สุขภาพและการบำบัด
สดศรี สุริยะฉาย
ความแตกต่างระหว่างยอดเขากับอุโมงค์

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า กว่าจะได้เห็นกระเช้าลอยฟ้าไปตามสายลวดสลิงค์ขึ้นไปชมวิวภูเขาและท้องมหาสมุทรสีครามอันสดใสงดงาม หรือเมื่อเปิดก๊อกก็มีน้ำไหลออกมาให้เราได้อยู่กินอาบน้ำยามร้อนได้นั้น ต้องใช้เวลากว่า 3 ปี ที่เด็กหนุ่มวัยฉกรรจ์ต้องถอดเสื้อขุดหินในอุโมงค์ยาวเหยียด ความยากลำบากในการทำงาน ที่ส่งผลให้ชาวเมืองนางฟ้ามีกินมีน้ำใช้ยามต้องการในทุกวันนี้ ไม่เหลือทายาทแห่งความยากลำบากให้เราแสดงความสำนึกในบุญคุณได้เช่นเดียวกับที่เราแสดงต่อกองกำลังนายแพทย์พยาบาลที่ทำงานรักษาสุขภาพของเราให้รอดชีวิตจากภัยของไวรัสโคโรน่าในปัจจุบัน ฉะนั้นทุกครั้งที่เราเปิดก๊อกก็อย่างทิ้งขว้าง ถึงแม้มันจะผสมโลหะตะกั่วที่ไม่ดีต่อสุขภาพร่างกายเรา ก็รู้จักป้องกันโดยเลี่ยงไปใช้น้ำกลั่นในการหุงต้มหรือล้างผักแทนน้ำประปา เพื่อช่วยป้องกันรักษาระบบการทำงานภายในร่างกายไว้โดยทุกวิถีทาง

ฉบับที่แล้วได้กล่าวถึงการออกกำลังมือเพื่อส่งผลต่อการบำรุงสุขภาพและการทำงานของอวัยวะภายใน เป็นการทำงานนวดเรียกว่า Reflexology คือส่งผลไปสู่อวัยวะที่เราไม่สามารถสัมผัสได้

การบริหารไตขวาและไตซ้าย ให้หงายมือขวาขึ้น มือซ้ายคว่ำลง ใช้มือขวาตีนบนหลังมือซ้าย ทำ 36 ครั้ง และสลับข้างทำ นับ 36 ครั้ง เช่นเดียวกัน มีลูกศิษย์ถามว่าทำไมต้องทำถึง 36 ครั้ง ก็เพื่อให้แรงกระทบภายนอกของมือทั้งสองส่งสัญญาณสู่ไตภายในร่างกาย และอื่นๆ ได้

การกระตุ้นเส้นลมปราณ ซึ่งเรารู้ว่ามีการเดินทางไปตามทางเดินของ Hara ซึ่งเป็นพลังภายในรับจากพื้นดินสู่สมอง เริ่มจากฝ่าเท้าไปตามทางเดินผ่านจุดพบกันของพลังภายในที่จุดฮุยหยินตรงใต้สะดือก่อนที่จะเดินทางผ่านจักระต่างๆสู่สมอง เป็นการทำงานของศูนย์รวมอวัยวะภายในที่เราใช้ในการบำบัดด้วยจักระและพลังลมปราณนี้ จะสามารถกระตุ้นจากภายนอกที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าได้โดยระบบ Reflexology ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ต้องศึกษาต่างหาก ขณะนี้เราทำงานเฉพาะจุดอวัยวะภายในบนฝ่ามือฝ่าเท้า เป็นศาสตร์หนึ่งของการบำบัดด้วยจักระ ซึ่งผู้เขียนเรียนมาจากอาจารย์เยาวเรศ ที่เมืองไทยหลายสิบปีมาแล้ว ท่านเรียนมาจากสามี คือ พลเรือตรีหลวงสุวิชาณแพทย์ซึ่งเป็นแพทย์ใหญ่ประจำกองทัพเรือ เรียนมาจากศาสตร์ของอียิปต์ซึ่งสอนมากว่าร้อยปีแล้ว ผู้เขียนก็ชักจะหลงลืม เพราะไม่ได้สอนที่โครงการพิเศษ Burbank Adult School เนื่องจากปิดโรงเรียนเพราะโรคระบาด ยังไม่รู้ว่าจะเปิดอีกเมื่อไหร่ เมื่อถึงวันนั้น ความจำของผู้เขียนจะยังมีอยู่หรือไม่ ฉะนั้น ควรรวบรวมความรู้ที่ผ่านสายตาอยู่นี้ไว้ก่อน

การกระตุ้นเส้นลมปราณ เปิดจุดรับพลัง ซ้าย-ขวา ให้กางมือซ้ายขึ้น ใช้นิ้วหัวแม่มือขวาหมุนตามเข็มนาฬิกา ตามจุกเล่ากง คือ บริเวณเหนือมือขึ้นไป ค่อนไปทางนิ้วโป้ง นับ 36 ครั้ง และทำสลับมือเช่นเดียวกัน นับ 36 ครั้ง

