คนที่จัดว่ามีภาวะเย็นในกาย สังเกตได้จากมีความปวด รู้สึกหนักหัว มีขี้ตา หนังตาบวม มีแผลในปาก รู้สึกอักเสบในปาก มือเท้าเย็นจนเป็นตะคริว ซีดขาว เห็นเส้นเลือดดำโป่ง มีไขมันพอกตามแขนขา และรู้สึกชาให้ใช้การนวดช่วย มีระดูตกขาว มีจุดขาวตามผิว รูขุมขนปิด เป็นโรคปอดนิวมอเนีย รู้สึกหนาวเย็น มีน้ำมูกไหล มีภาวะข้อกระดูกเสื่อม ปวดตามข้อ ข้อแข็งพับนิ้วไม่ได้ มีอาการแน่จุดเสียว แน่นในท้อง อุจจาระบ่อย ไม่เป็นก้อน ปัสสาวะใส รู้สึกตัวเย็น รู้สึกปวดโคนลิ้น ถ้าออกกำลังกายก่อนอาหารจะเจริญอาหารดีขึ้น โลหิตจาง มีมะเร็งหรือทูเมอร์บนร่างกาย ไตไม่ทำงานเป็นปกติ มีเบาหวาน มีอาการปวดมดลูก ปวดตามข้อ ขาดแร่ไอโอไดน์
อาการภาวะเย็นในกาย มาจากความกลุ่ม ไม่ผ่อนอารมณ์ ขี้เกียจ บริโภคอาหารที่เย็น และผักที่เย็น หรือข้าวเย็น ก๋วยเตี๋ยวเย็น เห็ด ถั่วขาว แตงโม แตงฮันนี่ดิว สับปะรด กล้วยเขียว แคนตาลูป ผักกาดขาวแนปป้า กะหล่ำปลี ผักตำลึง ถั่วงอก มะเขือเทศ บวบยาว บร็อคโคลี ดอกกะหล่ำ สายบัว
วิธีผ่อนคลายภาวะเย็นในร่างกาย ให้ดื่มน้ำมากๆ เมื่อลุกขึ้น หรือดื่มน้ำอุ่นๆ อมเกลือใต้ลิ้นเพื่อสมานเส้นฮาร่า ออกกำลังกายโดยการตึงตัวขึ้นและกลิ้งไปมา เพื่อช่วยปรับให้ร่างกายอุ่นขึ้น และใช้การหายใจลึกถี่ เพื่อช่วยนำความร้อนเข้าสู่ภายในกาย ใช้สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว หรือแช่น้ำอุ่นที่มีใบตะไคร้ ดื่มน้ำขิง น้ำอุ่นจากงาต้ม เสริมการทำงานของสมองด้วยเลซิทิน เสริมแคลเซี่ยมสำหรบกระดูก กล้ามเนื้อ และระบบประสาท เสริมไวตามินบี และบีคอมเพล็กซ์ เสริมเซเลเนียมเพื่อป้องกันมะเร็ง และบำรุงผิว เสริมธาตุเหล็กเพื่อโลหิต ธาตุฟอสฟอรัสเพื่อกระดูก เสริมเส้นใยจากผักเพื่อการขับถ่ายของเสียหรือสารพิษในกาย ใช้ครีมร้อนๆ
อาหารที่ควรบริโภค อาทิ เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวสีน้ำตาล ข้าวแดง ข้าวเหนียวดำ ขนมปัง ผักที่ควรบริโภค ได้แก่ ฟักทอง คะน้า ผักขม หัวกะหล่ำ แครอท ถั่วฝักยาว สาหร่ายทะเล ชะอม ขิง พริก ถั่วลิสง เห็ด บริโภคอาหารทอดได้บ้างแต่ไม่ควรมาก ควรมีรสเปรี้ยว รสไม่จืดเกินไป ผลไม้หวานแต่ไม่รสหวานมาก
คนภาวะเย็นไม่ควรอาบน้ำหรือสระผมตอนกลางคืน ตอนตื่นเช้าจะดีกว่า
อาหารที่คนร่างกายภาวะเย็นควรเลี่ยง เช่น ข้าวขาว ก๋วยเตี๋ยวขาว มะละกอดิบ มะเขือยาว กะหล่ำปลีขาว ถั่วขาว ถั่วเหลือง
คนที่ไม่รู้ว่า ร่างกายอยู่ในภาวะเย็นหรือร้อน อาจบริโภคผักผลไม้ที่ผ่านการปรุงเสียก่อน เช่น ดอกกะหล่ำ ข้าวโพด แอปเปิล
คนในภาวะเบาหวาน อยู่ในภาวะทั้งร้อนและเย็น โดยมากหนักไปทางเย็น
คนความดันโลหิตสูง มักเหงื่อออกมาก ควรเว้นบริโภคอาหารหวานจัด หรือ เค็มจัด
ภาวะกระเพาะอาหาร และการทำงานของลำไส้ หาก ไม่เป็นปกติ เช่น กระเพาะอาหารร้อน ควรบริโภคถั่วเขียวก่อนอาหาร บริโภคใบย่านาง 5-20 ใบ ใบรางจืด 5-7 ใบ
คนที่ร่างกายอยู่ในภาวะเย็น ควรบริโภคเป็นกลาง
