อยากมีลูก
สดศรี สุริยะฉาย
โรคหัวใจ

เมื่อปีที่แล้ว ผู้เขียนเจ็บหัวใจ เจ็บจริงๆ ไม่ใช่เจ็บใจ เหมือนอย่างเช่นอาการปวดท้องที่ปวดไปทั่ว แต่เจ็บหัวใจ เจ็บแหลมแปลบตรงหัวใจ เมื่อตื่นขึ้น รู้สึกหนักหน้าอก นึกว่ามาจากนอนหงาย หมอนแบนเกินไป ไม่มีการไหวนาน ขาดโลหิตหมุนเวียน เป็นบ่อยๆ ก็ชักสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจ หมอตรวจด้วย EKG (Electrocardiogram) คือกราฟที่แสดงการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจตามการเดินทางของโลหิตแดงและดำ ตามจุดวัดต่างๆ เริ่มจาก หน้าอก คอ แขนสองข้าง ขาสองข้าง ผล EKG จะอ่านการทำงานของหัวใจว่ามีการข้ามจัวหวะหรือผิดจังหวะหรือขาดการส่งกระแสกระตุ้น (blockage) หรือไม่ ผล EKG ของผู้เขียนไม่แสดงว่ามีอะไรผิดปกติ แม้ว่า ผู้เขียนจะเคยมีประวัติหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ เมื่อสิบปีก่อน โชคดีที่ผู้เขียนใช้โกรทฮอร์โมนอยู่ในระยะนั้น ทำให้การสร้างเซลล์ทั่วไปรวมทั้งหัวใจเป็นปกติ ประกอบกับมีการออกกำลังสม่ำเสมอ เพราะเดินกับหมาทุกวัน เมื่อเกิดอาการเจ็บที่หัวใจ และแน่นหน้าอก จึงต้องหาสาเหตุให้รู้แน่ชัด ว่าเป็นเพราะอะไร เมื่อเปลี่ยนไปหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ เขาติดเครื่องตรวจหัวใจอยู่สามสัปดาห์ พร้อมทั้งจดบันทึกละเอียดไว้

ในระหว่างการตรวจ ผู้เขียนยุติการกินยาทุกชนิด เพราะต้องการทดสอบผลข้างเคียงของยาชื่อฟอร์ซาแมกซ์ ที่บังคับมิให้เซลล์ดึงแคลเซี่ยมออกจากกระดูก ป้องกันกระดูกบาง จากสลากบอกไว้ว่าอาจจะเจ็บหน้าอก ปวดกราม หายใจไม่สะดวก และอาจเป็นแผลในกระเพาะอาหาร แพทย์ทั่วไปเห็นว่าจำเป็น ดีกว่าต้องนั่งรถเข็นในอนาคต ผู้เขียนรับประทานยานี้สองปี

เมื่อเร็วๆ นี้ รายงานของแพทย์เริ่มต้นค้นพบและออกข่าวทางทีวีว่า ผลเสียของยานี้อาจทำให้กระดูกขาส่วนบนเปราะหัก และหัวใจขาดแคลเซี่ยมได้

เมื่อเริ่มใช้ยานี้เพื่อนของผู้เขียนซึ่งเป็นทันตแพทย์เตือนแต่ต้นว่า ยานี้อาจก่อให้เกิดหัวใจวายระหว่างนอนหลับ เพราะยาบังคับมิให้เซลล์ดึงแคลเซี่ยมออกจากกระดูก ก็เลยไปดึงจากเลือด ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดแคลเซี่ยม หัวใจก็หยุดเต้นตอนนอนหลับ

แคลเซี่ยมและฟอสฟอรัส ทำหน้าที่ในระบบประสาท โดยต่อมใต้สมอง Hypothalamus รับคำสั่งจากต่อม Thalamus ให้ควบคุมการเต้นของหัวใจ เมื่อระบบประสาทขาดการสื่อสาร คนก็หัวใจวายตอนนอนหลับ ไม่ใช้ว่าเขาโชคดีอย่างที่คิดกัน แท้จริงอาจเลี่ยงได้

