สุขภาพและการบำบัด
สดศรี สุริยะฉาย
สมองสั่งการ

ไม่ว่าคนหรือสัตว์ บงการด้วยสมองทั้งสิ้น จำได้ไหม สุนัขตัวหนึ่งสามารถตามกลิ่นกางเกงในของบินลาเดน ไปหาเขาเจอที่สุดปลายอุโมงค์ใต้ดิน นึกว่ารอดแล้วเชียวนา แต่สมองของสุนัขตัวเก่งของสายสืบอเมริกันสามารถใช้การทำงานของสมองตามกลิ่นที่อยู่ใต้ดินไปจนเจอที่สุดอุโมงค์ เขาไม่รู้ตัวว่าจะถูกฆ่าตาย แมวบีบี้ของผู้เขียนเป็นพันธุ์ไซมีสเกิดในอเมริกา สีก็เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่มากขึ้นตามแฟชั่นพลเมือง มีสัญชาติญาณฉลาดพอตัวแบบแมวไทย หน้าร้อนอุณหภูมิเกินร้อย เขาชอบเลียน้ำแข็งในถ้วยเล็กๆเติมน้ำกลั่นลอยหน้าให้เลียน้ำเย็นๆเป็นที่สบายใจ เขาชอบเพราะผ่อนความร้อนภายใต้ขนหนาได้ ขนาดผู้เขียนไม่มีขนผิวยังชุ่มด้วยเหงื่อ เพราะแอร์คอนดิชั่นไม่ทำงานตามหน้าที่เช่นเดียวกับผู้จัดการอพาร์ทเม้นท์ แจ้งไปแล้วสามสัปดาห์ ก็ยังไม่ได้เรื่อง เหมือนอย่างเช่นเตาแก๊สรั่วเป็นแก๊สคาร์บอนโมนอกไซด์ซึ่งเป็นแก๊สอันตรายต่อชีวิตแจ้งไปแล้ว 2 ปีจนลืม กระทั้งมีจดหมายจากแพทย์ให้เปลี่ยนทันที เขาก็เปลี่ยนเอาของเก่าที่คนย้ายออกแล้วมาเปลี่ยนให้ ไม่รู้ว่าเป็นสาเหตุให้เจ็บหัวใจจนบัดนี้ ผู้เขียนใช้วิธีวางถุงน้ำแข็งไว้รอบตัว เรียกว่าสมองสั่งการเพราะสงสารแมวทนร้อนไม่ได้ ฟังมาจากผู้รู้ทางทีวี Professor Uchigo พูดว่าทำอย่างไรจะแก้ปัญหาของหัวใจได้ ต้องแก้ที่ปัจจัยหลายอย่าง เช่น พิจารณาที่จุดกำเนิดชีวิต วัฒนธรรมการเจริญอายุ และเซลล์ที่เจริญเติบโตไปพร้อมกัน มิฉะนั้น อาจก่อให้เกิดเหตุถึงตายได้ 80-90 เปอร์เซ็นต์ เริ่มจากหัวใจเต้นไม่เป็นปกติ สืบต่อไปถึงกล้ามเนื้อ และโยงไปถึงสมอง ส่งผลให้การหมุนเวียนโลหิตไม่สมบูรณ์ จำเป็นต้องเขย่าร่างกายเพื่อกระตุ้นบ่อยๆ หรือรักษาด้วย สเต็มเซลล์ของเส้นประสาท สมองสร้างเองไม่ได้ ต้องใช้ myelin ที่หุ้ม axon ที่ก้านเซลล์จึงจะสามารถซ่อมเซลล์ประสาทสมองได้ เรื่องวิชาการนั้นยาว เราจะมาดูว่าสมองสั่งการไปแต่ละจุดอย่างไร

1.การรับรู้ทางสายตา เมื่อเห็นจะมีการรับรู้เดินทางไปที่ ประสาทรับรู้เริ่มแรกที่ด้านปลายสุดสมองแล้วจึงเดินทางไปจุดอื่นเพื่อรับรู้รูปร่าง

2.การอ่าน ภาษา มีจุดรับรู้อยู่ใกล้กันที่ปลายสุดของสมองด้านหลัง

3.การจดจำ มีจุดรับรู้อยู่ด้านล่างของสมองใหญ่สองซีก เรียกว่า Hippocampus อยู่ลึกเข้าไปข้างในสมอง ทำหน้าที่เก็บความจำในเหตุการณ์ล่าสุด

4.การจำเหตุการณ์ระยะยาว ที่ยากต่อความเข้าใจ อยู่ที่ด้านล่างสมอง Cerebral cortex

5.การพูด เริ่มจากหายใจเอาอากาศผ่านหลอดเสียง สร้างเสียง ลิ้นเป็นคำพูด สร้างเป็นภาษา อยู่ส่วนข้างของสมอง

6.การจำรูปร่าง กระตุ้นโดยด้านข้างสมอง Parietal & Temporal โดยสมองด้านขวาจำจุดต่างๆ เช่น ทิศทางจะไปบ้าน จำวัสดุ เช่น ตารางกระดานหมากรุก จำเสียง จำอารมณ์ หรือ sensation คือความรู้สึก ถึงแม้จะไม่ได้มอง หรือสัมผัส การเห็นได้จากแสงที่มาสู่สายตาและมีเลนส์ที่ได้รับการบันทึกเป็น focused แสงตกลงมาที่ retina ด้านหลังเป็นภาพกลับหัวแล้วประสาทตาสะท้อนภาพกลับไปที่ประสาทตา optic (eye) nerve ภาพส่งกลับไปที่ส่วนกลางของสมองแล้วไปจบลงที่ส่วนท้ายของสมอง ภายจึงได้รับการสะท้อนจาก retina ไปสู่สมองรับรูปร่างและการเคลื่อนไหวในสภาพเป็นของจริง โดยกลไกการทำงานของสมอง

