สุขภาพและการบำบัด
สดศรี สุริยะฉาย
ทานเพื่อพลังงานและสุขภาพ ตอนที่ 2

ปลา Rainbow Trout เป็นปลาที่อร่อยอีกอย่างหนึ่งที่สามารถทำปลานึ่งแบบแป๊ะซะก็ได้ บั้งเป็นริ้วให้สุกง่าย แล้วทอดกรอบ ทานแทนปลาดุกฟูกับน้ำปลาหวานก็ดี ราคาถูก และสดจากตลาด ไม่ใช่ปลาแช่แข็ง

ปลาสดที่อร่อยที่สุด รสหวานที่สุดเห็นจะเป็นปลาสีชมพูชื่อว่า แซลมอน (Pink Salmon) เป็นปลาที่มีชีวิตต่อสู้ว่ายทวนน้ำขึ้นไปวางไข่ในน้ำเย็นระยะทางเป็นพันไมล์ เจอหมียืนอ้าปากรออยู่ต้นลำน้ำฮุบเอาไปกินเสียเยอะ กว่าจะรอดไปวางไข่แล้วว่ายกลับมาจบชีวิตในถิ่นน้ำอุ่น กล้ามเนื้อของปลาแซลมอนจึงเป็นชั้นแข็งแรงเพราะว่ายน้ำไกล และรสหวานจากน้ำย่อยที่เกิดจากการออกกำลังว่ายทวนน้ำ เป็นปลาราคาแพง ทานได้ทั้งสดและกระป๋อง แบบสดเลือกซื้อชนิดที่แล่ตามยาวเรียกว่าฟิเล่ต์ ความหนาประมาณครึ่งนิ้ว บางกว่านี้ก็เสียความหวานระหว่างปรุง หนากว่านี้ก็สุกช้า เสียคุณค่าทางอาหารระหว่างการปรุง วิธีปรุงก็ง่ายๆ ล้างแล้วราดน้ำมะนาวกันกลิ่น ปลานี้ไม่ค่อยมีกลิ่นรุนแรงเหมือนปลาจาระเม็ด หรือปลาเรนโบว์เทร้าต์ ปรุงในบ้านได้โดยวิธีทอด วางปลาบนกระทะชนิดไม่ติดก้น ใส่น้ำมันข้าวโพดพอสมควรเพื่อช่วยให้เหลืองและช่วยละลายไขมันร้าย วางปลาด้านติดหนังบนน้ำมันแล้วปิดฝาทอดด้วยความร้อนสูงเต็มที่สัก 8-10 นาที ประมาณว่าหนังกรอบล่อนไม่ติดกระทะแล้วจึงกลับเอาด้านผิวปลาลงทอด หรี่ความร้อนลงเป็นปานกลาง เพราะปลาเริ่มสุกบ้างแล้วจากการอบระหว่างทอดครั้งแรก ความร้อนสูงเกินไปจะทำให้ปลาเสียความหวานที่ต้องการ ทอดด้านบนปลานี้ประมาณ 3 นาที หรือจนปลาไม่ติดกระทะ และมีสีเหลืองกรอบก็จัดใส่จานทันทีกับน้ำจิ้มหัวซีอิ้ว น้ำมะนาว น้ำกระเทียมดอง และพริกป่นหรือพริกสด ระหว่างทอดปลาแซลม่อน ห้ามไปอาบน้ำเด็ดขาด คุณจะสูญเสียปลาชิ้นอร่อยราคาแพง เป็นบทเรียนที่เรียกกลับคืนไม่ได้ เพราะจะเสียความอร่อยของปลาที่คุณไฝ่ฝันกับอาหารมื้อโปรด

เครื่องเคียงอาหารจานปลาต่างๆ อาจเป็นผัดเปรี้ยวหวานผัก เช่นแตงกวาและมะเขือเทศที่ให้พลังเย็น กับสับปะรด ที่ให้ธาตุต่างๆ มากมายสำหรับผิว หรือผัดเปรี้ยวหวานกะหล่ำปลี ที่ให้พลังร้อนสำหรับคนความดันต่ำ หรือผัดผักคื่นช่ายซึ่งช่วยดับกลิ่นคาวปลาได้ดีปรุงด้วยน้ำซีอิ้วและน้ำมันหอยผลิตจากเห็ด

