สุขภาพและการบำบัด
สดศรี สุริยะฉาย
ปัญหาหัวใจ

บทความที่เขียนไว้หลายสิบปีมาแล้วเป็นภาษาอังกฤษสำหรับหนังสือพิมพ์ไทยอังกฤษตอนนั้น ตอนนี้คำแปลอาจจะเยิ่นเย้อไม่รัดกุมเหมือนภาษาอังกฤษ แม้แต่หัวข้อเรื่องก็สับสนกับปัญหาของความคิด แต่บทความมุ่งเฉพาะแต่เรื่องอวัยวะแห่งชีวิตที่ดำเนินชีวิตโดยตรง

เมื่อปี พ.ศ.2012 ผู้เขียนเจ็บหัวใจ เป็นความเจ็บปวดตรงหัวใจโดยตรงทีเดียว ไม่เหมือนปวดท้องที่ปวดไปทั่วตั้งแต่ใต้เอวไปทั่วท้อง ปวดหัวใจเป็นความเจ็บตรงจุดที่ตรงนั้น มันน่ากังวลเพราะมีความแน่นหน้าอกเมื่อตื่นขึ้นทั้งๆที่ไม่ได้ออกแรง ทีแรกก็คิดว่าเป็นเพราะขาดการหมุนเวียนของโลหิตไปที่นั่นตอนหลับ แต่เมื่อเจ็บหัวใจทุกวันก็ต้องคิดว่าเกิดปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ

หมอหัวใจตรวจด้วยเครื่อง Electrocardiogram ที่ติดตามการเดินทางของโลหิตจากหัวใจไปตามจุดต่างๆ ด้วยกราฟแผนที่ของหน้าอก คอ แขน ขา ไม่พบการอุดตันหรือข้ามการหมุนเวียนที่ใด ถึงแม้ว่าผู้เขียนจะเคยมีประวัติหัวใจเต้นไม่ปกติมาก่อน แต่การสเปรย์โกรทฮอร์โมนที่ใต้ลิ้นนับสิบปีก็ได้ยุติปัญหานั้นแล้ว จึงต้องไตร่ตรองว่าการเจ็บหัวใจนั้นเกิดจากต้นเหตุอะไร

เมื่อไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจที่ Cedars Sinai, California Heart Center หมอให้ติด Monitor ที่หน้าอกอยู่สามอาทิตย์ โดยให้กดทุกครั้งที่เครื่องบอกสัญญาณการเจ็บหัวใจหรือแน่นหน้าอก เมื่อแพทย์อ่านรายงานสามอาทิตย์ต่อมาไม่พบอะไรผิดปกติ ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งแน่นหน้าอกและเจ็บหัวใจมิได้เกิดพร้อมกัน ผู้เขียนจึงมุ่งความสนใจไปที่ผลข้างเคียงของยาที่กินอยู่ 2 ปีก่อนหน้านั้นเพื่อแก้ปัญหากระดูกพรุน ตามที่สลากพิมพ์ไว้ระบุว่าอาจก่อให้เกิดอาการเจ็บหัวใจหรือแน่นหน้าอก แต่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้จากทันตแพทย์เป็นสามีของลูกศิษย์คนหนึ่งเตือนว่า ผลของยาอย่างหนึ่งก็คือต้องการหลีกเลี่ยงมิให้เซลล์ดึงแคลเซี่ยมจากกระดูกจึงไปดึงจากเลือดแทน เพื่อมิให้เกิดปัญหาฮอร์โมนเอสโตรเจนตกต่ำในวัยสูงอายุ มิน่าล่ะ ถึงได้มีข่าวอยู่เสมอว่า ผู้สูงอายุมักจะตายตอนหลับ เพราะเลือดขาดสารสำคัญที่หัวใจตอนหลับเพราะไม่ได้เคลื่อนไหวให้โลหิตหมุนเวียน นับว่าผู้เขียนยังโชคดีที่หยุดกินยาระหว่างที่ติดเครื่องวัดผลหัวใจอยู่ หัวใจเลยไม่ขาดแคลเซี่ยมในเลือด ยังทำงานปกติอยู่ได้ระหว่างติดอุปกรณ์วัดผล เรียกว่า พระเจ้าส่งข่าวผ่านมาทางสามีของลูกศิษย์ซึ่งเป็นทันตแพทย์ มิใช่หมอด้านหัวใจด้วยซ้ำ

