา รักษาสายตาสั้นและฝ้ามัว

ลองดูซิว่า การใช้ท่าบริหารภายนอกต่างๆเหล่านี้ จะส่งผลต่อระบบการทำงานภายในร่างกายอย่างไร อย่าลืมกฎแห่งการปฏิบัติต่อไปนี้

1.สะอาด

2.อาหารครบหมู่ อธิษฐานว่า อาหารเป็นยารักษาร่างกายเรา

3.ทำจิตให้บริสุทธิ์ คบกัลยาณมิตร

4.ฝึกท่า 2 ถึง 7 ทุกวัน

5.เดินลมปราณตลอดชีวิต

6.หางานอดิเรกทำ

ห้ามรักษาเวลากลางคืน ยกเว้นอุบัติเหตุ

ห้ามรักษาแผลในโรงพยาบาล

อย่าห้ามคนไข้รับประทานยา

ห้ามเรียกเงินทองเป็นค่ารักษา

ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพดี มีจิตเมตตาต่อพืชและสัตว์ และมนุษย์ทั่วไป เป็นนิจ