7.การได้ยิน สมมุติว่าจากเสียงโทรศัพท์ เสียงถูกส่งไปที่หู และสะท้อนไปมาที่ Ear drum แรงสะเทือนที่ Ear drum ส่งไปกระดูกเล็กๆที่กลางหู กระดูกส่งแรงสะเทือนไปที่ cochlea ภายในหูซึ่งประกอบด้วยขน เป็นวงกลม ขนเล็กๆสั่งสะเทือนเป็นสัญญาณเสียง ที่ประสาทหู auditory nerve หรือ hearing nerve คือประสาทรับรู้การได้ยินที่ด้านข้างสมองแปลเป็นภาษาในโทรศัพท์

8.การเจ็บปวด รับรู้ที่ปลายประสาท สมมุติว่าผิวที่นิ้วมือ ส่งสัญญาณแห่งความปวดไปตามกระดูกสันหลัง ซึ่งจะประเมินความปวดน้อยหรือมาก ความปวดจะถูกส่งจากประสาท Thalamus ด้านขวาของสมอง Parietal lobe และส่วนอื่นๆของสมอง รวมทั้งส่วนหน้า ความเจ็บปวดภายในเช่น Heart attack เดินทางแบบเดียวกันคือผ่านกระดูกสันหลัง แต่รู้สึกมากกว่า รับความปวดที่นิ้วหรือที่ผิว

9.การได้กลิ่นและรส กลิ่นอยู่ในอากาศก่อนเช้าสู่จมูก กลิ่นไปติดที่ Olfactory receptor เป็นตัวรับกลิ่นก่อนส่งต่อไปที่ประสาทกลิ่น Olfactory nerve ซึ่งทำหน้าที่ส่งกลิ่นต่อไปที่ศูนย์กลางเล็กๆในสมอง จึงรู้ว่ากลิ่นอะไร เรื่องสมมุติว่ากินกาแฟจะไปติดที่ ตัวรับรู้รส Taste buds ในลิ้น เรียกว่า papillae ตัว signal of taste หรือสัญญาณบอกรสจะถูกส่งสัญญาณต่อไปยังสมอง ทำให้จำกลิ่นและรสกาแฟได้

10.การเคลื่อนไหว สมมุติว่ามือถือลูกบอลกำลังเงื้อจะโยน จะรู้ว่าโยนไปที่ใดเสียก่อนโดยประสาทตาและ Visual cortex และร่างกายต้องรู้สึกการรับรู้ที่ดวงตา และท่าที่จะโยนลูกบอลเพื่อให้สมดุลที่ศูนย์กลางประสาทหูและสมอง เขาต้องรู้การจับลูกบอลและท่าเตรียมโยนบอลโดยใช้นิ้วที่ปลายประสาทนิ้วและท่าทางการเหวี่ยงบอลที่ข้อต่อต่างๆ จากปลายประสาทที่นิ้วมือและข้อ สัญญาณถูกส่งต่อไปที่ปลายประสาทและซี่โครง แล้วเดินทางไปสู่ศูนย์กลางประสาทส่วนลึกที่สมองด้าน cortex ประสาทเห็นภาพที่ดวงตาส่งภาพไปที่ศูนย์การเคลื่อนไหว motor cortex ซึ่งส่งสัญญาณไปตามโครงกระดูกสันหลัง และกล้ามเนื้อแขนและนิ้วเพื่อเหวี่ยงบอลออกไป ด้วยความร่วมมือของกล้ามเนื้อหัวไหล่และแผ่นหลังร่วมด้วย สัญญาณถูกส่งไปที่สมองส่วนบน cerebellum เพื่อประสานการปาลูกบอล สัญญาณถูกส่งจากด้านซ้ายไปด้านขวา ผ่านกลางร่างกายในกระดูกสันหลัง แล่นเข้าสู่สมอง เพื่อปรับปรุงท่าทางอื่นๆ ทั้งหมดมีการทำงานร่วมกับ autonomic nervous system หรือระบบประสาทอัตโนมัติ ที่เริ่มจาก Hypothalamus ตรงส่วนกลางของสมองที่จะส่งไปยังร่างกายส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และรับสัญญาณกลับสู่สมองด้วยความร่วมมือระหว่างระบบแบ่งเป็น Sympathetic Nerve กับ Parasympathetic Nerve ซึ่งจะนำสัญญาณไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกายในการปาลูกบอล เรียกว่า Fight or Flight response

11.ความดันโลหิตกับจังหวะการเต้นของหัวใจ ตอนออกแรงเส้นเลือดจะถูกควบคุมโดยการทำงานของ Fight or Flight response โดยระบบประสาทอัตโนมัติ autonomic nervous system เริ่มจาก Hypothalamus ที่ส่วนกลางสมอง ที่จะส่งสัญญาณไปสู่ทุกส่วนของร่างกาย และรับสัญญาณกลับจากทุกส่วนของร่างกายเพื่อการประสานกลับสู่สมอง ในขณะเดียวกันก็กระตุ้นให้ผลิตฮอร์โมน Epinephrine ในโลหิตส่งผลให้หัวใจเต้นแรงและกระชั้นขึ้น ส่งผลให้ airways ขยายตัวเพื่อให้อากาศเข้าและออกจากปอดมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย โดย ไฮโปทาลลามัส ส่งผลให้มีเหงื่อออกเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น อุณหภูมิร่างกายก็อยู่ในระดับที่เหมาะควร

การทำงานของสมองจะกล่าวต่อไปในฉบับหน้า