สุขภาพและการบำบัด
สดศรี สุริยะฉาย
กว่าจะได้โกรทฮอร์โมนมาอยู่ในขวด

เริ่มตั้งแต่กลางศตวรรษ ราวปี 1850 บาทหลวงชาวออสเตรียนที่ศึกษาการปฏิบัติงานของยีนส์ต้นถั่วที่ท่านปลูกในวัดและคอยติดตามความเติบโตของสีดอกถั่ว ความย่นหรือราบเรียบของเม็ดถั่ว อะไรต่างๆ เหล่านี้ พระองค์นี้ชื่อเกรกเกอร์ เมนเดล ผลการศึกษาของท่านถูกเก็บไว้บนหิ้งจนต้นปี 1900 นักวิทยาศาสตร์ 3 คน พบกระดาษรายงานการค้นคว้าของท่าน เลยกลายเป็นพลุแห่งความสนใจตั้งแต่นั้นมา ศึกษากันหมด ตั้งแต่พืช แมลงวัน เชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส และอื่นๆ ไม่รู้ว่าเชื้อราที่กำลังใช้เป็นสิ่งบำบัดอาการข้อเข่าตอนนี้ ต่อยอดจากอันนั้นด้วยหรือเปล่า แต่ก็ดำเนินสืบมาเป็นร้อยปี กว่าจะได้โกรทฮอร์โมนมาอยู่ในขวด ให้เราฉีดสเปรย์ใต้ลิ้นวันละ 3 เวลา ครึ่งชั่วโมงก่อนอาหาร และครึ่งชั่วโมงก่อนนอน เพื่อเริ่มสร้างเซลล์ในร่างกายเหมือนสมัยเด็กเริ่มเจริญวัยอีกครั้ง

สมัยนั้นยังมองไม่ออกถึงความสำคัญของ ดี.เอ็น.เอ. (Deoxyribonucleic acid) ที่ประกอบด้วยสายพันกันเป็นคู่เรียกว่า nucleotides คือตัวโค้ดเฉพาะของจีนส์หรือยีนส์ มีความรับผิดชอบส่งข่าวสารเฉพาะตัวนี้ผ่าน อาร์.เอ็น.เอ. (Riboxynucleic acid) การถอดรหัสของสารเคมีในจีนส์เรียกว่า decipher เริ่มเป็นทางการตั้งแต่ปี 1990 ตั้งใจว่าจะให้รู้เรื่องภายในปี 2005 คือให้เวลา 15 ปี แต่ได้รับผลสำเร็จก่อนกำหนด เนื่องจากมีผู้เข้าร่วมงานด้านเอกชนและภาครัฐบาลทั่วโลก 16 สถาบันใน 6 ประเทศ เช่น อเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น พอปี 1996 ได้ตกลงกันว่าใครรู้อะไร ถอดรหัสอะไรได้ ต้องนำเข้า Genbank นับว่าเป็นแหล่งเว็บไซต์กลางที่เหมือนธนาคารแห่งข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เปิดโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์อื่นๆ ค้นคว้าในระหว่างทำงานกับบริษัทหรือมหาวิทยาลัย จากปี 1993 ถึงปี 1998 ปรากฏว่าใส่รหัสโค้ดจีนส์ได้ 120 ล้านตัว นับว่าเป็นผลงานกระจ้อยร่อย ยังมีอีกเยอะ ความจริงแล้ว การค้นคว้านี้ได้ถูกนำออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์เป็นระยะๆ ตลอดมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่แล้ว เมื่อเริ่มทำการก็อปปี้เซลล์ได้ เราก็สามารถเอา ดี.เอ็น.เอ. ของโกรทฮอร์โมนมาอยู่ในขวดให้เราสเปรย์ใต้ลิ้น แล้วซึมเข้าสู่จุดรับของเซลล์ที่ต่อมพิจุอิทาริ ซึ่งจะสั่งให้ผลิตโกรทฮอร์โมนได้เองในร่างกาย จากผลการค้นคว้าล่าสุด คือการใช้ปัจจัยแห่งการเติบโตจากสารที่ผลิตโดยตับเรียกว่า โซมาโตมิดีนซี (Somatomedin C) หรือเรียกว่า Insulin-like Growth Factor-1 เสริมต่อเซลล์ประสาทให้เจริญงอกงาม สามารถสร้างกล้ามเนื้อ และปรับภาวะกลูโคสในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ ทำหน้าที่เหมือนสารอินซูลินที่ผลิตโดยตับอ่อน (Pancreas) เลยได้รับขนานนามว่าสารคล้ายอินซูลิน ที่ปรากฎอยู่บนขวดโกรทฮอร์โมนที่เราสเปรย์ใต้ลิ้นนั่นเอง