เรารู้ว่า แคลเซี่ยมกับฟอสฟอรัสหมุนเวียนอยู่ในโลหิตเพื่อช่วยการทำงานของระบบประสาท เพื่อสั่งให้เซลล์ผลิตฮอร์โมนที่ร่างกายต้องการ เพื่อให้เซลล์สามารถสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์ที่หมดอายุแล้วทั่วร่างกาย ถ้าปราศจากแคลเซี่ยมและฟอสฟอรัสเซลล์ก็สื่อสารถึงกันไม่ได้ ถึงแม้ผู้เขียนจะหยุดกินยานั้นแล้วหนึ่งปี แต่ผลข้างเคียงของยายังส่งผลอยู่ในเลือด บางทีก็มีอาการปวดกราม บางทีก็แน่นคอ บางทีก็เจ็บหัวใจ โดยเฉพาะตอนอกหัก จะมีการจุกหน้าอกถึงแม้จะไม่บ่อยเหมือนก่อน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านหัวใจบอกว่า ผลข้างเคียงของยายังมีอยู่ จนกว่าจะได้รับการแก้ไข

ความดันโลหิตของผู้เขียนอยู่ที่ 120/70 (อัตราปกติคือไม่เกิน 140/90) เครื่องวัดความดันโลหิต Sphygmomanometer แสดงสองจุด คือ Systolic กับ Diastolic

Systolic คือจุดที่โลหิตเริ่มเดินทางถึงข้อศอก Stethoscope จะแสดงที่ระหว่าง 100/20

Diastolic คือเมื่อหัวใจพักระหว่างการเต้นใหม่ จะแสดงที่ตัวเลข 60/80

ความดันโลหิตคือตัวเลขที่แสดงผลขอคอเลสเตอรอลที่มีต่อหัวใจและสมอง

บุคคลที่มีความดันโลหิตสูงไม่เพียงแต่มีโคเลสเตอคอลในเลือดสูง แต่ยังขัดขวางการเดินทางของโลหิต หรือ Hypertension อีกด้วย

โคเลสเตอรอลร้ายมาจากไขมัน Saturated Fat หรือไขมันสัตว์ เราปรุงอาหารจาก 5 กลุ่ม แต่เราอาจเสียชีวิตจากเชื้อโรค 500 ชนิด มาจากสัตว์ทั้งที่มีเปลือกแข็ง มีสี่ขา มีสองขา หรือไม่มีขา (เช่นปลา) หรือไร้ขาเช่นแบคทีเรียและไวรัส ความดันโลหิตของผู้เขียนเพิ่มจาก 180 เป็น 231 ในหนึ่งปีจากการบริโภคสัตว์ต่างๆเหล่านั้น ทางแก้คือ ยา การออกกำลังกาย และหลีกเลี่ยงการฆ่าสัตว์เหล่านั้น

ปัญหาของหัวใจมีมากมาย อย่างหนึ่งก็คือการอักเสบของลิ้นหัวใจ เชื่อว่ามากจาก Rheumatic Heart Disease ที่เป็นตอนเด็ก แม้จะน้อยมาก เคยมีตอนปี 1980 เกิดจาก แบคทีเรีย Streptococcus แบคทีเรียนี้ชอบอยู่กับเนื้อเยื่อชั้นดี และแข็งแรง เช่น ข้อต่อ เส้นเอ็น ลิ้นหัวใจ ผลของมันคือการอักเสบที่ลำคอ ไขข้ออักเสบ อยู่ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ร่างกายพยายามทำลาย และป้องกันโดยการไอ การขับเสมหะ คลื่นไส้อาเจียน ผื่นแดง บวมที่ต่อมที่คอ ต้องนำแบคทีเรียจากอวัยวะที่แบคทีเรียอยู่ไปพิสูจน์ในห้องแลบประมาณ 2 วัน ใช้ยาเพนิซิลินระหว่างการบำบัด และภายหลังการบำบัดเพื่อป้องกันการลุกลามไปสู่ส่วนอื่นของหัวใจ ก่อให้เกิดการขาดเลือดที่เนื้อเยื่อหัวใจ ส่งผลไปถึงหัวใจขาดเลือด ลามไปสู่ปอด ช่องปาก ไต ผิว สมอง ตับอ่อน ส่งผลให้มีโลหิตมากในเนื้อเยื่อ ก่อให้เกิดบวม โลหิตหมุนเวียนไม่สะดวก

