สุขภาพและการบำบัด
สดศรี สุริยะฉาย
วงจรชีวิต

ใครว่าวงจรชีวิต คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ถ้าวงจรตามนี้ ชีวิตอาจจะไม่มีอะไรเหลือเลยเมื่อตายแล้ว เรียกว่าไม่มีความหมาย ผู้เขียนคิดว่าวงจรชีวิต น่าจะเป็น เกิด สร้าง ชีวิต วาย คือ เกิดมาแล้วสร้างร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกาย กินอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อโลหิต กระดูก กล้ามเนื้อ ประสาท และระบบการทำงานในร่างกายอื่นๆ ระหว่างนั้นก็ศึกษาหาความรู้เพื่อที่จะได้ผลิตผลงานที่ตัวเองสนใจและเป็น ประโยชน์ต่อตนเองและสังคม คิดง่ายๆก็คือ เมื่อเกิดแล้ว เติบโตขึ้นพร้อมกับการออกกำลังสร้างสุขภาพ ซึ่งจะส่งผลให้สติปัญญาการเรียนรู้มีความสามารถดีขึ้น พร้อมทั้งเลือกบริโภคอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อการสร้างกล้ามเนื้อ กระดูก โลหิต ระบบสมอง เป็นผลดีต่อการสร้างปัญญาสำหรับการเรียนรู้วิชาชีพต่อไป ตนเองอาจเลือกทางที่ชอบแต่ก็ควรปรึกษาผู้มีประสบการณ์เห็นคุณค่าต่อชีวิตและการศึกษา อย่างเช่น มร.อีลอน มัสค์ มีมารดาเพียงผู้เดียวเลี้ยงดูส่งเสริมชีวิตของเขา จนสามารถส่งยานอาวกาศไปสู่ดาวพระอังคาร เก็บตัวอย่างสารจากดาวดวงนั้นมาทำเงินได้ถึง 250 ล้าน น่าคิดว่า วงจรชีวิตต่อไปของเขาจะเป็นอย่างไร

วงจรชีวิตของเรา คิดง่ายๆ เกิดมาแล้วก็หาความรู้ จะทำไร่ ทำนา ปลูกผัก ล้วนได้ประโยชน์แก่โลกและอีกหลายชนิด การออกลังกายสร้างความแข็งแรงให้ร่างกายและมีภูมิต้านทานโรค รู้วิธีเอาตัวรอดจากไวรัสที่ระบาดอยู่ ที่จำเป็นในวงจรชีวิตก็คือการศึกษา จำเป็นต่อการสร้างชีวิตที่เป็นปึกแผ่นต่อตัวเอง ต่อครอบครัวและมีรายได้ยามชราภาพ หลังการศึกษาก็คือการประกอบอาชีพสร้างรายได้ เพื่อตัวเอง และครอบครัว

อาหารที่หมอเขียว ผู้เป็นนักวิชาการสาธารณสุข นักบำบัดสุขภาพทางเลือก และครูฝึกแพทย์แผนไทย ชื่อเต็มคือ ใจเพชร มีทรัพย์ ให้ความเห็นว่า อาหารกลุ่มข้าวขาว น้ำตาล เส้นขาว วุ้นเส้น เป็นคาร์โบไฮเดรทที่ให้ความร้อนน้อยที่สุด แต่เคลื่อนที่หรือดูดซึมเร็วที่สุดและหมดฤทธิ์เร็วที่สุด จึงต้องไปดึงเอาไวตามินที่อยู่ในร่างกายมาใช้ในการสันดาป ถ้ากินเป็นประจำ ร่างกายจะขาดไวตามินและแร่ธาตุสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อรู้สึกว่าหิวง่ายหิวเร็ว ให้ปรับมากินข้าวซ้อมมือหรือ ข้าวกล้อง เพราะมีไฟเบอร์ ไวตามิน และแร่ธาตุ

อาหารกลุ่มผักฤทธิ์เย็น เช่น ผักบุ้ง ตำลึง บวบ ฟักทอง แตงต่างๆ มะละกอดิบหรือห่าม สายบัว กล้วยดิบ หัวปลี มะรุม หญ้าปักกิ่ง ว่านหางจระเข้ ถั่วงอก มะเขือเทศ กะหล่ำดอก บล็อกเคอรี่ ผักกาดขาว หัวไชเท้า ผักกาดหอม ย่านางเขียวและขาว ใบเตย รางจืด ฟักทองอ่อน ยอดฟักทอง ดอกฟักทอง ใบมะยม ข้าวโพด ขนุนดิบ ใบมะขาม ใบส้มป่อย