ปัจจัยแห่งการเติบโตอื่นๆที่ค้นพบ และเรียกชื่อต่างกันเพื่อนำใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติมากขึ้น เช่น ปัจจัยแห่งการส่งเสริมการสร้างเม็ดเลือดแดง (Erythropoietin) สำหรับรายที่เป็นโลหิตจาง เนื่องจากการฉายแสง chemotherapy ปัจจัยแห่งการเติบโตใช้ในการบำบัดผู้ป่วยโรดเอดส์ เรียกว่า AZT ปัจจัยแห่งการเติบโตสำหรับผู้ที่ไตวาย ปัจจัยแห่งการเติบโตของผิวหนังส่วนบนในกรณีที่ผิวไหม้ หรือเป็นแผลในกระเพาะอาหาร เรียกว่า Epidermal Growth Factor (EGF) ปัจจัยแห่งการเติบโตจากเซลล์ชื่อไฟโปรบลาสต์ที่คอยส่งโปรตีนไปเสริมความแข็งแรงของสายใยคอลลาเจนและอีลานติน เรียกว่า Fiberblast Growth Factor (EGF) จะถูกนำมาใช้ในการเปิดทางเดินเส้นเลือดใหม่ เช่น รายที่ต้องทำการผิวหนังไปบริจาคให้ผิวหน้าส่วนอื่น หรือบำบัดความปวดจากผิวหนังจากแรงกด และที่สำคัญมาก ได้แก่ปัจจัยแห่งการเติบโตทางระบบประสาท เรียกว่า Neurotropic or Nerve Growth Factor (NGF) ซึ่งจะส่งเสริมให้ระบบประสาทควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อใหม่

ผลดีอเนกอนันต์จากการให้โค้ดสารเคมีของตัวบงการชีวิตของจีโนมของมนุษย์ มาจากผลงานยากลำบากยิ่ง เริ่มจากปี 1950 จึงเริ่มเห็นบทบาทที่ไม่ใช่โง่ของ DNA โดยนักวิทยาศาสตร์ 2 คน ชื่อ เจมส์ วัตสัน กับฟรานซิส คริค ต่อมานักวิทยาศาสตร์สามารถถอดโค้ดของ ดี.เอ็น.เอ. ออกมาได้ 4 ตัว คือ อะดีนีน ซิสโตซีน กัวนิน และโทมีน หรือตัวโค้ด A C G T ซึ่งแต่ละช่วงเป็นโปรตีนต่างๆกัน โปรตีนคือตัวสร้างเซลล์ที่เป็นหน่วยแห่งชีวิต โดย RNA รับคำสั่งมาจาก DNA ภายในของเซลล์ นำออกมาสร้างโปรตีนเพื่อเป็นเซลล์สร้างกระดูก เลือด กล้ามเนื้อ ประสาท และเซลล์อื่นๆ เปรียบเทียบกับ ดี.เอ็น.เอ. คล้ายกับไข่แดง มีเซลล์อื่นๆ รอบๆ ไข่แดงที่สร้างโปรตีนที่ต้องการนั้น มีตัวเก็บโปรตีนชื่อริโบโซมส์ หากมีการให้โค้ดผิดของช่วงจีนส์ที่สร้างโปรตีนนั้นๆ ก็เป็นทางนำไปสู่โรคร้าย เช่นก้อนเนื้อร้ายในเนื้อเยื่อ หรือมะเร็ง การมีความเข้าใจในเรื่องของจีนส์จึงมีความหมายอันสำคัญยิ่งยวดต่อชีวิต ต่อความตาย และต่อเชื้อชาติของมนุษย์

