สุขภาพและการบำบัด
สดศรี สุริยะฉาย
ข่าวดีอีกทางหนึ่งสำหรับเอดส์และมะเร็งต่อมลูกหมาก

มีผู้ป่วยด้วยโรคเอดส์กลุ่มหนึ่ง ได้รับการทดลองไม่ทานยาปฏิชีวนะสำหรับการบำบัดโรคเอดส์ แต่ใช้การทดลองบำบัดด้วยโกรทฮอร์โมนจากต่อมพิจุอิทาริกระตุ้นตับให้ผลิตฮอร์โมนชนิดหนึ่ง เรียกว่า Somatomedin C ซึ่งเป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งขนาดเท่ากับอินซูลิน ได้รับการขนานนามตามชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Insulin-like Growth Factor-1 (IGF1) เป็นหนึ่งในกลุ่มของ Homeopathic growth factors ผลการค้นคว้าปรากฏว่า

1.ไวรัสเอดส์ลดลงหลังจากได้รับฮอร์โมนแห่งการเติบโต (Growth factors) สี่ชนิด

2.ปริมาณต่อมน้ำเหลืองเพิ่มขึ้น ทำให้การต้านทานโรคแกร่งขึ้น

3.การติดเชื้อโรคลดลงทั่วร่างกาย

4.ปริมาณแร่ธาตุในเลือด (Phosphorus) สูงขึ้น ช่วยให้ระบบประสาทดีขึ้น

5.ปริมาณ Platelets ช่วยการแข็งตัวของเลือดสูงขึ้น

6. น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

การทดลองแสดงถึงความสำเร็จที่พิสูจน์ได้ว่าโกรทฮอร์โมนมีผลสำคัญต่อการสร้างความแข็งแรงของร่างกายผู้ป่วยโรคเอดส์ รวมไปถึงสุขภาพทางจิตใจที่ดีขึ้น และระบบการสร้างพลังงาน (Metabolism) ดีขึ้นระหว่างการทดลองนี้ ผู้ป่วยได้รับการบำรุงด้วยอาหารเสริมตามปกติ และใช้วิธีธรรมชาติในการบำบัดตามปกติ นอกเหนือไปจากการกระตุ้นให้ตับผลิตฮอร์โมน ด้วยโกรทฮอร์โมนจากต่อมพิจุอิทาริเร่งระบบร่างกายผลิตสารฮอร์โมนธรรมชาติ (Homeopathic growth factors)

ผู้ป่วยด้วยโรคเอดส์อีกกลุ่มหนึ่งใช้การทดลองบำบัดด้วยการใช้ Pls (Protease Inhibitors) เพื่อควบคุมน้ำย่อยโปรตีน บวกกับการรับประทานยาปฏิชีวนะสามชนิด ซึ่งเป็นวิธีที่ยอมรับกันทั่วไปในการรักษาโรคเอดส์ในปี 1995 อีกกลุ่มหนึ่งใช้สมุนไพรตามธรรมชาติ

การเปรียบเทียบผลการทดลองสามกลุ่มนี้ ปรากฏว่า

1.กลุ่มทดลองด้วยโกรทฮอร์โมน

-ไวรัสเอดส์มีปริมาณลดต่ำลง เหมือนกับกลุ่มที่ทานยาปฏิชีวนะ และปริมาณลดลงมากกว่ากลุ่มสมุนไพร

-ปริมาณต่อมน้ำเหลืองเพื่อช่วยต้านทานโรคเพิ่มขึ้นเหมือนกับกลุ่มที่ใช้ยาปฏิชีวนะ และสูงกว่ากลุ่มสมุนไพรมาก

-การวัดความต้านทานโรคทั่วร่างกาย และการป้องกันการติดเชื้อสูงเป็นปกติ

2.กลุ่มทดลองด้วยการควบคุมน้ำย่อยโปรตีน (Pls)

-เอดส์ไวรัสปริมาณต่ำ แต่ผลการวัดปริมาณความต้านทานโรคไม่อยู่ในอัตราปกติ

3.กลุ่มทดลองด้วยสมุนไพรธรรมชาติโดยไม่มี Homeopathic growth factor หรือโกรทฮอร์โมนร่วมด้วย