เมื่อผู้เขียนหยุดกินยาได้ 3 เดือน อาการต่างๆ หายไป ผลการตรวจด้วยเครื่องวัดหัวใจไม่พบว่าหัวใจบกพร่อง เมื่อเชคอีก 2 เดือนต่อมา หมอบอกว่าหัวใจและปอดอยู่ในสภาพดี นี่คือโรคหัวใจจากผลข้างเคียงของยา ซึ่งผลยังอาจมีอยู่แม้จะเลิกกินแล้ว ต้องเช็คต่อไป

เมื่อไม่ใช่โรคหัวใจ ก็ถึงเวลาที่จะต้องพิจารณาระหว่างทางเลือก 2 ทางคือ รถเข็น หรือหัวใจวายตอนหลับ ทางออกคือ พิจารณาประเด็นอื่นๆ ประกอบ เช่น ความดันโลหิต คอเลสเตอรอล การดำรงชีวิต เพราะโรคหัวใจมีอันตรายอยู่สองอย่าง คือกล้ามเนื้อหัวใจ และหลอดเลือดหัวใจ ส่วนลิ้นหัวใจ เป็นเรื่องใหญ่ จะแยกประเด็นพิจารณาต่างหาก

ความดันโลหิตของผู้เขียนคือ 120/70 คอเลสเตอรอล 180 ผู้เขียนทดลองดูว่าจะบริโภคเฉพาะพืชพันธุ์ธัญญาหาร เลิกกินเนื้อสัตว์ทุกชนิด เพียงแต่ต้องการโปรตีนจากไข่และนม อีก 6 เดือนค่อยวัดกันใหม่ เพื่อหาสมการที่เหมาะสมในการดำรงชีวิตต่อไป ถ้ายังมีชีวิตอยู่

ความดันโลหิต บอกระดับคอเลสเตอรอลซึ่งจะมีผลต่อโรคหัวใจ และสมอง อัตราปกติ ไม่ควรเกิน 140/90 เครื่องวัดความดันโลหิตเรียกว่า Sphygmomanometer ทำหน้าที่วัดสองจุด เมื่อพองลมไปยังจุดวัดตรงข้อพับแขน แล้ววัดโดยปรอทด้วย Stethoscope จุดตัวเลขสูง คือจุดที่เลือดเริ่มต้น เรียกว่า Systolic ระดับปกติ อยู่ระหว่าง 100-120 อีกจุดเมื่อหัวใจพัก เรียกว่า diastolic ระดับปกติคือ 60-80 คนที่มี hypertension คือความดันสูง ถ้าเกิน 140 ก็ระวังเรื่องอาหาร และลดความเครียด วิธีง่ายๆ คือการพักใจ รู้จักสมาธิ สวดมนต์ ระลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีศีลห้า ให้ทาน รักษาความปิติในใจ รู้จักเคารพเทวดา คารวะต่อผู้คุ้มครองรักษาเรา แม้มองไม่เห็น เป็นหลักธรรมง่ายๆ จากท่านฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้เราเจริญสมาธิ มีศีล ภาวนามีจิตพร้อมอยู่ในความสงบ สมัยนั้น ยังไม่รู้จัก hypertension เหมือนโลกยุ่งเหยิงปัจจุบัน

คอเลสเตอรอลตัวร้ายเกิดจากไขมันสัตว์ และสัตว์มีเปลือกเช่นกุ้ง คนที่ต้องการลดตัวนี้ก็ลดบริโภคอาหารพวกนี้ หันมาบริโภคพืชพันธุ์ธัญญาหาร อย่าลืมว่า เราปรุงอาหารจากสัตว์เพียงห้าชนิด สร้างปัญหาสุขภาพอาจถึงตาย แต่การปรุงอาหารเว้นสัตว์ 5 ชนิด มีหลายร้อยวิธี อะไรจะง่ายกว่ากัน