ปัญหาที่สองของหัวใจ ได้แก่การเดินทางของโลหิต หรือ หัวใจอุดตัน Heart Block มีอยู่ 3 ประการที่การเดินทางของโลหิตไม่สมบูรณ์ในหัวใจ เรียกว่า Atrioventricular Blocks

1.ปัญหาการเดินทางชองโลหิตจากหัวใจห้องขวาบนสู่ห้องขวาล่าง ตรวจค้นพบโดย EKG หน้าที่ของโลหิตหลังจากเดินทางสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกายแล้ว จะกลับมาสู่ห้องบนขวา Atrium, A-node จะกระตุ้นให้กระแสไฟฟ้าในหัวใจปั๊มโลหิตลงสู่ห้องล่างแล้วส่งไปสู่ปอด หลังจากฟอกโลหิตแล้วปอดส่งมาที่ห้องซ้ายบน เมื่อหัวใจเต้นก็ส่งลงสู่ห้องขวาล่าง เพื่อส่งไปยังศีรษะ แขน ขา และทั่วร่างกาย ถ้าปรากฏว่ามีการล่าช้า ณ จุดใด ก็แสดงว่าเกิด Heart Block ณ ที่ใดที่หนึ่ง

2.ปัญหาหัวใจบล็อคที่สองเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจไม่แข็งแรงหรือกล้ามเนื้ออ่อนแอ หรือกระแสไฟฟ้าไม่ทำงานตามปกติในที่ใดที่หนึ่ง ก่อให้เกิดการเต้นของหัวใจไม่เป็นจังหวะตามปกติ

3.การเต้นของหัวใจที่ห้องขวาบนถูกบล็อกจากห้องบนสู่ห้องล่าง ทำให้ลิ้นหัวใจทำงานเองช้ากว่าที่ควรจะเป็น ในกรณีนี้ทำให้สมองอยู่ในอันตรายสูง อาจหมดสติกะทันหัน หรือ Convulsion ดังที่แพทย์หญิงคนหนึ่งซึ่งทำงานอยู่ในแผนกนี้เกิดอาการนี้ขึ้นมา ไม่สามารถพูดจาชัดถ้อยชัดคำในที่สุดผู้ร่วมงานอ่านสถานการณ์และส่งความช่วยเหลือได้ทันช่วยชีวิตเธอไว้ได้ หัวใจต้องได้รับการช่วยเหลือเร่งด่วน มีเรื่องของชายคนหนึ่งอายุ 50 ปี อยู่ในความหนาวเย็นกลางดึกที่ลาสเวกัส เขาเสียชีวิตสามวันหลังจากนั้นจากอาการเส้นเลือดสู่สมองตีบ ปัญหานี้อาจป้องกันได้โดยติด Pace Maker ที่จะกระตุ้นหัวใจห้องล่างด้วยแบตเตอรี่ลิเทียมให้โลหิตทำงานตามปกติ

ในกรณีที่ปัญหาเกิดจากแบคทีเรีย ทำให้ลิ้นหัวใจอักเสบถาวร ไม่ส่งโลหิตจากห้องขวาบนสู่ห้องขวาล่างเพื่อส่งไปสู่ปอด ก็ต้องพิจารณาโดยผู้เชี่ยวชาญทางแพทย์เป็นพิเศษ หรือปรับปรุงการบริโภคอาหารที่มีสารธรรมชาติจากสมุนไพรช่วยด้วย