-เอดส์ไวรัสสูง ตัวป้องกันต้านทานเชื้อโรคต่ำ ต่อมน้ำเหลืองปริมาณน้อย ส่อถึงภูมิต้านทานโรคเอดส์ต่ำ นั่นคือความก้าวหน้าของโรคเอดส์เพิ่มขึ้น

ความสัมพันธ์ของมะเร็งต่อมลูกหมากกับโกรทฮอร์โมนผลิตแบบธรรมชาติ (Homeopathic growth factors)

โกรทฮอร์โมนจากต่อมพิจุอิทาริมีส่วนกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนจากตับคือ Insulin-like Growth Factor-1 หรือ โซมาโดมิดีน ซี (Somatomedin C) ตัวเดียวกับข้างต้น เป็นที่รู้กันว่าก่อให้เกิดการเจริญเติบโตของเซลล์ (Growth factors) ทั้งเนื้อเยื่ออวัยวะและการเจริญตามอายุขัยของเซลล์ การเพิ่มพูนเซลล์ในเลือด การสร้างโปรตีนเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ของระบบประสาท และการบริโภคอาหารของเซลล์ กิจกรรมต่างๆ นี้ก่อให้เกิดการแบ่งตัวของเซลล์เพื่อขยายจำนวน และการแจกแจงความแตกต่างของเซลล์ ทำให้เกิดข้อข้องใจว่าโกรทฮอร์โมนจะไปส่งเสริมการเจริญเติบโตของเยื่อต่อมลูกหมากหรือทำให้เซลล์มะเร็งต่อลูกหมากเติบโตหรือไม่ หรือส่งเสริมให้เกิดเซลล์มะเร็งหรือไม่

ตัวเลขการก่อตัวของมะเร็งต่อมลูกหมากในชายเพิ่มขึ้นตามอายุ ในขณะที่การผลิตฮอร์โมนจากตับเข้าสู่กระแสโลหิตลดลงประมาณ 14 เปอร์เซ็นต์ต่ออายุที่เพิ่มสิบปีหลังจากต่อมพิจุอิทาริลดการผลิตโกรทฮอร์โมนลงเมื่ออายุ 30 ปี ตัวเลขนี้ชัดเจนว่า ฮอร์โมนจากตับไม่ได้สร้างสาเหตุให้เกิดเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก คำถามต่อไปก็คือ การใช้โกรทฮอร์โมนผลิตตามระบบวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Recombinant Human Growth Hormone) เพื่อต่อต้านความชราของเซลล์โดยทั่วไปในร่างกาย จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหรือไม่

การค้นคว้าเพื่อศึกษาว่า การใช้โกรทฮอร์โมนผลิตจากโกรทฮอร์โมนธรรมชาติ (Recombinant Human Growth Hormone) มีความสัมพันธ์ หรือเป็นตัวบ่งว่าทำให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมากหรือเปล่า โดย ไมเคิล เบรย์ และเจฟ บัดจ์ ที่ห้องทดลองเมคเควสต์ เมืองซอลท์เลคซิตี้ รัฐยูท่าห์ ทดลองในชาย 749 คน อายุระหว่าง 22-86 ปี 6 คนในจำนวนนี้เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากอยู่แล้ว ผลปรากฏว่าไม่มีความสัมพันธ์บ่งบอกว่าก่อให้เกิดเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งพ้องกับการทดลองอื่นๆ ก่อนหน้านี้ ซึ่งทำการทดลองกับคนไข้ชาย 3,000 คน ที่ได้รับโกรทฮอร์โมนผลิตโดยกรรมวิธีสร้างจากโกรทฮอร์โมนธรรมชาติ

จึงสรุปได้ว่า การได้รับฮอร์โมนจากตับที่เป็นผลจากการกระตุ้นด้วยโกรทฮอร์โมนไม่ได้ก่อให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงใดๆ ต่อมะเร็ง ไม่ว่าจะใช้โกรทฮอร์โมนหรือไม่ใช่โกรทฮอร์โมนก็ตาม การค้นคว้านี้ ดำเนินโดย นายแพทย์ L. Cass Terry, M.D., Ph.D. Medical College of Wisconsin Milwaukee, WI 53226