โรคหัวใจที่เกิดจากลิ้นหัวใจอักเสบถาวร มาจากเชื้อโรค Rheumatic Heart Disease ที่เป็นตอนเด็กอายุ 5 ถึง 15 ปี ส่งผลไปเป็นอันตรายต่อหัวใจตอนโตได้ ไม่ค่อยมีในอเมริกา แต่เคยเกิดขึ้นในราวปี 1980 มาจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcal แบคทีเรียนี้ชอบอยู่ตามเนื้อเยื่อชั้นดี หรือแข็งแรงของคนเช่น กล้ามเนื้อข้อต่อ ไขข้อ เอ็น และลิ้นหัวใจ สาเหตุการได้รับเชื้อโรคไม่แน่ชัด แต่แบคทีเรียนี้ทำให้อักเสบที่คอ และเป็นไข้ rheumatic fever เป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ ร่างกายสร้าง ตัวต้านทาน (antibodies) เพื่อไปโจมตี ตรงจุดที่แบคทีเรียอยู่ คืออยู่ที่ไหนก็ตามไปทำลายหมด ทำให้เนื้อเยื่อดีๆ ของร่างกายตรงนั้น เสียหายไปด้วย นอกจากจะทำให้ข้อกระดูกอักเสบแล้ว ลิ้นหัวใจก็ชำรุดเป็นการถาวรด้วย

Rheumatic fever ค้นหายาก แม้จากการตรวจสอบขั้นต้นหรือชั้นรอง อาการทีแสดงก็คือเจ็บคอ ผื่นแดง บวม ไข้สูง บวมที่ต่อมน้ำเหลืองที่คอ คลื่นไส้ อาเจียร ร่างกายพยายามกำจัดแบคทีเรียออกจากคอ ทำให้ไอบ่อยๆ ต้องตรวจหาเชื้อจากเสลด เพาะในห้องแบประมาณ 2 วันรักษาด้วยเพนนิซิลินก่อน ระหว่าง และหลังติดเชื้อ เพื่อป้องกันการติดเชื้อลุกลามไปที่เนื้อเยื่อหัวใจ ซึ่งส่งผลให้ขาดเลือด หัวใจบล๊อค คือการอุดตันของเส้นเลือด นอกจากความเสียหายของเนื้อเยื่อหัวใจและลิ้นหัวใจแล้ว อาจส่งผลเสียไปที่ปอด ในช่องปาก ไต ผิวหนัง สมอง ตับอ่อน และอาการเลือดคั่ง เนื่องจากเนื้อเยื่อบวม และโลหิตขาดการหมุนเวียนครบวงจร

Atrioventricular Block ที่เราเรียกว่าเส้นเลือดหัวใจขาดการเดินทางครบวงจรมีสามอย่าง

อย่างแรก คือการส่งกระแสไปกระตุ้นหัวใจล่าช้า หรือไม่ส่งกระแสกระตุ้นไปห้องต่อไป ทำให้หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ สามารถค้นพบด้วย EKG

การเต้นของหัวใจเริ่มจากจุดกระแสไฟฟ้า A-node ที่ห้องซ้ายบน เปิดลิ้นหัวใจส่งเลือดดำไปที่ห้องซ้ายล่าง ห้องซ้ายล่างส่งเลือดให้ปอด เมื่อปอดรับออกซิเจนทำการฟอกเลือดดำให้เป็นเลือดแดงแล้วส่งกลับมาสู่หัวใจห้องขวาบน เมื่อได้รับกระแสกระตุ้นก็ส่งเลือดแดงสู่ห้องขวาล่าง และโดยกระแสกระตุ้นจากจุดเริ่มต้นพร้อมกับ ก็บีบห้องขวาล่างส่งเลือดไปสู่ศีรษะและแขนขา การเต้นของหัวใจกระทำพร้อมกันในจังหวะเริ่มต้นนั้น สามารถส่งเลือดไปทั่วร่างกาย เราจึงวัดการเต้นของหัวใจจากจุดต่างๆ ด้วยระบบ EKG ถ้าจังหวะการกระตุ้นไม่สมบูรณ์ด้วยสาเหตุการติดเชื้อของผนังหัวใจ ปอด ก็เกิดเลือดคั่ง การหายใจติดขัด บวมที่ข้อเท้า เพราะไตสะสมเกลือหรือโซเดียม ควรลดการบริโภคเกลือ น้ำปลา และออกกำลังช่วยการหมุนเวียนและหายใจ