ความรู้ทั่วไปรักษาสุขภาพแข็งแรง

ท่าที่ 1 สองมือกำหมัด ชนกัน ด้านหัวแม่มือ 36 ครั้ง รักษาประสาทโดยรวมทั่วร่างกาย ทั้งท่อนบน ใบหน้า ปวดหู ปวดฟัน ต่อมทอนซิลอักเสบ คออักเสบ โรคลมชัก ป้องกันการเป็นหวัด

ท่าที่ 2 สองมือหงายขึ้น กระทบสันมือด้านนิ้วก้อย 36 ครั้ง รักษาชีพจรของลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็ก รักษาโรคปวดศีรษะ คอแข็ง ปวดหู ปวดหลัง ปวดหัวไหล่ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อรอบคอ และป้องกันโรคกระดูกผุ กระดูกเสื่อม

ท่าที่ 3 สองมือหงายขึ้น กระทบกันตรงข้อมือ 36 ครั้ง รักษาชีพจรของหัวใจ และชีพจรของที่ห่อหุ้มหัวใจ รักษาการนอนไม่หลับ ป้องกันโรคหัวใจ อึดอัดแน่นหน้าอก ผ่อนคลายอารมณ์ที่ตึงเครียด

ท่าที่ 4 สองมือหงายขึ้น กระทบหัวแม่มือกับนิ้วชี้ซึ่งกันและกัน 36 ครั้ง รักษาเลือดกำเดา ท้องอืด อาการไอ ลำไส้และกระเพาะอาหารหดตัว

ท่าที่ 5 สองมือกางนิ้วออกห่างกัน ประสานนิ้วมือเข้าหากันทั้งสองมือ 36 ครั้ง รักษาโรคลมตะกัง ปวดฟัน ตาบวม ตาแดง มือบวม นิ้วทั้ง 5 ปวดชา มือชา เท้าชา

ท่าที่ 6 มือซ้ายกำหมัด มือขวาแบออกรับหมัดมือซ้าย 36 ครั้งแล้วสลับกัน ส่งผลสำคัญสู่ชีพจรหัวใจ และชีพจรเยื่อห่อหุ้มหัวใจ

ท่าที่ 7 สลับเช่นกันกับท่าที่ 6 ส่งผลเหมือนกัน

ท่าที่ 8 ฝ่ามือขวาคว่ำ มือซ้ายคว่ำลงตีหลังมือขวา ส่งผลสู่อวัยวะสามช่วงของอวัยวะภายในร่างกาย รักษาอาการกระหายน้ำ ปากแห้ง หนาวๆ ร้อนๆ ปวดข้อมือ ป้องกันและรักษาโรคเบาหวาน

ท่าที่ 9 หัวแม่มือและนิ้วชี้ดึงปลายติ่งหู 36 ครั้ง รักษาสายตา ประสาทใบหน้า และการหมุนเวียนของโลหิตในสมอง

ท่าที่ 10 ถูฝ่ามือจนร้อน แล้วใช้ฝ่ามือที่ร้อนประกบทั้งสอง เวียนลูกตาหมุนไปทางซ้าย 6 ครั้ง หนุนไปทางขวา 6 ครั้ง แล้วนวดหน้า โดยใช้ฝ่ามือลูบหน้าจากตรงกลางไปสู่ขมับ ให้แตะหู ติ่งหู กราม แล้วใช้มือเคาะศีรษะเบาๆ นวดกระพุ้งแก้ม เป็นหลักทฤษฎีกำลังภายในชี่กง เพื่อปรับประสาทตารักษาสายตาสั้นและยาว

ท่าการออกกำลังอวัยวะภายในและรักษาสุขภาพทั่วไปโดยรวมในฉบับนี้ จะช่วยให้ง่ายต่อการปฏิบัติ และมีคู่มืออยู่ในฉบับเดียวกัน แม้จะซ้ำกับฉบับที่แล้วบางตอน แต่ก็สะดวกต่อคนที่จะมีคู่มือกางไว้ตรงหน้า จนกว่าจะจำได้ตลอด เข้าใจว่า ผู้เขียนเองก็ต้องทำ เพราะร่างกายวัยสูงอายุเท่าอาจารย์สมัยเรียนกับท่าน ก็ย่อมมีความเสื่อมในความจำเป็นธรรมดา หวังว่าจะฟื้นบ้างเพราะการได้แพร่ความรู้ให้ผู้อื่นและตัวเองพร้อมกัน

หวังว่า ผู้อาวุโส จะเจริญวัยแข็งแรงยิ่งขึ้น

รักษาตัวเองให้รอดปลอดจากภัยแห่งไวรัสโคโรน่า

รู้จักการคิดดีต่อผู้อื่น หวังดีต่อผู้อื่น ทั้งสัตว์และพืช

ทำตัวให้เห็นความแตกต่างระหว่างยอดเขากับอุโมงค์ ถึงแม้จะใช้เวลานาน แต่ก็สร้างผลดีต่อชีวิตนาน