Inside Dara
'เจ้าแม่นาคี' แต้ว ณฐพร ทรงชุดเทวีโบราณ นั่งเสลี่ยงขึ้นเทวาลัยพนมรุ้ง

สวยงามสมฐานะ และทรงพลังไม่เปลี่ยน สำหรับนางเอกสาวชื่อดังอย่าง "แต้ว ณฐพร เตมีรักษ์" ที่บทเจ้าแม่นาคี ทำฟีเวอร์คนแห่เที่ยวสถานที่ถ่ายทำเรื่องนาคี กันเนืองแน่น

ล่าสุด "แต้ว ณฐพร"ได้กลับไปยืนปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์อีกครั้งในงาน "งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งประจำปี 2567" ที่ปราสาทเขาพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งแต้วนั้น นุ่งชุด พร้อมเครื่องทรงตามฉบับเทวีโบราณ อย่างสวยสง่าไม่เปลี่ยน โดยโพสต์ภาพและคลิปบรรยากาศงานให้ชมกันผ่านอินสตราแกรมส่วนตัว @taewaew_natapohn

"งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งประจำปี 2567" ที่ปราสาทเขาพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ "แต้ว ณฐพร ได้ทรงชุดเทวีโบราณ ที่สวมเครื่องศีรษะ เครื่องประดับ นุ่งผ้าคาดอกสีส้มอิฐ และผ้าถุงที่เป็นผ้าทองสีเขียวปีกแมลงทับ รับหน้าที่แสดงเป็น "พระนางภูปตินทรลักษมีเทวี" พร้อมกับขึ้นไปนั่งบน เสลี่ยงในขบวนแห่อย่างสง่างาม พร้อมถูกกล่าวขานอย่างมาก"

"แต้ว" โพสต์อินสตาแกรม บอกว่า "กราบขอบพระคุณผู้ใหญ่ และชาวจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ให้เกียรติแตัวได้ร่วมแสดงใน "งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งประจำปี 2567" ครั้งนี้ด้วยการต้อนรับอย่างอบอุ่นที่สุด และขอขอบคุณทีมงานทุกฝ่ายทั้งนักแส

ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ "ปราสาทหินพนมรุ้ง" ถือเป็นโลเคชั่น สำคัญที่ใช้ถ่ายทำละครเรื่องนาคี และ นาคี 2 (ภาพยนตร์) ซึ่งในเรื่องนั้น ปราสาทหินพนมรุ้ง ถูกเรียกเป็นเทวาลัย และฉากที่ เจ้าแม่นาคี ที่บำเพ็ญเพียรต้องคล้ายร่างเป็นพญานาค ในวันที่เกิดสุริยะคราส นั่นเอง

ทำให้หลายคนคิดถึงภาพของ "แต้ว ณฐพร" ในละครเรื่องดังกล่าว พร้อมแซวกันว่า "เจ้าแม่"คืนเทวาลัยนั่นเอง และนอกจากภาพที่แต้วโพสต์ให้ชมกันแล้ว ยังมีคลิปวีดีโอด้วย

"พระนางภูปตินทรลักษมีเทวี" คือใคร?

หลักฐานที่ปรากฏในศิลาจารึก ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้กล่าวแสดงถึงผู้สืบเชื้อสายราชวงศ์กษัตริย์ ผู้ครองราชย์เมืองพระนคร (ในประเทศกัมพูชา ปัจจุบัน) มีความสัมพันธ์กับ "องค์นเรนทราทิตย์ " ผู้ทรงสถาปนาเขาพนมรุ้งและสละความเป็นราชตระกูลมาบำเพ็ญพรตเป็นโยคี ณ เขาพนมรุ้ง (บทที่ 8 บรรทัดที่ 15-16) ระบุให้สันนิษฐานได้ว่า

พระนางภูปตินทรลักษมีเทวี เป็นพระธิดาของกษัตริย์สูรยาวรมันที่ 2 ซึ่งครองราชย์ที่เมือง พระนคร ในระหว่างปี พ.ศ. 1655-1695 และ องค์นเรนทราทิตย์ เป็นพระโอรสของพระนางภูปตินทรลักษมีเทวี

ซึ่งต่อมาองค์นเรนทราทิตย์ ได้ทรงสละความเป็นราชตระกูลมาบำเพ็ญพรตเป็นโยคี โดยมีพระโอรสองค์หนึ่ง คือ เจ้าชายหิรัณยะ ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า "เจ้าชายหิรัณยะ" คือ ผู้สร้างศิลาจารึกปราสาทพนมรุ้ง หลักที่ 120 (ขอบคุณข้อมูล พระธาตุภูเพ็ก สกลนคร )