สำหรับผักพาย ใบบัวบก และมะเขือพวง หรือ พืชรสขมทุกชนิด เป็นร้อนดับร้อน หมายความว่ากิน เมื่อรู้สึกว่าร่างกายเย็น สู้ไข้ไม่ได้ หรือกินเมื่อต้องการให้ร่างกายมีความร้อนต้านการคุกคามของไวรัส แบคทีเรีย

อาหารฤทธิ์ร้อน กลุ่มคาร์โบไฮเดรท เช่น ข้าวเหนียว ข้าวแดง ข้าวดำ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เล่ย์ เผือก มันกลอย อาหารหวานจัด ขนมปัง ขนมกรุปกรอบ บะหมี่ซอง

กลุ่มโปรตีนฤทธิ์ร้อน เช่น เนื้อ นม ไข่ เห็ดโคน เห็นหลินจือ ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลิสง ถั่วทอดทุกชนิด โปรตีนจากพืชและสัตว์ที่หมักดอง เช่น เต้าเจี้ยว มิโสะ โยเกิร์ต ซีอิ้ว กะปิ น้ำปลา ปลาร้า

กลุ่มไขมัน เช่น รำข้าว จมูกข้าว งา เนื้อมะพร้าว กะทิ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดอัลมอนด์ เมล็ดฟักทอง เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ น้ำมันพืช น้ำมันสัตว์

กลุ่มผักฤทธิ์ร้อน ได้แก่ ผักที่มีรสเผ็ด เช่น กระชาย กะเพรา ยี่หร่า โหระพา พริก แมงลัก กุ้ยช่าย ต้นหอม หอมหัวใหญ่ หอมแดง กระเทียม ผักชี พริกไทย (ร้อนมาก) ขิง ข่า (ข่าแก่จะร้อนมาก) ขมิ้น ไพล ใบมะกรูด ตะไคร้ เครื่องเทศ นอกจากนี้มีผักบางชนิดไม่มีรสเผ็ด แต่มีฤทธิ์ร้อน เช่น คะน้า แครอท บีทรูท กะหล่ำปลี ชะอม ถั่วผักยาว ถั่วพู สะตอ กระเฉด ลูกตำลึง ฟักทองแก่ โสมจีน โสมเกาหลี แปะตำปึง ผักกาด เขียวปลี ใบยอ ผักโขม ใบปอ หน่อไม้ เม็ดบัว สาหร่ายน้ำจืด รากบัว ใบยอดและเม็ดกระถิน พืชที่มีกลิ่นฉุน

กลุ่มผลไม้ฤทธิ์ร้อน เป็นกลุ่มผลไม้ที่ให้น้ำตาล และไวตามินหรือธาตุอาหารที่นำไปสู่กระบวนการเผาผลาญเป็นพลังแคลอรี่มาก เช่น ฝรั่ง ขนุนสุก ลิ้นจี่ เงาะ ลำไย ทุเรียน น้อยหน่า องุ่น ส้มเขียวหวาน กล้วยไข่ มะตูม ละมุด กล้วยปิ้ง ลองกอง มะเฟือง มะปราง มะไฟ ทับทิมแดง มะม่วงสุก ลูกยอ กระเจี๊ยบแดง ระกำ มะขามสุก

อาหารที่มีฤทธิ์ร้อนมาก ถ้ากินมากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น เค็มจัด มันจัด หวานจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ฝาด ร้อน และขมจัด อาหารไขมันมาก พืชผักที่มีสารเคมีมาก ผงชูรส ยากระตุ้น

เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คาเฟอีน หรือ น้ำตาลที่มากเกินไป เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์ ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง

อาหารที่มีโซเดียมสูง ได้แก่ อาหารแปรรูป หรือสำเร็จรูปต่างๆ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมอบ ขนมกรุปกรอบ อาหารกระป๋อง ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง ข้าวหมาก ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ไข่เค็ม ของหมักดอง อาหารทะเล (จะมีทั้งไขมันและโซเดียมสูง) น้ำร้อนจัด น้ำเย็นจัด และน้ำแข็ง

โดยขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน ว่าจะลด หรือ งดอะไร แค่ไหน ที่จะทำให้โปร่งโล่งสบาย เบากายและกำลังเต็มที่ มากที่สุด

การปรุงอาหารให้มีฤทธิ์เย็นเพื่อแก้ภาวะร้อนเกิน ใช้เมนูอาหารที่เราเคยกิน แต่ลดปริมาณของสิ่งที่มีฤทธิ์ร้อนลงให้เหลือไม่เกิน 30% ของที่เคยปรุง และลดรสชาติอาหารให้มีความเข้มข้นเหลือไม่เกิน 30% จนกว่าร่างกายจะปรับสภาพ อาหารรสจัดจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพ