สุขภาพและการบำบัด
สดศรี สุริยะฉาย
แก่แล้วสนใจอะไร

ตอนหนุ่มๆสาวๆก็สนใจไปคนละเรื่อง พอตอนแก่ก็สนใจเรื่องที่จะอยู่จะกินเอาไว้ก่อน คนที่มาแก่ต่างแดนอย่างอเมริกาก็สนใจจะกลับไปอยู่เมืองไทย ต้องคิดหนัก ไหนจะเรื่องที่อยู่ ไหนจะเรื่องอาหารการกิน ไหนจะเรื่องสวัสดิการในการรักษาพยาบาล เริ่มต้นที่ว่า จะไปอยู่เมืองไทยดีไหม เพื่อนที่จะกลับไปอยู่เมืองไทยบอกว่ามีอาคารสงเคราะห์ ปัญหาคืออายุเกินกำหนด และปัญหาว่าเขาดูและผู้อาศัยดีแค่ไหน นอกจากคนต่างจิตต่างระดับแล้ว ยังมีปัญหาของการบริหารที่ไม่ว่าที่ไหนก็ต่างกัน ดูอย่างที่อเมริกา บริษัทบริหารรับหน้าที่ดูแลตึกกว่า 10 แห่ง ไม่สนใจคำขอใดๆ ทั้งสิ้นไม่ว่าเรื่องเป็นเรื่องตายหรือไม่ สนใจแต่ผลกำไรจ่ายเงินน้อยที่สุด เราเริ่มต้นแก่ชราก็ต้องสนใจว่าจะอยู่ที่ไหน จะกินอะไร จะตายก็ให้ปลอดเรื่องห่วง

เริ่มต้นเรื่องที่อยู่สมมุติว่าคนไทยจะกลับไปอยู่กับญาติหรือซื้อบ้านรัฐบาล ไปโรงพยาบาลลำบากไหม รถติดหรือเปล่า มีสิทธิอะไรในการใช้หน่วยงานกับรัฐบาลบ้าง อยู่อเมริกากรณีฉุกเฉิน โทรเรียก 911 จะได้รับบริการภายใน 1 นาที และพาไปโรงพยาบาลด่วนตามที่แจ้งให้พนักงานทราบ ความหมายของคำว่าด่วน คือมีรถสัญญาณฉุกเฉินวิ่งนำหน้า เพื่อเลี่ยงการจราจรติดขัด เมื่อไปถึงโรงพยาบาล เขาทดสอบการเคลื่อนไหวโดยให้เดินให้ดู ถ้าล้มก็นอนให้น้ำเกลือจนสามารถกลับบ้านได้ และมีผู้ให้คำแนะนำตามไปดูแลที่บ้านถึงการเดิน การเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง จนแน่ใจว่าปลอดจากอันตรายเมื่ออยู่คนเดียว ที่เมืองไทย เคยมีข่าวว่ารถติดส่งผลให้คนไข้หัวใจวายในการจราจรระหว่างเดินทางไปโรงพยาบาล ถ้าเป็นโรงพยาบาลที่อเมริกาเกี่ยวกับโรคหัวใจ คนไข้สามารถดูการทำงานของหัวใจตนเองบนจอได้พร้อมกับเจ้าหน้าที่ และได้รับรายงานผลการตรวจกลับบ้านด้วย ผู้เขียนคิดอยากกลับไปอยู่เมืองไทย เริ่มต้นว่า ถ้าอยากกินส้มตำ จะต้องจ่าย 440 บาทเท่ากับประมาณ 10 เหรียญ แล้วกินอาหาร 1 มื้อจะเป็นเงินไทยเท่าไหร่ ค่ายาจะต้องจ่ายไหม ค่าโรงพยาบาลและค่ารักษาจนกว่าจะกลับบ้านได้ จะมีเงินพอจ่ายไหม เพราะไม่ได้สร้างผลการทำงานไว้พอเพียงกับสิทธิที่พึงจะได้ จบกันพอดี

ต่อมาเรื่องอาหารประจำวันเพื่อบำรุงวัยสูงอายุ มีอาหารหลัก และอาหารส่งเสริมสุขภาพ ใครเป็นผู้ปรุงให้รับประทาน เมืองไทยดีตรงที่มีข้าวเหนียวดำที่มีสารโอเมก้า 3-6-9 พร้อมที่จะช่วยปรับโคเลสเตอรอลตัวร้าย ยกตัวอย่างสำหรับการเลือกอาหาร น้ำมันพืชมีอัตรา โอเมก้า 6 กับ 3 ระหว่าง 15 ต่อ 1 ถึง 30 ต่อ 1 แล้วแต่ชนิดของน้ำมันพืช เราจะกินน้ำมันพืชหรือ แล้วเลือกกินชนิดไหน ในเมื่ออัตราซึ่งควรเป็น คือ โอเมก้า 6 ไม่ควรเกิน 3 เท่าของโอเมก้า 3 น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี (Hydrogenated Oil) ทำให้เกิดการอักเสบที่ผนังหลอดเลือด เช่น น้ำมันแซฟฟลาวเวอร์มี Polyunsaturated fat 75% น้ำมันข้าวโพดมี 59% น้ำมันข้าวโพด 1 ช้อนโต๊ะมีโอเมก้า 6 เท่ากับ 6940 มก. น้ำมันเนื้อสัตว์มีโอเมก้า 6 ต่ำกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ น้ำมันถั่วเหลืองมี 58% น้ำมันมะพร้าวมี 2% แต่สูงที่ไขมันอิ่มตัวถึง 86%

มาพิจารณาเรื่องน้ำตาล น้ำตาลที่กินเข้าไปทำให้เกิดการอักเสบยิ่งขึ้น เสมือนแปรงที่ขัดหลอดเลือดให้เสียหายมากขึ้น เมื่อผนักหลอดเลือดเสียหายและปลดปล่อย Cytokines เพิ่มขึ้นมาก ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ เส้นเลือดสมองตีบ อัมพฤกษ์ อัลไซเมอร์ นอกจากระวังเรื่องน้ำตาลที่กินเข้าไปแล้วให้หันมาบริโภคคาร์โบไฮเดรทเชิงซ้อนจากธัญพืช ข้าวกล้อง ผัก ผลไม้ เลี่ยงข้าวขัดขาว น้ำตาลทราย

โปแตสเซี่ยมในผลไม้สด ทำปฏิกิริยากับโคเลสเตอรอลก่อให้เกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และหัวใจโต วิธีเลี่ยงคือทานผลไม้แห้ง ถั่วแห้ง ซุปถั่วหลายชนิด ผลไม้ที่มีโปแตสเซี่ยมสูงตามลำดับได้แก่ แอปริคอท กล้วย แคนตาลูป ส้ม และน้ำสัมคั้น ลูกพืช ลูกพรุนและน้ำคั้น ลูกเกด และแตงโม ผักที่มีโปแตสเซี่ยมสูงตามลำดับ ได้แก่ อาร์ติโชค อะโวคาโด หน่อไม้ บรัสเซสส์สเปราท์ แครอท ถั่วลิมา เห็ด พาร์สนิพ มันฝรั่ง ผักสปินาช มันเทศ มะเขือเทศ โปรตีนที่มีโปรแตสเซี่ยมสูงตามลำดับได้แก่ ถั่วแห้ง ปลา เนื้อ เนย ถั่วลิสง สัตว์ปีก

เรื่องกรดยูริค ส่วนใหญ่มาจากสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ เนื้อแดง ผักบางชนิด เช่น บร็อคโคลี่ คะน้า กะหล่ำปลี

กรดยูริค จับตัวเป็นแผ่นที่หนังศีรษะ ก่อให้เกิดรังแค และผมร่วง พอกที่ตา ก่อให้เกิดตาต้อ จับที่หู ทำให้ปวดหู จับที่ฟันทำให้ปวดฟัน จับที่ช่วงต่อระหว่างกระเพาะอาหารกับลำไส้เล็กซึ่งดูดซึมแคลเซี่ยมกับแมงกานิส ทำให้กระดูกบาง จับที่ผนังเส้นเลือด ไปสู่หัวใจ 1 เส้น ทำให้ปวดหัวใจ ไปสู่หัวใจ 2 เส้น ทำให้หายใจติดขัด ไปสู่หัวใจ 3 เส้น ทำให้หัวใจวาย

จัดที่หัวเข่า ทำให้ปวดเข่า จับที่กระดูกสันหลังข้อที่ 6 และ 7 ทำให้ปวดหลัง จับที่ปลายประสาท ทำให้รู้สึกแปลบ หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง

นายแพทย์ลันเดลล์ รายงานว่า ผลของยากลุ่ม statin ที่ใช้ลดโคเลสเตอรอลไม่ใช่ทางแก้ และการหันแหไปบริโภคไขมันอิ่มตัว ไม่ใช้น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีไฮโดรเจน (Hydrogenated oil) เพื่อป้องกันการเหม็นหืนของน้ำมันพืชต่างหากที่เป็นตัวการที่เพิ่มการอักเสบของหลอดเลือด หากไม่มีการอักเสบในร่างกาย จะไม่มีทางที่โคเลสเตอรอลจับเป็นตะกรับอุดหลอดเลือดได้ เมื่อไม่มีการอักเสบ โคเลสเตอรอลก็ไหลไปตามหลอดเลือดได้อย่างเสรี ขอให้ย้อนกลับไปดูการอักเสบเกิดจากอาหารกลุ่มไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated oil) ที่กล่าวข้างต้น ก็จะรู้วิธีเลี่ยงการบริโภคน้ำมันและอาหารที่เกิดอันตรายทางอ้อม เรื่องนี้เคยเขียนไว้ในบทความนานมาแล้ว แต่นำมากระตุ้นความสนใจอีกในวัยสูงอายุ เพราะถึงเวลาอันควรแก่การสนใจอีกครั้งหนึ่ง ก่อนจะสายเกินป้องกันแก้ไข แม้ผู้เขียนเองก็ต้องหวนกลับมาดูที่ยากลุ่ม statins ที่แพทย์โรคหัวใจเพิ่งสั่งมาให้กินแก้อาการปวดหัวใจ ความจริงหันมาพิจารณากรดยูริคจับที่ผนังเส้นเลือดไปสู่หัวใจหนึ่งเส้นดีกว่า ยิ่งผลการเช็คหัวใจแสดงว่า the right bundle blocked ยิ่งแสดงว่าปวดหัวใจเพราะอะไร ก็แก้ด้วยการปรับเปลี่ยนแก้ไขการบริโภคอาหารที่ส่งผลให้เกิดกรดยูริคแทนดีกว่า และตรงเรื่องกว่าการกินยา คนสูงอายุแสดงว่าผ่านการกินมามากมาย อาจต้องกลับมาพิจารณาแก้นิสัยความชอบบางอย่างในการกินแล้ว เป็นต้นว่า กินสลัดผักเขียวทุกวัน กินบลูเบอรี่ เกือบทุกวัน กินปลาอาทิตย์ละครั้ง ปลาแซลมอนมีโอเมก้า 3 ช่วยให้ผู้เขียนหายปวดหัวเข่าเป็นปลิดทิ้ง เลิกกินสัตว์มีปีก กุ้งมีโคเลสเตอรอลสูงถึง 28 % ส่งผลให้ผู้เขียนวัดโคเลสเตอรอลสูงทุกวันนี้ กินถั่วทุกวัน ถ้าจะใช้น้ำมันให้เลือกน้ำมันมะกอก อาหารที่ควรจำกัดได้แก่ อาหารทอดเช่น มันฝรั่งทอดของโปรดนักหนาควรเลิกเสีย เนยกินให้น้อยกว่าวันละ 1 ช้อนโต๊ะ เค้กหรือของหวาน ไม่ควรกินเกินกว่า สัปดาห์ละ 5 วัน