เครื่องดื่มมื้ออาหารปลาคือชาขิง หรือไวน์ขาวชนิดต่างๆ ตามรสที่ชอบ

ความงามเหมือนดอกกุหลาบ เมื่อเบ่งบานเต็มที่ในราวอายุ 20 ปี เมื่อเป็นคน ระบบก็จะเริ่มทำงานลดน้อยถอยลง ระบบที่ว่านี้ หมายถึงระบบการสั่งงานสื่อสารระหว่างเซลล์ต่างๆ ทั่งร่างกายให้ปฏิบัติภารกิจอันเคยกระทำสมัยเริ่มตูมเป็นดอกกุหลาบจนบานขยายกลีบ แล้วกลีบจะโรยเหี่ยวย่นไปตามกฎธรรมชาติ ถ้ามีการให้ปุ๋ยอาหารดี กลีบจะแข็งแรงบานทนทาน ระบบการสั่งงานระหว่างเซลล์ทำหน้าที่บงการว่าจะผลิตสารอะไรเพื่อชะลอมิให้เกิดการชราอย่างรวดเร็ว มาจากระบบการผลิตสารหนึ่งที่สำคัญที่สุด คือสารแห่งการเจริญเติบโต เรียกว่าโกรทแฟคเตอร์ (Growth Factor)

โกรทแฟคเตอร์ เป็นตัวใหม่ที่วงการวิทยาศาสตร์การแพทย์สามารถค้นคว้านำมาอยู่ในขวด ให้เราสเปรย์ใต้ลิ้น และดูดซึมไปสู่จุดรับที่ต่อมใต้สมองเรียกว่า ต่อมพิทุอิทาริ ต่อมนี้เป็ต่อมสำคัญที่สุดในร่างกาย เรียกว่าเป็นต่อมนายใหญ่ (Master Gland) ของร่างกายทีเดียว เนื่องจากสามารถผลิตสารหลายอย่างเพื่อควบคุมและส่งเสริมความสูงของร่างกายโดยการเติบโตของกระดูก ส่งเสริมการทำงานของระบบประสาททั้งมวล อันได้แก่ความคิด อารมณ์ และความฉลาดว่องไว ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อต่างๆ รวมทั้งหัวใจ และส่งเสริมการผลิตน้ำนมเพื่อการบำรุงชีวิตสืบสานต่อไป และกระตุ้นให้ตับผลิตตัวโกรทแฟคเตอร์ที่เพิ่งกล่างขวัญถึงในวงการแพทย์

ต่อมพิทุอิทาริคือต่อมนายใหญ่ผลิตสารที่เรียกว่าฮอร์โมนนายใหญ่ (Master hormone) ไปสั่งงานกระตุ้นต่อมต่างๆ ทั่วร่างกายให้ผลิตฮอร์โมนอีกหลายอย่าง แต่ที่ไม่ได้กล่าวถึงคือการไปกระตุ้นตับให้ผลิตสารคล้ายอินซูลินเรียกว่าโกรทแฟคเตอร์ (Insulinlike Growth Factor) ตัวย่อเรียก IGF

IGF เป็นสารที่มีความสำคัญรองจากโกรทฮอร์โมนหรือฮอร์โมนนายใหญ่ มีคุณสมบัติเหมือนกับฮอร์โมนผลิตโดยตับอ่อนที่เรียกว่าอินซูลิน มีประสิทธิภาพในการเพิ่มระดับน้ำตาลในรายที่เป็นเบาหวานประเภทสอง (Diabetes Type 2) และป้องกันการดื้อต่อสารอินซูลินในรายที่เป็นเบาหวานประเภทหนึ่งคือน้ำตาลในเลือดสูง และที่น่าตื่นเต้นยิ่งไปกว่านั้นก็คือ สามารถเพิ่มปริมาณกล้ามเนื้อ ได้ราวกับเสกด้วย โกรทแฟคเตอร์ หรือสารเพิ่มการเติบโตประเภทหนึ่งที่ว่านี้

ความงามด้วยการจับต้อง จะต้องมีกล้ามเนื้อที่แข็งแกร่ง ไม่อ่อนเหลวหย่อนยาน นั่นคือการปรับระบบภายในเสียใหม่ด้วยระบบสร้างกล้ามเนื้อด้วยสารที่สามารถสร้างความเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อได้ คือ สารคล้านอินซูลินโกรทแฟคเตอร์ประเภทหนึ่ง Insulin-like Growth Factor 1