ผลดีของการค้นคว้าเรื่องจีนส์เริ่มปรากฏเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้วิธีการโคลนนิ่ง (Cloning) ผลิตแกะมาให้เห็นโดยไม่ต้องมีการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ หรือการโคลนนิ่ง ดี.เอ็น.เอ. ของโกรทฮอร์โมน หรือการโคลนนิ่งตัวปัจจัยแห่งการเติบโต IGF-1 จากตับมาช่วยผู้เป็นเบาหวานซึ่งเกิดดื้อต่ออินซูลินที่เคยผลิตในร่างกายมานานแสนนานโดยตับอ่อน แต่กว่าจะออกมาใช้ประโยชน์ได้นี้ ก็กินเวลาในการค้นคว้านับสิบปี และต้องศึกษาจีนส์เป็นจำนวนหมื่นๆจีนส์ เพื่อที่จะวิเคราะห์ตัวจีนส์ที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจ โรคสมอง โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง

คุณทึ่งในความมหัศจรรย์ของการค้นคว้าบ้างไหม กว่าจะเอามาให้โค้ดแต่ละตัวได้ โมเลกุลของ ดี.เอ็น.เอ. ยุ่งยากพันกันซับซ้อนแบบริบบิ้นสามมิติ นักวิทยาศาสตร์ต้องเอามาแจงออก แล้วก็อบปี้ขึ้นมา แล้วแยกอันที่มีความยาวต่างกันไว้เป็นพวกๆ โดยใช้ป้ายชื่อติดไว้เป็นสีต่างกันสำหรับสารเคมีแต่ละตัวในสี่ตัวที่สร้าง ดี.เอ็น.เอ. คือ A C G T แล้วใช้กระแสไฟฟ้าดึงอันที่มีความยาวน้อยที่สุดไปหายาวที่สุด ไปตามท่อเล็กขนาดเส้นผมตุ๊กตาที่ทำหน้าที่เป็นเส้นเลือดเพราะใส่เซลล์ไว้ อุปกรณ์สมัยใหม่สามารถทำพร้อมกัน 96 ท่อ สามารถทดลอง 96 ดี.เอ็น.เอ. พร้อมกันได้ในเวลาเดียวกัน จากนั้นใช้แสงเลเซอร์จัดเรียงตามโค้ดสีที่ติดป้ายไว้ และคอมพิวเตอร์จะให้โค้ดต่อไป โค้ด ดี.เอ็น.เอ. ของมนุษย์ใช้เนื้อที่มากกว่าของไวรัส 5 แสนเท่า กว่าจะได้โค้ด ดี.เอ็น.เอ. และแยกออกถูกว่าตัวไหนก่อให้เกิดความผิดปกติ และจะใช้สารเคมีอะไรไปรักษา โกรทฮอร์โมนถึงยังแพงอยู่

โกรทฮอร์โมนสูตรที่หนึ่งเริ่มเมื่อปี 1998 ใช้สูตรที่สองปี 2000 และหลังจากนั้นเป็นสูตรที่สาม โกรทฮอร์โมนสูตรที่หนึ่งเป็นโกรทฮอร์โมนบริสุทธิ์จากมนุษย์ในระบบโฮเมโฮพาทีระบบ C สูตรที่สองเพิ่มสารคล้ายอินซูลินปัจจัยแห่งการเติบโตประเภทที่หนึ่ง (Human Growth Hormone with Insulin-like Growth Factor Type 1) สูตรที่สามเพิ่มโปรตีนอะมิโนแอซิดเพื่อเสริมการสร้างชีวิตเซลล์ต่างๆ ทั่วไปในร่างกาย

การเลือกใช้โกรทฮอร์โมนต้องศึกษาให้เข้าใจว่ามาจากอะไร บริสุทธิ์หรือไม่ ร่างกายผลิตโกรทฮอร์โมนเองหรือเปล่า และมีประสิทธิภาพเพียงใด ที่สำคัญที่สุดคือความเป็นระบบโฮเมโอพาที (Homeopathic formula) ในระบบ C คือขยายกำลังในฐาน 99 ทำให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ใช่ระบบ X ซึ่งขยายกำลังในฐานเพียง 9