อย่างที่ 2 คือการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอเพราะกล้ามเนื้ออ่อนหรือกระแสถูกขัดขวางคือ block การแก้ทั้งสองอย่างแรก ใช้วิธีกระตุ้นประสาทที่สนับสนุนการเต้นของหัวใจให้สม่ำเสมอ

อย่างที่ 3 สัญญาณกระตุ้นจากจุดแรกที่หัวใจห้องบนส่งไปไม่ถึงห้องล่าง ทำให้ห้องล่างทำงานตามลำพัง แต่ด้วยความถี่ช้าลงมาก กรณีนี้ สมองจะเป็นอันตรายสูง อาจหมดสติเฉียบพลันหรือชักกระตุก เคยมีเรื่องที่แพทย์คนหนึ่งมีอาการนี้ และรู้ตัวเองว่ากำลังเป็นอะไรอยู่ พยายามโทรศัพท์ไปที่โรงพยาบาลที่ตนเองทำงานอยู่เพื่อขอความช่วยเหลือ แต่คำพูดไม่ชัด เหมือนคนเมา ในที่สุด ระบบโทรศัพท์ในโรงพยาบาลก็สามารถค้นพบว่าเกิดอะไรขึ้น และส่งความช่วยเหลือได้ทัน โรคหัวใจ ต้องได้รับการพยาบาลก่อนสายเกินไป

หัวใจบล๊อคอย่างที่ 3 แพทย์จะติดเครื่องอิเลคโทรนิคกระตุ้นหัวใจ Pecemaker ทำด้วยแบตเตอรี่ลิเทียมใช้งานได้นานประมาณ 7-8 ปี ฝังไว้ใต้ผิวหนัง เชื่อมต่อกับหัวใจด้วยสาย เพื่อส่งกระแสกระตุ้นหัวใจให้เป็นไปตามปกติ

ในกรณีที่แบคทีเรียทำลายลิ้นหัวใจถาวร ทำให้การส่งโลหิตของลิ้นหัวใจจากห้องบนสู่ห้องล่าง เกิดปัญหา เลือดไม่หมุนเวียนระหว่างปอดกับหัวใจ และขาดกระแสกระตุ้นตามจัวหวะ แพทยค์คงประชุมพิจารณาหาทางแก้ไขการทำงานของลิ้นหัวใจอย่างเร่งด่วน ซึ่งมีหลายวิธี

สมุนไพรที่จะบำรุงหัวใจ และเลี่ยงโรคหัวใจ ที่อาจารย์สุทธิวัสส์ คำภา เผยแพร่ความรู้ไว้ว่า กระชายเอามาต้ม เก็บน้ำใส่ตู้เย็น แล้วผสมกับน้ำผลไม้ดื่มวันละ 2 ช้อนโต๊ะ และชาใบเตย ต้มน้ำดื่ม กับใส่แหวนเงินไว้ที่นิ้วกลางซ้าย คนที่กล้ามเนื้อหัวใจไม่แข็งแรงเกิดจากไม่กินผลไม้ และถั่ว แต่ชอบกินข้าวเหนียว ส่วนคนที่หัวใจหลอดเลือดตีบ ให้งบผลไม้สดให้กินของดอง

น้ำผลไม้ที่มีประโยชน์กับหัวใจได้แก่ แครนเบอรี่ แครอท แอปเปิ้ล ใช้แบบแห้งทานเล่น หรือปรุงประกอบอาหารก็ได้ จะเสนอวิธีต่อไป