จากการศึกษาค้นคว้าล่าสุด เนลลี่ มัวราส และเบอร์นาร์ด โบเฟรอร์ แห่งคลินิคเด็กที่แจ็คสันวิลล์ รัฐฟลอริด้า ได้พยายามเปรียบเทียบการทำงานของ IGF 1 และโกรทฮอร์โมน (Somatotropin) ต่อระบบในร่างกายสามหมวดคือ ต่อการใช้โปรตีนในการทำงานของเซลล์ในร่างกาย ต่อการสูญเสียโปรตีนโดยผลของยาเพรดนิโซนที่ใช้กระตุ้นการทำงานของน้ำตาลและสเตอรอยด์ และต่อการใช้อินซูลินให้เป็นประโยชน์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาล ปรากฎว่าหลังการใช้ IGF 1 วันละสองครั้งในปริมาณ 100 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แสดงผลว่าเซลล์นำโปรตีนไปใช้ในระดับสูงเหมือนโกรทฮอร์โมน และไม่ปรากฎการสูญเสียโปรตีนแม้ใช้ยาเพรดนิโซน และให้ผลดีไปกว่านั้นคือ ไม่ก่อให้เกิดการดื้อต่ออินซูลินในรายที่ใช้ยานี้ ยังผลให้ระดับน้ำตาลและแป้งในร่างกายเป็นปกติ นั่นคือ ผลดีสำหรับคนไข้ที่ต้องให้อาหารทางหลอดหลังการผ่าตัด ไม่ทำให้ขาดโปรตีนและแป้ง

ในปี 1997 การศึกษาสองแห่งโดยมิได้นัดหมายกัน รายงานว่า การใช้ IGF 1 ทำให้ระบบที่ต้องพึ่งอินซูลิน (Insulin Dependent Diabetes Mellitus IDDM) สามารถลดการฉีดอินซูลินลง 45 เปอร์เซ็นต์ และสามารถลดระดับโคเลสเตอรอลลงได้ในเวลาเพียง 4 วัน

IGF 1 มีสภาพเป็นสารที่ส่งเสริมอินซูลินให้ทำงาน อินซูลินผลิตจากตับอ่อนในร่างกายอยู่แล้ว จึงไม่น่าสงสัยว่า การทำงานของอินซูลินจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการลดน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าใช้คู่กับโกรทฮอร์โมน ซึ่งไปกระตุ้นตับอ่อนให้ผลิตอินซูลินด้วยแล้ว เป้าหมายในการช่วยให้อินซูลินทำงานเต็มที่จึงเกิดขึ้นได้ด้วยการเสริมของ IGF 1

การทำงานบกพร่องของอินซูลินก่อให้เกิดภาวะน้ำในผิวไม่คงที่ อาจมีน้ำมาเกินไปทำให้กล้ามเนื้ออ่อนตัว ไม่แน่นแข็งแรง และมีน้ำน้อยเกินไปในผิว อาจเนื่องมาจากการใช้ยารักษา ทำให้ผิวแห้งเกินไป ก่อให้เกินรอยย่น ถ้าปรับสภาวะไม่สมดุลนี้ได้ ผิวภายนอกก็จะดีขึ้น สมบูรณ์ด้วยความชุ่มชื้น และกล้ามเนื้อตึงทั่วไปมากขึ้น

คำถามต่อมาก็คือว่า จะสามารถใช้ IGF 1 ควบคู่ไปกับ Growth Hormone ได้ดีไหม เพราะร่างกายก็มีโปรแกรมควบคุมการเจริญเติบโตเหมือนกัน เมื่อตับผลิต IGF 1 ถึงจุดหนึ่ง ระบบจะโปรแกรมให้หยุด Growth Hormone คำตอบก็คือ สามารถใช้ควบคู่พร้อมกันได้ เพราะการทำงานของโกรทฮอร์โมนทำงานตลอดกลางคืน ในขณะที่ IGF 1 ทำงานกับการใช้กล้ามเนื้อตอนกลางวัน และมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงกว่าโกรทฮอร์โมนถึง 10 เท่า


(อ่านต่อฉบับหน้า)