สุขภาพและการบำบัด
สดศรี สุริยะฉาย
รักดวงใจ

ถ้าถามว่ารักอะไรที่สุดในชีวิต ก็ต้องตอบว่ารักดวงใจ ถ้าไม่รักดวงใจก็ไม่มีชีวิตไปรักใครหรอก เพราะสารเคมีที่ดวงใจใช้สร้างชีวิตนั้นสำคัญต่อส่วนอื่นของร่างกายอีกมากมาย เรารับรู้ว่ากลไกชีวิต คือ Electrochemical ประกอบด้วยสมองซึ่งทำหน้าที่ส่งสัญญาณด้วยประจุไฟฟ้าติดต่อภายในเซลล์และคุยกันระหว่างเซลล์ ถ้าไร้ดวงใจส่งสารเคมีไปสู่สมอง ก็ปราศจากซึ่งข่าวสารใดๆ ทั้งสิ้น การดำเนินชีวิตก็ยุติด้วยประการทั้งปวง

ย้อนไปถึงคำถามที่ว่า เราเคยสงสัยไหมว่า ทำไมดวงจันทร์ถึงหมุนรอบโลก ทำไมโลกถึงพาดวงจันทร์หมุนรอบดวงอาทิตย์ ทั้งๆที่เราคิดว่าดวงอาทิตย์หมุนรอบโลกเพราะเราเคยพูดว่า ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ราวกับว่าดวงอาทิตย์โคจร เปล่าดอกโลกต่างหากที่พาดวงจันทร์โคจรรอบดวงอาทิตย์ เพราะว่ามีพลัง 4 ประการ ได้แก่ พลังดึงดูด พลังแม่เหล็กไฟฟ้า พลังนิวเคลียร์สูง และพลังนิวเคลียร์อ่อน แต่จะไม่สนใจเรื่องนั้นดอก เพราะเรากำลังมองเข้าไปภายในตัวเรา ชีวิตของเราประกอบด้วยพลังแห่งจักระ พลังภายในกับสารเคมี และเราสามารถสื่อสารผ่านหินตามหลักของเร็คคี้และบำบัดด้วยจักระ

Electrochemical ที่เราสนใจคือการพิจารณาถึงการทำงานของดวงใจหรือหัวใจ ว่าใช้สารเคมีอะไรที่สำคัญช่วยให้ดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาพดี ไร้การเจ็บป่วยเป็นโรคต่างๆ เพราะยารักษาได้บางโรค มีหลายโรคที่ยังรักษาไม่ได้ เช่น โรคสามเอ ได้แก่ Arteriosclerosis หรือ โรคเส้นโลหิตแดง Arthritis หรือ โรคกระดูก Alzheimer’s หรือโรคความจำเสื่อม และโรคอื่นๆเช่นโรคมะเร็ง ตรายใดที่ร่างกายมีออกซิเจนก็ยากที่เซลล์จะเป็นมะเร็ง โรคเบาหวาน ถ้าเรารู้กินรู้เลี่ยงก็ยากที่จะมีโรคเบาหวาน โรคซึมเศร้าก็ใช้วิธีสัมผัส 5-6 ประการที่เคยกล่าวมาแล้วรักษาไปพลางๆ อย่าให้ถึงกับกินยาที่มีผลข้างเคียงถึงกับอยากฆ่าตัวตายก็แล้วกัน โรคหลังประจำเดือนยุติก็เข้าวัดทำสมาธิไว้บ้างเพื่อให้จิตสงบ โรคไขข้อก็เลี่ยงบริโภคกรดยูริคจากผักคะน้าและสัตว์ปีก โรคพาร์คินสันหรือโรคสั่นก็ปรึกษาแพทย์หรือเรียนรู้การนวดปลายประสาทเพื่อส่งถึงระบบการสื่อสารไฟฟ้าของสมองเข้าสู่การบำบัดภายใน หรือใช้การบำบัดด้วยจักระ

สารเคมีที่น่าสนใจคือ แมกนีเซียม ซึ่ง USDA’s Human Nutrition Research Center รายงานว่าการขาดสารแมกนีเซียมจะเป็นบ่อเกิดของโรคหัวใจและอื่นๆ อีกหลายประการ เพราะแมกนีเซียมเป็นตัวสำคัญในการสื่อสารประจำไฟฟ้า (Electrolyte) ซึ่งจะส่งไปสู่กล้ามเนื้อ เพื่อทำการเคลื่อนไหว ผู้ที่ขาดแมกนีเซียมจึงต้องการออกซิเจนหรือสารเคมีที่เป็นอาหารเข้าสู่การทำงานของหัวใจมากขึ้น ในระหว่างการออกแรงเคลื่อนไหว ทำให้หอบ เหนื่อยง่าย เมื่อต้องใช้แรง เพื่อขยายเส้นโลหิต หัวใจเต้นถี่ขึ้น แรงขึ้น เพื่อให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงต่อการทำงานมากขึ้น และต้องควบคุมหรือลดความหนืดของเกร็ดเลือด เพื่อไม่ให้ความดันโลหิตสูงขึ้น อาจส่งผลให้เจ็บที่กลางหัวใจเพราะปริมาณโลหิตเข้าสู่หัวใจลดลง ในการนี้แมกนีเซียมจะเป็นตัวแก้ปัญหามิให้เกิดขึ้น และแก้อาการปวดกล้ามเนื้อ เพราะขาดออกซิเจนในขณะที่กำลังเดินอยู่