คนที่ร่างกายอยู่ในภาวะร้อน ควรบริโภคหนักไปทางเค็ม หรือ ขม บริโภคผักสีส้ม เช่น คะน้า
การแช่น้ำในห้องสปาเย็นหรือร้อน ควรใส่สมุนไพรที่ให้คุณต่อภาวะร่างกาย
สรุปหลักทั่วไป
อาหารร้อน กลุ่ม แป้ง น้ำตาล เส้นหมี่ เส้นก๋วยเตี๋ยวไม่มีน้ำมัน วุ้นเส้น ข้าวขาว ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง
โปรตีนเย็น ถั่วขาว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็นขอนขาว เห็ดลม (เห็ดบด) เห็ดตาใส เห็นตีนตุ๊กแก
ผักฤทธิ์เย็น อ่อมแซบ (เบญจรงค์) ผักบุ้ง ผักตำลึง ผักก้านตรง ผักหวานบ้าน ผักหวานป่า บวบ ฟัก แฟง แตง มะละกอดิบ หรือห่าม พญายอ (เสลดพังพอนตัวเมีย) สายบัว หยวกกล้วย ก้านกล้วย กล้วยดิบ หัวปลี ยอดฟักข้าว มะรุม หญ้าปักกิ่ง ยอดฝักแม้ว ว่านกาบหอย ว่านหางจระเข้ ว่านมหากาฬ ถั่วงอก มะเขือเทศ กะหล่ำดอก บร็อคเคอลี่ กวางตุ้ง ผักกาดขาว หัวไชเท้า ผักกาดหอม ย่านาง เขียว-ขาว ใบเตย รางจืด ผักแว่น ดอกสลิด ดอกแค ฟักทองอ่อน ยอดฟักทอง ดอกฟักทอง ผักโสมไทย ใบมะยม ป๋วยเล้ง ตังโอ๋ ข้าวโพด ขนุนดิบ ใบมะขาม ใบส้มป่อย ส้มเขียว
ผักฤทธิ์ดับร้อน ผักรสขม ใบบัวบก มะเขือพวง ผลไม้รสจัดทำให้ร้อนมากขึ้น
ผลไม้ฤทธิ์เย็น มังคุด มะยม แตงโม แตงไท แคนตาลูป สับปะรด ส้มเช้ง ส้มซ่า ส้มเกลี้ยง กล้วยน้ำว้า กล้วยหักมุก แก้วมังกร กะท้อน ลูกหยี แห้ว พุทรา สมอไทย ชมพู่ มะขวิด มะละกอดิบ มะม่วงดิบ มะขามดิบ น้ำมะนาว น้ำมะพร้าว ลูกท้อ แอปเปิล สาลี่ รางสาด สตรอเบอรี่ ทับทิมขาว
อาหารฤทธิ์ร้อน ข้าวเหนียว ข้าวแดง ข้าวอาร์ซี ข้าวสาลี ข้าวบาร์เล่ย์ เผือก มัน กลอย อาหารหวานจัด ขนมปัง ขนมกรุปกรอบ บะหมี่ซอง
โปรตีนฤทธิ์ร้อน เนื้อ นม ไข่ เห็ดโคน เห็ดหอม เห็นหลินจือ ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลิสง ถั่วทอดทุกชนิด โปรตีนจากการหมักดอง เต้าเจี้ยว มิโสะ โยเกิร์ต ซีอิ้ว แทมเป้ กะปิ น้ำปลา ปลาร้า
ไขมันฤทธิ์ร้อน รำข้าว จมูกข้าว เนื้อมะพร้าว กะทิ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดอัลมอนด์ เมล็ดฟักทอง น้ำมันพืช น้ำมันสัตว์
ผักฤทธิ์ร้อน กระชาย ผักที่มีรสเผ็ด กะเพรา โหระพา พริก แมงลัก กุยช่าย ต้นหอม หอมหัวใหญ่ หอมแดง กระเทียม ผักชี พริกไทย(ร้อนมาก) ขิง(ขิงแก่ร้อนมาก) ขมิ้น ไพล ใบมะกรูด ตะไคร้ เครื่องเทศ คะน้า แครอท บีทรูท กะหล่ำปลี ชะอม ถั่วฝักยาว ถั่วพู สะตอ ลูกเนียง กะเฉด ลูกตำลึง ฟักทองแก่ โสมจีน โสมเกาหลี ผักกาดเขียวปลี ใบยอ ผักโขม ใบปอ หน่อไม้ เม็ดบัว สาหร่ายทะเล สาหร่ายน้ำจืด รากบัว แพงพวยแดง ใบ ยอด เมล็ดกระถิน พืชกลิ่นฉุน
ผลไม้ฤทธิ์ร้อน ผลไม้ที่ให้น้ำตาล ฝรั่ง ขนุนสุก ลิ้นจี่ เงาะ ลำไย ทุเรียน น้อยหน่า สละ องุ่น ส้มเขียวหวาน กล้วยไข่ กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียวออกฤทธิ์ตีกลับเป็นร้อน มะตูม ละมุด กล้วยปิ้ง ลองกอง กะทกรก เสาวรส มะเฟือง มะปราง มะไฟ ทับทิมแดง มะม่วงสุก กระเจี๊ยบแดง ระกำ มะขามสุก