ถ้าขาดไวตามินอี จะทำให้หัวใจบกพร่อง

ถ้าขาดไวตามินดี ทำให้ไอทันทีทันใดบ่อยๆ อาจไม่ใช่มาจากโรคหัวใจ ควรออกแดด

ถ้าขาดไวตามินบี 1 Thaimine ทำให้หัวใจโต บวม ให้ทานถั่วลันเตา การปรุงอาหาร ถั่วลันเตาสุกเร็วใช้ความร้อนสูง และควรเพิ่มข้าวโพด แครอท มะเขือเทศ เพื่อให้ครบคุณค่าที่ร่างกายต้องการ เพราะสารบางอย่างมีไม่ครบ ก็ใช้วิธีทำให้ครบและได้รดชาติสมบูรณ์ ถั่วสปลิทพีทำซุปง่ายมาก ซื้อแห้งจากร้านทั่วไป ปรุงรสด้วยซอสถั่วแทนการใช้น้ำปลา ห้ามใช้เกลือ เพื่อป้องกันโรคหัวใจและโรคไต

งดอาหารเนื้อสัตว์ทุกชนิด งดเนย เพื่อป้องกันทางเดินเส้นเลือดทำงานลำบาก

การออกกำลังกายของผู้ต้องการรักษาหัวใจ คงต้องอยู่ในคำแนะนำของแพทย์ เพื่อไม่ให้หัวใจทำงานเกินขอบเขตพลังที่หัวใจจะทำได้ ไม่ใช่ว่าขาทำได้ หัวใจจะทำได้ เช่นคนวิ่งมาราธอน 26 ไมล์ครึ่ง หยุดพักเข้าห้องน้ำเท่านั้น หัวใจวายเฉียบพลันก็มี การออกกำลังกายระยะแรกอาจเดิน ครึ่งไมล์ในระยะ 30 นาที เพิ่มเป็น ครึ่งไมล์ในเวลา 20 นาที แล้วเพิ่มเป็นหนึ่งไมล์ ในระยะ 45 นาที ก่อนจะเดินหนึ่งไมล์ ในเวลา 30 นาที เป็นอุทธาหรณ์

ผู้ที่รู้ว่าเผชิญโรคหัวใจอยู่ ก็ไม่ต้องตกใจ วิทยาศาสตร์การแพทย์ก้าวหน้ากว่าโรคมาก มีทางเลือกในการดำรงชีวิตมากมายสมัยนี้ เริ่มต้นหามิตรแท้ที่เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจโดยเฉพาะ คำว่ามิตรหมายถึงผู้ที่ทำให้เรามีความรู้สึกดีจิตใจที่สบายเป็นสุขไว้เป็นเบื้องต้น และรัก(ษา)เรา อย่างจริงใจด้วยความชาญฉลาด แนะนำว่าเราควรทำอะไร กินอะไร นอนอย่างไร ออกกำลังอย่างไร เรื่องนี้สำคัญเป็นเบื้องต้น ต่อจากนั้น ก็มุ่งทางธรรม มีทั้งฝึกสมาธิ ฟังธรรมะ ออกกำลังอย่างไร และรักษาด้วยสมาธิ หมายถึงให้คนอื่นที่มีพลังส่งสมาธิมารักษาเรา เป็นศาสตร์เก่าที่เพิ่งฟื้นฟูในฐานะแพทย์ทางเลือก ประกอบการรักษาทางแพทย์สมัยใหม่ ได้ผลดี ใช้ตัวเรารักษาโรคเรา

หัวใจเป็นเรื่องละเอียดและสำคัญ เราอาจไม่มีโรคหัวใจ ก็อย่าไปคิดว่า เป็นโรคหัวใจ อาจมีผลมาจากหลายอย่าง ให้รู้จักตัวเอง สังเกตตัวเอง รักษาด้วยสรีระของตัวเอง มีทั้งจิตและใจ ที่จะรักษาให้สอดคล้องกัน ก่อนที่จะเป็นโรคหัวใจจริงๆ

ผู้เขียน สดศรี สุริยฉาย จบปริญญาตรี จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย จบปริญญาโทจาก School of Health and Human Services, California State University, Long Beach สอนด้านสุขภาพ โภชนาการ และสรีระในวิทยาลัยของแคลิฟอร์เนียภาคใต้ เป็นเวลา 30 ปี