อาการอีกอย่างหนึ่งที่เกิดกับหัวใจเรียกว่า Arrhythmia คือ ภาวการณ์เต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ เพราะขาดแมกนีเซียม ส่งผลไปสู่การขาดโปตัสเซียม ทั้ง 2 สารนี้เป็นตัวนำประจุไฟฟ้าที่จำเป็นสำหรับส่งไปสู่กล้ามเนื้อหัวใจและส่วนอื่นๆ เพื่อการเคลื่อนไหว

Cardiomyopathy คือภาวการณ์หดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจที่สูบฉีดโลหิตอ่อนแอ แมกนีเซียมจะทำให้ภาวะนี้แข็งแรงขึ้น กล้ามเนื้อของหัวใจสามารถทำงานสูบฉีดโลหิตดีขึ้นเพราะหดตัวดีขึ้น

Congestive Heart Failure (CHF) คือภาวการณ์ส่งโลหิตจากหัวใจลดลง เนื่องมาจากการขาดแมกนีเซียม หรือเกิดจากภาวะลิ้นหัวใจอ่อนแอด้วย เพราะความดันโลหิตสูงอยู่เสมอ

Mitral Valve Prolapse (MVP) คือภาวะหัวใจเต้นไม่ได้จังหวะ เรียกว่า heart murmur สามารถตรวจพบด้วย stethoscope โดยมากเป็นกับสตรีมากกว่าบุรุษ อาจเป็นผลจากอาการผิดปกติของลิ้นหัวใจไม่ปิดสมบูรณ์ หรือขาดแมกนีเซียมเป็นเวลานาน

การขาดแมกนีเซียมอาจส่งผลถึงภาวะเบาหวาน ได้แก่ การผลิตอินซูลินหรือการดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งมีผลทั้งโรคเบาหวานและอาการเรียกว่า hypoglycemia คือ กลูโคสในเลือดต่ำ พาให้เกิดช็อคต่ออินซูลิน เพราะน้ำตาลในเลือดไม่ทำงานหรืออยู่ในการควบคุมของอินซูลินได้ แมกนีเซียมช่วงป้องกันอาการข้างต้น

การมีเบาหวานส่งผลไปสู่ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง รวมทั้งโรคหัวใจ แมกนีเซียมช่วยป้องกันโรคและอาการข้างต้นได้ จะเห็นได้ว่า สตรีที่ขาดแมกนีเซียมมักจะมีกระดูกอ่อนแอ พรุน ภาวะอารมณ์ไม่คงที่ ประสาทไม่ปกติมีอาการร้อนรน

แมกนีเซียมช่วยให้กล้ามเนื้อหลอดลมอ่อนตัว ช่วยให้การหายใจสะดวกขึ้น การขาดแมกนีเซียมจึงพาให้อ่อนเปลี้ยเพลียแรงเป็นประจำ

Fibromyalgia เป็นภาวะไม่ปกติเกี่ยวกับการปวดข้อ ขาดความยืดหยุ่น ปวดเจ็บเป็นจุดๆ ตามกล้ามเนื้อถูกต้องไม่ได้ มีอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรงเป็นประจำ ปวดหัวเป็นประจำ นอนหลับไม่ปกติ การเสริมแมกนีเซียมประมาณ 300-600 มก. จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวด

Glaucoma ต้อหิน คือความดันในลูกตาไม่ปกติ อาจส่งผลไปสู่ตาบอด แมกนีเซียม จะช่วยการหมุนเวียนโลหิตไปสู่ดวงตาดีขึ้น

Hearing Loss ไม่สามารถได้ยินตามปกติ เพราะมีเสียงรบกวนในหู

Kidney stone หินในไต ใช้ แมกนีเซียมไซเตรท และไวตามินบี 6 ช่วย เพราะการมีหินในไตอาจส่งผลไปสู่การขาดแคลเซียม ซึ่งส่งผลไปสู่ภาวะกระดูก

Migraine and Tension headache การมีแมกนีเซียมน้อยในเซรั่ม ในน้ำลาย และในเม็ดเลือดแดง จะส่งไปถึงอาการปวดศีรษะประจำ แมกนีเซียมจะช่วยภาวะเส้นเลือดตีบให้เป็นปกติ

สาเหตุที่ส่งผลให้แมกนีเซียมในร่างกายต่ำ ได้แก่ ตับอ่อนไม่ทำงานตามปกติ ติดสุรา ต้องบำบัด เบาหวาน เหงื่อออกมากเกินเหตุ ต่อมไทรอยด์ทำงานหนักผิดปกติ การดูดซึมอาหารในลำไส้เล็กไม่สมบูรณ์ อาจเป็นเพราะมีน้ำมันเคลือบผนังลำไส้เล็กที่เป็นส่วนทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร เป็นโรคไต การขาดแคลเซียม ไวตามินดี และขาดโปรตีน ร่างกายต้องใช้แมกนีเซียมโดยเฉพาะที่กระเพาะอาหารเพื่อสร้างกรดไฮโดรคลอริค และเปลี่ยนโปรตีนเป็นอะมิโนแอซิตเพื่อใช้ประโยชน์ในร่างกายได้

องค์กรชื่อ Food and Nutrition Board of the National Academy of Science แนะนำว่าสตรีควรเพิ่มแมกนีเซียมประมาณ 300 มก. ต่อวัน บุรุษ 400 มก. ด็อเตอร์มิลเดรท ซีลิค แนะนำว่า 6 มก. ต่อน้ำหนักตัว 2.2 ปอนด์ 300 มก. ต่อ 110 ปอนด์ 420 มก. ต่อ 154 ปอนด์ และ 540 มก. ต่อน้ำหนักตัว 200 ปอนด์ อาหารที่มีแมกนีเซียมได้แก่ถั่วอัลมอนด์ อโวคาโด มะพร้าว กุ้ง ผักเขียว และข้าว